ไปกด Link ได้ที่แฟนเพจ https://www.facebook.com/skymantaf หรือ Follow ได้ที่ Twitter https://twitter.com/skymantaf หรือที่ http://www.thaiarmedforce.com นะครับ
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2550
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
11 สิงหาคม 2550
 
All Blogs
 
-+= เปิดประสิทธิภาพ BTR-3E1 รถเกราะล้อยางจากประเทศยูเครน =+-

กองทัพบกไทยมีความต้องการในการจัดหารถเกราะล้อยาง (Armed Wheel Vehicle) มาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อเสริมกับรถเกราะล้อยาง 4 ล้อรุ่น V-150 ที่มีประจำการในปัจจุบัน

ผมต้องออกตัวก่อนว่าตัวผมเองไม่เชี่ยวชาญเรื่องรถเกราะหรือรถถังนัก ดังนั้นข้อมูลด้านประสิทธิภาพของรถเกราะรุ่นนี้บางส่วนได้รับความอนุเคราะห์จากคุณ AAG_th และคุณ nunimitr ขอขอบคุณมา ณ ที่นี่ครับ

ทั้งนี้ จุดประสงค์ของกระทู้นี้คือการนำเสนอข้อมูลด้านประสิทธิภาพของรถรุ่นนี้และ/หรือรุ่นอื่น ๆ ที่อาจจะเกี่ยวข้อง โดยจะนำเฉพาะข้อเท็จจริงที่ปรากฏมานำเสนอเท่านั้น และเนื่องจากประเด็นนี้อ่อนไหวมาก ผู้เขียนจะหลีกเลี่ยงประเด็นหรือการวิเคราะห์ใด ๆ อันจะนำไปสู่ความเห็นและการโต้เถียงทางการเมือง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการให้เกียรติกับผู้ที่ต้องการเข้ามาหาความรู้ทางวิชาการ จึงขอกราบเรียนวิงวอนทุก ๆ ท่าน ได้โปรดกรุณางดเว้นการโพสคำพูดเสียดสี ด่าทอ ว่ากล่าว หรือแม้แต่คำชื่นชม ที่ใช้อารมณ์และความรู้สึกของตนเองเป็นที่ตั้ง ถ้ามีการโพสในลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้น ขอเรียนวิงวอนให้ท่านสมาชิกท่านอื่น ๆ ช่วยกันแจ้งลบผ่านประบบไฟเขียวไฟแดง และถ้ามีเหตุใด ๆ ที่กระทู้นี้จะนำไปสู่การโต้เถียงทางการเมืองจนผิดวิสัยและขอบเขตของ Blog นี้ เจ้าของกระทู้ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นนั้นโดยทันที

อนึ่ง ลิขสิทธิ์ในงานเขียนนี้ เป็นของข้าพเจ้าผู้โพสกระทู้ (ยกเว้นข้อมูลที่คัดลอกมาจากแหล่งอื่นซึ่งจะระบุเป็นกรณี ๆ ไป) ขอสงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดทำซ้ำ คัดลอก เพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ ก็ตาม โดยปราศจากคำยินยอมของข้าพเจ้าเป็นอันขาด



โครงการจัดหารถเกราะล้อยางของกองทัพบกไทย


กองทัพบกไทยมีความต้องการในการจัดหารถเกราะล้อยางมานานกว่า 10 ปีแล้ว โดยในช่วงปี 2540 กองทัพบกได้จัดให้มีการทดสอบประสิทธิภาพในสนามทดสอบของทบ.ขึ้น โดยมีรถเกราะล้อยางจาก 9 ประเทศเข้าร่วมทดสอบ ผลการทดสอบปรากฏว่ารถเกราะล้อยางจากแคนาดาได้รับคะแนนสูงสุด ส่วนรถเกราะจากจีนได้รับคะแนนน้อยที่สุด (ข้อมูลรถที่มาทดสอบในตารางด้านล่าง อ้างอิงจากนิตยสารสมรภูมิ ฉบับที่ 850 วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม ) แต่เนื่องจากประเทศเกิดภาวะเศรษฐกิจ จึงไม่มีการจัดหาเกิดขึ้น

