คืนกำไรให้ชีวิต เพื่อพิชิตไปในโลกกว้าง
space
space
space
<<
กันยายน 2567
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
space
space
5 กันยายน 2567
space
space
space

ชวนไปเที่ยว เมืองอัมริตสาห์ ประเทศอิ นเดีย ตอนที่ 4 ค่ะ
ชวนไปเที่ยว เมืองอัมริตสาห์ ประเทศอินเดีย ตอนที่ 4 

บล็อกที่ 3  ฉันพาไปเที่ยวเมืองธรรมศาลา  ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่อง วัดวาอาราม
ในสไตล์ทิเบต   สำหรับบล็อกนี้ พวกเราจะเดินทางไปเที่ยว
เมืองอัมริตสาร์  ซึ่งเป็นเมืองที่มีไฮไลท์ คือ ปราสาทเงิน และวิหารทองคำ
การเปลี่ยนเวรยามของทหารที่ ด่านวากาห์
       
เช้านี้ 25 มิ.ย. รถจะออก 8.00 น. อาหารเช้า ให้ทางโรงแรมทำอาหารเป็น แซนด์วิช 
ให้พวกเรากินกันที่รถ  การเดินทางจากเมือง ธรรมศาลา
ไปเมืองอัมริสสาห์  เป็นระยะทาง 250 กิโลเมตร   เราจึงกินข้าว แซนด์วิช บนรถ
ไม่ได้รสชาติอะไรมากนัก แก้หิวมื้อเช้า 
        รถแล่นไปได้ประมาณเกือบสองชั่วโมง  ประดิฟ คนขับรถของเราก็ขับรถไปจอดที่
โรงแรมแห่งหนึ่ง  เป็นโรงแรมใหญ่และสวยงาม  เพื่อให้พวกเรา
เข้าห้องน้ำ และนั่งพัก  ทั้งคน ทั้งรถ เขามีบ้านเล็ก ๆ ให้แขกมานั่งดื่มกาแฟ
กินขนมด้วย  เข้าห้องน้ำแล้ว  จอยอุดหนุนกาแฟของ
ที่นี่ 1 ถ้วยด้วย จ้ะ พวกเราก็ถ่ายรูป  ชมวิวทิวทัศน์ บริเวณโรงแรมนี้ ค่ะ  มาชมรูป ค่ะ 




นำแซนด์วิชลงมากินในห้องเล็ก ๆ ที่เรียงรายอยู่รอบ ๆ โรงแรม ด้วย



รูปบ้านเล็ก ๆ ที่อยู่รอบโรงแรม เพื่อให้คนมานั่งจิบการแฟ 



จอยอุดหนุกาแฟ ที่นี่  พร้อมมานั่งในห้อง ด้วย 

 ออกจากโรงแรมนี้แล้ว  รถก็แล่นต่อไป  นั่งคุยกันบ้าง หลับบ้างไปตามสะดวกของแต่ละคน 
น่าจะประมาณเที่ยงแล้ว   รถก็จอดที่ร้านอาหารร้านหนึ่ง  คิดว่า
เกดคงได้ติดตามกับทางบริษัทจัดให้เอาร้านอาหารนี้  มีคนออกมาต้อนรับเรา  ตอนต้นนึกว่า
เป็นเจ้าของร้าน  แต่มารู้ทีหลัง  ไม่ใช่ค่ะ  เขาเป็นไกด์ในวันนี้ ที่จะพา
เที่ยวประสาทเงิน  วิหารทองคำ และดูพิธีเปลี่ยนเวรยามของทหารทั้งฝ่ายอินเดียและปากีสถาน  ค่ะ 
          อาหารวันนี้ เจ้าของร้านมั้งเป็นคนนำเสนออาหาร ดูอร่อยกว่าทุกมื้อ
  มีไก่ย่าง น้ำซุปร้อน ๆ ข้าวผัด แล้วก็คงมีโรตีเหมือนเดิม ค่ะ มาดูบรรยาการที่ร้านอาหาร
มื้อเที่ยงวันนี้ ค่ะ 



อาหารมื้อเที่ยว  ข้าวห่อโรตี





ไก่ทอด  วันนี้เลยเป็นมื้อเที่ยงที่อร่อยมากกว่าทุกวันที่ผ่านมา ค่ะ





จานนี้อร่อย  แปล๊บเดียว หมดจานเลย



ฉันสั่งพั้นซ์กินด้วย อร่อย ค่ะ ฝั่งตรงข้ามฉัน คือ มัคคุเทศก์ ชาวซิกข์ ค่ะ 



ซุปนี้ เป็นซุปผัก มีรสเปรี้ยว ๆ ร้อน ๆ ซดคล่องคอดี ค่ะ 



โฉมหน้าสมาชิกที่มาทริปนี้  ค่ะ 











อิ่มกันแล้ว  ออกจากร้านนี้ ก็ถ่ายรูปหน้าร้านอาหารนี้ไว้เป็นที่ระลึกด้วย ค่ะ 

กินอาหารมื้อกลางวันเสร็จแล้ว   ไกด์ท้องถิ่นก็พาเราไปเที่ยว วัดฮินดูสีเงิน  ก่อนจะเขียนถึงวัดสีเงิน 
มารู้จักเมือง อัมริตสาร์ สักเล็กน้อย ค่ะ

