hummel
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สนใจการทหารมาตั้งแต่เด็ก, อยากมี
War Museum แต่คงทำไม่ได้
จึงขอเพียงมีห้องสมุดสงครามเล็กๆ
ปัจจุบัน อยากเขียนหนังสือภาษาไทย
เผยแพร่ให้เยาวชนที่สนใจ

123glitter.com
On line:
New Comments
Group Blog
 
 
ตุลาคม 2561
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
13 ตุลาคม 2561
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add hummel's blog to your web]
Links
 

 
เรื่องจริงของ K-19



ผมได้ชมภาพยนต์เรื่อง K-19: The Widowmaker (2002) นำแสดงโดย Harrison Ford และ Liam Neeson เกิดความสนใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับเรือลำนี้ จึงได้เข้าไปค้นหาข้อมูลความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับเรือลำนี้ ข้อมูลหลักๆ ก็มาจากเวบไซต์ Wikipedia นั่นเอง



เรือดำน้ำ K-19 เป็นเรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ลำแรก ของ Project 658. (โซเวียต จะเรียกเรือรบรุ่นต่างๆ เป็น Project, ในขณะที่ NATO จะเรียกเรือรบรุ่นต่างๆ ของโซเวียตตามรหัสตัวอักษร เช่น A = Alfa B = Bravo C = Chalie) สำหรับ เรือดำน้ำ Project 658 นี้ NATO กำหนดนามเรียกขานว่า เรือดำน้ำ ชั้น H หรือ Hotel. เรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ ใน Project 658 นี้ มีสองลำ. เรือดำน้ำ K-19 เป็นเรือลำแรก. ยังเป็นเรือดำน้ำรุ่นแรกที่ติดตั้งขีปนาวุธข้ามทวีปพิสัยใกล้ หรือ SLBM แบบ R-13. เพื่อช่วงชิงความเป็นเจ้าแห่งอาวุธนิวเคลียร์ โซเวียตจึงเร่งรัดให้ต่อเรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ติดขีปนาวุธนำวิถีข้ามทวีปขึ้นมา การเร่งรัดงานนี้ ทำให้การต่อเรือเป็นไปอย่างเร่งรีบ ในระหว่างการต่อเรือจึงได้เกิดอุบัติเหตุ มีคนงานต่อเรือเสียชีวิตไป 10 ราย และกลาสีเสียชีวิตอีก 1 นาย จากอุบัติเหตุและการเกิดเพลิงไหม้. และหลังการเข้าประจำการแล้ว ก็ยังมีอุบัติเหตุอีกหลายครั้ง หลายครั้งเกือบทำให้เรือจม.



วันที่ 4 กรกฎาคม 1961, ในการแล่นทดสอบ ระบบหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์ก็เสีย. และไม่มีระบบสำรอง ผู้บังคับการเรือสั่งให้ห่วยช่างกลเข้าแก้ไขก่อนจะเกิดปัญหาแกนหลอมละลาย. ทีมช่างกลได้ทำการซ่อมแซมจนระบบหล่อเย็นใช้งานได้อีกครั้ง. แต่ก็ต้องแลกด้วยชีวิตของทีมช่างกลและลูกเรือ 22 นาย เนื่องจากการซ่อมแซมต้องทำกันในพื้นที่ที่มีกัมมันตรังสีรั่วไหล. หลังจากนั้น เรือ K-19 ยังประสบอุบัติเหตุอีกหลายครั้ง รวมถึงเหตุไฟไหม้ในเรือ และการชนกับเรือดำน้ำอเมริกันอีก 1 ครั้ง. อุบัติเหตุหลายครั้งที่เกิดขึ้นในเรือ ทำให้ลูกเรือให้ฉายาเรือนี้ว่า “ฮิโรชิม่า”.

