คืนกำไรให้ชีวิต เพื่อพิชิตไปในโลกกว้าง
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2566
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
space
space
17 พฤษภาคม 2566
space
space
space

ภาษากาย
ภาษากาย

"ภาษากาย" เป็นโจทย์ตะพาบ หลักกิโลเมตรที่ 327   ผู้ตั้งโจทย์ คือ
คุณ จันทราน็อคเทิร์น

                  คำอธิบายโจทย์ (แนวทางการเขียน)
     
ภาษากาย  เป็นการสื่อสารด้วยกิริยา เพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด
ออกมา ใช้ภาษากายยังไงกันบ้าง แบบไหนที่ใช้บ่อย ๆ

    ภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน  ติดต่อกิจธุระหรือพูดคุยกัน  แบ่งเป็น 2
ประเภทใหญ่ ๆ  คือ  วัจนภาษา  และ อวัจนภาษา
 
 วัจนภาษา  คือ ภาษาที่มนุษย์สื่อสารกันโดยใช้คำพูด รวมถึงใช้ภาษา
เขียน ส่วน อวัจนภาษา  หรือ ที่เรียกว่า ภาษากาย
ตามโจทย์ นี้  คือ  ภาษาที่ไม่ได้ใช้ คำพูดและไม่ใช้ตัวอักษรในการ
สื่อสารกัน  แต่ใช้ ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
เป็นการบ่งบอกเรื่องที่ต้องการสื่อให้คนอื่นเข้าใจ อารมณ์ของตนเองใน
ขณะนั้น  เช่น  สีหน้าที่บึ้งตึง  ตาโตแสดงให้เห็นว่า
  อารมณ์ขณะนั้น  กำลังโกรธจัด ไม่ชอบ  เป็นต้น       

    ภาษาพูดนั้นเป็นการสื่อความคิด แต่ภาษากายสื่อความรู้สึกได้ลึกซึ้ง
ยิ่งกว่า เพราะว่าการใช้ความเคลื่อนไหว
หรือท่าทางของร่างกายประกอบการพูด  จะช่วยสื่อให้ผู้ฟังเข้าใจ
ตามความต้องการของเราได้เร็วและเข้าใจ
ได้ง่ายขึ้นด้วย  ทำให้การพูดนั้นมีชีวิตชีวา มีรสชาติมากขึ้น  น่าสนใจ
มากขึ้นด้วย ค่ะ  
คนเราสามารถแสดงความรู้สึกทางกายออกมาแทนคำพูดได้ด้วยการใช้
ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเรา  เช่น  สังเกตจาก
ท่าทางเฉี่อยชา หงุดหงิด แสดงว่าคน ๆ นั้นน่าจะต้องมีปัญหาอะไร
เกิดขึ้นกับตัวเขาท่าทางมองดูนาฬิกาบ่อย ๆ
อาจเดาได้ว่า  เขากำลังรอใครอยู่ หรือ อยากเลิกงานเร็ว ๆ อาจจะมีนัด
กับใคร  สีหน้า  จะเป็นการแสดงอารมณ์ได้มาก 
เช่น  สีหน้ายิ้มแย้ม  ย่อมบ่งบอกว่า อารมณ์ดี  มีความสุข  สีหน้า
ซีดเซียว อาจจะแสดงว่า  ไม่สบาย หรือกำลัง
วิตกกังวลอะไรบางอย่าง 
    ดวงตา ก็เป็นภาษากายอีกอย่างที่แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ต่าง ๆ ของ
คนเราได้หลายอารมณ์ เช่นกัน  เช่น ทำตาโต
อาจจะดีใจ  ตกใจ ทำตาเยิ้ม  ตาหวาน กับหญิง  แสดงถึงความเจ้าชู้
จีบสาว ทำตาลอย เหมือนคนตกอยู่ในความรัก
ทำตาถลึงใส่ โกรธ ไม่พอใจ  ฯลฯ  ดวงตา จึงเปรียบเหมือนหนึ่ง
หน้าต่างของหัวใจ  แสดงออกถึงความรัก 
ความเกลียด  ความโกรธ  ความเมตตากรุณา  หรือ สายตาที่กลอกไป
มา  สายตาล่อกแล่ก ย่อมบ่งบอกถึงความไม่จริงใจ



ภาษากาย ที่แสดงออกทางสีหน้า กุมขมับ เป็นการบ่งบอกว่า  มีเรื่อง
เครียด เรื่องไม่สบายใจ



