ก็แค่Weblogดองๆทำเล่นไปเรื่อยแหละน่าของกรรมกรกระทู้ลงชื่อและเมล์ที่Blogนี้สำหรับผู้ที่ต้องการGmailครับ
เข้ามาแล้วกรุณาตอบแบบสอบถามว่าคุณตั้งหน้าตั้งตาเก็บเนื้อหาในBlogไหนของผมบ้างนะครับ
รับRequestรูปCGการ์ตูนไรท์ลงแผ่นแจกจ่ายครับ
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter

เข้ามาเยี่ยมแล้วรบกวนลงชื่อทักทายในBlogไหนก็ได้Blogหนึ่งพอให้ทราบว่าคุณมาเยี่ยมแล้วลงสักหน่อยนะอย่าอายครับถ้าคุณไม่ได้เป็นหัวขโมยเนื้อหาBlog(Pirate)โจทก์หรือStalker

ความเป็นกลางไม่มีในโลก มีแต่ความเป็นธรรมเท่านั้นเราจะไม่ยอมให้คนที่มีตรรกะการมองความชั่วของ มนุษย์บกพร่อง ดีใส่ตัวชั่วใส่คนอื่น กระทำสองมาตรฐานและเลือกปฏิบัติได้ครองบ้านเมือง ใครก็ตามที่บังอาจทำรัฐประหารถ้าไม่กลัวเศรษฐกิจจะถอยหลังหรือประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย ได้เจอกับมวลมหาประชาชนที่ท้องสนามหลวงแน่นอน

มีรัฐประหารเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ขอให้มวลมหาประชาชนผู้รักประชาธิปไตยทุกท่าน จงไปชุมนุมพร้อมกันที่ท้องสนามหลวงทันที

พรรคการเมืองนะอยากยุบก็ยุบไปเลย แต่ึอำมาตย์ทั้งหลายเอ็งไม่มีวันยุบพรรคในหัวใจรากหญ้ามวลมหาประชาชนได้หรอก เสียงนี้ของเราจะไม่มีวันให้พรรคแมลงสาปเน่าๆไปตลอดชาติ
เขตอภัยทาน ที่นี่ไม่มีการตบ,ฆ่าตัดตอนหรือรังแกเกรียนในBlogแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อยากจะป่วนโดยไม่มีสาระมรรคผลปัญญาอะไรก็เชิญตามสบาย(ยกเว้นSpamไวรัสโฆษณา มาเมื่อไหร่ฆ่าตัดตอนสถานเดียว)
รณรงค์ไม่ใช้ภาษาวิบัติในโลกinternetทั้งในWeblog,Webboard,กระทู้,ChatหรือMSN ถ้าเจออาจมีลบขึ้นอยู่กับอารมณ์ของBlogger
ยกเว้นถ้าอยากจะโชว์โง่หรือโชว์เกรียน เรายินดีคงข้อความนั้นเพื่อประจานตัวตนของโพสต์นั้นๆ ฮา...

ถึงอีแอบที่มาเนียนโพสต์โดยอ้างสถาบันทุกท่าน
อยากด่าใครกรุณาว่ากันมาตรงๆและอย่าได้ใช้เหตุผลวิบัติประเภทอ้างเจตนาหรือความเห็นใจ
ไปจนถึงเบี่ยงเบนประเด็นไปในเรื่องความจงรักภักดีต่อสถาบันฯเป็นอันขาด

เพราะการทำเช่นนี้รังแต่จะทำให้สถาบันฯเกิดความเสียหายซะเอง ผมขอร้องในฐานะที่เป็นRotational Royalistคนหนึ่งนะครับ
มิใช่Ultra Royalistเหมือนกับอีแอบทั้งหลายทุกท่าน

หยุดทำร้ายประเทศไทย หยุดใช้ตรรกะวิบัติ รณรงค์ต่อต้านการใช้ตรรกะวิบัติทุกชนิด แน่นอนความรุนแรงก็ต้องห้ามด้วยและหยุดส่งเสริมความรุนแรงทุกชนิดไม่ว่าทางตรงทางอ้อมทุกคนทุกฝ่ายโดยเฉพาะพวกสีขี้,สื่อเน่าๆ,พรรคกะจั๊ว,และอำมาตย์ที่หากินกับคนที่รู้ว่าใครต้องหยุดปากพล่อยสุมไฟ ไม่ใช่มาทำเฉพาะเสื้อแดงเท่านั้นและห้ามดัดจริต


ใครมีอะไรอยากบ่น ก่นด่า ทักทาย เชลียร์ เยินยอ ไล่เบี๊ย เอาเรื่อง คิดบัญชี กรรมกรกระทู้(ยกเว้นSpamโฆษณาตัดแปะรำพึงรำพัน) เชิญได้ที่ My BoardในMy-IDของกรรมกรที่เว็ปเด็กดีดอทคอมนะครับ


Weblogแห่งนี้อัพแบบรายสะดวกเน้นหนักในเรื่องข้อมูลสาระใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว ไม่ตามกระแส ไม่หวังปั่นยอดผู้เข้าชม
สำหรับขาจรที่นานๆเข้ามาเยี่ยมสักที Blogที่อัพเดตบ่อยสุดคือBlogในกลุ่มการเมือง
กลุ่มหิ้งชั้นการ์ตูนหัวข้อรายชื่อการ์ตูนออกใหม่รายเดือนในไทย
และรายชื่อการ์ตูนออกใหม่ที่ญี่ปุ่นในตอนนี้

ช่วงที่มีงานมหกรรมและสัปดาห์หนังสือแห่งชาติประจำครึ่งปี(ทวิมาส)จะมีการอัพเดตBlogในกลุ่มห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญา
และหิ้งชั้นการ์ตูนของกรรมกรกระทู้


Hall of Shame กรรมกรมีความภูมิใจที่ต้องขอประกาศหน้าหัวนี่ว่า บุคคลผู้มีนามว่า ปากกาสีน้ำ......เงิน หรือ กลอน เป็นขาประจำWeblogแห่งนี้ที่เสพติดBlogการเมืองและใช้เหตุวิบัติอ้างเจตนาในความเกลียดชังแม้วเหลี่ยมและความเห็นใจในสถาบัน เบี่ยงประเด็นในการแสดงความเห็นเป็นนิจ ขยันขันแข็งแบบนี้เราจึงขอขึ้นทะเบียนเขาคนนี้ในหอเกรียนติคุณมา ณ ที่นี้ จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

Group Blog
นิยายดองแต่งแล่นบันทึกการเดินทางของกรรมกรกระทู้คำทักทายกับสมุดเยี่ยมพงศาวดารมหาอาณาจักรบอร์ดพันทิพย์สาระ(แนว)วงการการ์ตูนมารยาทในสังคมออนไลน์ที่ควรรู้แจกCDพระไตรปิฎกฟรีรวมเนื้อเพลงดีๆจากดีเจกรรมกรกระทู้รวมแบบแผนชีวิตของกรรมกรกระทู้ชั้นหิ้งการ์ตูนของกรรมกรกระทู้ภัยมืดของโลกออนไลน์เรื่องเล่าในโอกาสพิเศษห้องสมุดรวมสาระอุดมปัญญาของกรรมกรกระทู้กิจกรรมของกรรมกรกระทู้กับInternetคุ้ยลึกวงการบันเทิงโทรทัศน์ตำราพิชัยสงครามซุนวูแฟนพันธ์กูเกิ้ลหน้าสารบัญคลังเก็บรูปกล่องปีศาจ(ขอPasswordได้ที่หลังไมค์)ลูกเล่นเก็บตกจากเน็ตสาระเบ็ดเตล็ดรู้จักกับงานเทคนิคการแพทย์ของกรรมกรรวมภาพถ่ายโดยช่างภาพกรรมกรรวมกระทู้ดีๆการเมือง1กรรมกรกับโรคAspergerรวมกระทู้ดีๆการเมือง2ความเลวของสื่อความเลวของพรรคประชาธิปัตย์ความเลวของอำมาตย์ศักดินาข้อมูลลับส่วนตัวกรรมกรที่ไม่สามารถเผยได้ในการทั่วไปข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายรวมบทความเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินเจาะฐานการเมืองท้องถิ่น

ถึงผู้ที่ต้องการขอpasswordกล่ิองปีศาจหรือFollowing Userใต้ดินเพื่อติดตามข่าวการอัพเดตกล่องปีศาจและดูpasswordมีเงื่อนไขว่ากรุณาแจ้งอายุ ระดับการศึกษาหรืออาชีพการงาน และอำเภอกับจังหวัดของภูมิลำเนาที่คุณอยู่ เป็นการแนะนำตัวท่านเองตอบแทนที่ผมก็แนะนำตัวเองในBlogไปแล้วมากมายกว่าเยอะ อีกทั้งยังเก็บรายชื่อผู้เข้ามาเยี่ยมGroup Blogนี้ไปด้วย
ถ้าอยากให้คำร้องขอpasswordหรือการFollowing Userใต้ดินผ่านการอนุมัติขอให้อ่านBlogข้างล่างนี่นะครับ
ข้อแนะนำการเขียนProfileส่วนตัว

อยากติดตั้งแถบโฆษณาแนวนอน ณ ที่ตรงนี้จังเลยพับผ่าสิเมื่อไหร่มันจะยอมให้ใช้Script Codeได้นะเนี่ย เพราะคลิกโฆษณาที่ได้มาตอนนี้ได้มาจากWeblogของผมที่Exteen.comซึ่งทำได้2-4คลิกมากกว่าที่นี่ซึ่งทำได้แค่0-1คลิกซะอีก ทั้งๆที่ยอดUIPที่นี่เฉลี่ยที่400กว่าแต่ของExteenทำได้ที่200UIP ไม่ยุติธรรมเลยวุ้ยน่าย้ายฐานจริงๆพับผ่า
เนื่องจากพี่ชายของกรรมกรแนะนำW​eb Ensogoซึ่งเป็นWebขายDeal Promotion Onlineสุดพิเศษ ซึ่งมีอาหารและของน่าสนใจราคาถูกสุดพิเศษให้ได้เลือกกัน ใครสนใจก็เชิญเข้ามาลองชมดูได้ม​ีของแบบไหนที่คุณสนใจบ้าง
ความหมายของคำว่า โอตากุ (Otaku)

1. ประวัติความเป็นมาของคำว่า Otaku

ระยะที่ 1 : ต้นกำเนิดของคำว่า Otaku

คำว่า Otaku (ออกเสียงว่า โอ-ทา-กุ) เป็นคำนาม ดัดแปลงมาจากคำว่า O-taku ซึ่งเกิดจากการนำเอาคำปัจจัย "O-" มาเติมหน้าตัวคันจิ "taku" ซึ่งแปลว่า "บ้าน" และใช้เมื่อกล่าวถึงบ้านของคู่สนทนา ในความหมายว่า "บ้านของคุณ" นอกจากนี้ยังสามารถใช้เรียกแทนตัวคู่สนทนาได้ ในความหมายของ "คุณ" อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะในความหมายของ "บ้าน" หรือ "คุณ" Otaku ก็ถือว่าเป็นคำที่ให้ความรู้สึกสุภาพและเป็นทางการอย่างมาก
การนำเอาคำว่า Otaku มาใช้เรียกกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งนั้น ไม่มีแหล่งยืนยันแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่ตอนไหน แต่ควรจะเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายแล้วในช่วงต้นทศวรรษที่ 80 เนื่องจากวีดิโอที่ชื่อ "Otaku no Video" ของบริษัท GAINAX ที่ออกมาในปี 1992 ซึ่งนำเสนอเรื่องราวของพวก Otaku นั้น ยืนพื้นจากเหตุการณ์ในช่วงปี 1982-85 เฟรเดอริค ชอดต์ (Frederik L. Schodt) ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Dreamland Japan : Writing on modern manga ว่า ช่วงต้นทศวรรษที่ 1980 แฟนการ์ตูนและอนิเมชั่น (Animation) ได้เริ่มใช้คำว่า Otaku เรียกกันและกัน สาเหตุที่ใช้ไม่เป็นที่ชัดเจนแต่คำศัพท์นี้ก็ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ พร้อมกับที่กระแสความนิยมในการ์ตูนและอนิเมชั่นได้ก่อให้เกิดการเพิ่มจำนวนของพวกมาเนีย (Mania) หรือแฟนพันธุ์แท้ (Hardcore Fans) มากขึ้น