ความเป็นมา

ปลายทศตวรรษ 1950, ผู้นำโซเวียตต้องการชิงความเหนือกว่าสหรัฐอเมริกา โดยการสร้างกองเรือดำน้ำนิวเคลียร์, เพื่อให้งานดังกล่าวสำเร็จได้ จึงมีการระดมนายทหารชั้นหัวกะทิของกองทัพเรือโซเวียต เพื่อประจำการในเรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ลำแรกของสหภาพโซเวียต. ลูกเรือบนเรือดำน้ำลำใหม่นี้ ได้รับสวัสดิการที่ดีกว่าลูกเรือที่ประจำการบนเรือรบทั่วๆ ไป ของทัพเรือโซเวียด เช่น อาหารอย่างดี อย่างปลารมควัน, ไส้กรอก, ช๊อคโกแล๊ต และเนยแข็ง.

คนงานเสียชีวิตในระหว่างการต่อเรือ

ทัพเรือโซเวียด ได้สั่งการให้ต่อเรือดำน้ำ K-19 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 1957. มีการวางกระดูกงูในวันที่ 17 ตุลาคม 1958 ที่อู่ทหารเรือ ที่ Severodvinsk. ระหว่างดำเนินการต่อเรือ มีคนงานประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตหลายครั้ง : ครั้งแรก คนงาน 2 คน เสียชีวิตจากเหตุเพลิงไหม้, ต่อมา ก็มีคนงานหญิง 6 คน เสียชีวิตจากการสำลักควัน ขาดอากาศหายใจ ขณะกำลังยาแนวเรือ. ต่อมา ก็มีช่างไฟฟ้าเสียชีวิต เพราะถูกปลอกหุ้มขีปนาวุธกระแทก ขณะกำลังลำเลียงขีปนาวุธลงเรือ, และยังมีนายช่างอีกคนร่วงลงไปเสียชีวิตในตอนที่ 2.

เรือต้องคำสาป

ในพิธีปล่อยเรือลงน้ำ วันที่ 8 เมษายน 1959. มีการปฏิบัติที่ผิดปกติของพิธีปล่อยเรือลงน้ำที่เคยกระทำกันคือ ผู้ที่ทำหน้าที่ปล่อยขวดแชมเปญไปกระทบหัวเรือ ปกติจะเชิญสุภาพสตรีมาเป็นเกียรติในการทำพิธี แต่ในงานนี้ ผู้ทำหน้าที่ปล่อยขวดแชมเปญไปกระทบหัวเรือกลับเป็นนาวาตรี V. V. Panov แห่งหน่วยสนับสนุนที่ 5 ทำหน้าที่เป็นผู้ปล่อยขวดแชมเปญไปกระทบหัวเรือ แต่ขวดแชมเปญไม่ไปกระทบหัวเรือแตก กลับไหลไปข้างๆ การที่ขวดแชมเปญไม่แตกในพิธีปล่อยเรือลงน้ำ ชาวเรือถือว่าเป็นลางร้าย. ผู้บังคับการเรือดำน้ำ K-19 คนแรกคือ นาวาเอก Nikolai Vladimirovich Zateyev.


นาวาเอก Nikolai Vladimirovich Zateyev

ปัญหาก่อนออกทะเล

มกราคม 1960, เกิดปัญหาขึ้นหลังการเปลี่ยนเวร ทำให้การทำงานของเตาปฏิกรณ์มีปัญหา จนคันควบคุมในเตาปฏิกรณ์เกิดการบิดงอ. เรือต้องกลับเข้ารับการซ่อมแซมเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ลูกเรือที่เกี่ยวข้องถูกย้าย และนาวาตรี Panov ถูกลดตำแหน่ง.

วันที่ 12 กรกฎาคม 1960, ลูกเรือทั้งหมดขึ้นประจำการบนเรือเป็นครั้งแรก มีพิธีเชิญธงขึ้นเสา เตรียมนำเรือออกทดลองวิ่งในทะเล ตั้งแต่วันที่ 13-17 กรกฎาคม 1960 และทำการทดลองวิ่งในทะเลครั้งที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม – 8 พฤศจิกายน 1960 ครั้งนี้เป็นการเดินทางไกล เรือเดินทางถึง 17,347 กม. (10,779 ไมล์). วันที่ 12 พฤศจิกายน 1960 ก็ได้รับการรับรองว่า เรือพร้อมปฏิบัติการได้. แต่หลังจากการนำเรือแล่นบนผิวน้ำด้วยความเร็วเต็มที่ ทำให้ยางที่หุ้มตัวเรือส่วนใหญ่หลุดออก.