ภาพนี้ เป็นภาษากาย ทางดวงตา ที่เศร้าสร้อย มีน้ำตาไหลด้วย
ย่อมแสดงให้ทราบว่า ตกอยู่ในอารมณ์เสียใจ



ภาพนี้ แสดงภาษากายทั้งแววตา  สีหน้าที่ยิ้มละไม อันบ่งบอกถึง
ความสุขในใจของเธอ  ค่ะ 



ภาพภาษากาย ภาพนี้  แสดงออกทั้งแววตา  สีหน้า  มือที่จับศีรษะ
ปากที่อ้ากว้าง ทำให้เรารู้ว่า เขาอยู่ในอารมณ์โกรธจัด



ภาพนี้ แสดงออกทางภาษากายจากดวงตาและรอยยิ้มบนใบหน้า
ของแต่ละบุคคล ย่อมแสดงให้เห็นถึงความรัก
ความอบอุ่นของคนในครอบครัว ค่ะ 

ในการแสดงนาฏศิลป์  คือ การร่ายรำ  ยังใช้ท่ารำ ซึ่งเป็นภาษากาย
บ่งบอกถึงอารมณ์ต่าง ๆ  ของตัวละคร นั้นด้วย
  ท่ารำ ก็คือ ภาษากาย  นั่นเอง  มาชมภาพ ค่ะ 



ท่ารำท่านี้ เป็นภาษากาย ที่แสดงถึงความรัก ค่ะ  



ท่ารำ ภาษากายท่านี้  แสดงถึงอารมณ์เอียงอายของตัวละคร ค่ะ



ท่ารำ ภาษากายท่านี้  แสดงถึงความเสียใจของตัวละคร 



ท่ารำ ภาษากายท่านี้  แสดงถึงอารมณ์โกรธของตัวละคร ค่ะ 

ประโยชน์ของภาษากาย
  ตามความเป็นจริง  มนุษย์สื่อสารด้วยภาษาพูดในชีวิตประจำวัน เพียง
10-20% เท่านั้น ส่วนที่เหลือเป็นแบบอวัจนภาษา
  ไม่ว่าจะเป็นภาษากายหรือการแสดงออกทางสีหน้า ดังนั้นความเข้าใจ
ในเรื่องนี้จะช่วยให้เราวิเคราะห์ผู้อื่นได้
อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในชีวิตการทำงาน เมื่อต้องพบปะพูดคุย
หรือนำเสนองาน เรามักตระเตรียมการแต่เฉพาะ
เนื้อหาหรือเรียบเรียงคำพูด สิ่งที่มักจะถูกมองข้ามไปทว่ามีความสำคัญ
แทบจะเป็นครึ่งหนึ่งของการสื่อสาร นั่นก็คือ
ภาษากาย หรือที่เรียกว่า Body language ซึ่งจะมีส่วนอย่างมากต่อ
ความน่าเชื่อถือความสัมพันธ์ ความไว้วางใจ ฯลฯ
เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เชื่อมโยงกับความสำเร็จทั้งในแต่ละภารกิจและ
หน้าที่การงาน

จากคำอธิบายของผู้ตั้งโจทย์   ให้ผู้เขียน  เขียนถึงการใช้ภาษากาย
อย่างไรกันบ้าง แบบไหนที่ใช้บ่อย ๆ  คำถามนี้
  ก็คงเหมือน ๆ กับคนอื่นทั่ว ๆ ไปน่ะนะ  เช่น ถ้าฉันไม่ชอบใจอะไร
ฉันก็มักจะชักสีหน้า แสดงความไม่ชอบตรงไปตรง
มาตามนิสัย  ซึ่งบางครั้ง ก็ไม่เป็นผลดีต่อตัวเองนักหรอก  เพราะทำให้
คนอื่นเขาจับอารมณ์เราได้  ถ้าคนนั้นเขาหวังดีต่อเรา
ก็ดีไป  ถ้าไม่หวังดี  ก็คงเอาเราไปนินทา  เพราะฉะนั้น  การแสดงภาษา
กายตรงเกินไป (ทั้ง ๆ ที่น่าจะเป็นสิ่งดี)
ก็อาจจะไม่เป็นผลดีต่อตัวเอง  การแสดงภาษากาย จึงต้องให้เหมาะกับ
สถานการณ์  เหมาะกับคนที่เราไว้ใจได้ด้วย ฉันว่าควรเป็นเช่นนั้น

