เหรียญมีสองด้าน แล้วแต่คุณจะเลือกมองด้านไหน
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2549
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
21 ตุลาคม 2549
 
All Blogs
 
การวัดรายได้ประชาชาติ

การวัดรายได้ประชาชาติมี 3 แนวทาง ได้แก่
- ด้านรายได้
- ด้านรายจ่าย
- ด้านผลผลิต
ซึ่งหลังจากที่เห็นกระแสการหมุนเวียนของเศรษฐกิจไปแล้ว
เราจะเห็นว่า การวัดรายได้ประชาชาติจากทั้ง 3 แนวทาง จะได้ผลลัพธ์ที่เท่ากัน

การวัดด้านรายได้
เป็นการวัดรายได้ทั้งหมดที่เจ้าของปัจจัยการผลิตได้รับจากการที่หน่วยธุรกิจได้ใช้ปัจจัยการผลิตเพื่อผลิตสินค้าและบริการ อันได้แก่ ค่าจ้าง ค่าเช่า ดอกเบี้ย และกำไร



Compensation of Employees ค่าตอบแทนของลูกจ้าง ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง และค่าตอบแทนอื่นที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้าง ทั้งที่เป็นเงินสดและไม่ใช่เงินสด

Income from Unincorporated Enterprises รายได้จากกิจการอื่นที่ไม่ใช่นิติบุคคล เช่น รายได้จากการเกษตร และการประกอบอาชีพอิสระ เป็นต้น

Income from Property รายได้จากทรัพย์สินของครัวเรือน และสถาบันไม่แสวงกำไร เช่น ค่าเช่าที่ดิน ดอกเบี้ย เงินปันผล เป็นต้น

Savings of Corporations and Government Enterprises เงินออมของนิติบุคคล ที่เป็นเงินออมสุทธิ ได้แก่ กำไรของธุรกิจนิติบุคคลเอกชน สหกรณ์ และรัฐวิสาหกิจ หลักจากที่หักภาษีเงินได้นิติบุคคล เงินปันผล และเงินส่วนที่รัฐวิสาหกิจต้องนำส่งรัฐแล้ว

Direct Taxed on Corporations ภาษีทางตรงจากนิติบุคคล คือภาษีเงินได้จากการประกอบการของธุรกิจนิติบุคคลเอกชน และรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด

Corporate Transfer Payments รายได้ของนิติบุคคลที่โอนให้แก่คนอื่น

General Government Income from Property and Enterpreneurship รายได้ของรัฐบาลจากทรัพย์สินและการประกอบการ ได้แก่รายได้ที่รัฐบาลได้รับจาก ค่าเช่า ดอกเบี้ย เงินปันผล และเงินส่วนแบ่งกำไรที่รัฐวิสาหกิจนำส่ง

Interest on the Public Debt ดอกเบี้ยหนี้สาธารณะ คือดอกเบี้ยจากการกู้ยืมของรัฐบาลที่นำมาใช้ในการซื้อสินค้าและบริการ ในทางปฏิบัติจะรวมดอกเบี้ยการการกู้ยืมเพื่อการลงทุนด้วย เพื่อให้การคำนวณด้านรายได้เป็นรายได้สุทธิ จึงต้องหักรายการนี้จากการคำนวณรายได้ประชาชาติด้วย

Interest on Consumers' Debt ดอกเบี้นหนี้ผู้บริโภค คือดอกเบี้ยที่ครัวเรือนกู้ยืมเพื่อการบริโภค ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลผลิต เพื่อให้การคำนวณด้านรายได้เป็นรายได้สุทธิ จึงต้องหักรายการนี้จากการคำนวณรายได้ประชาชาติด้วย


การวัดด้านรายจ่าย
เป็นการวัดรายจ่ายที่นำมาซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นในช่วงเลวาใดเวลาหนึ่ง คือ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค บริโภค และสะสมทุน ของภาครัฐบาลและภาคเอกชน และรวมถึงการส่งออกสุทธิด้วย



Private Consumption Expenditure คือมูลค่าการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคโดยตรง ที่ไม่ใช่เพื่อการผลิต ทั้งสินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ อาจแบ่งได้เป็นสินค้าถาวร (Durable Goods) เช่นรถยนต์นั่ง ตู้เย็น (เว้นการใช้จ่ายเพื่อที่อยู่อาศัย จะถือเป็นการใช้จ่ายเพื่อลงทุน) สินค้าไม่ถาวร (Nondurable Goods) เช่น อาหาร เสื้อผ้า เหล้า บุหรี่ และการบริการ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียน ค่าดูภาพยนตร์

General Government Consumption Expenditure คือมูลค่ารายจ่ายของรัฐบาลที่ใช้ในการบริหารราชการ การจัดการบริการต่างๆแก่ประชาชน ประกอบด้วย รายจ่ายสำหรับค่าตอบแทนแรงงาน และรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ หักด้วยรายรับที่เกิดจากผู้ประกอบการและครัวเรือนซื้อสินค้าและบริการจากรัฐบาล

Gross Domestic Fixed Capital Formation การสะสมทุนถาวรหรือการลงทุน คือมูลค่าการใช้จ่ายทั้งภาครัฐและเอกชนที่ก่อให้เกิดผลผลิตขึ้นในอนาคต (ถ้าหักค่าเสื่อมแล้ว จะเรียกว่าการลงทุนสุทธิ) เช่น สิ่งปลูกสร้าง เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตสินค้าและบริการที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 1 ปี

