space
space
space
 
กุมภาพันธ์ 2562
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
2425262728 
space
space
14 กุมภาพันธ์ 2562
space
space
space

ผลของมูลสัตว์ร่วมกับน้าหมักจากปลาต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้ามันในพื นที่ดินทรายมหาวิทยาลัยแม่โจ้ -


ปาล์มน้ามัน (oil palm) เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยในลาดับต้นๆ และมีการปลูกมากทางภาคใต้ ในปัจจุบันสามารถขยายพื้นที่ปลูกไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย และปาล์มน้ามันมีการใช้ประโยชน์ที่หลากหลาย ทั้งแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตลอดจนการผลิตใบโอดีเซล ประเทศไทยมีการปลูกปาล์มน้ามันมาช้านานแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 โดยปลูกในสถานีทดลองยางคอหงส์ จังหวัดสงขลา และสถานีกสิกรรมพลิ้ว จังหวัดจันทบุรีแต่ปลูกเพื่อเป็นปาล์มประดับเท่านั้น หลังจากนั้นมีการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ามันอย่างรวดเร็วในช่วงปี พ.ศ. 2525 จนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ามันทั้งหมดกว่า 4.7 ล้านไร่ และให้ผลผลิตแล้วกว่า 3 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่ปลูกปาล์มน้ามันส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตพื้นที่ภาคใต้ร้อยละ 86.7% ส่วนที่เหลือมีการกระจายพื้นที่ปลูกไปยังภาคกลาง และตะวันออกร่วมกันร้อยละ 11% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1.8% และภาคเหนืออีกร้อยละ 0.5% จากการสารวจ และการพิจารณาลักษณะดิน สภาพภูมิอากาศ ของกรมวิชาการเกษตรในปี พ.ศ. 2541 พบว่าประเทศไทยยังมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ามันประมาณ 24 ล้านไร่ โดย 13 ล้านไร่เป็นพื้นที่ที่สามารถให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่มากกว่า 3 ตัน/ไร่ และอีก 11 ล้านไร่ให้ผลผลิตอยู่ในช่วง 2.5 – 3 ตัน/ไร่ ซึ่งพื้นที่เหล่านั้นมีการปลูกปาล์มจริงเพียง 0.715 ล้านไร่ และรัฐบาลได้มีนโยบายในการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกปาล์มน้ามันที่เพิ่มขึ้น โดยมีเป้าหมายในการขยายพื้นที่ปลูกให้ได้ 10 ล้านไร่ในปี พ.ศ. 2572 เพื่อให้มีผลปาล์มน้ามัน 25 ล้านตัน และให้ได้น้ามันดิบ 4.50 ล้านตัน (กรมวิชาการเกษตร, 2548) การปลูกปาล์มน้ามันให้เจริญเติบโตดี มีผลผลิตต่อไร่สูงนั้นจาเป็นต้องมีปัจจัยหลายอย่างมาเกี่ยวข้อง เช่น อุณหภูมิ ปริมาณของแสงที่พืชได้รับ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้าฝนเฉลี่ยต่อปี แหล่งน้าที่ได้จากธรรมชาติ ธาตุอาหารของพืช ลักษณะโครงสร้างของดิน และการจัดการสวนปาล์มน้ามันที่ดี ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ามันมีการใช้สารเคมีทั้งสารเคมีกาจัดวัชพืช ปุ๋ยเคมี และสารเคมีชนิดอื่นๆ

ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีที่เป็นธาตุอาหารหลัก เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม มีการใช้เป็นจานวนมากทาให้ประเทศไทยมีการนาเข้าปุ๋ยเคมี จากต่างประเทศปีละหลายล้านต้น ในปี พ.ศ. 2553 มีการนาเข้าปุ๋ยเคมีทั้งสิ้น 5.2 ล้านตัน มีมูลค่ากว่า 65,000 ล้านบาท และยังพบว่ามีการนาเข้าปุ๋ยเคมีที่เพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ทาให้ประเทศไทย เสียดุลการค้า และมีต้นทุนการผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศไทยพึ่งพาการนาเข้าปุ๋ยเคมี จากต่างประเทศเป็นหลัก