 ในช่วงที่ฉันยังสอนหนังสือ  ฉันก็ได้ใช้ภาษากายค่อนข้างมาก  ก็คือ
การใช้มือประกอบในการสอน  ในการอธิบาย
  เช่น  การเล่าเรื่องการทำยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและ
พระมหาอุปราช   ขณะที่เล่า 
ฉันสามารถใช้ภาษากาย คือ มือประกอบท่า ของการชนช้างของทั้ง
สองฝ่าย  เพื่อเพิ่มความสนุกสนาน (ขึ้นอยู่
กับน้ำเสียง โทนเสียง เพื่อให้เกิดความตื่นเต้น)  ผู้ฟังก็จะนั่งฟังและ
พลอยตื่นเต้นไปด้วย  อย่างนี้เป็นต้น ค่ะ 
   หรือเวลาที่เห็นเด็ก ๆ นั่งคุยกันในขณะที่สอนอยู่  ก็ใช้สายตาจิกไปที่
นักเรียนที่คุยกัน  เขาก็จะรู้แล้วว่า  ครูไม่พอใจแล้วนะ
เขาไม่สนใจเรียน  เราไม่จำเป็นต้องใช้คำพูดดุว่าเขาให้ได้อายเพื่อน ๆ 
นี่ก็เป็นภาษากายที่ทำให้เกิดประโยชน์ในทาง
ที่ดีทั้งครูและนักเรียน ค่ะ   ที่เล่ามา  เป็นตัวอย่างที่ฉันใช้ภาษากายอยู่
บ่อย ๆ ประกอบการพูด การอธิบาย  ค่ะ  
               
หวังว่า  ตะพาบ  "ภาษากาย"  ที่ฉันเขียนเล่าให้อ่านนี้   คงจะตรงตาม
จุดประสงค์ของโจทย์ และให้ความรู้
ความเพลิดเพลินได้บ้างพอสมควร ค่ะ สวัสดี ค่ะ  


          





 



Create Date : 17 พฤษภาคม 2566
Last Update : 19 พฤษภาคม 2566 8:29:10 น. 26 comments
Counter : 832 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณเริงฤดีนะ, คุณThe Kop Civil, คุณกะว่าก๋า, คุณhaiku, คุณสองแผ่นดิน, คุณtoor36, คุณกิ่งฟ้า, คุณปัญญา Dh, คุณSweet_pills, คุณtanjira, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณkae+aoe, คุณหอมกร, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณทนายอ้วน, คุณดอยสะเก็ด, คุณ**mp5**


 
สวัสดีครับอาจารย์
แสดงออกทางสีหน้า แววตา ผมว่าสังเกตุง่ายสุดเลยนะครับ
ส่วนของผมเพื่อน ๆ บอกว่า สังเกตุผมอยากมาก เพราะผมจะหน้านิ่ง ไม่มีความรู้สึกเลยครับ แต่ไม่มีใครรู้เท่าตัวเราเองนะครับ ว่ารู้สึกยังงัยข้างใน


โดย: The Kop Civil วันที่: 19 พฤษภาคม 2566 เวลา:11:17:03 น.  

 
จำได้เลยครับ
ว่าสมัยเป็นเด็กได้เรียนเรื่อง
วัจนภาษา และ อวัจนภาษา ด้วยครับ

อาจารย์ฺอธิบายเรื่องภาษากายได้เห็นภาพชัดมาก
อย่างในการแสดง ก็ใช้ภาษากายค่อนข้างมากจริงๆครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 พฤษภาคม 2566 เวลา:12:47:58 น.  

 
ภาษากายหลายๆ อย่างมันไม่ค่อยโกหกเรา นอกเสียจากว่าคนที่เราสนทนาด้วยฝึกฝนมาเป็นอย่างดี มันก็อาจหลอกเราได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการที่เราใช้ภาษากายออกไปด้วยระหว่างสนทนา มันดีกว่าพูดคุยแบบหน้าตาย หรือไม่มีภาษากายอะไรออกไปเลยนะครับ


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 19 พฤษภาคม 2566 เวลา:23:55:43 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 พฤษภาคม 2566 เวลา:5:58:30 น.  