โวลเกอร์ กลาสมัค (Volker Grassmuck) นักสังคมวิทยาชาวเยอรมันกล่าวว่า กลุ่มคนที่เรียกว่า Otaku มีสภาพร่างกายและจิตใจที่เปราะบาง แต่ไม่ใช่พวกอารมณ์รุนแรง เพียงขาดความมั่นใจในการติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น เป็นสาเหตุให้เกิดการใช้คำพูดที่สุภาพเรียบร้อยเป็นพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำผิดอันอาจก่อให้เกิดข้อขัดแย้งกับผู้อื่น

ส่วนการใช้คำว่า Otaku ในสิ่งตีพิมพ์ มีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1983 โดยนักเขียนการ์ตูนล้อเลียนชื่อ นากาโมริ อากิโอะ (Nakamori Akio) เขาเขียนคอลัมน์ที่มีชื่อว่า โอทากุ โนะ เคงคิว (Otaku no kenkyu) ลงติดต่อกันในนิตยสารการ์ตูนแนวปลุกใจเสือป่าชื่อ มังงะ บุริกโกะ (Manga Burikko) โดยกล่าวถึงกลุ่มแฟนการ์ตูนที่เรียกกันและกันว่า Otaku เค้าจึงเรียกคนพวกนี้รวม ๆ ว่า โอทากุ-โซกุ (Otaku-zoku) ซึ่งแปลว่า เผ่าพันธุ์ Otaku และต่อมาตัดเหลือเพียง Otaku เขาเขียนบรรยายถึงความประทับใจที่มีต่อเหล่าแฟนการ์ตูนที่มาร่วมงานนิทรรศการการ์ตูนว่า

“เป็นกลุ่มคนที่เล่นกีฬาไม่เก่งและชอบเก็บตัวอยู่ในห้องเรียนในเวลาพักที่เราสามารถพบเห็นได้ในทุก ๆ ชั้นเรียน… รูปร่างถ้าไม่ผอมแห้งเหมือนขาดสารอาหารก็อ้วนฉุจนผิดสัดส่วน… ส่วนใหญ่จะใส่แว่นตากรอบเงินหนาเตอะ… และเป็นคนประเภทที่ไม่มีใครคบหาด้วย”

เขาเห็นว่า คำว่า “มาเนีย" (Mania) หรือ “แฟนที่มีศรัทธาอย่างแรงกล้า” (Enthusiastic Fans) ยังไม่สามารถที่จะใช้เรียกคนกลุ่มนี้ได้อย่างครอบคลุม จึงขอเรียกด้วยคำว่า “Otaku”

แม้ว่าคอลัมน์ของนากาโมริจะถูกยกเลิกไปในเวลาไม่นาน แต่ภาพพจน์ของ Otaku ที่นากาโมริได้บรรยายเอาไว้ก็ได้กลายมาเป็น Stereotyped ของ Otaku ที่ยังคงอยู่ในสังคมและถูกใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการสื่อมวลชน เนื่องจากพวกเขาเริ่มสังเกตเห็นถึงการเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วของเยาวชนที่หมกมุ่นอยู่กับการ์ตูนและอนิเมชั่น

ระยะที่ 2 : คดี Miyazaki กับ Otaku panic

คำว่า Otaku panic ถูกนำมาใช้โดยชารอน คินเซลลา (Sharon Kinsella) ในหนังสือ Adult manga : culture & power in contemporary japanese society เมื่อกล่าวถึงคดี Miyasaki ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้คำว่า Otaku เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในญี่ปุ่น

คดี Miyazaki เกิดขึ้นระหว่างปี 1988-1989 ที่จังหวัดไซตามะ (Saitama) โดยนายมิยาซากิ ซึโตมุ (Miyazaki Tsutomu) วัย 27 ปีได้ประกอบคดีฆาตกรรมต่อเนื่องเด็กหญิงวัยก่อนเข้าเรียนจำนวน 4 คน ซึ่งทุกคนจะถูกมิยาซากิลักพาตัวไปที่ห้องพัก เพื่อข่มขืนแล้วฆ่าปิดปาก จากนั้นจึงทำการแยกส่วนศพไปซ่อนเพื่ออำพรางคดี หลังจากนั้นเขายังได้บันทึกเรื่องราวทั้งหมดลงในคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้เขายังเคยส่งชิ้นส่วนกระดูกและฟันของเหยื่อรายหนึ่งไปให้ครอบครัวของเหยื่อ โดยใช้ชื่อปลอมว่า อิมาดะ ยูโกะ (Imada Yuko) ซึ่งเป็นชื่อของตัวละครในอนิเมชั่นที่เขาชื่นชอบ ความโหดเหี้ยมของการกระทำของมิยาซากิทำให้ The New York Times ถึงกับวิจารณ์ว่า "ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นพฤติกรรมของชาวญี่ปุ่น"

หลังจากที่ตำรวจจับตัวมิยาซากิได้นั้น จากการสอบปากคำพบว่าเขามีรูปแบบการดำรงชีวิต 2 แบบ โดยตอนกลางวันจะเป็นเด็กฝึกงานของโรงพิมพ์ในละแวกนั้น แต่ตอนกลางคืนจะเพลิดเพลินอยู่กับการ์ตูนและวีดิโอกว่า 6000 ม้วน ซึ่งส่วนหนึ่งมีเนื้อหาแนวสยองขวัญและลามกอนาจาร การที่ทนายของเขาพยายามแก้ต่างว่ามิยาซากิไม่สามารถแยกแยะระหว่างความเป็นกับความตาย หรือ โลกแห่งความจริงกับโลกในจินตนาการได้นั้น ทำให้สื่อมวลชนพากันประนามการกระทำของเขาว่ามีสาเหตุมาจากการ์ตูนและอนิเมชั่น แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ บรรดาสื่อมวลชนได้ใช้คำว่า Otaku เรียกแทนตัวมิยาซากิในการประโคมข่าว ซึ่งก็ได้ก่อให้เกิดภาพพจน์ในแง่ลบต่อคำว่า Otaku นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ชอดต์ (Frederik L. Schodt) กล่าวว่า หลังจากคดี Miyazaki เรื่องราวเกี่ยวกับ Otaku และ Otaku-zoku ได้ถูกนำมาวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ในที่สุดคำว่า Otaku ก็ได้ถูกใช้แทน ชายหนุ่มที่ไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและโลกแห่งความจริง จมปลักอยู่กับความคิดฟุ้งซ่านจากหนังสือการ์ตูนและอนิเมชั่นแนวลามกอนาจาร และมีแนวโน้มที่จะหมกมุ่นในเรื่องเซ็กส์ ในความหมายหนึ่งก็คือ บุคคลที่มีปัญหาทางจิตและเป็นภัยคุกคามต่อสังคม… เหมือนมิยาซากิ

แม้ว่าจะยังมีนักวิจารณ์บางรายให้ความโต้แย้งว่า Otaku เป็นคำศัพท์ที่สื่อมวลชนนำมาใช้อย่างลำเอียงเพื่อจุดมุ่งหมายในการสร้างข่าวเกี่ยวกับ Otaku แต่ท่ามกลางกระแสความสนใจที่สังคมมีต่อคดีมิยาซากิก็ทำให้ไม่มีใครให้ความสนใจต่อความเห็นเหล่านั้น

อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า Otaku ก็ได้มีความพยายามที่จะลบล้างภาพพจน์ดังกล่าว เช่น ในปี 1992 "Otaku no Video" ของบริษัท GAINAX อันเป็นบริษัทผลิตอนิเมชั่นชื่อดังได้ออกวางตลาดโดยนำเสนอชีวิตและสังคมของกลุ่ม Otaku ในลักษณะที่ขบขันและล้อเลียน แต่แฝงไว้ด้วยความภาคภูมิใจ เพื่อให้คนทั่วไปมีภาพพจน์ที่ดีต่อ Otaku และสร้างความเข้าใจว่าไม่ควรด่วนตัดสินว่าสื่อการ์ตูนทั้งหมดให้โทษต่อสังคมด้วยคดี Miyazaki เพียงอย่างเดียว หรือการที่นายโอกาดะ โทชิโอะ (Okada Toshio) ประธานบริษัท GAINAX ผู้ได้รับสมญานามว่า "Ota-king" ได้พยายามสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ Otaku โดยเขียนหนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรมของ Otaku ออกมาหลายเล่ม ทั้งยังรับเป็นอาจารย์พิเศษในการบรรยายหัวข้อ Otaku Studies ที่มหาวิทยาลัยโตเกียวอีกด้วย ซึ่งการกระทำเหล่านี้ก็สามารถช่วยให้ภาพพจน์ของ Otaku ดีขึ้นมาบ้างในช่วงทศวรรษที่ 1990

หากแต่คดี Miyazaki ไม่ใช่คดีสะเทือนขวัญคดีเดียวที่เกิดขึ้นจากฝีมือของคนที่เป็น Otaku กรณีที่ การ์ตูน อนิเมชั่น Otaku และอาชญากรรมถูกเชื่อมโยงเข้าหากันในแง่ร้ายยังมีอีกมากมาย เช่น เหตุการณ์ปล่อยแก๊สพิษในสถานีรถไฟใต้ดินเมื่อต้นปี 1995 ของลัทธิโอม ชินริเกียว (Aum Shinrikyo) ที่นำโดยนายอาซาฮาระ โชโกะ (Asahara Shoko) ก็ถูกนำมาวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน ซึ่งก็เป็นที่รู้กันดีว่านายอาซาฮาระนั้นชื่นชอบในการ์ตูนและอนิเมชั่นเกี่ยวกับหุ่นยนต์มาตั้งแต่เด็ก ความเชื่อหลายประการในลัทธิของเขาเช่น วันสิ้นโลก (Armageddon) สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลที่ได้รับมาจากอนิเมชั่นในสมัยก่อน นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวของนิตยสาร AERA รายสัปดาห์ยังเคยรายงานถึงการใช้การ์ตูนเป็นสื่อในการดึงดูดคนให้เข้าลัทธิในชื่อของ “AUM COMIC”

เนื่องจากทั้งสองคดีนี้ถือว่าเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม และต่างก็ถูกสื่อมวลชนนำมาเชื่อมโยงกับคำว่า Otaku เพื่อผลในการประโคมข่าว ทำให้ภาพพจน์ในแง่ลบของคำว่า Otaku ยังคงฝังรากลึกอยู่ในสังคมญี่ปุ่น

ระยะที่ 3 : ความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปของ Otaku

คำว่า Otaku เริ่มถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในความหมายที่เบาและกว้างขึ้นเมื่อราว ๆ กลางทศวรรษที่ 1990 โดยจะถูกนำมาใช้กับใครก็ได้ที่มีความคลั่งไคล้เป็นพิเศษในงานอดิเรกอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น การเล่นเกมส์ การถ่ายรูปหรือการสะสมแสตมป์ และกลุ่มคนที่เป็น Otaku ก็นำมาใช้เรียกตนเองด้วยความรู้สึกที่ภาคภูมิใจมากขึ้น เช่น Tropical Fish Otaku, Idol Otaku, Robot Otaku และ Lolicom Otaku เป็นต้น