ระหว่างการดำน้ำที่ระดับความลึกสูงสุด 300 เมตร (980 ฟุต), เกิดน้ำท่วมในตอนเตาปฏิกรณ์, ผู้บังคับการเรือ ได้สั่งการให้นำเรือขึ้นสู่ผิวน้ำทันที เรือเกิดการเอียงซ้าย. ผลการสอบสวนในภายหลังพบสาเหตุของปัญหาดังกล่าวเกิดจากคนงานอู่ต่อเรือไม่สามารถติดตั้งปะเก็นได้ตามที่กำหนด จึงทำให้เกิดน้ำรั่วขึ้นในสภาวะที่ต้องเผชิญแรงกดดันสูงใต้น้ำลึก. และยังมีสาเหตุจากในเดือนตุลาคม 1960 เจ้าหน้าที่สูทกรรมได้เทขยะที่มีเศษไม้ลงไปในช่องทางกำจัดขยะ เศษไม้ได้เข้าไปติดในระบบกำจัดขยะ ทำให้เกิดน้ำท่วมถึง 1 ใน 3 ในตอนที่ 9. ในเดีอนธันวาคม 1960, เกิดปัญหาปั๊มหล่อเย็นหลักเสีย ผู้เชี่ยวชาญที่ Severodvinsk สั่งการให้ทำการซ่อมทำในทะเล.

ภาพกำลังพลของเรือ K-19 ถ่ายภาพร่วมกัน

เรือดำน้ำ K-19 ขึ้นระวางประจำการในวันที่ 30 เมษายน 1961, โดยมีกำลังพลทั้งหมด 139 นาย ในจำนวนนี้ รวมทั้งผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ได้อยู่ในอัตรากำลังพลตามปกติ.

อุบัติเหตุทางนิวเคลียร์

วันที่ 4 กรกฎาคม 1961, ขณะที่เรือดำน้ำ K-19 กำลังทำการฝึกในแอตแลนติกเหนือ นอกฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรีนแลนด์ ภายใต้การบัญชาการของนาวาเอก Nikolai Vladimirovich Zateyev ก็เกิดปัญหาที่ปั๊มหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์อีก อุณหภูมิในเตาปฏิกรณ์ขึ้นสูงอย่างควบคุมไม่ได้ และไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ เพราะไม่ได้ออกแบบระบบป้องกันสำรองไว้.

การแก้ปัญหาความร้อนขึ้นสูงในเตาปฏิกรณ์ตอนนี้ ทำได้อย่างเดียวคือ ต้องทำระบบหล่อเย็นขึ้นมาใหม่จากวัสดุที่พอหาได้ ผู้บังคับการเรือจึงสั่งให้ทีมช่างกลซ่อมสร้างระบบหล่อเย็นขึ้นใหม่ โดยตัดท่อส่งอากาศไปเชื่อมท่อส่งน้ำหล่อเย็น งานนี้ช่างที่เข้าไปซ่อมทำระบบหล่อเย็นนี้ ต้องทำงานในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยกัมมันตรังสีในเวลานานจนเป็นอันตรายต่อชีวิต. นอกจากนั้นกัมมันตรังสียังกระจายไปตามระบบระบายอากาศ ทำให้สารกัมมันตรังสีกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของเรือ. การซ่อมสร้างระบบหล่อเย็นใหม่ประสบความสำเร็จ ความร้อนของเตาปฏิกรณ์ลดลง.

อุบัติเหตุครั้งนี้ ส่งผลให้ลูกเรือส่วนใหญ่ได้รับสารกัมมันตรังสี ทีมช่างกลทั้งหมดเสียชีวิตจากการถูกสารกัมมันตรังสีในเดือนต่อมาหลังจากเหตุการณ์นี้. ภายในเวลาสองปี มีลูกเรืออีกหลายนายเสียชีวิตจากการถูกสารกัมมันตรังสี.