 
สวัสดีค่ะอาจารย์ ตะพาบวันนี้วิชาการล้วนๆเลยนะคะ อิอิ
เรื่องนี้ วัจนภาษาและอวัจนภาษาเคยสอนเด็กๆมาก่อนเหมือนกันค่ะ วันนี้อาจารย์เอามาเขียนลงในตะพาบตรงหัวข้อพอดีเลยนะคะเยี่ยมเลยค่ะได้ให้ความรู้ไปด้วยดีจริงๆ

Friendship Story Blog





โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 20 พฤษภาคม 2566 เวลา:7:05:10 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

ต้นไม้ในบล็อก
ผมไปถ่ายภาพเค้าทุกปีครับ
เพราะอยู่ที่วัดแถวบ้านมาดาม
บางช่วงก็ไปแบบมีใบเต็มต้น
บางช่วงก็ไม่มีใบครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 พฤษภาคม 2566 เวลา:14:08:58 น.  

 
สวัสดีครับอาจารย์

มาอ่านภาษากายครับ


โดย: ปัญญา Dh วันที่: 20 พฤษภาคม 2566 เวลา:21:17:51 น.  

 
สวัสดีค่ะอาจารย์ ขอบคุณมากนะคะที่ไปให้กำลังใจบล็อกตะพาบค่ะ
ลำปางอากาศร้อนมากเลยค่ะในบ่ายวันนี้ 37 องศาค่ะ ทั้งๆที่เมื่อคืนฝนตกหนักมาก แต่ก็ยังดีที่ฝนตกให้บ่อยๆค่ะ

ขอให้อาจารย์รักษาสุขภาพเช่นกันนะคะ โดยเฉพาะโควิด ยังไม่หายไปแถวบ้านกิ่งมีสูงอายุติดโควิดลงปอดเสียชีวิตวันนี้ตอนเช้า พอบ่ายก็เผาศพเลยค่ะ สลดใจมาก

ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรงไม่เจ็บไม่ป่วยมีความสุขมากๆค่ะ

หลับฝันดีนะคะ




โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 20 พฤษภาคม 2566 เวลา:22:14:18 น.  

 

ภาษากายเป็นภาษาสากล
สื่อสารเข้าใจกันได้โดยง่าย
ผ่านท่าทาง สีหน้า และ แววตา



โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 21 พฤษภาคม 2566 เวลา:4:55:05 น.  

 
สวัสดีค่ะอาจารย์

มาอ่านความรู้เกี่ยวกับภาษากาย ของอาจารย์ค่ะ

การแสดงออกทาง สีหน้า แววตา นี่ดูออกนะคะอาจารย์
ว่าคนคนนั้นคิดหรือรู้สึกยังไงน่ะค่ะ ....

อากาศยังร้อนมากมายอยู่นะคะ
อาจารย์ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ พยายามอย่าออกมาเจอแดดค่ะ

ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆนะคะ


โดย: tanjira วันที่: 21 พฤษภาคม 2566 เวลา:13:57:49 น.  

 
สวัสดีค่ะอาจารย์

เมื่อคืนต๋ามาดึกเลยได้แต่กดโหวตค่ะ

วิชาที่อาจารย์สอน
อาจารย์ใช้มือประกอบท่าของการชนช้าง ใช้น้ำเสียงประกอบ
น่าจะช่วยให้นักเรียนจดจำเรื่องราวได้ง่ายขึ้น
เด็กๆได้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินนะคะ

เทคนิคของลูกศิษย์อาจารย์จากผู้รู้จริงดีจริงๆค่ะ
เลยทำให้ได้เห็ดฟางจานอร่อยมา

ประทับใจกับลูกศิษย์อาจารย์ทุกท่าน
ที่คอยแวะมารับอาจารย์ไปทำกิจกรรมต่างๆ
คอยส่งขนม คอยแวะนำอาหาร นำของฝากมาให้
น่าอบอุ่นใจมากๆนะคะ

บล็อกใหม่ต๋ากำลังทำค่ะอาจารย์
แล้วต๋าจะแวะมาใหม่นะคะ
อาจารย์นอนหลับฝันดีคืนนี้ค่ะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 22 พฤษภาคม 2566 เวลา:0:19:40 น.  

 

สวัสดีครับอาจารย์

หายไปหนึ่งวัน
คอมผมเสียอีกแล้วครับ 555





โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 พฤษภาคม 2566 เวลา:9:12:29 น.  

