|
 |
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
 |
31 พฤษภาคม 2556
|
|
|
|
จุดประกายนักเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สร้างนักประดิษฐ์รุ่นเยาว์ : ครูฉัตรชัย นาสถิตย์
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เป็นเครื่องจักรกลอัจฉริยะที่สร้างจากความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ รวมทั้งความฉลาดทางด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ตัวอย่างที่ใช้แพร่หลายเช่น เครื่องคิดเลข หรือคอมพิวเตอร์ และยังมีการพัฒนาหุ่นยนต์ขึ้นมาจนใช้ในปัจจุบันและจะแพร่หลายมากขึ้นในอนาคต
การจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนต่างๆ ของไทยก็ได้มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้แฝงอยู่ในการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม ซึ่งนักเรียนได้ฝึกการนำความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไปใช้กับพื้นฐานที่มีอยู่ทางฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ในรูปแบบของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ และแม้แต่การสร้างและเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ หน่วยงานแห่งหนึ่งที่มีส่วนผลักดันและส่งเสริมการเรียนการสอนด้านนี้อยู่มาก คือ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
นายฉัตรชัย นาสถิตย์ ครูชำนาญการ โรงเรียนพรหมานุสรณ์ จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะ วิทยากรแกนนำ สาขาคอมพิวเตอร์ ของ สสวท. เป็นคุณครูอีกท่านหนึ่งที่ร่วมบุกเบิกและผลักดัน ส่งเสริม และปลูกฝังให้นักเรียนเรียนรู้ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ควบคู่กับการทำโครงงานและสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และกล่องสมองกล นอกจากนั้นคุณครูท่านนี้ ก็ยังมีส่วนร่วมในการเป็นวิทยากรอบรมครู เป็นผู้ร่วมจัดค่ายคอมพิวเตอร์ และกิจกรรมอื่นๆ ร่วมกับ สสวท. มาโดยตลอด

คุณครูฉัตรชัยบอกว่าการส่งเสริมให้นักเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ครูไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญ เพียงแต่มีความตั้งใจจริง รู้แนวทาง หรือรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไปพร้อมกับนักเรียน ซึ่ง หุ่นยนต์ หรือชุดกล่องสมองกล เป็นสื่อดึงดูดใจอย่างหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจ และรักที่จะเรียนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นักเรียนได้เรียนไปพร้อมกับการเล่นอย่างสร้างสรรค์

ครูฉัตรชัยกล่าวว่าความภูมิใจในการสอน เกิดขึ้นมาจากการที่เป็นคนที่ชอบเรียนรู้ และทดลอง ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ จนทำให้มีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป เมื่อมาพบกับเด็ก ๆ ที่เรียนไม่ค่อยเก่งนัก ก็จะชักชวนแนะนำ ให้เขาเหล่านั้น หันมาศึกษาทางด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ทั้งที่ทำงานบน PC และระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ ทุกวันนี้ก็รวมไปถึงการเขียนโปรแกรมบนแอนดรอยด์ โดยให้เหตุผลกับเขาเหล่านั้นว่า เป็นการทำสิ่งที่คนอื่นในรุ่นเดียวกันทำไม่ได้ และเข้าร่วมแข่งขันในโอกาสต่างๆ ได้รับรางวัลกันมามากมายทุกปี แนวคิดหลัก ๆ ก็คือ กิจกรรมด้านคอมพิวเตอร์ใดที่จะบังเกิดผลกับนักเรียนโดยตรง ก็จะทุ่มเทให้เต็มที่ ถือว่าเป็นการแทนคุณแผ่นดินเกิด

ผลงานที่เคยทำ เช่น เป็นที่ปรึกษาให้กับนักเรียนที่แข่งขันหุ่นยนต์ แข่งขันโครงงาน และได้รับรางวัลระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ หลายครั้งหลายหน รางวัลที่เคยได้รับ เช่น ข้าราชการตัวอย่างระดับอำเภอ รางวัลครูผู้สอนซึ่งมีผลงานดีเด่น (Best Practice) แต่ถึงจะใช้ชีวิตไฮเทค ก็อยู่อย่างสมถะ ไม่ได้ยึดติดกับลาภยศ รางวัลที่นับว่าภาคภูมิใจที่สุดคิอการได้เห็นนักเรียนประสบความสำเร็จเสียมากกว่า
หลังจากที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้การเขียนโปรแกรม สร้างสิ่งประดิษฐ์ จัดแสดงผลงาน และเข้าแข่งขันในโอกาสต่าง ๆ ผลปรากฏว่านักเรียนมีความมุ่งมั่นในการศึกษาวิชาการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังได้แสดงความสามารถในตัวเองออกมาได้อย่างน่าพอใจ

ผลจากความทุ่มเทของคุณครูท่านนี้ ส่งผลให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งเป็นผลผลิตจากจุดประกายให้มีใจรักด้านการเขียนโปรแกรม ต่อยอดการเรียนรู้ในระดับที่สูงยิ่งขึ้นไป โดยเข้าศึกษาต่อทางด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์ศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ซึ่งลูกศิษย์บางส่วนเหล่านี้ได้กลับมาที่โรงเรียนเพื่อเป็นพี่เลี้ยงส่งต่อความรู้จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้องอีกด้วย



อ่านต่อที่เว็บไซต์เดลินิวส์ คลิกที่นี่
Create Date : 31 พฤษภาคม 2556 |
Last Update : 31 พฤษภาคม 2556 13:53:16 น. |
|
0 comments
|
Counter : 1679 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
|
 |
Wit Thabungkan |
|
 |
|
Location :
[ดู Profile ทั้งหมด]
|
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]

|
บทความและสกู๊ปข่าวที่เผยแพร่ในบล็อกนี้ทั้งหมดเป็นผลงานเขียนของ "สินีนาฎ ทาบึงกาฬ" ส่วนประชาสัมพันธ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
|
|
|