เหรียญมีสองด้าน แล้วแต่คุณจะเลือกมองด้านไหน
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2549
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
13 พฤศจิกายน 2549
 
All Blogs
 
หนี้สาธารณะ

หนี้สาธารณะ (Public Debt) ในนิยามทั่วไป คือ หนี้หรือภาระที่เกิดจากหนี้นั้นๆ ซึ่งประชาชนของรัฐนั้นๆจะต้องรับผิดชอบ โดยคิดเป็นยอดสะสม (Stock)

ภาระหนี้ (Debt Service) คือภาระที่รัฐต้องจ่ายในในแต่ละช่วงเวลาหรือปีงบประมาณ โดยคิดเป็นกระแสเงิน (Flow)

สำหรับประเทศไทยแล้ว พระราชบัญญัติบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ได้นิยามหนี้สาธารณะของไทยไว้ว่า
"หนี้สาธารณะ เป็นหนี้ที่กระทรวงการคลัง หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจกู้ หรือที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน แต่ไม่รวมถึงหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจให้กู้ยืมโดยกระทรวงการคลังมิได้ค้ำประกัน"

นั่นหมายความว่า หนี้สาธารณะของไทย ประกอบไปด้วย
1. หนี้ที่รัฐบาลกู้ตรง ทั้งหนี้ในประเทศและหนี้ต่างประเทศ
2. หนี้ของรัฐวิสาหกิจทั้งที่รัฐบาลค้ำประกันและไม่ค้ำประกัน แต่ไม่รวมหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐไม่ได้ค้ำประกัน
ทั้งนี้ เนื่องจากหนี้เหล่านี้ เป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางนำเงินจากผู้ออมผ่านให้ผู้ลงทุน
3. นอกจากนั้นแล้ว ให้นับรวมหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินด้วย เพราะในช่วงวิกฤตสถาบันการเงินปี 2541 รัฐบาลได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือทางการเงินที่ประสบปัญหา

แต่ในความเป็นจริงแล้ว หนี้ของภาครัฐ ไม่ได้มีเพียงตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น ธนาคารโลกได้แบ่งได้ 4 แบบกว้างๆคือ
1. หนี้ทางตรง (Direct Liabilities) คิดค่าใช้จ่ายที่ถูกกำหนดโดยกฎหมายในปีงบประมาณปัจจุบัน รวมถึงค่าใช้จ่ายระยะยาวในรายการที่ได้รับอำนาจตามกฎหมาย ซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต
2. หนี้ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต (Contingent Liabilities) คิดภาระที่รวมถึงความไม่แน่นอนในอนาคตด้วย แต่ภาระดังกล่าวก็อาจเป็นศูนย์ หากความไม่แน่นอนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจริง
3. หนี้ชัดแจ้ง (Explicit Liabilities) คิดภาระที่เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ถูกกำหนดให้ชดใช้เมือถึงกำหนดชำระตามกฎหมายหรือสัญญา
4. หนี้ที่ไม่ชัดแจ้ง (Implicit Liabilities) คิดภาระที่อาจจะเกิดขึ้นกับรัฐบาล แม้ไม่ใช่ภาระตามกฎหมาย แต่รัฐบาลก็ถูกคาดหวังหรือแรงกดดันทางการเมืองให้ชำระหนี้

จากภาระหนี้ต่างๆข้างต้นสามารถแบ่งกลุ่มพร้อมตัวอย่างได้ดังนี้


อย่างไรก็ดี แม้จะมีการวางกรอบเพื่อหาหนี้ของภาครัฐ แต่การดำเนินนโยบายของภาครัฐก็เปลี่ยนแปลงไปตามวันและเวลา โดยเฉพาะในส่วนของนโยบายกึ่งการคลัง (Quasi-fiscal Activities) (ลองอ่านคร่าวๆจากขอบเขตภาครัฐดูนะครับ)
หากรัฐสั่งให้สถาบันการเงินในกำกับของรัฐปล่อยกู้ให้กับโครงการที่รัฐคิดขึ้นมา หนี้ส่วนไหนคือส่วนที่รัฐต้องรับผิดชอบ และหนี้ส่วนไหนที่ธนาคารดังกล่าวต้องรับผิดชอบ
เพราะเป้าหมายของรัฐและธนาคารมีความแตกต่างกัน ลูกหนี้ของธนาคาร ที่อยู่ภายใต้โครงการของรัฐและอยู่ภายใต้การดำเนินงานของธนาคาร จึงมีความแตกต่างกัน
เช่น รัฐสั่งให้ธนาคารปล่อยกู้แก่ลูกหนี้โครงการ SMEs แต่ก็ไม่ได้บอกว่า หากเกิด NPL ขึ้นแล้ว ใครจะรับผิดชอบ

อีกตัวอย่างหนึ่ง ในกรณีกองทุนบางกองทุนที่เป็นหน่วยงานของรัฐ ดำเนินงานประสบปัญหาขาดทุนขึ้นมา ก็ควรจะนับเป็นหนี้สาธารณะตามกฎหมายด้วย แต่รัฐกลับใช้วิธีให้เงินโอนแก่กองทุนนั้น โดยไม่ให้นำมาคิดเป็นหนี้สาธารณะ
ตรงนี้ยังเป็นปัญหาที่ยังคงมีให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน

แม้ตัวเลขหนี้สาธารณะของประเทศไทยในปัจจุบันจะยังคงคลุมเครือ อีกทั้งรายการหนี้สาธารณะของประเทศ ก็ไม่ได้ถูกแสดงตามนิยามของพรบ.หนี้สาธารณะปี 2548 ซึ่งก็ไม่รู้ว่า มีใครกำลังจงใจทำอะไรบางอย่างอยู่หรือไม่ แม้กระนั้นตัวเลขหนี้ที่ประกาศออกมา ก็ยังคงพอใช้พิจารณาสภาพเศรษฐกิจของประเทศได้บ้าง แต่ทั้งนี้ ต้องเข้าใจด้วยว่า อะไรที่ถูกแสดงออกมา และอะไรที่ยังคงอยู่ในเงามืดต่อไป


Create Date : 13 พฤศจิกายน 2549
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2549 17:09:19 น. 0 comments
Counter : 10718 Pageviews.

TheShadow
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 25 คน [?]




ข่าวเศรษฐกิจไทย
ข่าวต่างประเทศ


ข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศ
ข้อมูลเศรษฐกิจต่างประเทศ
ค้นคว้าข้อมูลทั่วไป
แหล่งเชื่อมโยงอื่นๆที่น่าสนใจ
Friends' blogs
[Add TheShadow's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.