ผู้บังคับการเรือ ตัดสินใจดำเนินการตามแผนเดิม คือ การมุ่งหน้าลงใต้ เพื่อพบกับเรือดำน้ำ S-270 (เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า Project 613 – NATO Whisky class). เนื่องจากเกรงว่าลูกเรือที่ต้องการยกเลิกภารกิจ และเดินทางกลับทันที จะก่อกบฏในเรือ ผู้บังคับการเรือจึงนำอาวุธประจำกายในคลังแสงโยนทิ้งน้ำไป เหลือเพียงปืนพก 5 กระบอก ที่แจกจ่ายไว้กับนายทหารที่ไว้วางใจเท่านั้น เรือดำน้ำ S-270 ได้ทำการพ่วงเรือและลากเรือ K-19 กลับฐานทัพ.

เรือรบอเมริกันที่อยู่ใกล้เคียงที่ได้รับสัญญาณจากเรือ K-19 เสนอที่จะเข้าช่วยเหลือ แต่ผู้บังคับการเรือ นาวาเอก Zateyev เกรงว่า ความลับทางทหารของโซเวียตจะรั่วไหล จึงปฏิเสธที่จะรับความช่วยเหลือ, ลูกเรือถูกย้ายไปเรือลำอื่น และเรือถูกลากกลับไปฐานทัพ. เมื่อถึงฐานทัพ เรือ K-19 ถูกลากไปจอดในที่เฉพาะ ห่างจากเรืออื่นๆ ถึง 700 เมตร. ทิ้งไว้ 2 ปีกว่า จึงได้ส่งทีมช่างเข้าไปซ่อมแซมเตาปฏิกรณ์ โดยการเปลี่ยนเตาปฏิกรณ์ใหม่. รวมทั้งการจัดการกับสิ่งปนเปื้อนกัมมันตรังสี. ส่วนขยะกัมมันตรังสีของเรือที่มีปัญหานั้น ถูกเก็บและนำไปทิ้งในทะเลคาร่า.


รัฐบาลโซเวียตออกแถลงการณ์ชี้แจงอย่างเป็นทางการว่า ทีมช่างได้ค้นพบสาเหตุแห่งภัยพิบัติในครั้งนี้ เกิดจากความผิดพลาดในการต่อเรือ ท่อระบายความร้อนของระบบหล่อเย็นถูกประกายไฟจากการเชื่อม ทำให้เกิดรอยแตกที่มองไม่เห็น รอยแตกนี้เมื่ออยู่ภายใต้แรงกดดันที่สูงมาก และแรงกดดันที่ต่อเนื่องนาน จะทำให้รอยแตกนี้ขยายตัว จนสร้างความเสียหายต่อระบบหล่อเย็น.

พลเรือตรี Nikolai Mormul นายทหารเรือเกษียณแล้ว ได้โต้แย้งคำแถลงการณ์นี้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาตั้งแต่ก่อนนำเตาปฏิกรณ์มาติดตั้งในเรือ โดยไม่มีการติดตั้งเครื่องวาวความดันไว้ที่ระบบหล่อเย็น. ก่อนที่จะเกิดอุบัติภัยครั้งนี้ ท่อหล่อเย็นต้องรับแรงกดดันถึง 400 เท่าของบรรยากาศ เท่ากับ 2 เท่าของที่คาดไว้ว่าท่อจะสามารถรับแรงกดดันไหว. หลังซ่อมแซมเสร็จ เรือดำน้ำ K-19 กลับเข้าประจำการอีกครั้ง โดยมีชื่อเรียกเล่นๆ ว่า “ฮิโรชิม่า”.

1 กุมภาพันธ์ 2006, อดีตประธานาธิปบดีแห่งสหภาพโซเวียต นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ มีหนังสือถึงคณะกรรมการรางวัลโนเบลของนอร์เวย์ เสนอให้กำลังพลของเรือดำน้ำ K-19 ได้รับรางวัลโนเบล จากวีรกรรมของพวกเขาในวันที่ 4 กรกฎาคม 1961.

