|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
เอานโยบาย ประชาธิปัตย์ มาฝาก
ผมจะนำนโยบายของแต่ละพรรคมาฝากนะครับ เท่าที่จะหาได้นะครับ
พรรคประชาธิปัตย์มีวาระประชาชนด้านนโยบายแก้ปัญหาความยากจน ดังนี้
เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ แม้รัฐบาลจะปรับค่าแรงขั้นต่ำให้บ้าง แต่ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพที่เพิ่มสูงลิ่วมาตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลประชาธิปัตย์จะมีมาตรการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสม ไม่กระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และจะมีมาตรการเสริมอื่น ๆ เช่น ควบคุมไม่ให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย เป็นต้น
ลดราคาน้ำมัน นโยบายการตรึงราคาน้ำมันที่ผ่านมาเป็นสิ่งผิดพลาด เพราะส่งผลให้กองทุนน้ำมันมีหนี้สินกว่า 56,000 ล้านบาท ประเทศสูญเสียโอกาสในการลดราคาน้ำมัน เมื่อราคาน้ำมันโลกลดลงในอนาคต และที่สำคัญเป็นการโอนภาระจากนโยบายที่ผิดพลาดในอดีต มาเป็นภาระของประชาชนในปัจจุบัน ดังนั้นพรรคประชาธิปัตย์จะยกเลิกกองทุนน้ำมันทั้งหมด ทำให้ราคาน้ำมันในประเทศสะท้อนความเป็นจริง ปรับขึ้นหรือลดลงตามสภาวะตลาดโลก ผู้บริโภคไม่ต้องซื้อน้ำมันแพงเกินจริงอย่างที่เคยเป็นมา พรรคประชาธิปัตย์ มีนโยบายที่จะให้ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีกำไรสูงมาก จ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูงขึ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกราย ทั้งนี้รัฐในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ จะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น มากเพียงพอที่จะนำไปจ่ายคืนหนี้กองทุนน้ำมันได้
ลดราคาก๊าซหุงต้ม ปัจจุบันคนไทยต้องจ่ายค่าก๊าซหุงต้มในราคาสูงขึ้นขณะที่ธุรกิจก๊าซเป็นการผูกขาดที่มีกำไรสูงเกินไป พรรคประชาธิปัตย์จะเก็บ ภาษีพิเศษ จากกำไรที่ได้จากการส่งออกก๊าซหุงต้ม ซึ่งได้เพิ่มสูงขึ้นมากตามราคาน้ำมันในตลาดโลก และนำรายได้ไปลดภาระของผู้ใช้ก๊าซหุงต้มในประเทศ ในภาวะที่ค่าครองชีพสูงเป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี
ลดราคาไฟฟ้า พรรคประชาธิปัตย์จะลดค่าไฟฟ้าด้วยการปรับสูตรการคำนวณค่าไฟ เพราะการยุติการแปรรูป การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ทำให้ไม่ต้องคำนึงถึงการแสวงกำไรเกินควรให้ผู้ถือหุ้น การสร้างโรงไฟฟ้าทุกประเภทในอนาคต จะกำหนดให้ กฟผ. ต้องเข้าร่วมประมูลแข่งขันกับเอกชนอย่างโปร่งใส และยุติธรรม จะส่งผลให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าต่ำลง และนำไปสู่การกำหนดค่าไฟฟ้าที่ถูกลงอีกด้วย
กองทุนเศรษฐกิจพอเพียง รัฐบาลประชาธิปัตย์มีนโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนที่ยั่งยืน ด้วยการจัดตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงในระดับหมู่บ้าน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกู้เงินไปลงทุนในโครงการเศรษฐกิจพอเพียงต่าง ๆ เงินสนับสนุนจากกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. เงินให้เปล่า เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ที่เสนอโดยกลุ่มชาวบ้านในท้องถิ่น เช่น ยุ้งฉาง ลานตากผลผลิตทางการเกษตร เครื่องอบแห้งผลผลิตการเกษตร ห้องเย็น ฯลฯ