ถัดมาในช่วงปี 2547 รัฐบาลไทยเซ็นสัญญาจัดหารถเกราะล้อยาง WZ551โดยวิธีแลกเปลี่ยนสินค้ากับรัฐบาลจีน โดยจะทำการแลกเปลี่ยนกับลำไย แต่เนื่องจากประสบปัญหาการทุจริตสต็อกลำไย และไม่สามาถรถตกลงราคาลำไยต่อกิโลกรัมกับจีนได้ การจัดหาจึงล้มเลิกไป (อ้างอิงจากข่าวด้านล่างนี้)

-------------------------------

ข่าวอ้างอิง

Bangkok, July 3 (CNA) China has agreed to a proposal from visiting Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra to provide 96 Chinese-made military vehicles to the Thai army in exchange for longans grown in Thailand, Thai military officials disclosed over the weekend.

Thaksin, who has acknowledged that he is a fourth-generation ethnic Chinese, is in China on an official visit at the invitation of his Chinese counterpart, Wen Giabao. Besides meeting with Wen in Beijing to review bilateral trade and economic relations, he will visit Meizhou in Guangdong Province to trace his family roots.

Thai military officials said that Thailand has asked Beijing to supply 132 military vehicles worth US$40 million. China has agreed to the initial 96 vehicles for the Thai army. The Thai navy will get 24, and the remaining 12 will be assigned for use by border police.

It was learned that Beijing has insisted that Thailand must use longans for the barter trade.

Meanwhile, Gen. Prawit Wongsuwon, commander-in-chief of the Royal Thai Army, who returned from a visit to Russia Saturday, also disclosed that he had secured a deal to buy four MI-17 helicopters at a cost of US$25 million. The money will be paid from the debt owed by Moscow for its purchase of Thai rice.



ซึ่งในปัจจุบันข่าวที่ออกมาคือกองทัพบกกำลังจะเลือกแบบของรถเกราะล้อยางที่จะทำการจัดซื้อคือ BTR-3E1 จากประเทศยูเครน ในงบประมาณจำนวน 4,000 ล้านบาท ทั้งนี้ อ้างอิงจากการโครงการจัดหาและซ่อมแซมอาวุธยุทโธปกรณ์ในภาพรวม 9 ปี (2550-2558) ซึ่งเคยถูกกล่าวถึงคือ

Annex 29 (Armoured Infantry Fighting Vehicle): A wheeled combat vehicle intended to carry infantry troops, weapons and other loads in the battlefield and able to provide sufficient fire support. One mechanized infantry battalion should have 96 armoured infantry fighting vehicles (64 infantry carrier vehicles, 4 command vehicles, 9 81 mm. mortar vehicles, 4 120 mm. mortar vehicles, 6 heavy anti-tank vehicles, 6 recovery vehicles, 3 ambulance vehicles). The communication system should be the same/compatible system employed by the RTA.

ซึ่งจะทำให้พอมองเห็นภาพคร่าว ๆ ของความต้องการของกองทัพบก


ผู้ผลิตรถเกราะล้อยางตระกูล BTR ของประเทศยูเครน


รถเกราะล้อยางรุ่น BTR-3E1 ผลิตโดยประเทศยูเครน ซึ่งเป็นอดีตสหภาพโซเวียต โดย Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau หรือ KMDB ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลยูเครน ข้อมูลในเว็บไซต์กล่าวว่าทาง KMDB มีความสามารถในการพัฒนาและผลิตรถรบทหารราบทั้งแบบสายพานและแบบล้อ รวมถึงการปรับปรุงรถถังตระกูล T-XX ของอดีตสหภาพโซเวียตอีกด้วย

( //www.morozov.com.ua/eng/index.php?menu=m1.php )

ข้อมูลเบื้องต้นของรถเกราะตระกูล BTR-3


รถเกราะล้อยางตระกูล BTR-3 เป็นรถเกราะ 8 ล้อ (8x8) ซึ่งคาดว่าเป็นการ redesign รถเกราะของรัสเซียรุ่น BTR-80 ในรุ่นแรกคือ BTR-3U เปิดตัวครั้งแรกในปี 2001 โดยมีผู้ร่วมพัฒนาหลักคือ

- Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau ประเทศยูเครน
- ADCOM สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- Deutz AG ประเทศเยอรมัน
- Allison ประเทศสหรัฐอเมริกา

ทั้งนี้ รถเกราะล้อยางรุ่น BTR-3U นั้น มีผู้ใช้คือสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จำนวน 100 คัน และพม่าจำนวน 1,000 คัน

[ภาพ: BTR-3U]



คุณสมบัติของรถเกราะล้อยาง BTR-3E1

อ้างอิงจากเว็บไซต์ของ สำนักงานประสานการวิจัยและพัฒนาการทางทหาร ( //ardothailand.com/SHcontentsview.php?Ccont_ID=32 )

ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1
ตามที่ ทบ. ได้อนุมัติให้บริษัท ดาต้าเกท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประสานงานในประเทศไทย ให้กับ บริษัท UKRSPETSEXPORT แห่งประเทศยูเครน บรรยายสรุป เกี่ยวกับ ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1 เมื่อ ๑๓ ธ.ค.๔๙ ณ สโมสร ทบ. (ส่วนกลาง) เทเวศร์
ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1 เป็นยานเกราะล้อยางประเภทสะเทินน้ำสะเทินบก ผลิตจากประเทศยูเครน ตัวถังรถ ผลิตด้วยเหล็กกล้าชนิดแข็งมากผสมใยสังเคราะห์ KEVLAR จากด้านในของตัวรถ (VERY HARD STEEL & REINFORCE WITH THE KEVLAR INSIDE) ป้องกันกระสุน ขนาด ๗.๖๒ มม. โดยสามารถปรับปรุงให้ป้องกันกระสุน ขนาด ๑๒.๗ มม. (.๕๐ นิ้ว) ได้ด้วยการเสริมแผ่นเซรามิค บรรทุกกำลังพลรวม ๙ นาย ประกอบด้วย ผบ.รถ, พลขับ, พลยิง และพลประจำรถ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
๑.๑ ระบบอาวุธ
๑.๑.๑ ป.อัตโนมัติ ขนาด ๓๐ มม. แบบ ZTM-1 จำนวน ๑ กระบอก ติดตั้งที่ป้อมปืนด้านบนตัวรถ พร้อมกระสุนจำนวน ๔๐๐ นัด ซึ่งมีอัตราการยิง ๓๓๐ นัด/นาที โดยมีระยะยิงหวังผลทางภาคพื้น ที่ระยะ ๔,๐๐๐ ม. และทางอากาศ ที่ระยะ ๒,๐๐๐ ม.
๑.๑.๒ ระบบอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง แบบ BARRIER (BARRIER ANTI- TANK MISSILE SYSTEM: BARRIER ATMS) นำวิถีด้วยแสงเลเซอร์ (LASER BEAM) พร้อมลูกจรวด จำนวน ๔ ลูก ซึ่งใช้ยิงหวังผล ที่ระยะ ๕,๕๐๐ ม.
๑.๑.๓ ค.อัตโนมัติ ขนาด ๓๐ ม. แบบ AG-17 หรือ AGS-17 (30 mm AUTOMATIC GRENADE LAUNCHER) พร้อมลูกระเบิดยิง จำนวน ๘๗ นัด ซึ่งใช้หวังผล ที่ระยะ ๑,๗๐๐ ม.
๑.๑.๔ ปก.ขนาด ๗.๖๒ มม. (7.62 mm MACHINE GUN) แบบ KT-7.62 (PKT) พร้อมกระสุน จำนวน ๒,๐๐๐ นัด ซึ่งใช้ยิงหวังผล ที่ระยะ ๒,๐๐๐ ม.
๑.๑.๕ เครื่องยิงลูกระเบิดควัน ขนาด ๘๑ มม. (81 mm SMOKE GRENADE LAUNCHER) พร้อมลูกระเบิดควัน จำนวน ๖ นัด
๑.๒ เครื่องยนต์ดีเซล แบบ UTD-20 ขนาด ๓๐๐ แรงม้า
๑.๓ เครื่องเปลี่ยนความเร็วแบบ ทางกล (MACHANICAL)
๑.๔ ระบบพยุงตัวรถ แบบอิสระ (INDEPENDENT)
๑.๕ ยางล้อแบบ RUN FLAT สามารถควบคุมการเติมลมได้ในขณะขับเคลื่อน
๑.๖ น้ำหนักรถ ๑๖ ตัน
๑.๗ กำลังขับเคลื่อน ๑๘.๘ แรงม้า/ตัน
๑.๘ ความเร็วสูงสุด บนถนน ๘๕ กม./ชม.
ในน้ำ ๘- ๑๐ กม./ชม.
๑.๙ ความเร็วต่ำสุด ๕ กม./ชม.
๑.๑๐ ระบบปฏิบัติการ บนถนน ๗๕๐ กม./ชม.
ในภูมิประเทศ ๓๕๐ กม./ชม.
๑.๑๑ อุณหภูมิการใช้งาน ตั้งแต่ – 40C ถึง +55 0C
๑.๑๒ ข้ามเครื่องกีดขวาง ขนาดความสูง ๐.๕ ม.
๑.๑๓ ข้ามคูดักรถถัง ขนาดความกว้าง ๒ ม.
๑.๑๔ ไต่ลาดชัน ๓๐0
๑.๑๕ การไต่ลาดเอียง ๒๕0
๑.๑๖ ระบบเครื่องควบคุมการยิง ประกอบด้วย
๑.๑๖.๑ ระบบรักษาการทรงตัวของปืน (STABILIZER)
๑.๑๖.๒ ระบบติดตามเป้าหมาย (TRACK SIGHTING SYSTEM) แบบกล้องทีวีกลางวัน/กลางคืน พร้อมกล้องวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์ (TV DAY & NIGHT WITH INTEGRATED LASER RANGE FINDER)
๑.๑๖.๓ ระบบกล้องตรวจการณ์ แบบมองรอบทิศทาง (PANORAMIC OBSERVATION SYSTEM)
๑.๑๗ อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ดังนี้
๑.๑๗.๑ กว้าน ขนาดแรงดึง ๖ ตัน
๑.๑๗.๒ เครื่องดับเพลิงอัตโนมัติ
๑.๑๗.๓ ระบบกรองอากาศ แบบ FULL FLOW FILTER
๑.๑๗.๔ ระบบทำความเย็น (AIRCONDITION) ขนาด ๑๐ กิโลวัตต์
๑.๑๗.๕ ระบบให้ความร้อน (HEATER) ขนาด ๑๘ กิโลวัตต์