เนื่องจากในระยะหลังญี่ปุ่นมีปัญหาสังคมอื่นที่รุนแรงกว่าเพิ่มขึ้นอีกมาก ความสนใจในเรื่องของ Otaku เริ่มลดลง สื่อมวลชนจึงเลิกประโคมข่าวแล้วหันไปจับประเด็นอื่น รวมทั้งสิ่งตีพิมพ์ที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับ Otaku ก็เริ่มแพร่หลายมากขึ้น ข้อเขียนที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ Otaku ในแง่มุมต่าง ๆ (นอกจากในแง่ร้าย) ก็เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงนักวิชาการได้มีงานวิจัยเกี่ยวกับ Otaku ออกมามากมาย ในฐานะที่เป็น "คนกลุ่มหนึ่งที่มีวิถีชีวิตเป็นเอกลักษณ์"

ยามาซากิ โคอิจิ (Yamazaki Koichi) นักเขียน-นักวิจารณ์ของหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งกล่าวว่า Otaku เป็นผลผลิตของลัทธินายทุนและสังคมแบบบริโภคนิยม มีจุดกำเนิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทศวรรษที่ 1970 เป็นพวก Information Fetish ที่เกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและระบบการศึกษาของญี่ปุ่น ไม่ใช่พวกเก็บตัว แต่บางครั้งชอบทำตัวแตกต่างจากคนอื่น เขาเห็นว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนรุ่นใหม่ที่สร้างวัฒนธรรมใหม่ ๆ ขึ้นในญี่ปุ่น

กลาสมัค (Volker Grassmuck) กล่าวว่า Otaku เป็นคำที่ใช้เรียกแทนรูปแบบการใช้ชีวิตแบบหนึ่ง เขากล่าวถึงภาพลักษณ์ของ Otaku ในสายตาคนทั่วไปว่าจะต้องเป็นผู้ชายวัย 10-30 ปี ชอบสวมกางเกงยีนส์ เสื้อเชิ้ต และรองเท้าแตะ ไม่ชอบการติดต่อสัมพันธ์ทางกาย คลั่งสื่อมัลติมีเดียและเทคโนโลยี มักจะเป็นพวกนักสะสมสิ่งของและสืบค้นหาข้อมูลต่าง ๆ อย่างบ้าคลั่ง (Information Fetish) เป็นเหมือนพวกใต้ดิน แต่ไม่ต่อต้านระบบ เป็นผลผลิตของสื่อมวลชน และมีพื้นฐานมาจากพวกโมราโทเรียม (Moratorium ningen) ในทศวรรษที่ 1970 ซึ่งพ่อแม่ไม่มีเวลาให้ บังคับให้เรียนอย่างเดียวแล้วปรนเปรอเด็กด้วยของเล่น คอมพิวเตอร์และเกมส์ เมื่อเด็กเกิดความเครียดจากการเรียนก็จะหนีเข้าไปในโลกแห่งจินตนาการ ทำให้เด็กโลกแห่งความเป็นจริงและโลกในจินตนาการไม่ออก

คินเซลล่า (Sharon Kinsella) เห็นว่า Otaku คือคนรุ่นใหม่ที่มีความเป็นปัจเจกสูงผิดปกติ ในระดับที่ไม่รู้สึกถึงความโดดเดี่ยวเมื่อแยกตัวเองออกจากสังคม ซึ่งสิ่งนี้ก็สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตแบบปัจเจกชนนิยมของชาวญี่ปุ่นที่เพิ่มมากขึ้น จนทำให้คนในสังคมขาดความสามารถที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น จึงเอาแต่หมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ตนสนใจ

เธอยังเห็นว่าพฤติกรรมของพวก Otaku ยังน่าจะมีส่วนเกี่ยวเนื่องกับโรคที่ไม่อยากโตเป็นผู้ใหญ่ (Peter-pan syndrome) ซึ่งพบมากในคนญี่ปุ่น แม้จะเป็นคนที่อยู่ในวัยทำงานจนถึงวัยกลางคนก็ตาม Otaku จึงนับว่าเป็นสัญลักษณ์แทนสังคมญี่ปุ่นในปัจจุบัน อีกนัยหนึ่งก็คือ คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ที่ถูกหล่อหลอมขึ้นจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและลัทธิปัจเจกชนนิยมตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา จากข้อเขียนใน SPA! magazine ปี 1986 เห็นว่า Otaku เป็นผลิตผลของยุคข้อมูลข่าวสารในโตเกียว เป็นเด็กที่ถูกอบรมให้จดจำข้อมูลต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสอบเข้ามหาวิทยาลัย วิธีการผ่อนคลายของคนเหล่านี้ก็คือการอ่านการ์ตูนที่มีเนื้อหาล่อแหลม เล่นเกมคอมพิวเตอร์ที่มีความรุนแรง เพื่อหลบจากการบีบบังคับของสังคม ผลก็คือ เกิดกลุ่ม Hardcore Otaku ในหมู่คนรุ่นใหม่กว่าแสนคน (แต่จากการประมาณของสำนักข่าวโตเกียวระบุว่ามีถึงล้านคน)

วิลเลียม กิ๊บสัน (William Gibson) เห็นว่า Otaku เป็นคนที่มีพฤติกรรมคลั่งไคล้ในบางสิ่งบางอย่างอย่างรุนแรง (Passionate Obsessive) และจดจ่อต่อการค้นหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ มากผิดปกติ อาจกล่าวได้ว่า ความแตกต่างระหว่าง Otaku กับคนทั่วไปที่เห็นได้ชัดก็คือ ทัศนคติที่ Otaku มีต่อ “ข้อมูล” นี่เอง

ลอเรนซ์ อิง (Lawrence Eng) เห็นว่าเป็นพวก Self-defined cyborgs เนื่องจากเป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างมากและจะค้นหาข้อมูลจากทุกแหล่งเพื่อที่จะได้รู้จักและเข้าใจสิ่งนั้นมากขึ้น เพื่อความพอใจส่วนตัว

นอกจากนี้คำว่า Otaku ยังได้ถูกนำมาแผลงเป็นคำคุณศัพท์ว่า โอทากิอิ (Otakii) โดยใช้ในความหมายเชิงล้อเลียนของการมีแนวโน้มที่จะหมกมุ่นกับอะไรสักอย่างอยู่เพียงลำพัง

ระยะที่ 4 : Otaku, Shin-jinrui, Moratorium ningen และ Hikikomori no hito

ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา Otaku ซึ่งเคยถูกมองว่าเป็นกลุ่มคนที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมของญี่ปุ่นได้รับการยอมรับในระดับหนึ่ง นั่นก็คือ สังคมเข้าใจว่า "พฤติกรรม" แบบ Otaku มีหลายระดับและไม่ใช่สิ่งเสียหาย คนที่เป็น Otaku ไม่ได้เป็นภัยคุกคามสังคมหมดทุกคน และ Otaku ก็เป็นเพียงหนึ่งในกลุ่มคนที่เป็นผลผลิตของสังคมญี่ปุ่นยุคใหม่ ในปัจจุบัน นักวิชาการและนักวิจารณ์นิยมสร้างคำจำกัดความเกี่ยวกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีพฤติกรรมแบบต่าง ๆ ขึ้นมามากมายและก็นิยมที่จะนำเอาคำว่า Otaku ไปเปรียบเทียบกับคนกลุ่มอื่น ๆ ซึ่งก็ช่วยทำให้คำจำกัดความของ Otaku มีความเด่นชัดมากขึ้น

คำจำกัดความเกี่ยวกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มักจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับ Otaku คือ ชิน-จินรุย (Shin-jinrui) โมราโทเรียม นิงเกน (Moratorium ningen) และฮิกิโกโมริ โนะ ฮิโตะ (Hikikomori no hito)

Shin-jinrui : จากบทความเรื่อง I’m alone but not lonely กลาสมัค (Volker Grassmuck) เห็นว่าคำนี้ถูกใช้ในความหมายที่กว้างเหมือน Otaku กล่าวคือ เป็นคำเรียกรวม ๆ ที่หมายถึงคนรุ่นใหม่ แต่บางครั้งที่ใช้อย่างจำเพาะเจาะจงเยาวชนบางกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายกับพวก yuppies ในปลายทศวรรษที่ 1970 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษามหาวิยาลัยในวัย 20 ต้น ๆ ที่ให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายเงินจำนวนมากเพื่อเสริมรูปลักษณ์ภายนอก นิยมใช้สินค้าแบรนด์เนม ขับรถยนต์ราคาแพง นิยมทำงานพิเศษที่สบาย ๆ ใช้เวลาน้อยแต่ได้เงินง่าย เช่นการถ่ายแบบและงานโฆษณา คนกลุ่มนี้จะมีพฤติกรรมที่คล้ายกับ Otaku ตรงที่จะบ้าคลั่งในเรื่องแฟชั่น ที่จะต้องคอยติดตามให้ทันสมัยอยู่เสมอ อาจเรียกว่าเป็นพวก Fashion Otaku, Brand-name syndrome หรือ M(e)-Generation

อาจกล่าวได้ว่า การเกิดขึ้นมาของคนประเภทนี้เป็นผลมาจากสภาพสังคมหลังจากประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศของญี่ปุ่นเอง คนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นมาท่ามกลางสังคมที่ร่ำรวย สะดวกสบาย และปลอดภัย ทำให้มีแนวโน้มที่จะรักความสบายเป็นธรรมดา โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่านิยมของคนรุ่นเก่า การมองคนอีกรุ่นด้วยค่านิยมของยุคสมัยที่แตกต่างกันย่อมจะทำให้เกิดความรู้สึกที่แปลกแยก เหมือนเป็นบุคคลต่างกลุ่มกัน คำศัพท์ว่า Shin-jinrui จึงเกิดขึ้นมาด้วยลักษณะนี้

Moratorium ningen : โอโกโนงิ เคโงะ (Okonogi Keigo) โปรเฟสเซอร์แห่งมหาวิทยาลัยเคโอ ซึ่งเป็นผู้ที่ริเริ่มใช้คำนี้กล่าวว่า ลักษณะสภาพจิตของกลุ่ม Moratorium ในทศวรรษที่ 1970 เป็นพื้นฐานของปรากฏการณ์ Otaku ในทศวรรษที่ 1980 กลุ่มคนที่เรียกว่า Moratorium ningen เป็นกลุ่มคนที่ขาดจุดมุ่งหมายในชีวิตและขาดความเป็นตัวของตัวเอง ทำให้ต้องแสวงหาเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากแหล่งอื่น เมื่อชื่นชอบซึ่งใดจึงมีพฤติกรรมที่หลงใหลอย่างคุ้มคลั่ง อันเป็นจุดกำเนิดของ Otaku

เนื่องจากสังคมญี่ปุ่นในปัจจุบันเป็นสังคมที่ขาดความอบอุ่น ผู้คนในสังคมมีความสัมพันธ์กันเพียงผิวเผิน ทำให้เกิดความโดดเดี่ยว และจากอัตราการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วซึ่งบังคับให้ทุกคนต้องปรับตัวตามให้ทัน โดยอาศัยการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อชนิดต่าง ๆ สื่อมวลชนที่มีอำนาจครอบคลุมสังคมจึงนับว่ามีอิทธิพลต่อสภาพจิตใจของคนญี่ปุ่นโดยเฉพาะเยาวชน ทำให้เยาวชนญี่ปุ่นถูกครอบงำด้วยสื่อและตกเป็นทาสของโฆษณาต่าง ๆ โอโกโนงิจึงกล่าวประนามสื่อมวลชนว่ามีส่วนก่อให้เกิดปัญหาสังคมด้วยการสร้างโลกที่ลวงตาขึ้นมา