    อัมริตสาร์ (Amritsar) หรือ อมฤตสระ หรือ ชื่อเก่า คือ รามทาสปุระ   เป็นเมืองการค้าทางเหนือ-ตะวันตก
ของประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ในรัฐปัญจาบใกล้กับเขตแดน
ของประเทศปากีสถาน ห่างจากเมืองหลวงอย่างนิวเดลีประมาณ 410 กิโลเมตรค่ะ  เป็นเมืองใหญ่สุด
อันดับสองของรัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย รองจากนครลุธิอานา 
อมฤตสระเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมหนึ่งของภูมิภาค และเป็นศูนย์กลางการปกครอง
ของอำเภออมฤตสระ ข้อมูลจากสำมะโนปี 2011 มีประชากร
1,132,761 คน และเป็นหนึ่งในสิบพื้นที่ภายใต้การดูแลของเทศบาลนคร นายกเทศมนตรี
คนปัจจุบันคือการัมชีต สิงห์ รินตุ (Karamjit Singh Rintu)
        อมฤตสระเป็นหนึ่งในนครที่ได้รับการคัดเลือกเป็นนครอนุรักษ์ของโครงการ "หฤทัย" โดยรัฐบาลอินเดีย
อมฤตสระเป็นที่รู้จักในฐานะที่ตั้งของหริมนทเทียรสาหิบ 
หรือที่รู้จักในชื่อ "วิหารทอง" ศูนย์กลางทางจิตวิญญาณสูงสุดของศาสนาซิกข์ และแหล่งผลิต
ตัวหมากรุกไม้  แห่งแรก ที่ไกด์ท้องถิ่นพาเราไปชม  คือ
วัดฮินดูสีเงิน  หรือ เรียกว่า วิหารเงิน  (สงสัยต้องการให้คู่กับวิหารทองคำ ) 

        วิหารเงิน หรือ วัดเงิน  คือ วัดศรีดูร์ไกอาน่า (Sri Durgiana Temple)  เป็นสถานที่คู่บุญอีกแห่งหนึ่ง
ของเมืองอัมริตสาร์ ถ้ามาวิหารทองคำแล้วจะพลาดที่นี่ไม่ได้เลย
 นั่นคือ วัดศรีดูร์ไกอาน่า  (Sri Durgiana Temple) เป็นวัดฮินดูที่สร้างเพื่อถวายแก่เทพเจ้าดูการ์
(Dugar)หรือพระแม่ทุรคา ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
คล้ายกับวิหารทองแต่มีขนาดเล็กกว่า 

มีการเดินรอบสระน้ำศักดิ์สิทธิ์และฟังเสียงสวดมนต์ที่ขับขานตราตรึง ขณะที่เดินลัดเลาะตาม
วิหารอายุหลายร้อยปีและชมรูปปั้นของเหล่าเทพ 
วิหารดูร์ไกอาน่าให้ความรู้สึกสงบ ร่มเย็น และเลื่อมใสให้กับผู้มาเยือน ฟังเสียงบทสวดศักดิ์สิทธิ์
ชื่นชมสถาปัตยกรรมของวิหารที่น่าทึ่ง ชมผู้เลื่อมใสถวายของ
สักการะเหล่าเทพและเป็นส่วนหนึ่งของงานเฉลิมฉลองที่เต็มไปด้วยสีสัน  วิหารดูร์ไกอาน่า
เป็นอารามศาสนาฮินดูในศตวรรษที่ 16 ที่อุทิศแด่พระแม่ทุรคา
วิหารแห่งนี้ล้อมรอบซาโรวาร์ (สระน้ำโบราณ) ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับวิหารทองคำ
ของศาสนาซิกข์แห่งเมืองอมฤตสาร   ร่วมเดินกับผู้เลื่อมใสรอบ  ๆ
ปริกรมของวิหาร ซึ่งก็คือทางเดินหินอ่อนเวียนรอบซาโรวาร์ ในช่วงเช้าตรู่และช่วงเย็น
คุณจะได้ยินบทสวดภชันที่สร้างบรรยากาศที่เปี่ยมด้วย
มนต์ขลังไปทั่วบริเวณ   ชมน้ำพุและบ่อปลาที่เต็มไปด้วยปลามากมายแหวกว่ายในน้ำ
ศักดิ์สิทธิ์ มองหารูปปั้นเทพเจ้าฮินดูกลางน้ำ เช่น
พระกฤษณะ และพระวิษณุชมวิหารสำคัญๆ เช่นบารา หนุมาน มันดีร์ และชีตะลา มาตา มันดีร์
ที่มีอายุกว่า 600 ปี ดูภายในลังกา ภวัน ซึ่งเป็นโรงอาหารชุมชน
ที่มีพื้นที่สำหรับนักแสวงบุญประมาณ 250 คน
       
 วิหารศรีลักษมีนารายันมันดีร์ เป็นวิหารหลักที่ตั้งตระหง่านอยู่ใจกลางซาโรวาร์ และสามารถ
เดินเข้าถึงได้บนทางหินอ่อน แหงนมองโดมปิดทองระยิบระยับ
และชมความงามของประตูเงินแกะสลัก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเรียกว่าเป็นวิหารเงิน
ใช้เวลาในการชื่นชมจารึกทางศาสนาและงานแกะสลักอันวิจิตรที่ตกแต่ง
ผนังภายนอก เดินเข้าสู่ภายในเพื่อชมภาพวาดของเทพเจ้า และเฝ้าสังเกตนักแสวงบุญ
ขอพรด้วยความเคารพ
       
  วิหารแห่งนี้ตั้งอยู่ทางเหนือของศูนย์กลางประวัติศาสตร์เมืองอมฤตสาร์ และสามารถเดินได้
จากสถานีรถไฟอมฤตสาร์เพียง 15 นาที สถานที่
น่าสนใจในบริเวณใกล้เคียง ได้แก่ ประตู Hathi ซึ่งเป็นหนึ่งใน 12 ประตูในยุคกลาง
ที่รายล้อมตัวเมืองเก่า แวะเดินซอยที่พลุกพล่านของ
ตลาดคาตรา ไยมาล ซิงห์วิหารดูร์ไกอาน่าเปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เช้าถึงเย็น
และไม่ต้องเสียค่าเข้าชม ช่วงเวลาในการเยี่ยมชม
ที่ดีคือช่วงก่อนพระอาทิตย์ตกดิน ซึ่งจะเต็มไปด้วยแสงสว่างสดใสประดับวิหารหลัก
และสระน้ำอย่างงดงาม จัดเวลามาเยี่ยมชมให้ตรงกับช่วงที่
มีการเฉลิมฉลองในศาสนาฮินดูที่คึกคัก เช่นเทศกาลดิวาลี หรือดุชเชห์ร่า หาข้อมูลได้เพิ่มเติมได้
จากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของวิหาร  (รวบรวมและเรียบเรียงจาก อินเทอร์เน็ต) 