การใช้สารเคมีในการปลูกปาล์มน้ามันที่เพิ่มขึ้นเป็นความเข้าใจของเกษตรกรที่ต้องการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงคงจะไม่ถูกมากนัก เนื่องจากปาล์มน้ามันมีความต้องการของธาตุอาหารแต่ละชนิดในระดับที่ไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับช่วงอายุของปาล์มน้ามัน และมีค่าเบี่ยงเบนค่าวิกฤติของธาตุอาหารในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งพืชต้องการกลุ่ม ธาตุมหธาตุ (macronutrient elements) เมื่อพืชโตเต็มวัยสูงกว่า 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมโดยน้าหนักแห้ง และธาตุจุลธาตุ (micronutrient elements) ในปริมาณต่ากว่า 100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมโดยน้าหนักแห้งเมื่อพืชโตเต็มวัย (ยงยุทธ, 2546) ดังนั้นการใช้สารกาจัดวัชพืชในแปลงปาล์มน้ามัน และปุ๋ยเคมีที่เพิ่มขึ้นจะทาให้โครงสร้างของดินเปลี่ยนแปลงไป มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสารเคมีเหล่านั้นยังไปทาลายวงจรชีวิตของจุลินทรีย์ในดินที่มีความสาคัญต่อการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน และการปลดปล่อยแร่ธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืชให้ลดลง และสารเคมียังมีผลตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย ทาให้มีความเสี่ยงสูงต่อร่างกายมนุษย์เมื่อนาไปอุปโภค และบริโภค ถ้าเกษตรกรมีความเข้าใจในเรื่องของการจัดการสวนปาล์มน้ามันแบบอินทรีย์ และการให้ปุ๋ยอินทรีย์แก่ต้นปาล์มน้ามันที่ถูกต้อง และบ่อยครั้งก็สามารทาให้ต้นปาล์มน้ามันเจริญเติบโต และให้ผลผลิตได้ ซึ่งประเทศไทยมีมูลสัตว์ชนิดต่างๆ และปุ๋ยอินทรีย์เป็นจานวนมากจึงเหมาะสมในการปลูกปาล์มน้ามันอินทรีย์ นอกจากนั้นปุ๋ยอินทรีย์ยังช่วยในการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร ซึ่งเป็นพื้นที่ดินทราย

ดังนั้นมหาวิทยาลัยแม่โจ้–ชุมพร ซึ่งมีแปลงปลูกปาล์มน้ามันอยู่แล้วจึงมีความสนใจในการศึกษาปลูกปาล์มน้ามันอินทรีย์โดยใช้มูลสัตว์ชนิดต่างๆ ร่วมกับน้าหมักจากปลาต่อการเจริญเติบโตของปาล์มน้ามันในพื้นที่ดินทราย และเพื่อเป็นฐานการเรียนรู้การปลูกปาล์มน้ามันอินทรีย์ที่เกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกปาล์มน้ามันสามารถเรียนรู้การผลิตปาล์มน้ามันแบบอินทรีย์อย่างยั่งยืนได้

ปุ๋ยอินทรีย์ (organic fertilizers) หมายถึง ปุ๋ยที่มีองค์ประกอบหลักเป็นสารอินทรีย์ต่างๆ ที่ได้จากซากพืช ซากสัตว์ สิ่งที่ขับถ่ายจากสัตว์ เช่น มูลสัตว์ ปัสสาวะ และปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากเศษเหลือของสารอินทรีย์ต่างๆ เซลล์จุลินทรีย์ และผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้ผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ในสภาพที่เหมาะสมแล้วเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่พืชสามารถดูดแร่ธาตุอาหารไปใช้ได้ และประเทศไทยพบว่ามีปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆ ในปริมาณที่มาก ซึ่งแต่ละชนิดมีปริมาณแร่ธาตุอาหารที่แตกต่างกัน และปุ๋ยอินทรีย์ที่พบในประเทศไทย ได้แก่

 

1. ปุ๋ยคอก (farm manure) หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ที่ประกอบด้วยอุจจาระ ปัสสาวะ ของสัตว์ต่างๆ เช่นโค กระบือ สุกร ม้า เป็ด ไก่ แกะ แพะ ค้างคาว และสัตว์อื่นๆ ผสมกับเศษอาหารต่างๆ เข้าไปด้วย ในปุ๋ยคอกจึงมีจุลินทรีย์ และสารอินทรีย์ต่างๆ มากมาย มีทั้งพวกที่เป็นฮิวมัสแล้ว และส่วนของอาหารที่ยังสลายตัวไม่หมด มีทั้งส่วนที่เป็นเซลลูโลส ลิกนิน และสารอินทรีย์อื่นๆ นอกจากนั้นยังพบว่ามีวิตามิน และฮอร์โมนพืช เช่น กรดอะมิโน (amino acid) ไทอามีน (thiamine) ไบโอติน (biotin) และไพริด็อกซิน (pyridoxine) เป็นต้น