Hikikomori no hito : คำว่า Hikikomori ไม่มีความหมายในแง่บวกเหมือน Otaku อย่างน้อย ๆ คนญี่ปุ่นก็จะไม่รู้สึกภูมิใจเลยถ้าถูกเรียกว่าเป็นพวก Hikikomori ยกเว้นว่าต้องการจะเรียกร้องความสนใจ เพราะนอกจากคำ ๆ นี้จะหมายถึงคนที่เก็บตัวจากสังคมแล้ว ยังหมายถึงคนที่มีแนวโน้มว่าจะมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและชอบใช้ความรุนแรงอีกด้วย เมื่อก่อนพวก Otaku เคยถูกเข้าใจว่าเป็นกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมไม่น่าไว้วางใจและเป็นภัยคุกคามต่อสังคม เนื่องจากทุกคนเคยคิดว่า Otaku เป็นพวกเก็บตัวที่หมกมุ่นอยู่กับหนังสือการ์ตูน อนิเมชั่นและเกมส์ แต่เนื่องจากโลกในปัจจุบันเปลี่ยนเป็นยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร การเก็บตัวอยู่คนเดียวและท่องโลกทางอินเตอร์เน็ตไม่เป็นสิ่งประหลาดอีกต่อไป Otaku จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นคนปกติ เพียงแต่มีวิถีชีวิตอีกแบบ บางคนยังคิดว่าทันสมัยด้วยซ้ำ ไม่รวมที่ในตอนนี้สังคมญี่ปุ่นได้ตระหนักแล้วว่ายังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวและเก็บตัวยิ่งกว่า… นั่นก็คือ Hikikomori

Hikikomori no hito เป็นกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมเก็บตัว ไม่สุงสิงกับใครแม้แต่คนในครอบครัว ชอบอยู่แต่ในห้องของตนเอง (Shut-in) สาเหตุเกิดมาจากผลกระทบของปัญหาสังคมต่าง ๆ เช่น เศรษฐกิจไม่มั่นคง การรังแกในโรงเรียน ขาดความอบอุ่นในครอบครัว การสอบ ฯลฯ ทำให้มีคนกลุ่มหนึ่งเกิดปัญหาทางจิต เช่น ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง คิดว่าไม่มีใครต้องการ เก็บกด ซึมเศร้า ก้าวร้าว และมักระบายออกด้วยการทำลายข้าวของ หรือที่ร้ายแรงที่สุดก็คือ การทำร้ายตัวเองและผู้อื่นด้วยวิธีการที่รุนแรง

มุราคามิ ริว (Murakami Ryu) นักเขียนนิยายและบทความเห็นว่า Hikikonomi เป็นผลพวงของสภาพสังคมญี่ปุ่นที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีมากเกินไปในครึ่งหลังของศตวรรษที่ 20 Hikikomori จึงนับว่าเป็นผลผลิตของสังคมเช่นเดียวกับ Shin-jinrui, Moratorium และ Otaku แต่ถ้าเทียบกันแล้ว Otaku ยังจัดว่าเป็นกลุ่มที่สามารถปรับตัวเป็นสมาชิกของสังคมได้ดีกว่า เพียงแค่ประหลาดไปบ้าง คำว่า Hikikomori จึงถูกนำมาใช้ในความหมายของพวกโรคจิตที่เป็นภัยสังคมแทนที่ Otaku

บทความจาก //www.TIMEasia.com เรื่อง "Staying In and Tuning Out" กล่าวว่า กลุ่มคนที่เรียกว่า Otaku เป็นที่ยอมรับและได้รับความเข้าใจมากขึ้นก็เมื่อเกิดกลุ่มคนที่เรียกว่า Hikikomori ขึ้นมานั่นเอง

จากที่กล่าวมาทั้งหมดเราจะเห็นได้ว่า คำว่า Otaku ถูกใช้ในความหมายที่ลื่นไหลพอสมควรในสังคมญี่ปุ่น ดูข้อมูลโดยสรุปได้จาก

1. ทศวรรษที่ 1970 Otaku เป็นคำสรรพนามที่กลุ่มแฟนพันธุ์แท้การ์ตูนและอนิเมชั่นใช้เรียกหากันและกัน

2. ทศวรรษที่ 1980 เป็นคำนามที่นากาโมริ อากิโอะนำมาใช้เป็นคำจำกัดความถึงกลุ่มแฟนพันธุ์แท้การ์ตูนและอนิเมชั่นซึ่งมีลักษณะดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

3. ต้นทศวรรษที่ 1990 ยังคงความหมายที่นากาโมริให้คำจำกัดความเอาไว้อยู่ แต่ถูกเน้นย้ำความหมายในแง่ลบ เนื่องมาจากจากคดี Miyazaki

4. ปลายทศวรรษที่ 1990 ถูกใช้ในความหมายที่เบาและกว้างขึ้น ในความหมายของ "คนที่มีความสามารถในการสะสมและเสาะหาข้อมูลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง" ส่วนภาพพจน์ที่นากาโมริเคยบรรยายเอาไว้ก็ยังคงอยู่ ส่วนความหมายในแง่ลบจากคดีมิยาซากิถูกลดทอนความรุนแรงลง และเกิดคำคุณศัพท์ Otakii ขึ้นมา

5. ตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา นักวิชาการและนักวิจารณ์ได้ให้คำจำกัดความต่าง ๆ กัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมองว่า Otaku เป็นผลผลิตของยุคสมัย และมักจะนำมาวิเคราะห์กับคำจำกัดความอื่น ๆ เช่น Moratorium ningen, Hokikomori no hito และ Shin-jinrui เป็นต้น

2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับ Otaku

- Otaku เป็นภัยคุกคามสังคม

ภาพลักษณ์ของ Otaku ที่เด่นชัดที่สุดก็คือ บุคคลที่มืดมน ไม่ชอบเข้าสังคม ไม่มีใครคบหา น่ารังเกียจ มีอาการป่วยทางจิตและเป็นภัยต่อสังคม แม้ในปัจจุบันความหวาดระแวงใน Otaku เบาบางลงมากแล้ว แต่ภาพลักษณ์นี้ก็ยังคงถูกสื่อมวลชนนำมาใช้อยู่อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในนวนิยาย การ์ตูน อนิเมชั่น ละครและเพลง แสดงให้เห็นถึงความแพร่หลายและฝังรากลึกของแนวคิดดังกล่าว

นากาโมริ (Nakamori Akio) เป็นบุคคลแรกที่นำเสนอภาพลักษณ์ในแง่ลบของ Otaku ต่อสังคมโดยบรรยายว่าเป็นพวกเก็บตัว ไม่ชอบเข้าสังคม สกปรก ไม่มีระเบียบ และไม่มีใครชอบ และแนวคิดนี้ก็ได้กลายมาเป็น Stereotyped ของ Otaku ที่ฝังรากลึกอย่างไม่มีวันลบเลือนได้แม้ในปัจจุบัน

แต่กระนั้นคนส่วนใหญ่ก็ยังเห็นว่า Otaku เป็นเพียงเงามืดในสังคมที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพสังคมโดยรวม จวบจนกระทั่งเกิดคดี Miyazaki แนวคิดว่า “Otaku เป็นภัยคุกคามสังคม” ได้รับการโหมประโคมจากสื่อมวลชนทำให้มีความรุนแรงมากในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 สื่อมวลชนพากันลงบทความที่แสดงความเห็นว่า “เราไม่สามารถไว้ใจเยาวชนในปัจจุบันได้ เพราะรู้อยู่แก่ใจว่าพวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้าง” เช่น

The Shokan Post เคยลงบทความแสดงความคิดเห็นว่า เด็กประถมและมัธยมทุกวันนี้ส่วนมากเป็น Otaku และเป็นกลุ่มคนที่จะทำให้สังคมมัวหมอง

นักวิจารณ์อย่างโอทสึกะ เอจิ (Otsuka Eiji) กล่าวว่า "มันอาจฟังดูน่ากลัว แต่มีคนอีกกว่าแสนคนที่มีงานอดิเรกเหมือนกับมิสเตอร์ M… พวกเรากำลังประจันหน้าอยู่กับกองทัพฆาตกร"

- Otaku เป็นผลผลิตของสังคม

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า หลังจากต้นทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา นักวิชาการและนักวิจารณ์ต่างเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ Otaku ต่าง ๆ นานา แต่โดยรวมแล้วเห็นว่า Otaku เป็นหนึ่งในผลผลิตของสังคมญี่ปุ่นยุคหลังสงคราม ซึ่งผลผลิตของสังคมยุคหลังสงครามนี้ยังมีอีกมากมาย เช่น Hikikomori no hito และ Shin-jinrui แต่การที่ Otaku ถูกดึงออกมาประนามอย่างร้อนแรงนั้นเนื่องมาจากความต้องการขายข่าวของสื่อมวลชนนั่นเอง

ยามาซากิ (Yamazaki Koichi) กล่าวว่า Otaku เป็นผลผลิตของลัทธินายทุนและสังคมแบบบริโภคนิยม มีจุดกำเนิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทศวรรษที่ 1970 ด้วยอิทธิพลของสื่อและเทคโนโลยี รวมกับผลจากระบบการศึกษาของญี่ปุ่นทำให้เกิดกลุ่ม Information Fetish กลุ่มนี้ขึ้น ซึ่งพวกเขาไม่ได้ทำให้สังคมเสื่อมถอย แค่มีพฤติกรรมที่แตกต่าง ยามาซากิเห็นว่า Otaku เป็นคนรุ่นใหม่ที่จะสร้างวัฒนธรรมใหม่ ๆ ขึ้นในญี่ปุ่น

กลาสมัค (Volker Grassmuck) กล่าวว่า Otaku เป็นผลผลิตของสื่อมวลชน และมีพื้นฐานทางจิตใจมาจากพวก Moratorium ningen ในทศวรรษที่ 19 70 เขาเห็นว่าผู้ใหญ่ในสังคมญี่ปุ่นไม่สามารถทำความเข้าใจกับความคิดของคนรุ่นใหม่ได้ และไม่สามารถสร้างสังคมที่อบอุ่นได้ ทั้งนี้ก็เพราะว่าตัวผู้ใหญ่ชาวญี่ปุ่นที่เกิดในยุคหลังสงครามเองก็ยังไม่เป็นผู้ใหญ่ทางจิตใจ นั่นคือเป็นพวก Moratorium ทำให้ญี่ปุ่นเป็นสังคมที่มีแต่เด็ก

คินเซลล่า (Sharon Kinsella) เห็นว่า otaku เป็นสัญลักษณ์แทนสังคมญี่ปุ่นในปัจจุบัน สะท้อนความกังวลที่นักวิชาการมีต่อสังคมญี่ปุ่นในหลาย ๆ ด้าน ตั้งแต่ทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและลัทธิปัจเจกชนนิยมได้หล่อหลอมคนญี่ปุ่นรุ่นใหม่

อาซาบะ มิจิอากิ (Asaba Michiaki) นักวิจารณ์ กล่าวว่า ผลของการถูกแยกจากเพื่อน ๆ ยัดเยียดให้ตั้งใจเรียนเพื่อเตรียมสอบและอยู่แต่ในห้องนอน ทำให้เด็กญี่ปุ่นเติบโตขึ้นมาโดยที่ได้รับข้อมูลและประสบการณ์ทางสังคมจากสื่อมวลชนเพียงอย่างเดียว ซึ่งเยาวชนเหล่านี้เองที่เป็นผู้ให้กำเนิดวัฒนธรรมแบบ Otaku