วัดนี้ ไกด์พามาหลังจากกินอาหารมื้อเที่ยง แล้ว  มาถึงที่นี่  อากาศร้อนมาก ทางเดินเข้าวัด
ก็ไกลเหมือนกัน  ได้เห็นสระน้ำใหญ่  มีองค์เทพกลางน้ำ 
และเมื่อถึงตัววัดต้องถอดรองเท้า  ถุงเท้า ฝากไว้ด้านนอก  พื้นที่เดินนั้น ร้อนมาก
ถึงจะมีของปูพื้นให้เดินตามทางเดินก็ตาม  ในตัววัด มีรูปเทพเจ้า
ทางศาสนาฮินดู  ไกด์พาเราเข้าไปกราบเทพเจ้าในห้อง ๆ หนึ่ง  มีหญิงชาวฮินดูร้องเพลง 
มีเครื่องดนตรีแจกให้แขกร่วมสั่นเครื่องดนตรีชนิดนั้น ด้วย 
แต่พวกเราไม่ได้อยู่นาน  ยังมีอีกหลายจุดที่จะไป  มาชมรูปที่ถ่ายกันที่วัดเงิน ค่ะ 



ทางเดินเข้าไปในตัววัด ค่ะ 



มีระฆังให้ดึงเชือก สั่นให้เกิดเสียงด้วย ค่ะ 



เทพของชาวฮินดู  ที่สร้างอยู่กลางสระน้ำ ค่ะ 



รูปนี้ น่าจะเป็นพระศิวะ  ค่ะ 





ทางเดินเข้าไปตัววัด ค่ะ สองข้างของทางเดินเป็นสระน้ำใหญ่ ค่ะ 



เครื่องดนตรีที่เขาให้ถือ สั่นไปตามจังหวะไปพร้อมกับต้นเสียงที่ร้องเพลง ค่ะ 



พระพิฆเณศร์ ในห้องนี้ มีชาวบ้านและนักท่องเที่ยวมาสักการะ ค่ะ 



ห้องที่เรามานั่งฟังเพลงหรืออาจจะเป็นบทสวด แต่เราฟังไม่ออก ค่ะ 



ประตูที่สวยงาม ค่ะ 







ถ่ายหมูกันบ้าง 





ลวดลายบนประตูแต่ละบาน แกะสลักสวยงามมาก ๆ ค่ะ 








          จากวัดนี้แล้ว  มัคคุเทศก์ ก็พาพวกเราเข้าร้านขายของ  มีแต่ของสวย ๆ งาม ๆ เป็นของชิ้นใหญ่
ชิ้นเล็ก ผ้าพันคอ รูปปั้น เทพต่าง ๆ ของ ฮินดู แต่ราคาสูงมาก
พวกเราเลยไม่มีใครซื้อเลย ได้แต่ถ่ายรูปของสวย ๆ งาม ๆ มาฝากให้ชมเท่านั้น ค่ะ 



หน้าร้านขายของ ค่ะ 



คุณแต๋วขอให้ช่วยถ่ายตู้ใบนี้ ค่ะ ชอบใจความงามของตู้ ค่ะ 












ออกจากที่นี่แล้ว  ก็มุ่งหน้าไปยังสถานที่ที่จะมีพิธีเปลี่ยนเวรยาม ที่ ด่านวากาห์  (Wagah Border)
  ซึ่งต้องเดินเข้าไปยังสนามแสดง ไกลมากเหมือนกัน  มารู้พิธีนี้สักเล็กน้อยค่ะ 
           พิธีเปลี่ยนเวรยาม ที่ด่านวากาห์  เป็นไฮไลท์หนึ่งของการมาเที่ยวเมืองอัมริตสาร์   ด่านนี้อยู่บริเวณ
พรมแดนระหว่าง อินเดียและปากีสถาน  โดยเมื่อถึงเวลา
ทหารอินเดียและทหารปากีสถาน  จะมีการทำพิธีเปลี่ยนเวรยามที่ดูน่าตื่นตาตื่นใจ  โดยจะมีการประชัน
ลีลาต่าง ๆ แข่งขันกันอย่างจริงจัง  ชนิดที่ว่าไม่มีใครยอมใคร  
สร้างความสนุกสนานและตื่นตาตื่นใจแก่นักท่องเที่ยวที่มาชมการแสดงเป็นอย่างมาก  
          มัคคุเทศก์ ที่เป็นชาวซิกข์ โพกหัวด้วยผ้าโพกสีเหลืองสวย 
นำหน้าพาพวกเราเดินไปไกลมากพอสมควร  ระหว่างทางมีการตรวจพาสปอร์ต  โดยมีทหารเป็นผู้ตรวจ
คงคัดกรองความปลอดภัย มั้ง ระหว่างทางมีรูปปั้นน่าจะเป็นคนสำคัญ
  มีสัญลักษณ์ จับมือกัน  (รูปมือ)  พวกเราก็ถ่ายรูปกัน  การแสดงยังไม่ถึงเวลา  มัคคุเทศก์ ถ่ายรูปหมู่
ให้เราด้วย   แล้วก็พาเราไปส่งเพื่อเข้าไปยังสนามที่จะมีการแสดง
  สองฟากฝั่งของสนาม เป็นสแตนด์ที่นั่งเหมือนเราไปเชียร์กีฬา เข้าไปถึงสนาม  คนนั่งบนสแตนด์เชียร์
เต็มทั้งสองฝั่งเลย  เหลือที่นั่งไม่กี่ที่ พวกเราเดินตรงไปถึงสุดท้าย
ที่ติดกับฝั่งปากีสถาน  ซึ่งมีเพียงประตูเหล็กกั้นเป็นเขตแดนของทั้งสองประเทศ  หาที่นั่งได้ 
โดยต้องกระจายกันนั่ง เพราะเหลือ 1 ที่บ้าง  สองที่บ้าง
  เวลาตอนนี้น่าจะประมาณ ห้าโมงกว่าแล้ว  อากาศก็ยังร้อนมาก ๆ พัดลมมือถือที่เกดแจก
พวกเราคนละเครื่องพอช่วยได้  แต่ไม่นานเท่าไร  แบต ก็หมด 
นั่งทนร้อนกัน  แดดก็ส่องมา  กว่าจะมีการแสดงก็ประมาณ หก โมงเย็น  ทหารที่จะแสดงนั้น
เริ่มเดินเข้าสนามเป็นชุด  ชุดละ 2 คนบ้าง  เป็นกลุ่มบ้าง
  มีทหารผู้หญิง 2 คนด้วย ทะมัดทะแมงดี  หน้าสวย  เข้มแข็ง สง่า  ยกเท้าเตะไปข้างหน้า เวลา
เดินไปข้างหน้าทั้งทหารหญิงและชาย  ทำเหมือนกัน 
เวลาทหารเข้ามาในสนาม เสียงโห่ร้องดัง ต้อนรับอย่างครึกครื้น  มีทหารอีกคนทำหน้าที่เหมือน
คนกระตุ้นให้ผู้ชมเชียร์  มาชมภาพและวิดีโอ ที่เพื่อนถ่ายเอาไว้ ค่ะ 



