Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2560
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728 
 
4 กุมภาพันธ์ 2560
 
All Blogs
 
เล่าเรื่องเมืองแพร่



ต่อจากตอนที่แล้ว นี่เป็นเอนทรี่สุดท้ายของทริปปีใหม่ 2560 แล้วครับ... Smiley

ตื่นเช้ามาวันปีใหม่ 1 ม.ค. 2560 ที่โรงแรมแม่ยมพาเลสมีอาหารเช้าให้นะครับ เริ่มหกโมง ถือว่าตั้งเร็วกว่าโรงแรมเมื่อวานหน่อยนึง วันนี้มีแผนเที่ยววนไปรอบๆเมืองแพร่ ซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่งก็ไม่ได้กระจุกกันอยู่แถวข่วงแบบเมืองน่านนะครับ ไกลกันพอสมควร แต่ก็ใกล้เกินจะขับรถไป สุดท้ายก็เดินเอานั่นแหละ ทำเอาวันนี้แอพนับก้าวในมือถือมันฟ้องว่าเราเดินไปซะ 21,924 steps



แผนที่ท่องเที่ยวเมืองแพร่ จากหนังสือแผนที่ทางหลวง ESRI (Thailand) ปี 2558 โดย NOSTRA
(คลิ๊กที่รูปเพื่อชมภาพขยาย)


ช่วงเช้าหลังเอารถจอดแถวตลาดเพื่อเข้ามาวัดมิ่งเมืองก็ปรากฏว่าแถวสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ มีงานทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่ครับ เขาปิดถนนให้แถวคนใส่บาตรยาวตลอดถนนทั้งแต่วงเวียนน้ำพุกลางเมืองแพร่ออกไปตามถนนทั้งสี่เส้น ตอนนี้พิธีสวดยังไม่เริ่มครับ ขอตระเวนเที่ยววัดอื่นแถวๆนี้ก่อน



เดินชมนกชมไม้ยามเช้าไปถึงวัดหัวข่วง วัดแรกที่อยู่ทางตอนเหนือของตัวเมืองแพร่เก่า (ซึ่งพอกลับมาดูแผนที่ก็พบว่ามันไกลจากวัดอื่นเยอะอยู่) ที่นี่ยังคงมีเจดีย์ที่คงสภาพศิลปะเชียงแสนแบบเดิมไว้ แพร่จะต่างกับน่านซึ่งวัดส่วนใหญ่สร้างในสมัยพม่าปกครองหรือยุครัตโกสินทร์แล้ว แต่วัดต่างๆในแพร่มีความเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งสร้างเมืองแพร่ในพุทธศตวรรษที่ 14 ครับ หลายแห่งได้ศิลปะแบบเชียงแสนสมัยยังเป็นโยนก ซึ่งแม้แต่ที่เชียงแสนเองก็ไม่ค่อยได้เห็น (เพราะทั้งเมืองโยนกจมลงหนองน้ำไป) วัดหัวข่วงนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ.1387 ช่วงที่ท้าวพหุสิงห์สร้างวัดหลวง ได้สร้างวัดนี้ขึ้นหน้าลานประจำเมือง จึงชื่อวัดหัวข่วง (คนละวัดกับวัดหัวข่วงที่น่านนะ)

ตัวโบสถ์ยังไม่เปิดนะครับ ยังเช้าอยู่ เลยไม่ได้เข้าไปชมด้านใน



กลับไปวงเวียนน้ำพุบริเวณที่เขาใส่บาตรกัน เจ้าคณะจังหวัดแพร่เริ่มสวดแล้ว ผู้คนต่างรับศีลรับพรด้วยอาการสงบเป็นแถวยาวตลอดเส้นถนนหลักของเมือง เป็นภาพที่ขลังมาก



ต่อด้วยสุนทรพจน์จากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ คุณวัฒนา พุฒิชาติ ยังหนุ่มอยู่เลย หลังงานท่านก็เดินทักทายผู้คนอย่างเป็นกันเอง งานทำบุญเป็นไปอย่างรวดเร็วไม่เยิ่นเย้อครับ ตั้งแต่เจ้าคณะจังหวัดเริ่มสวดจนพระออกรับบิณฑบาตแล้วเสร็จใช้เวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 45 นาที จากนั้นก็เปิดถนนตามปกติครับ ปะ เที่ยวได้