ลูกเรือจำนวนมากของเรือ K-19 ได้รับรังสีอย่างมากระหว่างเข้าไปซ่อมสร้างระบบหล่อเย็นของเตาปฏิกรณ์ หมายเลข 8. ทั้งหมดเสียชีวิตลงภายในระยะเวลา 3 สัปดาห์ หลังเหตุการณ์ดังกล่าว จากการได้รับรังสีในปริมาณมาก คือ ได้รับคนละ 4-5 Sv (ประมาณ 400-500 rem) ซึ่งหากได้รับเพียงครึ่งหนึ่ง ก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ภายใน 1 เดือน.

ลูกเรือที่เหลือ ก็ได้รับปริมาณรังสีจำนวนมากเกินกำหนด ทุกคนต่างได้รับการรักษา ภายใต้การรับผิดชอบของ ศาสตราจารย์ Z. Volynskiy โดยการปลูกเนื้อเยื่อไขกระดูก และการถ่ายเลือด. ทำให้หลายชีวิตรอดตาย อย่างเช่น Chief Lieutenant Mikhail Krasichkov  และนาวาตรี Vladimir Yenin ที่ได้รับรังสีมากเกือบเสียชีวิต แต่สิ่งที่ไม่สามารถรักษาได้คือ ความเจ็บปวดทางจิตใจ.

ชนกับเรือดำน้ำอเมริกัน

วันทื่ 15 พฤศจิกายน 1969, เวลา 0713. เรือดำน้ำ K-19 ชนกับเรือดำน้ำอเมริกัน USS Gato ขณะลาดตระเวนใต้น้ำ ที่ระดับความลึก 60 เมตร (200 ฟุต) ในทะเลแบเรนท์ เรือ K-19 ต้องขึ้นสู่ผิวน้ำฉุกเฉิน. โซนาร์หัวเรือพัง ฝาท่อตอร์ปิโดหัวเรือเสียหาย. เรือ K-19 ต้องเดินทางกลับฐานทัพทันที เมื่อรับการซ่อมแซมแล้วจึงกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่อีกครั้ง. ส่วนเรือดำน้ำ Gato ไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด หลังชนกันแล้ว ก็ยังลาดตระเวนต่อไป.

เพลิงไหม้ในเรือ

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1972, เกิดเพลิงไหม้ในเรือ K-91 ขณะดำอยู่ในระดับความลึก 120 เมตร (390 ฟุต), ห่างจากเกาะนิวฟันด์แลนด์ 1,300 กิโลเมตร (700 ไมล์ทะเล หรือ 810 ไมล์). ทำให้ต้องนำเรือขึ้นสู่ผิวน้ำ ลูกเรือที่ไม่มีหน้าที่จำเป็นถูกอพยพขึ้นเรือรบลำอื่น เหลือเพียงลูกเรือ 12 คน ที่ติดอยู่ในตอร์ปิโดท้าย. การช่วยเหลือเป็นไปอย่างล่าช้าเพราะอุปสรรคจากคลื่นลมแรง ลูกเรือในห้องตอร์ปิโดท้ายไม่สามารถช่วยเหลือได้ เพราะเพลิงไหม้อย่างรุนแรงในห้องเครื่อง. มีลูกเรือเสียชีวิตอยู่ภายในเรือ 28 นาย อีก 2 นาย เสียชีวิตบนเรือที่มาช่วยเหลือ. ผลการสอบสวนอุบัติเหตุครั้งนี้สรุปว่า เหตุเกิดจากท่อน้ำมันไฮดรอลิครั่วและไปถูกส่วนที่มีความร้อนสูง ทำให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นมา.

การช่วยเหลือในครั้งนี้ใช้เวลากว่า 40 วัน มีเรือกว่า 30 ลำ ร่วมปฏิบัติการช่วยเหลือ. เรือ K-19 ใช้เวลาในการซ่อมแซมตั้งแต่ 15 มิถุนายน – 5 พฤศจิกายน จึงกลับเข้าปฏิบัติงานอีกครั้ง.