- Otaku เป็นเหยื่อของสื่อมวลชน

โยเนซาวะ โยชิฮิโร (Yonezawa Yoshihiro) นักวิจารณ์การ์ตูนและประธานการจัดงาน Comic Market เห็นว่า การนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ Miyazaki และ Otaku ของสื่อมวลชนเป็นต้นเหตุของความความหวาดระแวงต่อผลิตผลทางปัญญาที่ไม่มีลิขสิทธิ์ (หมายถึง การ์ตูน อนิเมชั่นและนิตยสารใต้ดิน) และคำว่า Otaku ถูกนำมาใช้เพื่อดึงคนกลุ่มหนึ่งออกมาจากสังคมและบดขยี้ทิ้งไป ในทางกลับกัน การเปิดกว้างในการตีความคำว่า Otaku ก็ทำให้ปัจเจกบุคคลสามารถที่จะตีความเอาเองได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเป็นพวกหนอนหนังสือ แฟนภาพยนตร์ แฟนเพลงวงร็อค นักวาดการ์ตูนและแฟนอนิเมชั่นต่างก็ถูกเหมารวมกันไปหมด

ลอเรนซ์ (Lawrence Eng) กล่าวว่า ในต้นทศวรรษที่ 1990 สื่อมวลชนทำให้ผู้ชนหวาดกลัวพวก Otaku และพฤติกรรมของพวกเค้า ลงความเห็นว่าเป็นที่มาของปัญหาสังคม สื่อมวลชนจะกล่าวโทษ Otaku ในทุกกรณีที่เป็นปัญหาต่อสังคม ซึ่งตัวเขาเห็นว่าเป็นการไม่ยุติธรรม เป็นความเห็นที่เลือกที่รักมักที่ชังและควรมีการแก้ไขความเข้าใจผิด เนื่องจาก Otaku ไม่ใช่คนไม่มีเพื่อนหรือฆาตกรโรคจิต แน่นอนว่า Otaku บางรายอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นแต่ไม่ควรใช้แนวคิดนี้มาตัดสินครอบคลุมไปหมด

- ทุกคนคือ Otaku

ผู้เขียนบทความหลายคนจากหนังสือ Otaku no tanjou มีความเห็นตรงกันว่า "ในสังคมที่ให้ความสำคัญกับข่าวสารอย่างประเทศญี่ปุ่นนั้น โดยเฉพาะยุคสมัยที่เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าถึงขีดสุดแบบนี้ ทุก ๆ คนก็เป็น Otaku ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง" เช่น

นากาโมริ อากิโอะ (Nakamori Akio) ผู้เขียนบทความ Boku ga [Otaku] no natsuke oya ni natta jijou เห็นว่า ในอนาคตคู่สามีภรรยาจะเป็น Otaku ทั้งคู่ แต่ก็ไม่มีผลกระทบต่อครอบครัวและการเลี้ยงดูลูกแต่อย่างใด เพราะนี่จะเป็นรูปแบบของครอบครัวคนญี่ปุ่นในอนาคต

อุเอโนะ จิสึโกะ (Ueno Chizuko) ผู้เขียนบทความ Lolicon to Yaoi zoku ni mirai wa aruka !? เห็นว่า เด็กวัยรุ่นที่หมกมุ่นกับการ์ตูนที่มีเนื้อหาในเรื่องเพศนับวันจะเพิ่มจำนวนขึ้น ตัวเธอเองก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าตัวเองเป็น Otaku หรือไม่… แต่ถ้าเธอเป็นคนอื่น ๆ ก็คงเป็น Otaku กันหมด เพราะคนญี่ปุ่นก็ชอบอ่านการ์ตูนเหมือนกันทั้งประเทศ

มาสึยามะ ฮิโรชิ (Masuyama Hiroshi) ผู้เขียนบทความ Kanojo ni KEYBOARD ga tsuite tachi กล่าวว่า "สมัยนี้เราถูกแวดล้อมไปด้วย Otaku" เพราะ Otaku มีอยู่ทั่วไปในสังคม แม้แต่ในที่ทำงานก็อาจมีได้เช่น Computer Otaku

อย่างไรก็ตาม ความเห็นของคนกลุ่มนี้อาจจะมีความลำเอียงผสมอยู่บ้างเนื่องจากต่างก็เป็นผู้ที่อยู่ในสาขาอาชีพที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น Otaku เช่น นักเขียนการ์ตูน นักเขียน นักดนตรี และจุดประสงค์ของการออกหนังสือรวมบทความเล่มนี้ก็เพื่อสร้างเสริมภาพพจน์ที่ดีให้แก่สังคมของ Otaku

อีกข้อหนึ่งก็คือ Otaku ที่คนเหล่านี้พูดถึงจะมีการตีความที่สับสน เนื่องจากช่วงเวลาที่เขียนบทความอยู่ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ซึ่งยังมีความขัดแย้งระหว่างแนวคิดของ Otaku ที่มีอาการหนักและมีปัญหาทางจิตแบบ Miyazaki กับ Otaku ในระดับอ่อน ๆ ที่สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างปกติสุข

บทสรุป

ต้นทศวรรษที่ 1980 หลังจากที่ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ร่ำรวยประเทศหนึ่ง รัฐบาลได้พยายามส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใส่ใจในการพักผ่อนและงานอดิเรกมากขึ้น เยาวชนในยุคนั้นจึงเติบโตมาอย่างอิสระและมีเสรีภาพในการเลือกบริโภคจากสื่อต่าง ๆ จากสภาพครอบครัวที่พ่อโหมทำแต่งาน ไม่เคยอยู่บ้าน ฝ่ายแม่ก็คอยเคี่ยวเข็ญให้ลูกเรียน โดยแลกกับการตามใจในเรื่องอื่น ๆ และโรงเรียนที่เป็นนรกแห่งการสอบ ทำให้เยาวชนส่วนใหญ่พากันหลีกหนีเข้าสู่โลกในจินตนาการ จนเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Nijikon Fetchi [Two-Dimensional Fetish] ซึ่งหมายถึง การ์ตูนและอนิเมชั่น

คำว่า Otaku ซึ่งถูกนำมาใช้ในความหมายที่ลื่นไหลไปตามบริบทของสังคมมาตลอด จะไม่มีทางเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในวงกว้างขึ้นมาได้เลย ถ้าสื่อมวลชนไม่นำมาใช้ประโคมข่าวในคดี Miyazaki, Aum Shinrikyo และคดีอื่น ๆ หากแต่ความตื่นตระหนกที่สังคมมีต่อเรื่องของ Otaku ก็แสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลที่นักวิชาการทางสังคมมีต่อสังคมญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้น ในขณะที่สื่อมวลชนกลับให้ความสำคัญต่อความแตกแยกในสังคมน้อยกว่าที่ควร

ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 นักวิชาการทางสังคมของญี่ปุ่นต่างวิตกกังวลถึงการเสื่อมสลายของสังคมแบบเครือญาติที่มาพร้อมกับความเจริญของลัทธิปัจเจกชนนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ เนื่องจากวัฒนธรรมแบบปัจเจกที่คนรุ่นใหม่สร้างขึ้นล้วนบ่งบอกถึงการปฏิเสธที่จะมีความรับผิดชอบต่อสังคม ปฏิเสธหน้าที่ที่มีต่อครอบครัว บริษัทและประเทศชาติตามที่คนรุ่นเก่าเคยยึดถือมา

ในปลายทศวรรษที่ 1980-1990 Subculture ต่าง ๆ พากันผุดขึ้นมาในสังคมและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยด้วยเทคโนโลยีทางข้อมูลข่าวสารที่ก้าวหน้า เยาวชนต่างซึมซับเอา Subculture เข้าไปจนมีพฤติกรรมที่แปลกแยกไปจากความคาดหวังของสังคม ก่อให้เกิดความสับสนในองค์กรทางสังคมตามมา

แต่การที่จะนำเอาการ์ตูน อนิเมชั่น Otaku ศาสนา และอาชญากรรมมาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันนั้นควรจะมีหลักการรองรับที่เพียงพอ แน่นอนว่าการที่คนญี่ปุ่นตื่นตัวกับเรื่องของ Otaku แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและบทบาทที่การ์ตูนและอนิเมชั่นมีต่อคนหมู่มาก ซึ่งหากเป็นในสังคมอื่น เราอาจจะโทษไปที่ภาพยนตร์ นวนิยายหรือดนตรี ดังที่ดนตรีร็อค แอนด์ โรลและโทรทัศน์เคยถูกประนามว่าเป็นสิ่งที่บ่อนทำลายศีลธรรมอันดีงามและส่งอิทธิพลในทางลบให้แก่เยาวชนในอเมริกามาแล้ว

การ์ตูนและอนิเมชั่นในญี่ปุ่นก็เช่นกัน เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมการ์ตูนและอนิเมชั่นที่เข้าถึงคนทุกเพศทุกวัยในสังคม ทำให้สามารถที่จะถูกกล่าวโทษว่าเป็นโรคร้ายของสังคมได้อย่างง่ายดาย และในความหมายนั้น Otaku ก็นับว่าเป็นผลผลิตของสังคมที่บริโภคการ์ตูนมากเกินไปนั่นเอง

บทความของเพื่อนคุณkeiji ในคลาส Japan Studies ที่มหาวิทยาลัย ขอถือโอกาสลงWeblogไปด้วยเลยนะครับ


Create Date : 26 ธันวาคม 2548
Last Update : 26 ธันวาคม 2548 20:00:20 น. 84 comments
Counter : 4965 Pageviews.

 
โอ้ว~! ขอปรบมือให้เลยท่าน ข้อมูลสุดยอดมาก >_
ขออนุญาตนำ Link ไปเผยแพร่ได้ไหมขอรับ


โดย: rou IP: 203.188.31.131 วันที่: 5 มกราคม 2549 เวลา:19:32:52 น.  

 
ดูดี มีสาระจริงค่ะ แต่อยากรู้แหล่งที่มา บาง เพราะ

ชื่อ
กลาสมัค (Volker Grassmuck)
ลอเรนซ์ (Lawrence Eng)
คินเซลล่า (Sharon Kinsella)
ดูเป็นคนมีชื่อเสียง แต่เพราะไม่รู้ที่มา จึงไม่สามารถ นำไปอ้างอิงได้ บอกแหล่งที่มาก็ดีค่ะ


โดย: mik4panda IP: 202.47.233.109 วันที่: 10 มีนาคม 2549 เวลา:15:32:29 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะเหอะๆพึ่งรู้เดวนี้เองคำว่าotakuเห็นเป็นชื่องานโดจิน
งุงุนึกว่าไม่มีความหมาย


โดย: fefe IP: 203.113.51.73 วันที่: 18 เมษายน 2549 เวลา:1:49:37 น.  

 
1.เข้ามาดู
2.ข้อมูลเยอะมาก
3.otaku เป็นเฉพาะผู้ชายเท่านั้นหรืออย่างไร
4.ขอบคุณที่ให้ความรู้ใหม่


โดย: jonathan w. IP: 203.188.53.8 วันที่: 19 เมษายน 2549 เวลา:21:47:38 น.  

 
เข้ามาเก็บความรู้ครับ


โดย: TheShadow IP: 124.121.162.183 วันที่: 20 เมษายน 2549 เวลา:20:44:13 น.  

 
ขอบคุณสำหรับนิยามความหมายของ โอตาคุ อ่านแล้วเข้าใจได้ดีครับ

โดย: sehen IP: 58.9.146.207 วันที่: 20 เมษายน 2549 เวลา:22:49:02 น.  