Smiley




ผมจอดรถไว้หน้าตลาดใกล้ๆกำแพงเมือง ว่าแล้วก็ขอขึ้นไปเก็บภาพ กำแพงเมืองแพร่ ไว้สักหน่อย อันนี้เป็นกำแพงเมืองโบราณยุคแรกๆเลยนะครับ เป็นคูน้ำ-คันดิน (ไม่ได้ยินคำนี้มาตั้งแต่เซ็ตเมืองทวารวดีละสิ) กำแพงของเมืองแพร่นี่ใหญ่เอาเรื่องเลยครับ สูง 5 เมตร กว้าง 10 เมตร ด้านบนทำเป็นทางเดินได้เลย



ไปเอารถที่จอดไว้หน้าตลาดช่วงปิดถนน ขับรถมาจอดที่วัดหลวงครับ หลังจากนี้ก็เดินเอาเป็นหลักละจ้า โชคดีที่แต่ละวัดไม่ได้ไกลกันเท่าไหร่

วัดหลวง สร้างขึ้นโดยพ่อขุนหลวงพลพร้อมเมืองแพร่ในปี พ.ศ.1372 (สมัยแรกยังชื่อเมืองพลนคร) มีวิหารหลวงพลนคร เป็นวิหารสิลปะล้านนา เจดีย์ด้านหลังวิหารคือพระธาตุหลวงช้างค้ำ สร้างโดยพม่า ช่วงที่พม่ายึดเมืองแพร่



ก่อนเข้าไปไหว้พระและชมพิพิธภัณฑ์เดินมาด้านหน้าวัด ชมซุ้มประตูโขงก่อน ซุ้มนี้ก่อสร้างพร้อมวัด และยังคงรักษาสภาพเดิมไว้ จึงนับเป็นสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองแพร่ครับ เดิมใช้เฉพาะเจ้านาย และเชื่อกันว่าเป็นที่สถิตดวงวิญญาณเจ้าเมืองแพร่ทุกยุคทุกสมัย ปัจจุบันภายในเป็นที่ตั้งรูปเหมือนพ่อขุนหลวงพลผู้สร้างเมืองแพร่ ซึ่งชาวบ้านเรียกรูปปั้นนี้กันว่าเจ้าปู่ประตูโขง



พระประธานในวิหารคือพระเจ้าแสนหลวง ปางมารวิชัย สร้างโดยขุนหลวงพล เป็นพระประธานของเมืองพลนครด้วย



เช้าวันนี้โชคดีมีโอกาสได้พบกับพระพิทูลย์ ท่านเป็นวิทยากรบรรยายให้ข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับวัดหลวง และประวัติศาสตร์ของเมืองแพร่ ท่านดีใจมากที่เห็นเราสนใจประวัติศาสตร์ เลยพาเดินชมจุดต่างๆอย่างภูมิใจนำเสนอ ทั้งรอบตัววัด และในพิพิธภัณฑ์ครับ ภาพซ้ายคือพระพิทูลย์และประตูทางเข้าวิหารซึ่งด้านข้างมีรูปเขียนพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ซึ่งไม่ค่อยได้เห็นในประเทศไทย ภาพขวาคืออีกด้านของซุ้มประตู เป็นซุ้มประตูเดิมของวัดนี้ และต่อเติมผนังออกมาภายหลัง



ข้างวิหารมีคุ้มพระลอ เป็นบ้านล้านนาทรงโบราณ สร้างขึ้นรับพระเทพเสด็จนำนักเรียนนายร้อย จปร. มาทัศนศึกษาที่เมืองแพร่ในปี พ.ศ.2533 แต่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับพระลอนะครับ ตั้งชื่อเรียกแขกไว้เฉยๆ ตำนานพระลอเกี่ยวข้องกับอำเภอสอง ทางเหนือของตัวเมืองแพร่ออกไปอีกไกลเลย



เด็ดที่สุดของวัดหลวงก็ต้องพิพิธภัณฑ์วัดหลวงเลยครับ จังหวัดแพร่ไม่มีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์ของวัดนี้เป็นที่ๆรวบรวมโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ ทั้งที่ขุดเจอในวัด และที่อื่นๆที่ชาวบ้านนำมามอบให้รวบรวมไว้ จึงนับว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดของจังหวัดแล้วครับ





พระพุทธรูปทองคำประทับบนบุษบก ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ



ศิลาจารึกวัดบุพาราม เป็นลายสือไทย เรื่องการสร้างวัดหลวง


ศิลาจารึก พ.ศ.2416 ครั้งบูรณะวัดหลวง



พระประธานจากพระอุโบสถเก่า บูรณะแล้วย้ายมาเก็บในพิพิธภัณฑ์


ชั้นบนจัดแสดงพระพุทธรูปและเครื่องยศต่างๆ



เครื่องยศของชนชั้นสูงเมืองแพร่


(คลิ๊กที่รูปเพื่อชมภาพใหญ่ได้นะ)