รูปนี้อยู่ก่อนเข้าไปยังสแตนด์เชียร์  ค่ะ 







ด้านหลังรูปของพวกเรา  คือ สนามที่แสดงการเปลี่ยนเวรยามของทหาร ค่ะ 





ทหารผู้หญิง ค่ะ หน้าสวย คมเข้ม ค่ะ 



ดูการแต่งกายของทหาร ชุดสวยดี เนาะ 



ประชาชนและนักท่องเที่ยวมาดูพิธีเปลี่ยนเวรยามของทหาร  มีมากมาย ค่ะ 







ภาพนี้  ทางซ้ายมือ จะเป็นฝั่ง ปากีสถาน ที่แสดง พิธีเปลี่ยนเวรยามประชันกับ
ฝ่ายอินเดีย ค่ะ ทั้งสองฝ่าย เชียร์กันมันมาก ค่ะ 










 
ออกจากที่ด่านวากาห์  พวกเราก็ออกมารอไกด์ ตามที่นัดไว้  คือ รูปที่มีมือจับกัน  ไกด์โพกผ้าสีเหลือง
เห็นเด่นชัดดี  พักใหญ่ ๆ  ก็เจอกัน  เดินกลับรถที่จอดรออยู่  
โปรแกรมต่อไป ก็คือ ไปชมวิหารทองคำ  ไฮไลท์ ของเมือง อัมริตสาห์  มีประวัติความเป็นมา  ดังนี้ ค่ะ 
        วิหารทองคำ หรือ พระวิหารฮัรมัรดิร ซาฮิบ  (ฮัรมันดิร ซาฮิบ มีความหมายว่า
สถานที่สถิตของพระผู้เป็นเจ้า) ตั้งอยู่ที่เมืองอมฤตสระ  (อัมริตสาห์) รัฐปัญจาบทางภาคเหนือของ
ประเทศอินเดีย ที่นี่เป็นดั่งสัญลักษณ์สูงสุด และศูนย์รวมทางจิตใจ
ของชาวซิกข์ ที่สักครั้งหนึ่งในชีวิตจะต้องเดินทางมาถวายสักการะเมื่อมีโอกาส แม้จะเป็นที่
ที่สำคัญมากๆ แต่ก็เปิดรับศาสนิกชนจากทุกชนชั้นทุกเพศ
ทุกวัย ทุกศาสนา และทุกเวลา (ที่นี่เปิดให้เข้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง) จึงทำให้เราได้เห็นภาพของผู้คน
เดินทางเข้ามาเยี่ยมชม สักการะกันอย่างไม่ขาดสายตลอดทุก ๆ วัน
     
 ประวัติของพระวิหารฮัรมันดิร ซาฮิบ แห่งนี้ เริ่มต้นที่ ท่าน คุรุ อมัรดาส ยิ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่ม
ให้มีการสร้างศาสนสถานสำหรับชาวซิกข์ทั้งปวง
ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่เป็นแรงจูงใจให้ท่านพระศาสดาเกิดความคิดในการสร้างศาสนสถานนี้
ขึ้นมาก็คือ การสืบทอดวัฒนธรรมของการสร้างศาสนสถาน
แห่งใหม่ขึ้นมา เพื่อให้ชาวซิกข์ทั้งหลายได้ใช้เป็นสถานที่ในการร่วมชุมนุมกันอย่างพร้อมเพรียง ซึ่ง
เป็นวัฒนธรรมที่ปฏิบัติสืบทอดมาจากพระศาสดาองค์ก่อนหน้าท่านนั่นเอง
ปัจจัยที่สองที่ช่วยทำให้การสร้างพระวิหารนี้สำเร็จ ก็คือ ท่าน คุรุ รามดาส ยิ ผู้ซึ่งรักความสงบสุข
โดยท่านได้ปฏิบัติตามคำสั่งของท่าน คุรุ อมัรดาส ยิ
ที่ได้สั่งให้ท่านไปสร้างเมืองใหม่ และได้สั่งให้ไปขุดบ่อน้ำ และก่อสร้างศาสนสถานสำหรับชาวซิกข์
ทั้งหลาย นอกจากนี้ ท่าน คุรุ อมัรดาส ยิ  ยังได้ช่วยสร้างแผนการ
ขุดบ่อน้ำ ซึ่งต่อมาได้ถูกนำไปปฏิบัติโดย ท่าน คุรุ รามดาส ยิ โดยมีท่าน บาบา บุดดา ยิ เป็นผู้ช่วย
คนสำคัญการก่อสร้างบ่อน้ำ (โซราวอร์) ได้เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1570
โดยได้เริ่มการก่อสร้างเมือง ควบคู่กันไปด้วย จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1577 การก่อสร้างบ่อน้ำ 2 บ่อ
คือ บ่อน้ำซันโตคซาร์ และบ่อน้ำอัมริตโซราวอร์ (ซึ่งได้ก่อสร้างในบริเวณ
ใกล้เคียงกับบ่อแรก แต่ได้สร้างให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าบ่อแรก)และการก่อสร้างเมืองเพื่ออยู่อาศัย
ได้แล้วเสร็จ ซึ่งต่อมาเมืองนี้ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นเมืองรามดาสปูร
ในปัจจุบัน   ท่านพระศาสดาและลูกศิษย์ทั้งหลายของท่านต่างก็มีความยินดีปรีดา
และร่วมฉลอง งานเปิดพระวิหารอันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้เป็นศูนย์กลางทางศาสนาของซิกข์ทั้งปวง  
 นอกจากนี้ ท่าน คุรุ รามดาส ยิ ยังได้แต่งบทเพลงอันไพเราะ
เพื่อเป็นการสรรเสริญบ่อน้ำโซราวอร์อัน ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ และได้สั่งให้ลูกศิษย์ทุกคนลงไปอาบน้ำ
ในบ่อน้ำนี้แล้วทำการสวดมนต์ภาวนาและ ทำสมาธิเพื่อระลึกถึง
พระนามของพระเจ้าอย่างสม่ำเสมอ ต่อมาไม่นานนัก สถานที่แห่งนี้ก็ได้รับการขนานนามเป็นสถานที่
อันศักดิ์สิทธิ์และเป็นศูนย์ กลางทางศาสนาของชาวซิกข์ทั่วโลก
       ส่วนของวิหารหลักนั้นจะประดิษฐานอยู่กลางสระน้ำสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความยาวด้านละ 150 เมตร
และมีบริเวณลานกว้างรอบสระเป็นทางเดินกว้าง 18 เมตร 
ทางเดินไปสู่วิหารกลางสระน้ำยาว 60 เมตร โดยรอบนอกมีประตูเข้า-ออกทั้งสี่ทิศ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า
เปิดกว้างให้ทุกคน จะมาเวลาไหนก็สามารถเข้ามาสักการะได้จากทุกทิศทาง
พระวิหารฮัรมัรดิร ซาฮิบ นั้นเป็นศาสนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของศาสนาซิกข์
พระวิหารแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในนามของ
พระวิหารดัรบาร ซาฮิบ หรือพระสุวรรณวิหาร  พระวิหารนี้เป็นสถานที่สำคัญที่ ชาวซิกข์ทุกคนปรารถนา
ที่จะมาเยี่ยมคารวะและได้ลงไปอาบน้ำในสระอันศักดิ์สิทธิ์ ณ พระวิหารแห่งนี้
(รวบรวมและเรียบเรียงจาก อินเทอร์เน็ต)