น้าหมักจากปลา (Fish Amino Acid : FAA)

 

ปลาเป็นสัตว์ที่อุดมไปด้วยกรดมิโนชนิดต่างๆ สามารถนามาผลิตน้าหมักได้ทุกส่วนของปลา ดังนั้นเมื่อผ่านกระบวนการหมักแล้วจะได้น้าหมักปลาที่มีธาตุอาหารไนโตรเจน 1.48 ฟอสฟอรัส 0.18 โพแทสเซียม 1 แคลเซียม 0.56 และแมกนีเซียม 0.11 เปอร์เซ็นต์ ส่วนธาตุเหล็กมี 150 สังกะสี 200 แมงกานีส 100 และทองแดง 50 ppm มี pH 3.9 (วว., 2546) นอกจากนั้นน้าหมักปลายังมีส่วนช่วยกระตุ้นการทางานของจุลินทรีย์ในดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์แก่ดิน และกลุ่มแบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติก (Lactic Acids Bacteria) มีประโยชน์อย่างมากในการเกษตร เช่น เปลี่ยนสภาพดินที่ไม่ดีให้ดินดี และดินที่สะสมโรคให้กลับเป็นดินที่ต้านทานโรค โดยมีกลุ่มของจุลินทรีย์ที่สร้างสารปฏิชีวนะออกมาทาลายเชื้อโรคบางชนิดได้ เช่น เชื้อรา Aspergillus sp., Trichoderma sp. และเชื้อแอคติโนมัยซีท พวก Streptomyces sp. (อานัฐ, 2547) น้าหมักจากปลาอาจมีความเป็นกรดเหลืออยู่ ก่อนนาไปใช้ต้องทาการสะเทินกรดก่อนเนื่องจากกรดที่เหลืออาจเป็นอันตรายต่อพืชได้ โดยการผสมหินฟอสเฟตบดปุ๋ยสูตร 0-3-0 ในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อปุ๋ยปลาจานวน 100 ลิตร ในที่นี้อาจใช้กระดูกป่นหรือปูนขาวแทนการใช้หินฟอสเฟตบดได้ และการใช้ปุ๋ยน้า

 

 

หมักจากปลากับพืช โดยฉีดพ่นทางใบ ใช้ปุ๋ยน้า 1 ลิตร ต่อน้า 100 – 150 ลิตร ฉีดพ่น 7 – 10 วัน / ครั้ง แต่ในกรณีใช้ราดลงดิน ราดโคนต้นควรใช้ปุ๋ยน้า 1 ลิตร ต่อน้า 50 ลิตรใช้อย่างน้อยปีละ 3 – 4 ครั้ง หรือ 30 – 40 วัน/ครั้ง (สุริยา, 2545)

จากการสารวจและวางแผนการใช้ดินศูนย์ไร่ฝึกและการศึกษาต่อเนื่องละแม (มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร) สามารถจาแนกได้สาหรับดินที่เหมาะสมสาหรับการปลูกไม้ผลเป็น 5 ชั้น (ทรงวุฒิ และ วิสุทธิ์, 2527) ดังนี้

ชั้นที่ 1 ดินที่มีความเหมาะสมดีมากสาหรับไม้ผล

ชั้นที่ 2 ดินที่มีความเหมาะสมดีสาหรับไม้ผล

ชั้นที่ 3 ดินที่มีความเหมาะสมปานกลางสาหรับไม้ผล

ชั้นที่ 4 ดินที่ไม่ค่อยเหมาะสมสาหรับไม้ผล

ชั้นที่ 5 ดินที่ไม่เหมาะสมสาหรับไม้ผล

แหล่งที่มา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ –ชุมพร ต. ละแม อ. ละแม จ. ชุมพร

https://www.ธีธนโชติเกษตรภัณฑ์.com

https://www.facebook.com/Tethanachot/

 

 

 

 

 

 




Create Date : 14 กุมภาพันธ์ 2562
Last Update : 14 กุมภาพันธ์ 2562 13:13:53 น. 0 comments
Counter : 252 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 5097305
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 5097305's blog to your web]
space
space
space
space
space