 
เข้ามาอ่านคะ

ทำให้เข้าใจในคำว่า โอตากุ มากขึ้น
ซึ่งในความคิดเราแล้ว(ก่อนที่มาอ่านนะ)
เราไม่สนใจอะ คือถ้ามันไม่ทำความเดือดร้อนให้ชาวบ้านก็ช่างเค้า
คือจะเป็นหรือไม่เป็น เราก็ไม่รู้สึกอะไรมากมาย


แต่พออ่านจบ ก็เข้าใจมากยิ่งขึ้นว่า
คำว่า โอตาคุ มันก็แค่คำเรียกนึงๆในกลุ่มคนเท่านั้น
ซึ่งก็น่าน้อยเนื้อต่ำใจเหมือนกัน ที่โดนStereotyped
เพราะ โอตาคุก็แค่กลุ่มคน ซึ่งมันต้องมีทั้งดีทั้งเลว ผสมกันไปอยู่แล้ว


สรุป เป็นบทความที่ดีมากๆคะ


โดย: มะยมมะนาว IP: 124.120.131.130 วันที่: 21 เมษายน 2549 เวลา:1:31:28 น.  

 
โห ! ขยันมากๆ เลยนะ คนหาข้อมูลเนี่ย

ปล. แบ็คกราวด์สวย สบายตาจังค่ะ


โดย: มะพร้าวส้มโอ IP: 203.130.131.199 วันที่: 21 เมษายน 2549 เวลา:13:54:50 น.  

 
โอ้
อ้างอิงได้แน่นเหมือน research Thesis เลยนะเนี่ย *o*
ได้ความรู้มาก ๆ ค่ะ


โดย: waenaglariel IP: 58.64.102.161 วันที่: 22 เมษายน 2549 เวลา:17:52:05 น.  

 
เข้ามาดูเนื้อหา โอตาคุ ค่ะ เป็นความรู้ใหม่ที่ได้มาประดับสมอง

ขอบคุณจริงๆค่ะ


โดย: zage IP: 58.136.209.147 วันที่: 26 เมษายน 2549 เวลา:11:59:13 น.  

 
มีสาระมากเลยค่ะ

ชอบจัง


โดย: Gloriana IP: 58.136.96.161 วันที่: 30 เมษายน 2549 เวลา:14:27:49 น.  

 
ผมหลุดเข้ามาครับ

เอ่อมีสาระดีมากครับ ทำให้ผมรู้เรื่องที่ไม่เคยรู้เลยใด้

ขอบคุณครับ


โดย: ARTkubb แห่งบอร์ด Yogurting IP: 124.120.1.61 วันที่: 17 พฤษภาคม 2549 เวลา:10:05:35 น.  

 
ยาวมหาสารจิงๆ งับ

O_o a


ปู~


โดย: thiefnaja IP: 124.121.55.86 วันที่: 1 มิถุนายน 2549 เวลา:11:06:08 น.  

 
เพิ่งเข้าใจ ความหมายครับ ^^


โดย: bz IP: 202.57.148.157 วันที่: 1 มิถุนายน 2549 เวลา:11:16:50 น.  

 
เข้ามาทักทายครับ อืม!! เนื้อหาแน่นดีครับ


โดย: เด็กสเปซ IP: 124.121.92.231 วันที่: 1 มิถุนายน 2549 เวลา:13:45:56 น.  

 
อ่อ มันเป็นอย่างงี้นี่เอง


โดย: ตามเค้ามา IP: 221.128.96.232 วันที่: 1 มิถุนายน 2549 เวลา:16:41:36 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้


โดย: praanew IP: 203.209.45.30 วันที่: 1 มิถุนายน 2549 เวลา:17:29:58 น.  

 
เข้าข้น ชัดเจนมากครับ ละเอียดยิบเลย โอตาคุมันช่างกว้างใหญ่จริงๆน่อ - -


โดย: Aegis Ethereal IP: 124.121.0.237 วันที่: 1 มิถุนายน 2549 เวลา:23:09:40 น.  

 
ละเอียดดีครับ


โดย: nagisa IP: 203.150.14.161 วันที่: 2 มิถุนายน 2549 เวลา:16:10:17 น.  

 
ดีครับ


โดย: อายานามิ IP: 124.120.129.13 วันที่: 2 มิถุนายน 2549 เวลา:17:26:24 น.  

 
เข้ามาอ่าน...

เก็บไปบอกน้องว่า แกน่ะ ระวังเหอะ เข้าใกล้โอตาคุขั้นรุนแรงเข้าไปแล้วนะ


โดย: ลูกลิงน้อยฯ IP: 202.142.201.160 วันที่: 3 มิถุนายน 2549 เวลา:13:37:34 น.  

 
ยังอ่านไม่จบเลย

ว่าแต่เยอะดีจริงๆ แล้วจะมาอ่านต่อนะครับถ้ามีโอกาส


โดย: zighart IP: 158.108.80.238 วันที่: 5 มิถุนายน 2549 เวลา:12:34:44 น.  

 
อ่านจบแล้ว...

ขอบคุงสำหรับข้อมูลดีๆ คัฟ



โดย: PeaChan IP: 58.9.98.102 วันที่: 5 มิถุนายน 2549 เวลา:20:47:39 น.  

 
อ่า.. พวกโอตากุความจริงก็ไม่ได้เลวร้ายหรอกนะ เค้าแค่ชอบบางสิ่งมาก ๆ (มากกว่าที่คนส่วนใหญ่ในสังคมจะชอบได้) ก็แค่นั้น แค่อย่าทำให้คนอื่นเดือดร้อนก็พอแล้ว และเราว่าคนในสังคมก็ไม่ควรทำตัวแบบว่าไปรังเกียจหรือดูถูกเค้าเลย มันเข้าข่าย Racism หรือ พวก Class distinction เหมือนกันนะ ว่าแต่คุณ Spiral หาข้อมูลมาได้แน่นมากเลย สุดยอดค่ะ


โดย: sherry_hana IP: 58.136.68.93 วันที่: 8 มิถุนายน 2549 เวลา:15:47:25 น.  

 
O T A K U นั้นมีชั้น หลายระดับ

O T A K U นั้นมีทั้งด้านมืด และ ด้านสว่าง (ยังกะ Starwars)

O T A K U นั้นคือ แฟนพันธุ์แท้ดีๆนี่เอง

ขอนำบทความนี้ไปขยายต่อที่เว็บ ลิง น่ะครับ ลง Link ให้แล้ว ขอบคุณมากกับความหมายดีของคำว่า Otaku ครับ

//www.monkeystory.com/animate/index.php?showtopic=267


โดย: ij. big venarin IP: 124.120.132.151 วันที่: 18 มิถุนายน 2549 เวลา:12:36:40 น.  

 
search คำว่า Hikikomori ก็เลยมาเจอครับ

ขอบคุณมากนะครับ ^ ^


โดย: ChezDo IP: 124.120.116.86 วันที่: 25 สิงหาคม 2549 เวลา:8:49:59 น.  

 
น่าสนใจครับ ว่าต่อไปคนญี่ปุ่น จะมีลักษณะทางสังคมอย่างไรต่อไปในอนาคต

ขอadd favor ไว้อ่านเป็นข้อมูล


โดย: JaZZyFromHell IP: 58.9.143.51 วันที่: 3 กันยายน 2549 เวลา:0:18:17 น.  

 
มีคนพามา เลยตามมาดู
ละเอียดมากเลยพี่ท่าน... ละเอียดเกินความจำเป็นเลยล่ะ(ชมนะเนี่ย) >o<

ปล.ไปดูเด็นฉะโอโตโกะ(หนุ่มรถไฟ)กานนนน (itv) โอตาคุเพียเลย ^o^


โดย: Kadch Magmadus IP: 124.121.126.156 วันที่: 3 กันยายน 2549 เวลา:0:20:17 น.  

 
ท้ายละคร หนุ่มรถไฟ พิธีกรกล่าวถึง Otaku เลย search ดู มีคนอธิบายดีม๊าก ม๊าก Thank...


โดย: doubletonine IP: 125.25.136.41 วันที่: 30 กันยายน 2549 เวลา:0:40:58 น.  

 
อยากรู้เรื่องนี้มานานแล้วขอรับ ได้รู้ซะที ละเอียดมาก
แต่คงอ่านไม่ไหว ยังไงก็ขอบคุณขอรับ


โดย: come'on IP: 125.25.224.125 วันที่: 12 ตุลาคม 2549 เวลา:13:29:00 น.  

 
คืออยากจะบอกว่าหลังจากอ่านบทความนี้แล้ว มันรู้สึกทำให้คิดว่าเรานี้มันก็เข้าข่ายคำว่า Otaku เหมือนกันน่ะ เรื่องการเข้าสังคมหรือการอ่านการ์ตูนมาก มันเข้าข่ายหนีความจริงรึเปล่า แต่ก็คงยังไม่ถึงขนาดพวกหลีกหนีสังคมแบบ Hikikomori หรอก
จากการดูประวัติของคำว่า Otaku นี่ รู้สึกว่ายิ่งนานเข้าก็ยิ่งจะมีกลุ่มคนที่เป็นแบบนี้เยอะขึ้นทุกที จะว่าเป็นเพราะสังคมที่มีการกดดันให้คนรุ่นใหม่ๆรีบเข้าไปแข่งขันในสังคมปัจจุปันมากไปรึเปล่า ก็เลยใช้การ์ตูนหรือสิ่งต่างๆมาทดแทนตัวตนที่เป็นเด็กของตนที่ถูกเก็บไว้อยู่ มันก็เหมือนกับการติดหนังหรือละครอะไรซักอย่างแต่ว่าไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมเท่าไรเมื่อเทียบอายุของคนที่เป็นแล้ว
จากที่เห็นว่าคนที่ 30 แล้วยังเป็นอยู่ คงเป็นเพราะเค้าไม่กล้าที่จะเข้าสังคมหรือไม่อยากไปอยู่ในวังวนของสังคมปัจจุปันก็เถอะ ในญี่ปุ่นน่าจะมีการตั้งหน่วยงานขึ้นมาแนะนำกลุ่มคนพวกนี้ให้กล้าเข้าสังคมมากขึ้นน่ะ เพราะอย่างที่คาดว่าในอนาคตญี่ปุ่นต้องมีภาระกลับการที่มีกลุ่มคนพวกนี้เยอะขึ้นมากแน่ๆ
มาดูในเมืองไทยเราก็ว่าน่าจะมีพอสมควรน่ะ เพราะเราก็รับวัฒนธรรมช่วงหลังๆของญี่ปุ่นมาเหมือนกัน แต่คิดว่ายังไม่มีการคลั่งไคล้จนเกิดเห็นเท่าไร
ไม่รู้เหมือนกันว่าระหว่างการยอมรับคนกลุ่มนี้แล้วรอให้เค้ากลับมาอยู่ร่วมในสังคมได้เองกับเปลี่ยนแปลงระบบของสังคมปัจจุปันให้ลดการแข่งแย่งลงมา อันไหนจะเป็นวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมกันแน่
สำคัญตรงที่ว่าเค้าจะกลับมายอมรับความจริงแล้วเข้าสังคมที่ต้องแข่งขันกันได้รึเปล่า เพราะว่าจริงๆเราก็เกรงในสังคมทุนนิยมแบบนี้เหมือนกัน กลัวว่าจะไม่ทันคนอื่น กลัวจะโดนหลอก กลัวจะแพ้ แต่สุดท้ายคนเรามันก็ต้องยอมรับการเป็นผู้ใหญ่และอยู่ให้ได้อยู่ดีนั่นแหละ
ขอโทษน่ะครับที่พิมพ์ซะยาวเลย แต่บทความนี้มันน่าสนใจจริงๆ เพราะเราเองก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นเหมือนกัน
แต่คิดว่าก็คงยอมรับในสังคมแบบนี้อยู่หรอก


โดย: ....(- -)b..... IP: 125.24.218.13 วันที่: 26 ตุลาคม 2549 เวลา:21:17:05 น.  