2. เงินกู้ยืมระยะยาวเพื่อเป็นทุนดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับโครงการของชุมชนที่จะได้รับการอนุมัตินั้น จะต้องเข้าข่าย เศรษฐกิจพอเพียง เช่น ไม่ค้ากำไรเกินควร ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เน้นความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในท้องถิ่น ฯลฯ ซึ่งหลักเกณฑ์เหล่านี้จะมอบให้สถาบันการศึกษาในท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดร่วมกับชุมชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้โครงการต่าง ๆ ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของรายงานผลการดำเนินงาน โดยใช้ผู้สอบบัญชีสุ่มตรวจ และเผยแพร่ข้อมูลในชุมชน เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนรับทราบและมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ
พรรคประชาธิปัตย์มีวาระประชาชนทางด้านการศึกษา ดังนี้
ฟรี ค่าเล่าเรียน ปัจจุบันแม้จะมีนโยบายเรียนฟรี แต่ฟรีไม่จริงเพราะโรงเรียนเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆมากมายทั้งค่าคอมพิวเตอร์ ค่าอุปกรณ์การสอนอื่น ๆ หรือค่าบำรุงพิเศษต่าง ๆ เป็นภาระต่อนักเรียนและผู้ปกครองมาก พรรคประชาธิปัตย์จะให้ภาระเหล่านี้หมดไป โดยให้เด็ก ๆ ได้เรียนฟรี 12 ปี จากชั้น ประถมศึกษา ปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 ตลอดจนให้โอกาสทุกคนได้เข้า เรียนต่อในระดับอุดมศึกษาอย่างมีคุณภาพ คือ ทำงานเป็น สร้างงานได้
ฟรี หนังสือแบบเรียน พรรคประชาธิปัตย์จะลดภาระค่าตำราเรียน ด้วยการจัดหนังสือเรียนไว้ให้นักเรียนได้ยืมเรียนอย่างเพียงพอ ไม่ต้องซื้อ
ฟรี นมและอาหารเสริมเด็กก่อนวัยเรียน พรรคประชาธิปัตย์จะดูแลสุขภาพของเด็กตั้งแต่มารดาเริ่มตั้งครรภ์ โดยจะมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขไปให้การแนะนำและให้นมพร้อมอาหารเสริมตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ส่งเสริมให้เด็กได้ดื่มนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดถึง 4 เดือน เพราะน้ำนมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก นอกจากนั้นเด็ก ๆ อายุ 5 เดือนถึง 5 ปี จะได้ดื่มนมฟรี ทั้งช่วงเปิดเทอมและปิดเทอม
ฟรี อนุบาลเด็กเล็กใกล้บ้าน ไม่เพียงจะดูแลสุขภาพของแม่และเด็กอย่างเอาใจใส่เท่านั้น พรรคประชาธิปัตย์จะสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้ทั่วถึงตามหมู่บ้านและชุมชนต่าง ๆ เพื่ออบรมเลี้ยงดูเด็ก ๆ ตั้งแต่แรกเกิดโดยมอบหมายให้กรมอนามัยเป็นผู้กำหนดมาตรฐานและควบคุมคุณภาพบริการ ซึ่งศูนย์เหล่านี้จะมีนม และอาหารเสริมให้เด็ก ๆ ฟรีตลอด ในกรณีที่ผู้ปกครองอยู่ไกลศูนย์พัฒนาฯ จะมีอาสาสมัครสาธารณสุขนำนมและอาหารเสริมไปแจกทุกครอบครัว
พรรคประชาธิปัตย์มีนโยบายรักษาพยาบาลที่ดีกว่าโดยมีวาระประชาชนด้านนโยบายสุขภาพ ดังนี้