ระบบอาวุธของตัวรถ


ในภาพนี้ จะเห็นระบบอาวุธอยู่ 3 แบบคือ

- ปืนกลอัตโนมัติขนาด 30 มม. รุ่น ZTM-1 จำนวน 1 กระบอก บรรทุกกระสุนจำนวน 400 นัด อัตราการยิง 320 นัดต่อนาที ระยะยิงหวังผลต่อเป้าหมายภาคพื้นดิน 4,000 เมตร ต่อเป้าหมายอากาศ 2,000 เมตร

- เครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัติขนาด 30 มม. ระยะยิงหวังผล 1,700 เมตร บรรจุกระสุนพร้อมยิง 29 นัด กระสุนสำรองอีก 87 นัด (แม็กกาซีนละ 29 นัด จำนวน 3 ชุด)

- เครื่องยิงลูกระเบิดควันขนาด 81 มม. จำนวน 6 ท่อยิง (เพื่อการพรางตัว)

- ส่วนระบบจรวดต่อสู้รถถัง BARRIER ATMS นั้นหาข้อมูลและรูปภาพไม่เจอครับ

เครื่องยนต์และระบบอื่น ๆ


- เครื่องยนต์รุ่น UTD-20 (ดูคุณสมบัติด้านล่าง.....จาก //ofbindia.nic.in/products/data/armoured/6.htm )

- ระบบติดตามเป้าหมาย แบบกล้องทีวีกลางวัน/กลางคืน พร้อมกล้องวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์ ....... ระบบจะให้ภาพของเป้าหมายที่เราต้องการตรวจจับ โดยจะทำการวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์เพื่อเป็นข้อมูลในการใช้อาวุธต่อไป