Change in Inventories การเปลี่ยนแปลงในสินค้าคงเหลือ หมายถึงมูลค่าที่เปลี่ยนไประหว่างปีของสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมและเหมืองแร่ ที่อยู่ในรูปสินค้าสำเร็จรูป ณ แหล่งผลิต (Final Goods) สินค้าระหว่างผลิต (Work in Progress) วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต (Raw Material) และสินค้าส่วนที่คงค้างอยู่ที่ผู้จำหน่าย (คำนวณจากกระแสการไหลเวียนของสินค้า)

Exports and Imports of Goods and Services คือมูลค่าสินค้าและบริการที่เกิดจากธุรกรรมการซื้อขาย การแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ

เมื่อนำมูลค่ารายจ่ายทั้งหมดหักด้วยความผิดพลาดทางสถิติ จะได้รายจ่ายผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

อย่างไรก็ตามรายจ่ายที่เกิดขึ้นในประเทศ เป็นการคำนว๊มูลค่าจากการใช่จ่ายที่เกิดขึ้นภายในประเทศ หรือใช้อาณาเขตบนแผนที่เป็นตัววัด นั่นหมายถึง ไม่ว่าใครชนชาติไหนก็ตาม ที่เข้ามาทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในอาณาเขตประเทศไทย จะนับเป็น GDP ของไทยทั้งหมด ดังนั้นจึงต้องบวกกลับด้วยรายได้ปัจจัยการผลิตสุทธิจากต่างประเทศ ซึ่งจะได้เป็น GNP ออกมา

นอกจากนั้นแล้ว ต้องหักหักด้วยภาษีทางอ้อมที่ลบด้วยเงินโอน (Indirect Taxes less Subsidies) ซึ่งถือเป็นส่วนบวกเพิ่มที่หน่วยธุรกิจผลักภาระมาที่ผู้บริโภค นอกจากนั้น ต้องหักด้วยค่าเสื่อมราคา (Depreciation) ที่ต้องมีการหักรายจ่ายส่วนหนึ่งมาสำรองค่าเสื่อมราคา เนื่องจากตามปกติแล้วทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าจะมีการสึกหรอหรือเสื่อมค่าลง จึงจำเป็นต้องนำรายจ่ายส่วนหนึ่งมาหักเป็นสำรองค่าเสื่อมราคาด้วย


การวัดด้านผลผลิต
เป็นการวัดผลรวมมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตขึ้นในประเทศในระยะเวลาหนึ่งๆ สามารถหามูลค่าของผลผลิตได้ 2 วิธีคือ
คิดเฉพาะมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย (Final Goods and Services) นั่นคือ คิดเฉพาะมูลค่าของสินค้าและบริการที่ซื้อไปเพื่อการบริโภค
คิดแบบมูลค่าเพิ่ม (Value Added) เนื่องจากการวัดมูลค่าสินค้าและบริการ อาจจะเกิดการนับซ้ำขึ้น (Double Counting) เนื่องจากสินค้าบางประเภทระบุได้ยากว่าเป็นสินค้าขั้นกลางหรือสินค้าขั้นสุดท้าย

ตัวอย่าง
1. ข้าวสาลีโตและเก็บเกี่ยว ขายได้มูลค่า 200 บาท
2. พ่อค้าซื้อข้าวสาลีนำไปแปรรูปเป็นแป้ง ขายในราคา 500 บาท
3. แม่ค้าซื้อแป้ง มาผลิตเป็นขนมปังขายในราคา 1000 บาท
จะเห็นได้ว่าในแต่ละขั้นตอน จะระบุได้ลำบากว่า สินค้าใดเป็นสินค้าขั้นกลาง สินค้าใด เป็นสินค้าขั้นสุดท้าย แต่หากเราใช้วิธีมูลค่าเพิ่มในการคำนวณ
1. มูลค่าเพิ่มเท่ากับ 200 (สมมติให้ต้นทุนเริ่มแรกเป็น 0)
2. มูลค่าเพิ่มเท่ากับ 300
3. มูลค่าเพิ่มเท่ากับ 500
เมื่อรวมมูลค่าเพิ่มทั้งหมด จะมีมูลค่าเพิ่มเท่ากับ 1000 บาท
แต่หากเรานับมูลค่าสินค้าทั้งหมดจะพบว่ามูลค่าจะสูงถึง 200+500+1000 ซึ่งเป็นมูลค่าที่มีการนับซ้ำ



จากตารางจะเห็นถึงการผลิตในแต่ละภาคเศรษฐกิจของประเทศ
อย่างไรก็ตาม ผลผลิตที่ออกมาเป็นผลผลิตที่มีมูลค่าเท่ากับรายจ่ายรวม จำเป็นต้องมีการปรับค่าเพื่อให้ตรงกับความหมายของรายได้ประชาชาติด้วยวิธีการเดียวกับรายจ่ายรวมก่อน จึงจะได้รายได้ประชาชาติออกมา

วันนี้ขอจบลงแค่นี้ก่อนแล้วกันครับ มึนตึ๊บแทน เหอๆๆ

ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


Create Date : 21 ตุลาคม 2549
Last Update : 23 ตุลาคม 2549 13:11:35 น. 0 comments
Counter : 23799 Pageviews.

TheShadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ข่าวเศรษฐกิจไทย
ข่าวต่างประเทศ


ข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศ
ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศ
ค้นคว้าข้อมูลทั่วไป
แหล่งเชื่อมโยงอื่นๆที่น่าสนใจ
Friends' blogs
[Add TheShadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.