 พวกเรามาถึงที่วิหารนี้  เป็นเวลาพระอาทิตย์ตกดินแล้ว  และต้องเดินจากจุดที่รถจอดให้เราลง 
เดินไกลเป็นกิโลได้  สองข้างทางของการเดินไปยังวิหารทองคำ 
มีร้านค้าขายของมากมาย ทั้งเสื้อผ้า ของกิน  มีคนขายเดินขายผ้าโพกสีเหลืองให้นักท่องเที่ยว
  ทุกคนต้องโพกผ้า แต่ไม่จำเป็นต้องโพกผ้าตามที่เขาเอามาขาย
  จะเป็นผ้าอะไรก็ได้แต่พวกเราก็ซื้อกัน  เพราะราคาไม่กี่รูปี  ดูเหมือน จอยออกเงินซื้อไป
  จอยและแต๋ว  นุ่งกาเกงขาสั้น  ต้องเสียเงิน  ซื้อผ้าอีกผืนพันทับกางเกง อีก 
         มัคคุเทศก์  พาเราไปฝากรองเท้าร้านค้าที่ใกล้วัดวิหารทองคำ   พวกเราต้องเดินเท้าเปล่าเข้าไป
บริเวณวิหารทองคำ  ซึ่งไกลมาก  ระหว่างออกจากห้องที่เราฝากรองเท้า
ที่ให้ฝาก เพราะไกด์เรารู้จักกับเจ้าของนั่นเอง  เจอเด็ก ๆ กลุ่มหนึ่ง  น่าจะเป็นนักเรียน 
ก็ไปถ่ายรูปกับพวกน้อง ๆ ไว้เป็นที่ระลึก  
         เข้าไปถึงบริเวณวิหารทองคำ  ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามสระน้ำ  คนที่เดินไหว ก็จะเดินรอบ ๆ 
ซึ่งกว้างใหญ่มาก  พวกเราไปเดินกัน  ส่วนฉัน ถ่ายรูปได้สักรูป
กับวิหารทองคำแล้วก็นั่งรออยู่แถว ๆ สระน้ำ  พวกเพื่อน ๆ ไปเดินกัน  ฉันนั่งรอพักขา
  ไม่ไหวที่จะให้เดินเท้าเปล่า  ถ้าใส่รองเท้าเดินยังพอไหว
  ตาปลา ก็เจ็บมาก พลาสเตอร์ที่แปะไว้ เริ่มหลุดแล้วเลยขอนั่งรอดีกว่า  น่าจะรอได้ชั่วโมงเศษ ๆ
  เมล ก็เดินมารับฉันตรงจุดที่ฉันนั่งรออยู่ ค่ะ  มาชมรูปความสวยงามของวิหารทองคำ ค่ะ 




ช่วยกันโพกผ้าหลังจากฝากรองเท้าแล้ว 







ถ่ายรูปกับเด็ก ๆ ที่เจอกันบริเวณใกล้กับวิหารทองคำ 



ระหว่างทางเดินไปวิหารทองคำ ค่ะ 



ถ่ายรูปหมู่ก่อนที่จะเดินเข้าประตูวิหารทองคำ 



ภายในวิหารที่ทุกคนไปเดินรอบ ๆ มีโรงอาหาร ให้กินด้วย ค่ะ 





มุมนี้  คนมาถ่ายรูปกันมาก  ค่ะ รวมทั้งพวกเราด้วย 






























      การเที่ยว เมือง อัมริตสาห์  ก็จบลงที่ วิหารทองคำ  กว่าจะเดินทางกลับโรงแรมที่พัก ก็ประมาณ 4 ทุ่มแล้ว 
ส่วนใหญ่เพื่อนหลายคนไม่กินข้าว แต่ฉันก็กิน เพราะหิว ค่ะ 
โปรดติดตามตอนที่ 5 ต่อไป ค่ะ






 