- กว้าน ขนาดแรงดึง ๖ ตัน (ติดตั้งในรถกู้ซ่อม)

- ระบบกรองอากาศ แบบ FULL FLOW FILTER

- ระบบทำความเย็น (AIRCONDITION) ขนาด ๑๐ กิโลวัตต์ (แอร์เย็นฉ่ำ สบายตัว)

- ระบบให้ความร้อน (HEATER) ขนาด ๑๘ กิโลวัตต์ (ต้องเข้าใจ ยูเครนหนาวมากครับ ถ้ามาเปิดบ้านเราได้สุกกันทั้งคันแน่ )



จุดแข็ง-จุดอ่อนของรถ


จุดแข็ง

- รถมีอำนาจการยิงสูง อาวุธที่ติดตั้งมีอัตราการทำลายล้างรุนแรง
- เกราะสามารถป้องกันกระสุนขนาด 12.7 มม. หรือ 0.50 นิ้วได้ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ากระสุนที่โจรใต้ใช้
- มีช่องยิงปืนเล็กสำหรับทหารราบรอบคัน กำลังพลไม่จำเป็นต้องออกมานอกรถเพื่อทำการยิง จึงได้รับการป้องกันจากเกราะของรถ

จุดอ่อน

- กำลังพลต้องขึ้นลงด้านข้าง ซึ่งไม่เป็นที่นิยมนักในปัจจุบัน เพราะกำลังพลมีความเสี่ยงกับการถูกโจมตี
- อาวุธที่ติดตั้งหลาย ๆ แบบไม่สามารถใช้กระสุนที่มีอยู่ในคลังของกองทัพได้ จำเป็นต้องจัดหามาใหม่
- ไม่สามารถหาข้อมูลการทนแรงระเบิดจากกับระเบิดหรือระเบิดแสวงเครื่อง จึงไม่ทราบประสิทธิภาพในการทนแรงระเบิด (ผู้จัดซื้อเขาคงรู้ แต่เราไม่รู้ครับ)



สำหรับวันนี้ จบเพียงเท่านี้ ขอบคุณทุกท่าน สวัสดีครับ



ฝากข่าวในหนังสือพิมพ์ของยูเครนครับ.....

News from Ukrainian Observer Online

Ukraine Snags Large Armored Personnel Carrier Deal in Thailand




News and commentary from the Ukrainian Observer Online

KYIV, Aug. 6 – Sources in Bangkok said Monday that Thailand will strengthen its military with the purchase in a government-to-government deal of 96 BTR-3E1 armored personnel carriers designed and produced by the state-owned Kharkiv Morozov plant at Kharkiv, Ukraine. The deal is valued at four billion Thai baht, the equivalent of approximately 670 million Ukrainian hryvnia.

Military sources in Thailand said the choice of Ukraine’s APCs was based primarily on price and the fact that Ukraine will continue making spare parts for its vehicles.

Thai Defense Minister Boonrawd Somtas was quoted in press reports as having said last week that the army favored the Ukraine-made BTR-3E1 armored vehicle because it was the cheapest of the nine bidders. There were nine competitors for the contract with Ukraine beating out spirited efforts by Canada, Russia and China.

In addition to the APCs, Thailand will internally build 10 bomb-disposal robots, which along with the APCs will be used primarily to protect its troops in the troubled far south of the country.

In addition to the purchases for the Thai army, the Thai navy recently signed a Letter of Offer and Acceptance with the US government to purchase two Sikorsky MH-60S Nighthawk helicopters for an estimated price of $58 million (1.7 billion baht) inclusive of spares, support and training for delivery in 2009.

//www.ukraine-observer.com/2?PHPSESSID=4f6bd630dff0a6fb443f03ce2849d30b


Create Date : 11 สิงหาคม 2550
Last Update : 11 สิงหาคม 2550 1:14:33 น. 0 comments
Counter : 11548 Pageviews.

Analayo
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 56 คน [?]




หากโลกนี้มีความยุติธรรม เราคงไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีทหาร ไม่ต้องมีตำรวจหรอก/Skyman
@ จ่อยน้องลิง @
@ จ่อยหัวหอม @
X
X



free counters


Friends' blogs
[Add Analayo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.