 
อ่านแล้วหลายๆหัวข้อเขียนดีจังค่ะ ตอนนี้กำลังวางแผนทำนิตยสารเกี่ยวกับญี่ปุ่นอยู่ สนใจมาร่วมงานกันมั้ยคะ j-avenue@hotmail.com


โดย: YING IP: 124.120.219.123 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2549 เวลา:3:09:18 น.  

 
ผมตามลิงค์จาก INI3 Zone เข้ามาอ่ะครับ และผมชอบบทความคุณมากจริงๆ ผมขออณุยษตเอาเป็น source สำหรับรายงานผมหน่อยนะครับ > <


โดย: Arm_kun พบได้ตาม Tirkx Yogurting Trickster IP: 58.9.62.69 วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:21:06:02 น.  

 
อยากรู้ว่า มันมีประเภทไหนบ้างครับ พวก otaku เนี่ย


โดย: sace IP: 203.152.8.2 วันที่: 5 พฤษภาคม 2550 เวลา:9:31:52 น.  

 
เข้ามาทักทายและขอรับความรู้ไปพร้อมๆกันครับ


โดย: โอฮาน่า IP: 222.201.158.117 วันที่: 5 พฤษภาคม 2550 เวลา:10:56:26 น.  

 
ให้ความรูดีมากครับ ช่วยให้ผมได้เปิดมุมมองมากขึ้น


โดย: หมีฟู IP: 124.120.81.238 วันที่: 13 พฤษภาคม 2550 เวลา:21:03:11 น.  

 
เข้ามาอ่าน...ดีจังครับที่มีคนตีความคำว่า Otaku ในหลาย ๆ ด้าน

เป็นเรื่องที่น่าศึกษามาก...


โดย: ShadowServant IP: 125.25.34.216 วันที่: 14 พฤษภาคม 2550 เวลา:3:47:48 น.  

 
ขออนุญาติ เอา Link ไปเผยแพร่นะครับ

ดีมาก ๆ เลย



โดย: Jatu IP: 61.47.25.97 วันที่: 12 ธันวาคม 2550 เวลา:15:11:38 น.  

 
นี่เหรอต้นกำเนิด คำว่า OTAKU สุดยอดเลยแฮะไว้ค่อยอ่านหละกันครับ ยาวจัด ข้อมูลดีๆๆ น่าศึกษาครับ


โดย: MGF IP: 125.24.184.127 วันที่: 13 มีนาคม 2551 เวลา:16:13:10 น.  

 
น่ากลัวเหมื่อนกันนะ โอตาคุ รุ่นแรกๆ


โดย: T's IP: 70.121.15.238 วันที่: 15 มีนาคม 2551 เวลา:7:13:10 น.  

 
ก็ม่ายรู้เหมือนกันว่าทำไมเราดูการ์ตูนจิตใจเราลุกเป็นไฟเลยไม่ก็ใจเต้นและอย่างกับจะไปอีกมิตินึง การ์ตูนก็อยากอ่านจนต้องไปเรียนญี่ปุ่นเพื่อที่จาได้ได้อ่านเร็วขึ้น แถมคิดว่าตัวละครมานมีจิงอีกอ่า เพื่อนเราบอกว่าเราอาการหนักแล้ววว....เราก็งกนะไม่เคยซื้อขนมข้าวปลาก็ไม่ค่อยกินแต่พอเห็นการ์ตูนยอมซื้อจนหมดตัวเลยอ่า เราต้องไปหาหมอป่าวอะ....


โดย: =w=ม่ายบอก IP: 210.246.64.79 วันที่: 25 มีนาคม 2551 เวลา:14:26:34 น.  

 
ขอบคุณมากเลย ค้นหาคำจำกัดความที่ไหนก็ไม่ได้ใจเท่าของคุณเลยค่ะ เยี่ยมจริง ๆ ขอแอบเอาไปแบ่งปันให้ชาวบ้านอื่นเขาหน่อยนะคะจะได้เป็นประโยชน์กับมนุษยชาติทางด้านวิชาการต่อไป


โดย: คนที่หลงเข้ามา IP: 58.136.207.87 วันที่: 27 มีนาคม 2551 เวลา:18:00:03 น.  

 
ไม่มี่อะไรจะบอกก็เฉยแค่นี้นะ


โดย: วนันญา ล้อมคง IP: 58.147.54.158 วันที่: 1 มิถุนายน 2551 เวลา:14:35:30 น.  

 
เอะโอทำwebดีนิ้ อิอิ หน้าดูชม


โดย: Sa-Oเองจร้า IP: 203.113.100.186 วันที่: 27 กรกฎาคม 2551 เวลา:15:35:50 น.  

 
^^ได้ความรู้ Otaku เพิ่มเติม ^^ ขอบคุณค่ะ


โดย: snowy_n IP: 125.24.105.245 วันที่: 29 กรกฎาคม 2551 เวลา:22:48:05 น.  

 
เก่งจังนะคะ ข้อมูลเยอะดีอ่านเพลินเลย มีแค่otaku คำเดียวหรอ มีคำอื่นอีกมั้ย เอาแปลกๆเลยนะคะ จะเข้ามาอ่านบ่อยๆ


โดย: ไม่บอกหรอก IP: 118.173.244.138 วันที่: 19 สิงหาคม 2551 เวลา:15:20:23 น.  

 
ขอบคุณที่ให้ข้อมูลค่ะ



โดย: vbvb IP: 222.123.200.129 วันที่: 2 กันยายน 2551 เวลา:15:53:43 น.  

 
เป็นบทความที่ดีมากเลยแฮะ
ขออนุญาตินำข้อมูลไปเผยแพร่นะครับ


โดย: Mic IP: 125.25.153.99 วันที่: 2 กันยายน 2551 เวลา:21:05:07 น.  

 
โอตาคุ

ที่เป็นผู้หญิงมีเยอะมั้ยคะ

คือนู๋ก้อชอบการ์ตูนอ่า

-*-


โดย: -*- IP: 125.25.139.177 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:04:34 น.  

 
โอว.....ชิท ที่แท้เราก็คือโอตากุนั้นเอง เพิ่งรู้ตัวนะเนี่ย -*-


โดย: EndlesS IP: 222.123.31.95 วันที่: 20 ธันวาคม 2551 เวลา:15:45:45 น.  

 
thank you ery much ka.


โดย: unna IP: 117.47.206.173 วันที่: 25 ธันวาคม 2551 เวลา:17:46:20 น.  

 
ขอบคุณมากมาย ต้องการหาความหมายคำนี้ หาจากกูเกิล เจอเป็นอันดับแรก แล้วก็อธิบายอย่างละเอียดมากค่ะ

จาได้เข้าใจพวกโอตากุมากขึ้นค่ะ


โดย: เพิ่งผ่านมา IP: 202.130.147.136 วันที่: 8 มกราคม 2552 เวลา:17:23:36 น.  

 
เธ‚เธญเธšเธ„เธธเธ“เธกเธฒเธเน†เธ„เธฐ


โดย: เน€เธญเธดเน‰เธเน† IP: 58.64.52.90 วันที่: 30 มกราคม 2552 เวลา:14:36:46 น.  

 
ขอบคุณค่ะ ที่ให้ความรู้


โดย: มนัสนันท์ IP: 115.67.52.180 วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:17:01:50 น.  

 
เราแปลบทความที่เกี่ยวกับโอตากุได้ความเข้าใจขึ้นเยอะเลย

ขอไปอ้างอิงหน่อยนะคะ
ขอบคุณค้า


โดย: EvE IP: 158.108.199.247 วันที่: 4 มีนาคม 2552 เวลา:16:23:00 น.  

 
เยี่ยมคับ ได้ความรู้ชัดเจนขึ้นเลยฮะ
ให้เป็น blog ที่ดีแบบนี้ไปเรื่อยๆนะคับ


โดย: ฮิคิโคโมริ IP: 124.120.24.158 วันที่: 5 มีนาคม 2552 เวลา:12:14:43 น.  

 
ขอบคุนสำหรีบข้อมูลคุบ


โดย: TAI IP: 125.27.177.125 วันที่: 12 พฤษภาคม 2552 เวลา:21:46:38 น.  

 
เจ๋งมากมายเลยครับ

รู้เรื่อง โอตาคุ เยอะขึ้นเลยคับ



ขออนุญาตนำบทความไปเผยแพร่หน่อยนะครับ...

(=w=)


โดย: thebae IP: 202.28.45.20 วันที่: 15 มิถุนายน 2552 เวลา:8:39:13 น.  

 
ขออนุญาตินำบทความไปใช้ในงานวิจัยหน่อยนะคะ
แล้วขอรบกวนอยากจะทราบ ข้อมูลอ้างอิงที่ผู้เขียนใช้ได้ไหมค่ะว่าอ้างอิงมาจากที่ไหนบ้าง ตอนนี้ฉันทำวิทยานิพนธ์
เกี่ยวกับโอตาคุอยู่ค่ะ ทุกคนให้ความสนใจมาก แต่ฉันยังไม่มีความรู้เพียงพอ อยากจะขอให้คุณช่วยแนะนำหน่อยได้ไหมค่ะ ช่วยหน่อยนะคะ เพื่อว่างานวิจัยนี้จะออกมาอย่างสมบูรณ์ที่สุด และไม่บิดเบียนความจริงช่วยติดต่อมาด้วยนะคะ
yamapatchan_99@hotmail.com
หรือว่าใครพอจะแนะนำฉันเกี่ยวกับโอตาคุได้ก็ขอความกรุณาด้วยค่ะ ช่วยหน่อยนะคะ จะรอค่ะ ขอบคุณมากค่ะ^^


โดย: bamboo IP: 114.128.179.66 วันที่: 10 กรกฎาคม 2552 เวลา:11:14:14 น.  

 
สวัสดีครับ เผอิญได้หลังไมค์ให้มาตอบคำถาม

บทความชิ้นนี้ผมเอามาลงเองครับ นานนนนนมากกกกแล้ว

ลงด้วยความรำคาญ ว่าคนพันทิป เหลิมไทย ชอบให้นิยามโอตากุผิด ๆ
และนิยามแบบเหมารวม ว่าเป็นปัญหาสังคม ทั้งจริง ๆ ความหมายมันเปลี่ยนไปเยอะแล้ว

.............................................................

ส่วนข้อถามอ้างอิง ผมอยากจะให้ แต่ให้ไม่ได้นี่สิครับ

ไม่ได้งกอะไรนะครับ คือผมทำไฟล์ต้นฉบับหายไปอะ

บทความนี้ผมได้มาจากเพื่อนผมที่เรียน ป.โท japan studies ที่ มธ.ครับ

เป็นเพื่อนที่ผมรู้จักกันตอนเรียนนอกคณะ ซึ่งนั่นหมายความว่า
ผมเรียน japan studies เป็นวิชาเลือก และไม่ได้เป็นนักศึกษาสาขานี้

ส่วนจะช่วยอย่างไรได้บ้าง เดี๋ยวผมแอด เอ็มไปแล้วกันนะครับ หรือไม่ก็หลังไมค์มาหาผมได้


โดย: keiji IP: 203.158.239.239 วันที่: 10 กรกฎาคม 2552 เวลา:15:46:27 น.  