Create Date : 05 กันยายน 2567
Last Update : 7 กันยายน 2567 10:00:05 น. 36 comments
Counter : 460 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณnonnoiGiwGiw, คุณร่มไม้เย็น, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณปัญญา Dh, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณtoor36, คุณหอมกร, คุณทนายอ้วน, คุณสองแผ่นดิน, คุณSweet_pills, คุณnewyorknurse, คุณmultiple, คุณกะว่าก๋า, คุณชีริว, คุณThe Kop Civil, คุณkae+aoe, คุณดอยสะเก็ด, คุณNior Heavens Five, คุณอุ้มสี, คุณ**mp5**, คุณtanjira


 
สวัสดีก่อนเที่ยงค่ะ อาจารย์สุวิมล

บล็อกนี้ได้เที่ยวด้วย ได้ความรู้ควบคู่กันมาด้วยเสมอเลยค่ะ
ที่วัดเงินประตูเค้าลายแกะสลักสวยๆทั้งนั้นค่ะ
ที่วัดทอง สวยสดงดงามมากค่ะ โดยรอบยิ่งใหญ่อลังการ
จันทร์อยากเห็นสระน้ำเค้าตอนกลางวันเลยไปเสิร์ชดูมาแล้วค่ะ
สวยสงบทั้งกลางวันและกลางคืน แต่คนไปกันเยอะ มันก็จะพลุกพล่านหน่อย

ทหารเปลี่ยนเวรกัน2ประเทศตอนแรกก็ยังงๆว่ายังไง
อ้อออ เห็นภาพแล้วเข้าใจเลยค่ะ
ดีนะคะ จับมาเป็นจุดท่องเที่ยวได้ด้วย
วันนี้ได้กินเมนูไก่ทอดด้วย ดีกว่าทุกวันที่ผ่านมา

รอติดตามเที่ยว ตอนที่5ต่อนะคะ





โดย: โฮมสเตย์ริมน้ำ วันที่: 7 กันยายน 2567 เวลา:11:40:14 น.  

 
สวัสดีครับอาจารย์


โดย: ปัญญา Dh วันที่: 7 กันยายน 2567 เวลา:15:38:05 น.  

 
เดินทางไกลมากๆ กินบนรถก็ช่วยให้ประหยัดเวลาได้นะครับ อย่างน้อยๆ กินบนรถก็ช่วยให้ประหยัดเวลาไปได้ 20 นาทีแน่ๆ

อาหารกินกันหมดแบบนี้เจ้าของร้านน่าจะดีใจนะครับ^^ วัดของเขาก็มีเอกลักษณ์ที่ดูแล้วพอจะรู้ว่าเป็นอินเดีย

น่าเสียดายที่นั่งกระจายๆ กันแต่ก็ช่วยไม่ได้ล่ะครับ นี่ขนาดยอมนั่งกระจายยังต้องรอนานขนาดนี้เลย ถ้าจะนั่งด้วยกันคงต้องมาก่อนนานแน่ๆ

ถ้าเดินช้าๆ สัก 15 นาทีก็ประมาณ 1 กิโลเมตรครับ ผมเห็นทริปของอาจารย์หลายคนเป็นผู่สูงอายุเลยคำนวนความเร็วให้เดินช้าหน่อย วิวกลางคืนไม่ว่าประเทศไหนก็สวยนะครับ


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 7 กันยายน 2567 เวลา:17:38:54 น.  

 
อินเดียนี่ไปครั้งเดียวไม่อยากไปอีกค่ะอาจารย์
อาหารไม่โอเค คนบ้านเขากลิ่นแรงมากค่ะ



โดย: หอมกร วันที่: 7 กันยายน 2567 เวลา:19:12:06 น.  

 
ตามอาจารย์ไปเที่ยวอินเดียวด้วยคราบ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 7 กันยายน 2567 เวลา:20:07:35 น.  

 
สวัสดีค่ะอาจารย์

วิหารทองคำงดงามตระการตา เงาสะท้อนผิวน้ำสวยมากค่ะ
ที่นี่เปิดให้เข้าสักการะตลอด 24 ชั่วโมง
ต้อนรับผู้คนโดยไม่มีข้อจำกัดด้วยนะคะ
น่าประทับใจมากค่ะ

การเปลี่ยนทหารเวรยามเหมือนเป็นอีกกิจกรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว
อาจารย์ได้ชมการแสดงจริงในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยเสียงเชียร์ น่าสนุกมากค่ะ

แซนด์วิชเป็นอาหารที่สะดวกในการพกพานะคะ
ในภาพ ขนมปังมีย่างเป็นรอยตะแกรงได้ความกรอบที่ผิว
น่าอร่อยค่ะอาจารย์

ขอบคุณอาจารย์ที่พาเที่ยวนะคะ
ต๋าจะตามเที่ยวกับอาจารย์ต่อค่ะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 8 กันยายน 2567 เวลา:0:00:06 น.  

 
เมืองอัมริตสาห์ ทริปนี้ ไฮไลท์ ที่ต้องไปคือ วิหารเงิน วิหารทอง นะครับ อาหารที่ได้กิน ถือว่าอร่อยสุด เพราะมีข้าวผัด ไก่ทอดนะครับ
อาจารย์สุยังสั่ง น้ำพั๊นซ์มากรึ๊บด้วย ชื่นใจนะครับ แฮร่555

สังเกตดูนี่ อินเดียจะทุ่มทุน กับ ศาสนสถาน เป็นอย่างมาก
ดูจากงานตกแต่งผนัง ซุ้มประตูต่างๆนี่
งานระดับนี้ น่าจะต้องใช้ช่างฝีมือระดับสุดยอดเลยนะครับ

แต่ที่ลำบากสำหรับ นักท่องเที่ยวนี่คือการเดินเท้าเปล่า
บนพื้นร้อนๆนี่ โอ้โห เหยียบไปทีนึง แทบต้องวิ่งเลยนะครับนี่ 555