ได้ยาดี มีคุณภาพ ด้วยการเพิ่มค่ารักษาพยาบาลจาก 1,659 บาท ต่อหัว เป็น 2,000 บาทต่อหัว จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลที่ได้ มาตรฐาน ได้ยารักษาโรคที่มีคุณภาพสูงขึ้นและสามารถใช้บัตรประชาชนเพื่อรับสิทธิ์ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
เพิ่มจำนวนแพทย์ในชนบท ด้วยการให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นให้ทุนเรียนแพทย์ แก่นักเรียนแล้วกลับมาทำงานใช้ ในพื้นที่ ยกระดับสถานพยาบาลระดับตำบล เพื่อยกระดับคุณภาพการรักษาพยาบาลในพื้นที่
หมอประจำหมู่บ้าน โดยส่งแพทย์ออกไปให้บริการประชาชนเป็นประจำตามหมู่บ้านเดือนละครั้ง
อสม.ประจำครอบครัว จัดอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ออกตรวจเยี่ยมประชาชนทุกครอบครัวสัปดาห์ละครั้ง
เพิ่มค่าตอบแทน หมอ พยาบาล อนามัย และอสม. เพิ่มเงินงบประมาณปีละ 10,000 ล้านบาท เป็นค่าตอบแทนเพื่อขวัญและกำลังใจในการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อสม.จะได้เงินค่าตอบแทนอีกเดือนละ 600 บาทขึ้นไป
นโยบายภาคใต้ (สันติสุข)
ปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม - ทบทวนการใช้และแก้ไขพระราชกำหนดฯ - แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พรบ.การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 เป็นต้นให้มีการจัดตั้ง กองทุนซากาตและองค์กรบริหารกิจการฮัจญ์
- ตั้งกองทุนเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบโดยมีกฎหมายรองรับ
- จัดตั้งศาลชาริอะห์ จัดการข้อพิพาทครอบครัวและมรดก
คืนความยุติธรรม / คนทำผิดต้องรับผิดชอบ
จัดตั้ง ศอ.บต. + ให้เป็นศูนย์บริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์ โดยมีกฎหมายรองรับ และให้ขึ้นรงกับนายกรัฐมนตรี
ส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการร่วมกับ ศอ.บต. + อย่างจริงจัง
ส่งเสริมศักยภาพองค์กรปกครองท้องถิ่นในพื้นที่ให้มีศักยภาพและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา
จัดตั้ง สภาพัฒนาเศรษฐกิจ เฉพาะพื้นที่
ฟื้นฟูการดำเนินการตามโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT-GT) รวม 5 จังหวัด
จัดตั้ง เขตพัฒนาพิเศษ พื้นที่ชายแดนภาคใต้ ให้สิทธิพิเศษทางธุรกิจ
ส่งเสริมการประมงโดยการเจรจากับต่างประเทศ
ขยายผลโครงการอาหาร ฮาลาล ให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องในพื้นที่
เปิดโอกาสให้มีความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการพัฒนากับประเทศอื่น ๆ
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
พัฒนาการศึกษาโดยคำนึงถึงศักยภาพและเอกลักษณ์ของพื้นที่
แสวงหาความร่วมมือจากภาคเอกชนและองค์กรต่าง ๆ เพื่อการพัฒนา
จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นทุกกลุ่มศาสนา
การปฏิรูปการเมือง
เป้าหมาย - การปฏิรูปการเมือง - การปฏิรูปสื่อมวลชน - การปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม/ระบบการศึกษา/ระบบราชการ
- เพิ่มการตรวจสอบถ่วงดุล - สร้างความเข้มแข็งการเมืองภาคประชาชน - ปฏิรูปจริยธรรมนักการเมือง