 
ได้ความรู้ดีมากเลยค่ะ มีลูกพี่ลูกน้องที่กำลังจะเป็นวัยรุ่น (อายุห่างกันพอสมควร 32/12 ^ ^") ชอบเอาคำแปลกๆ มาพูดด้วยแล้วไม่รู้เรื่องเลย วันก่อนได้ยินโอตากุๆ ก็เลยลองเสริชหาความหมายดูเลยมาตาสว่างที่นี่ล่ะค่ะ ขอบคุณอีกครั้งนะคะ ไว้มีคำแปลกๆ อีกอย่าลืมเอามาลงนะคะ เผื่อจะได้มาหาดู


โดย: nett IP: 203.156.91.61 วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:17:26:29 น.  

 
ไม่รุสิ แต่ก็ใกล้เคียงกับ ผมมาก

ไงก็ขอบคุณมาก มาย คับ ^0^


โดย: sizune IP: 112.142.224.109 วันที่: 9 ตุลาคม 2552 เวลา:14:27:59 น.  

 
เพื่อนบอกว่าผมเป็นอะ


โดย: ดี IP: 124.120.241.5 วันที่: 10 ตุลาคม 2552 เวลา:19:21:15 น.  

 
โอ้ววว... สุดยอดครับได้ความรู้มากเลย


โดย: Skunk IP: 202.44.130.23 วันที่: 18 ตุลาคม 2552 เวลา:0:37:15 น.  

 
อิม รวบรวมข้อมูลมาได้ละเอียดจริง ๆ นั่นแหล่ะ

แต่ที่ขาดไปก็คือ แหล่งที่มาของข้อมูล

ไม่มีใครในโลกนี้หรอกที่จะเขียนอะไรได้ด้วยตัวเองทั้งหมด

ทุกคนย่อมต้องไปหา Source ของข้อมูลจากแหล่งใด แหล่งหนึ่งทั้งนั่น

ซึ่งมารยาทตามสังคมนั้นควรจะระบุแหล่งอ้างอิงของข้อมูลเอาไว้ด้วยนะครับ


โดย: ทไวไลท์ ไดแมนชั่น IP: 10.2.33.201, 10.1.5.12, 58.137.129.220 วันที่: 27 ตุลาคม 2552 เวลา:14:53:00 น.  

 
ขอบคุณ นะ


โดย: ThX IP: 202.149.25.241 วันที่: 19 มกราคม 2553 เวลา:22:56:46 น.  

 
ปัจจุบันสมัยนี้มักให้นิยาม โอตาคุ ผิดๆ มีวันหนึ่งที่ผมได้ดูช่อง แก๊งค์การ์ตูน ผมรู้สึกไม่ค่อยดีเท่าไรตรงช่องคอมเม้นท์ ที่ใช้นิยามผิดๆ
คำว่า โอตาคุนั้น ได้ถูกจำกัดความเฉพาะหมายถึง ผู้คลั่งการ์ตูนและอนิเมะ แต่ดันใช้ว่าคลั่งพวกตุ๊กตา บอลโลก สนุ๊กเกอร์ หนังสือนิยาย ผมรู้สึกเสียใจเล็กน้อยนะครับ
ผมไม่อยากจะว่าหรอกนะครับแต่ว่า ได้โปรดอย่าเอาการ์ตูนศักดิ์สิทธ์ของโอตาคุไปเหมารวมกับของธรรมดานั้นเลย


โดย: K@Ze IP: 192.168.2.123, 202.143.162.84 วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:12:04:31 น.  

 
จงเป็นคนที่ดี ถ้าเป็นโอตาคุก็ต้องเป็นโอตาคุที่ดีเพราะโลกนี้ต้องการคนดี
ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล


โดย: Hito IP: 161.200.26.69 วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:19:18:07 น.  

 
ขอบคุณค่ะ เข้าใจความหมายของคำๆนี้มากขึ้นมากๆๆๆๆๆเลย
ข้อมูลเน่นมาก ชอบค่ะ ขอบคุณจริงๆ

อ่านขอบเขตของโอตาคุแล้วมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ัตัวเองกำลังเป็นอยู่
ก็ยอมรับเลยค่ะ ว่าเป็นโอตาคุ เพียงแต่ ณ ตอนนี้
ไม่เคยมีความคิดถึงขึ้นจะไปก่ออาชญากรรม เป็นภัยคุกคามทางสังคม


โดย: ntenshi IP: 203.144.144.165 วันที่: 26 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:13:50:58 น.  

 
เค้าบอกว่า ถ้าเป็นหญิงที่อารมณ์ประมาณว่างี้
จะเรียกว่า 'คุโจฉิ' อะครับ


โดย: Kirisame IP: 203.144.144.165 วันที่: 21 มีนาคม 2553 เวลา:9:53:46 น.  

 
ขอบคุณสำหรับบทความค่ะ


โดย: Chiyuri IP: 203.82.80.11 วันที่: 15 พฤษภาคม 2553 เวลา:7:15:40 น.  

 
เก่งมากค่ะ รวบรวมข้อมูล เนื้อหาได้แน่นจริงๆ ^^ ขอชมเชย


โดย: Obake IP: 124.121.14.5 วันที่: 15 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:38:02 น.  

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: ์Nic IP: 118.172.114.19 วันที่: 28 กันยายน 2553 เวลา:13:43:37 น.  

 
อ่านแล้วเข้าใจ คำว่าโอตาขุ มากขึ้นครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ
ขออ้างอิงบทความไปทำรายงาน หน่อยนะครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ


โดย: Hecknecker IP: 124.122.4.112 วันที่: 18 มิถุนายน 2554 เวลา:11:34:27 น.  

 
เป็นบทความที่ดีมากเลยค่//ขอชม
ขอบคุณนะคะที่เอามาให้เราได้อ่านกัน


โดย: payoonnoi IP: 58.9.247.123 วันที่: 20 กันยายน 2554 เวลา:0:31:02 น.  

 
สุดยอดครับ ยาวเฟื้อยๆเลย (แต่ตรูก็ตามอ่านจนจบ ฮ่าๆ)


โดย: D'omega IP: 118.173.142.74 วันที่: 6 ธันวาคม 2554 เวลา:22:52:06 น.  

 
ข้อมูลแน่นจิงๆ ขอแชร์บทความนะคะ

ตอบคุณ sace นะคะ
Otaku ที่มีอยู่ทั้งหมด 30 ประเภทค่ะ


โดย: Yukiya IP: 125.25.16.62 วันที่: 1 มกราคม 2555 เวลา:19:31:40 น.  

 
เป็นข้อมูลที่ดีมากเลยครับ ขอบคุณที่แบ่งปันนะครับ


โดย: kirinmaru IP: 125.24.62.11 วันที่: 14 มีนาคม 2555 เวลา:9:15:24 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ
ขอเอาไปประกอบรายงาน โดยอ้างอิงจากบทความนี้ได้ไหมคะ


โดย: Gilemagic IP: 115.87.115.133 วันที่: 10 พฤษภาคม 2555 เวลา:0:35:36 น.  

 
ข้อมูลดีครับ ขอบคุณมากครับ
(บ่น ไม่ต้องสนใจก็ได้ครับ)...สมัยนี้ Otaku ทำไมผู้หญิงถึงได้เยอะขึ้นมากล่ะครับ(ถึงจะไม่ได้เกลียดก็เถอะ) แล้วก็มีพวก Otaku ตามสมัยเยอะขึ้นด้วย ไม่ตรงตามหลัก Otaku เลย(เก็บตัว เพื่อนน้อย ไม่เข้าสังคม)...แบบนี้คือ Otaku สมัยใหม่ืสินะครับ พูดตามตรง ผมคิดว่า Otaku ควรจะเป็นพวกที่ทุ่มความรู้สึก ความตั้งใจทั้งหมดลงในสิ่งที่ชอบ ไม่จำเป็นต้องเป็น Anime หรือ Manga ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเก็บตัว หมกมุ่น เพื่อนน้อย แต่ขอให้ทุ่มเทที่สุด นั่นแหละคือ Otaku จริงๆ ถึงในอนาคตจะต้องเลิกเป็นไปก็เถอะ แต่ก็ยังมีความทรงจำ ว่าตนเองเคยผ่านประสบการณ์นี้มาก่อน
PS. Otaku ที่ดีควรจะรักษาการเรียน แยกแยะโลก 2D กับ 3D ออก และไม่เป็นภัยต่อสังคมนะครับ...


โดย: Killar IP: 171.7.31.139 วันที่: 20 สิงหาคม 2555 เวลา:21:42:12 น.  

 
ขอบคุณให้ ความรู้ได้เยอะมาก เลยค่ะ ตอนแรก นึกว่า Otaku คือพวกคลั่งไคล้การ์ตูน ค่ะ ตอนนี้เข้าใจแล้ว ค่ะ
ขอขอบคุณอีกครั้งค่ะ


โดย: kima IP: 223.204.148.89 วันที่: 15 ธันวาคม 2555 เวลา:16:50:42 น.  

 
สุดยอด ข้อมูลนี่แน่นมากเลยครับ ขอนำไปเป็นแหล่งอ้างอิงทำรายงานนะครับ^^


โดย: AIX IP: 125.24.103.188 วันที่: 28 กันยายน 2556 เวลา:19:19:08 น.  

 
ขอนำไปอ้างอิงด้วยคนนะคะ ขอบคุณมากค่ะ


โดย: เพจร่วมรณรงค์ให้สื่อสารมวลชนใช้คำอย่างถูกต้อง IP: 171.97.61.128 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2556 เวลา:22:13:17 น.  

 
altitude sickness remedies [url= https://forums.dieviete.lv/profils/127605/forum/ ] https://forums.dieviete.lv/profils/127605/forum/ [/url] health care choice


โดย: BrandonLah IP: 51.210.176.129 วันที่: 18 เมษายน 2567 เวลา:3:09:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]









ผม ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร
สามัญชนคนเหมือนกัน(All normal Human)
คนจรOnline(ได้แค่ฝัน)แห่งห้วงสมุทรสีทันดร
(Online Dreaming Traveler of Sitandon Ocean)
กรรมกรกระทู้สาระ(แนว)อิสระผู้ถูกลืมแห่งโลกออนไลน์(Forgotten Free Comment Worker of Online World)
หนุ่มสันโดษ(ผู้มีชีวิตที่พอเพียง) นิสัยและความสนใจแปลกแยกในหมู่ญาติพี่น้องและคนรู้จัก (Forrest Gump of the family)
หนุ่มตาเล็กผมสั้นกระเซิงรูปไม่หล่อพ่อไม่รวย แถมโสดสนิทและอาจจะตลอดชีวิตเพราะไม่เคยสนใจผู้หญิงกะเขาเลย
บ้าในสิ่งที่เป็นแก่นสารและสาระมากกว่าบันเทิงเริงรมย์
พร้อมแบ่งปันประสบการณ์ดีๆกับบันทึกในโลกออนไลน์แล้วครับ
กรุณาปรับหน้าจอเป็นขนาด1024*768เพื่อการรับชมBlog
ติดตามการเคลื่อนไหวของกรรมกรผ่านTwitter
และติดตามพูดคุยนำเสนอด้านมืดของกรรมกรผ่านTwitterอีกภาคหนึ่ง
Google


ท่องไปทั่วโลกหาแค่ในพันทิบก็พอ
ติชมแนะนำหรือขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาWeblog กรุณาส่งข้อความส่วนตัวถึงผมโดยตรงได้ที่หลังไมค์ช่องข้างล่างนี้


รับติดต่อเฉพาะผู้ที่มีอมยิ้มเป็นตัวเป็นตนเท่านั้น ไม่รับติดต่อทางE-Mailเพื่อสวัสดิภาพการใช้Mailให้ปลอดจากSpam Mailครับ
Addชื่อผมลงในContact listของหลังไมค์
free counters



Follow me on Twitter
New Comments
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ไทยวรรษ สีทันดรสมุทร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.