วิหารทอง นี่ อาจารย์เต๊ะ ลองไปหาดูภาพตอนกลางวัน
สวยสู้ตอนกลางคืนไม่ได้เลย เพราะ กลางคืนนี่ มันจะมีรีเฟลกซ์ สะท้อนเงาอาคารลงสู่พื้นน้ำ งดงามเอามากๆ
ชาวอินเดียนี่ สังเกตดู ศาสนสถาน ของเค้า ต้องมีน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญ ขาดไม่ได้เลยนะครับ

เค้าบอกว่าใน สระมีปลาคาร์พด้วย แต่น่าจะสู้เมืองไทยเราไม่ได้
ของเรามีปลาหมอคางดำ สวยกว่านะครับ 555

ส่วนพิธีสวนสนาม เปลี่ยนเวรยามนี่ ดูๆไปออกแนวเฮฮาดีเหมือนกัน
ดูแล้วนุ่งกางเกงคับๆฟิตๆแบบ ทหารบ้านเราไม่ได้แน่
เตะขาสูงขนาดนั้น เป้าขาดแน่นอนนะครับ 555

ปล.อุปสรรคสำคัญทริปนี้ นอกจากปวดหลังแล้ว ยังมีตาปลาเป็นกองหนุนอีก อาจารย์เต๊ะ ก็เป็นครับ ต้องใส่รองเท้านิ่มๆถึงจะไหว
ให้เป็นถอดรองเท้าเดิน น่าจะทรมาณมากเลยนะครับนี่

อ่านมาหลายวันนี่ ถ้าอาจารย์เต๊ะ จะไปอินเดีย สงสัยต้องพกเสบียงไปกินด้วย พวกมาม่า น้ำพริก น่าจะได้รสชาติอร่อยมากขึ้นนะครับ 555



โดย: multiple วันที่: 8 กันยายน 2567 เวลา:4:51:45 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์

อัมริตสาร์ หรือ อมฤตสระ เป็นเมืองเก่าที่น่าสนใจมากๆครับ
วัดในบ้านเค้าสวย อลังการ
และมีอะไรน่าสนใจมากๆ
ถ้าผมไปเมืองนี้ สงสัยจะถ่ายภาพหลายพันภาพเลยครับ

แต่การเปลี่ยนเวรยาม
กลายเป็นการท่องเที่ยวที่มีคนรอดูเยอะมาก น่าทึ่งจริงๆ
ในภาพดูแล้วเหมือนการเชียร์กีฬาเลยครับ 555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 กันยายน 2567 เวลา:6:24:09 น.  

 
แฮ่ เห็นอาหารอินเดียละอยากกิน พวกของย่างดูจะถูกปากคนไทยง่ายกว่านะครับ
แต่ผมชอบแกงเละๆ นี่แหละ เสียดายมาก ร้านอินเดียใกล้ที่ทำงานที่ไปกินประจำปิดไปละ
คนแถบลาดพร้าวคงไม่ค่อยกินอาหารอินเดียกัน
เมืองไหนๆ ในอินเดียก็ล้วนเก่าแก่ทั้งนั้นเลยนะครับ
สมเป็นประเทศแรกๆ ที่คนมาเริ่มสร้างอารยธรรม

วัดเงิน ศรีดูร์ไกอาน่า (ชื่ออย่างกับกรีก)
วัดสวยนะครับ ชอบตรงโลหะฉลุลาย
แต่เทพกลางน้ำองค์กระจิ๋วนึง อินเดียชอบทำเทพไม่อลังการเลย

ร้านขายของดูแค่ของต่างๆ ก็เพลินแล้วครับ ถ่ายรูปไว้ไม่ต้องซื้อ อิอิ
ด่านวากาห์ อนุสาวรีย์มาแต่มือซะแบบนั้นเลย ปั้นทั้งตัวดิ!
เป็นพรมแดนปากีสถาน มีแลกเปลี่ยนเวรยามกันด้วย
คนชมเยอะอย่างกับขบวนพาเรดดิสนีย์

วิหารทองคำ พระวิหารฮัรมัรดิร ซาฮิบ พอมาอันนี้ ชื่อนึกถึงตะวันออกกลางเลย
ตอนกลางคืนแสงไฟก็สวยไปอีกแบบนะครับ
สะท้อนน้ำขึ้นมายิ่งงดงาม สีทองตัดกับขาวอมฟ้าของอีกตึกด้วย


โดย: ชีริว วันที่: 8 กันยายน 2567 เวลา:16:27:40 น.  

 
โอ้ อาจารย์เคยบอกว่า มือถือหาย วุ่นวายมาก
เดี๋ยวนี้ มือถือเป็นของจำเป็น ในการติดต่อสื่อสาร ทั้ง ไลน์ทั้งรูป
ทั้งแอปธนาคาร หายที หน้ามืดเลยนะครับ

ช่วงนี้จะมีงานคืนสู่เหย้า อาจารย์มาช่วยก็เหนื่อยหน่อยนะครับ
ยังไงก็อย่าลืมดูแลสุขภาพด้วยนะครับ



โดย: multiple วันที่: 8 กันยายน 2567 เวลา:19:15:10 น.  

 
ขอบคุณสำหระับคะแนนโหวตครับอาจารย์

วันนี้เป็นวันที่ผมยุ่งวุ่นวายหลายเรื่องเลยครับ
แต่ในที่สุดก็จบวันด้วยความสงบ
เตรียมตัวเข้านอนครับ 555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 8 กันยายน 2567 เวลา:22:38:10 น.  

 
ขอบคุณค่ะอาจารย์ ต๋ากลับมาแล้วค่ะ

ขอให้ทุกกิจกรรมที่อาจารย์ทำราบรื่นนะคะ
อากาศเปลี่ยนแปลง ร้อนสลับฝนตก
อาจารย์รักษาสุขภาพและเดินทางใกล้ไกลโดยสวัสดิภาพทุกครั้งนะคะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 8 กันยายน 2567 เวลา:23:01:25 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 กันยายน 2567 เวลา:5:09:02 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

วันนี้เชียงใหม่ฟ้ามืดครึ้มมาก
น่าจะฝนตก
และเมื่อไหร่ที่ฝนตก
เชียงใหม่ตอนเช้าคือสวรรค์ของรถติดเลยครับ 555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 กันยายน 2567 เวลา:7:03:43 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 10 กันยายน 2567 เวลา:4:49:53 น.  