 
โขนนี่ใช้ภาษากายมากที่สุดค่ะอาจารย์



โดย: หอมกร วันที่: 22 พฤษภาคม 2566 เวลา:11:00:05 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

รอบที่แล้วซ่อมไป 7 พัน
รอบนี้ 9 พัน
ถ้าเติมเงินอีกนิดก็ได้เครื่องใหม่แล้วครับ 555

แต่ผมก็รักเจ้าเครื่องนี้มากครับ
รูปและวงานอยู่ในเครื่องนี้หมดเลย
โปรแกรมที่ชอบก็อยู่ครบ
เลยยังไม่อยากเปลี่ยนครับ
ซ่อมได้ก็ซ่อมไปก่อน

ตอนนี้คอม 2 หมื่น
ก็สุดยอดแล้วล่ะครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 พฤษภาคม 2566 เวลา:21:20:47 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 23 พฤษภาคม 2566 เวลา:5:27:52 น.  

 
สวัสดีครับอาจารย์


ได้ยินคำว่า อวจนภาษา วจนภาษา นึกถึงวิชาภาษาไทยตอนมัธยมปลายเลยครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 23 พฤษภาคม 2566 เวลา:8:15:07 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

ผมชอบกวีฝรั่งที่เคยเขียนไว้ว่า
ถ้ามีทางที่เดินง่ายๆ คนเดินไปเยอะ
ฉันขอเดินไปบนทางเปลี่ยนและวกวนดีกว่า

ผมเคยเป็นคนที่คิดแบบนี้ครับ 555
อะไรที่คนคิดว่าง่าย สบาย สะดวก
ผมไม่ค่อยเลือก
แต่เลือกทางที่คนไม่ค่อยเลือก
เพราะมันท้าทายตัวเองดีครับ

ปกติผมเซฟงานของตัวเองไว้สองสามที่เลยครับอาจารย์
มีใส่ EX Hardisk ด้วย แต่ภาพถ่ายมักจะลืมเซฟ
เพราะติดอยู่ในเครื่องนี่ล่ะครับ 555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 23 พฤษภาคม 2566 เวลา:15:59:27 น.  

 
นิยายตอนใหม่มาแล้วค่ะ เิญไปอานได้เลยนะคะ


โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 23 พฤษภาคม 2566 เวลา:22:14:11 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 24 พฤษภาคม 2566 เวลา:5:35:28 น.  

 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 24 พฤษภาคม 2566 เวลา:9:45:34 น.  

 
โอ้โห...ขอบคุณมากครับอาจารย์

ผมไม่เคยทราบที่มาของคำว่าอิจฉาและริษยาเลยครับ
อาจารย์อธิบายได้ดีมากๆครับ
แต่ปัจจุบัน
ถ้าใช้คำว่าอิจฉา
ก็ยากที่จะตีความในทางบวกจริงๆครับ
คงเพราะคนส่สวนใหญ่เคยชินกับความหมายของคำทางลบไปแล้วนะครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 24 พฤษภาคม 2566 เวลา:9:55:53 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 พฤษภาคม 2566 เวลา:4:55:38 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

ผมเห็นด้วยกับอาจารย์เลยครับ
ว่าภาษาไทยเรามีความงดงาม
และกินความหมายได้กว้างขวางมาก
แค่สลับดำแหน่งของคำ
ความหมายของคำก็เปลี่ยนไปเลย



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 25 พฤษภาคม 2566 เวลา:10:39:58 น.  

 
วันนี้มาก่อนเที่ยงคืนนิดหน่อยค่ะ ^^
อาจารย์นอนหลับฝันดีคืนนี้นะคะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 25 พฤษภาคม 2566 เวลา:23:58:29 น.  

 

อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 พฤษภาคม 2566 เวลา:5:28:46 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

ผมเพิ่งกลับมาจากโรงพยาบาลครับ
ตอนแรกคิดว่าเป็นลองโควิด
แต่หมอบอกว่าเป็นไซนัสอักเสบ
ดป็นผลข้างเคียงจากโควิด
แล้วคนก็เป็นกันเยอะมากครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 26 พฤษภาคม 2566 เวลา:15:09:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

อาจารย์สุวิมล
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 46 คน [?]




เป็นครูสอนภาษาไทยที่เกษียณอายุราชการแล้ว สนใจเรื่องการเขียนหนังสือให้ความรู้ ชอบการท่องเที่ยว หากท่านที่เข้ามาชมและอ่านแล้ว มีความสนใจและต้องการสอบถามเรื่องความรู้ด้านภาษาไทย ถ้ามีความสามารถจะให้ความรู้ได้ ก็ยินดีค่ะ

http://i697.photobucket.com/albums/vv337/dd6728/color_line17.gif
space
space
space
space
[Add อาจารย์สุวิมล's blog to your web]
space
space
space
space
space