การปฏิรูปการเมือง โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ - เสนอ แก้ไข เพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ ม.313 คนกลางเข้ามา แก้ไข เพิ่มเติม รัฐธรรมนูญ { ยกเว้นหมวด 1 (บททั่วไป) และ หมวด 2 (พระมหากษัตริย์) ห้ามแก้ไข } - หลัก ความเป็นกลาง - หลัก ความเป็นอิสระ - หลัก การมีส่วนร่วมของประชาชน สรรหาจากฝ่ายต่าง ๆ 30 50 คนมาจาก 1 ผู้ทรงคุณวุฒิ / นักวิชาการ 2 ตุลาการ 3 ภาคประชาชน
กรอบระยะเวลาทำงาน
การปฏิรูปจริยธรรมนักการเมือง เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมาย - การเปิดเผยผลประโยชน์ทางธุรกิจของ ส.ส. และครอบครัว - แก้ไข ก.ม. ให้คดีทุจริตไม่มีอายุความ - แก้ไข ก.ม. ให้ประชาชนฟ้องคดีทุจริตได้เอง - แก้ไข ก.ม. จำกัดเงินบริจาคพรรคการเมือง 10 ล้านบาทต่อ คนหรือนิติบุคคล/ต่อปี - แก้ไข รธน. ม.209 ในเรื่องการจัดการหุ้นส่วนของ รมต. ให้ ครอบคลุมภรรยาและบุตร - แก้ไข รธน. ให้เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้โดยใช้เสียง 1 ใน 10 ทั้ง รัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรี
( ทำได้เลยโดยไม่ต้องรอคณะกรรมการฯ แก้ไข รัฐธรรมนูญ )
การสร้างความเข้มแข็งให้ภาคประชาชน เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมาย - เปิดให้ภาคประชาชนสามารถเข้าชื่อกันเสนอร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญได้ - องค์กรอิสระสิ่งแวดล้อมตาม ม. 56 ของรัฐธรรมนูญ - องค์กรอิสระ คุ้มครองผู้บริโภค ตาม ม. 57 ของรัฐธรรมนูญ - ประชาพิจารณ์ ( ทำได้เลยโดยไม่ต้องรอคณะกรรมการฯ แก้ไข รัฐธรรมนูญ )
การปฏิรูปสื่อ ความเป็นอิสระ - ออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 41 - ยกเลิก ปรับปรุงกฎหมายที่ขัดต่อสิทธิเสรีภาพใน การทำหน้าที่ของสื่อมวลชน - สนับสนุนการให้สภาวิชาชีพควบคุมดูแลตนเอง
สื่อเพื่อประโยชน์สาธารณะ - จัดตั้งช่อง 11 , สถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ เป็นสื่อ เพื่อประโยชน์สาธารณะทั้งระดับชาติ และระดับท้องถิ่น / กำกับ โดย คณะกรรมการบริหาร ที่เป็นอิสระ - ITV กลับสู่ความเป็น TV เสรีตามเจตนารมณ์เดิม - ส่งเสริม สื่อ วิทยุ TV ขยายพื้นที่รายการเพื่อเด็ก สตรี และ ผู้ด้อยโอกาส อย่างเหมาะสม ทั้งความถี่และช่วงเวลา
โอกาสเป็นเจ้าของสื่อ - การจัดสรรคลื่นความถี่อย่างโปร่งใส เป็นธรรม - สนับสนุนการเกิดขึ้นของสื่อที่หลากหลาย / แข่งขันอย่างเสรี - วิทยุชุมชนต้องเป็นของภาคประชาชนเท่านั้น
การส่งเสริมคุณภาพสื่อ โดย - องค์กรภาคประชาชนผู้บริโภคสื่อ - กรรมการสิทธิมนุษยชน - สภาวิชาชีพ กำกับ-ควบคุม จรรยาวิชาชีพ - สร้างแรงจูงใจในการผลิตรายการคุณภาพ - ใช้ระบบ Rating ที่เหมาะสมกับสังคมไทยมากำกับ - เนื้อหาบางรายการ
นโยบายด้านขนส่งมวลชน//www.democrat.or.th/intention/bus.htm ต้องตามลิ้งไปดูนะครับ
แล้วผมจะเอานโยบายพรรคอื่น ๆ มาฝากนะครับ
Create Date : 03 พฤศจิกายน 2550 |
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2550 22:34:01 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1146 Pageviews. |
 |
|
|
| |
|
|