 
ผ้าโพกหัวเท่ห์มากครับอาจารย์ ทหารที่เดินแถวหมวกก็เท่ห์เหมือนกันครับ


โดย: The Kop Civil วันที่: 10 กันยายน 2567 เวลา:10:51:03 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

เป็นเช่นนั้นจริงๆครับอาจารย์
ความทุกข์ในอดีต
เราควรลบ ลืมมันไปให้ได้จริงๆครับ
ถ้าทำได้ ความทุกข์ในใจก็จะหายไปเยอะเลย



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 10 กันยายน 2567 เวลา:11:14:29 น.  

 
ไข่ตุ๋นเป็นอีกเมนูที่อร่อย ต๋าชอบมากด้วยค่ะ
ขอบคุณอาจารย์สำหรับกำลังใจนะคะ

อาจารย์นอนหลับฝันดีคืนนี้ค่ะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 10 กันยายน 2567 เวลา:23:41:38 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 11 กันยายน 2567 เวลา:4:58:19 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

แสงลอดเมฆ
เป็นงานชุดที่ผมเขียนไว้นานแล้ว
คล้ายกับบทบันทึกความคิดในแต่ละวันของชีวิตในช่วงนั้นครับ
พบเจออะไร ก็เขียนเก็บไว้ทุกๆ
จนกลายเป็นเล่ม แล้วก็นำมาพิมพ์เป็นต้นฉบับบล็อกครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 11 กันยายน 2567 เวลา:11:50:24 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 กันยายน 2567 เวลา:4:47:08 น.  

 
มาชวนไปทบทวนภาษาจีนครับ


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 12 กันยายน 2567 เวลา:21:30:45 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญจริงๆครับ
โดยเฉพาะการเรียนรู้
คนเราไม่ควรหยุดเรียนรู้
ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ควรเรียนรู้ไปเรื่อยๆนะครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 12 กันยายน 2567 เวลา:22:08:04 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 กันยายน 2567 เวลา:4:39:08 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

สมัยก่อนผมเป็นคนกลัวผีมากครับ 555
แต่พอโตมา
และเริ่มหาเหตุผลว่าทำไมจึงกลัว
ความกลัวจึงค่อยๆหายไป

ผีไม่น่ากลัวเท่าคนนะครับ
คนนี่หลอกคนด้วยกันอย่างไร้ความปราณีเลย 555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 13 กันยายน 2567 เวลา:13:15:28 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 กันยายน 2567 เวลา:5:36:02 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

ผมจำไม่ได้แล้วว่าเขียนงานชุดนี้ไว้ตั้งแต่เมื่อใด
แต่น่าจะอยู่ในช่วง 4-5 ปีก่อนครับ
คงจะเป็นช่วงโควิดพอดี



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 กันยายน 2567 เวลา:9:51:31 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 กันยายน 2567 เวลา:5:35:51 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

ความคาดหวังมีทั้งมุมที่ดีและมุมร้ายๆก็เยอะนะครับอาจารย์
วันนี้ผมตะลอนอยู่นอกบ้านทั้งวันเลยครับ
ออกบ้าน 11 โมง กว่าจะกลับเข้าบ้านก็สองทุ่มพอดีเลยครับ 555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 กันยายน 2567 เวลา:21:24:57 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 กันยายน 2567 เวลา:5:20:46 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

"ชีวิต คือการเปลี่ยนแปลง"
ประโยคนี้เป็นสัจธรรมแห่งความเป็นจริงเลยครับ
ทุกสิ่งต้อเงปลี่ยนแปลงไป
ไม่เว้นแม้แต่ตัวเราจริงๆครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 กันยายน 2567 เวลา:11:02:31 น.  

 
สวัสดีค่ะอาจารย์

หนูขอตามไปเที่ยวอินเดียกับอาจารย์ด้วยนะคะ
อาจารย์ถ่ายรูปมาเยอะเลยนะคะ สวยงามมากค่ะ
ประตูเงินแกะสลักสวยงามมากนะคะ
วิหารทองคำนี่งามมากๆเลยค่ะ ถ่ายรูปมาสวยมากค่ะอาจารย์

หนูมีเพื่อนคนนึงชอบไปอินเดียมากเลยค่ะ
นี่เขาก็จะไปอีกแล้วค่ะ เขาบอกเขาชอบอาจารย์

เดี๊ยวหนูมาโหวตให้พรุ่งนี้นะคะ วันนี้โหวตหมดค่ะ
หนูหายไปตั้งแต่ตะพาบที่แล้วค่ะ เพิ่งจะได้มาอัพบล็อกค่ะ

ขอให้อาจารย์มีความสุข มีสุขภาพที่แข็งแรงๆนะคะ



โดย: tanjira วันที่: 16 กันยายน 2567 เวลา:12:11:04 น.  

 
ชอบๆ
เหมือนได้ตามครู
ไปเที่ยวเลยค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 16 กันยายน 2567 เวลา:15:09:49 น.  

 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 16 กันยายน 2567 เวลา:15:45:23 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 17 กันยายน 2567 เวลา:4:23:53 น.  

 
สวัสดียามเช้าค่ะอาจารย์

หนูมากลับมาโหวตค่ะ
ตะพาบของหนูน่าจะอีกสัก 2 วันค่ะ



โดย: tanjira วันที่: 17 กันยายน 2567 เวลา:6:35:32 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

BlogGang Popular Award#20


 
อาจารย์สุวิมล
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 46 คน [?]




เป็นครูสอนภาษาไทยที่เกษียณอายุราชการแล้ว สนใจเรื่องการเขียนหนังสือให้ความรู้ ชอบการท่องเที่ยว หากท่านที่เข้ามาชมและอ่านแล้ว มีความสนใจและต้องการสอบถามเรื่องความรู้ด้านภาษาไทย ถ้ามีความสามารถจะให้ความรู้ได้ ก็ยินดีค่ะ

http://i697.photobucket.com/albums/vv337/dd6728/color_line17.gif
space
space
space
space
[Add อาจารย์สุวิมล's blog to your web]
space
space
space
space
space