วันที่ 15 พฤศจิกายน 1972. ก็เกิดเพลิงไหม้อีกครั้งในตอนที่ 6 แต่ในครั้งนี้ สามารถใช้ระบบเคมีดับเพลิงได้ทันท่วงที ไม่มีผู้เสียชีวิต.

จัดชั้นเรือใหม่

เรือ K-19 ถูกจัดชั้นของเรือใหม่เป็นเรือดำน้ำขนาดใหญ่ (Large Submarine class) ในวันที่ 25 กรกฎาคม 1977, และได้ถูกจัดชั้นเรือใหม่เป็นเรือดำน้ำสื่อสาร (communications submarine) ในวันที่ 26 กรกฎาคม 1979 ใช้สัญลักษณ์เป็น KS-19 (ภาษารัสเซีย คือ KC-19). วันที่ 15 สิงหาคม 1982, เกิดไฟฟ้าช๊อต ทำให้เกิดเพลิงไหม้อีกครั้ง ลูกเรือถูกไฟลวกอย่างรุนแรง 2 นาย หนึ่งในจำนวนนั้น เสียชีวิตในอีก 5 วันต่อมา.

วันที่ 28 พฤศจิกายน 1985, เรือถูกปรับปรุงเป็นเรือรุ่น 658s (658c).

ปลดระวางประจำการ

ซากเรือ K-19 รอรุเป็นเศษเหล็ก

เรือ K-19 ถูกปลดระวางประจำการในวันที่ 19 เมษายน 1990, ถูกนำไปที่อู่ทหารเรือ Polyarny ในปี 1994. เดือนมีนาคม 2002, เรือถูกลากไปที่อู่ Nerpa ใน Snezhnogorsk, Murmansk เพื่อรุเป็นเศษเหล็ก.

อนุสรณ์สถานของลูกเรือ K-19

ในปี 2006, บางส่วนของเรือดำน้ำ K-19 ถูกซื้อโดย Vladimir Romanov มหาเศรษฐีชาวลิทัวเนีย ที่เคยเป็นทหารเกณฑ์ในเรือ K-19 เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับชาวเรือดำน้ำด้วยกัน. แต่โครงการนี้ถูกชะลอไว้ก่อน ลูกเรือ K-19 ที่รอดตายมาก็คัดค้านโครงการดังกล่าว.

บทประพันธ์และภาพยนต์

ปี 1969 Vasily Aksyonov นักเขียนได้ประพันธ์เรื่องเกี่ยวกับอุบัติเหตุนิวเคลียร์ในสหภาพโซเวียต. หนึ่งในนั้นคือ เรื่องของเรือดำน้ำ K-19.


ภาพยนตร์ K-19: The Widowmaker (2002) นำแสดงโดย Harrison Ford และ Liam Neeson ใช้เนื้อหาของอุบัติเหตุในเรือดำน้ำ K-19 ครั้งแรก. ทีมสร้างพยายามขอใช้เรือ K-19 เป็นส่วนหนึ่งของการถ่ายทำ แต่ทางกองทัพเรือรัสเซียปฏิเสธ จึงต้องใช้เรือดำน้ำ K-77 ซึ่งหลังปลดระวางประจำการแล้วได้ถูกนำมาประมูลขายต่อ. ชื่อ "The Widowmaker" เป็นเพียงชื่อที่นำมาใช้ในภาพยนต์เท่านั้น. ส่วนชื่อของลูกเรือถูกเปลี่ยนตามคำขอร้องของลูกเรือและครอบครัว.

ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Soviet_submarine_K-19





Create Date : 13 ตุลาคม 2561
Last Update : 13 ตุลาคม 2561 20:56:15 น. 1 comments
Counter : 7110 Pageviews.

 
เป็นความรู้ที่ดีมากเลยค่ะ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3445381 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2561 เวลา:3:40:30 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.