อันนี้คือตู้เก็บจารึกใบลาน บันทึกตัวหนังสือได้ติดแน่นทนนานสมภูมิปัญญาคนโบราณ



Smiley ต้องกราบขอบพระคุณพระพิทูลย์ผู้บรรยายให้ความรู้ แนะนำโบราณวัตถุชิ้นต่างๆ เป็นอย่างดี ผมอ่านประวัติศาสตร์เมืองเหนือมาเยอะได้แลกเปลี่ยนกับพระครูหลายเรื่อง ทำเอา schedule ท่องเที่ยววันนี้รวนไปนิด ใช้เวลากับวัดนี้ไปถึงชั่วโมงครึ่ง แต่ก็คุ้มครับ พระครูก็ได้ข้อมูลเรื่องการเรียบเรียงเชื่อมโยงประวัติศาสตร์เมืองอื่นๆของภาคเหนือ ตั้งแต่หริภุญชัยไปถึงล้านนา และทำให้ภาพการเล่าประวัติศาสตร์ชัดเจนขึ้นไปอีก ผมก็ได้รู้เกร็ดประวัติของเมืองแพร่และความเป็นมาของข้าวของสำคัญหลายชิ้นที่หาดูในเน็ตไม่ได้ ทางจังหวัดแพร่พร้อมให้การสนับสนุนปรับปรุงพิพิธภัณฑ์นี้ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่สำคัญของแพร่ ถ้ามีงบมาลงมากกว่านี้คงปรับปรุงขยับขยายอีกเยอะเลยครับ ตอนนี้ของเก่าของโบราณเนืองแน่นไปหมด ถ้าทำป้ายคำบรรยาย และเรียงหมวดหมู่ตามลำดับยุคก็จะทำให้น่าสนใจและเที่ยวชมง่ายขึ้นไปอีก



(พี่ๆสองคนในภาพเป็นนักท่องเที่ยวอีกกลุ่มนึง ไม่ได้มาด้วยกันนะครับ)

ก่อนออกจากวัดหลวงขอแวะเล่าประวัติศาสตร์แพร่กันสักหน่อยครับ แพร่ เป็นเมืองที่เกิดขึ้นไล่เลี่ยกับเมืองอื่นๆในภาคเหนือ ที่กระจัดกระจายตัวอยู่ก่อนการสร้างอาณาจักรล้านนา ตามตำนานพ่อขุนหลวงพลเป็นผู้สร้างเมืองแพร่ขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 14 ให้ชื่อว่าพลนคร ไม่มีใครทราบศักราชที่แท้จริงของการสร้างเมืองแพร่ แต่ตามหลักจารึกของสุโขทัยและพงศาวดารโยนกได้กล่าวถึงเมืองแพร่ว่ามีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 17 แน่นอน และมีการรับถ่ายทอดวัฒนธรรมจากหริภุญชัยผ่านทางเมืองลองทางตะวันตก




แผนที่เมืองแพร่ (ซ้าย) และแผนที่เมืองแพร่พร้อมจุดสำคัญ (ขวา) กด click ที่ภาพเพื่อชมภาพใหญ่ได้ครับ เมืองแพร่มีขนาด 1,400 เมตร x 800 เมตร



สังเกตรูปร่างของเมืองแพร่นะครับ (ขอบเขตเมืองแพร่โบราณคือเส้นสีแดง) เป็นเมืองรูปร่างหอยสังข์เช่นเดียวกับหริภุญชัยและเขลางค์นคร ซึ่งเป็นเมืองรุ่นแรก จึงสัญนิษฐานว่าเกิดในเวลาไล่เลี่ยกัน ต่อมาได้มีการสร้างพระธาตุช่อแฮ (ช่อแพร) ในปี พ.ศ.1879 ชาวเมืองได้มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระธาตุองค์นี้มาก เมืองพลนครก็เปลี่ยนชื่อเป็นเมืองแพร และเพี้ยนเป็นเมืองแพร่ในที่สุด ส่วนคนท้องถิ่นจะเรียกตนเองว่าคนเมืองแป้

เทียบกับเมืองอื่นๆโดยรอบแล้ว เมืองแพร่มีพื้นที่ราบน้อย และเป็นเมืองพัฒนาช้า เช่นเดียวกับน่าน แพร่ตั้งตัวเป็นอิสระสลับกับตกเป็นเมืองขึ้นของสุโขทัยเป็นพักๆ จนกระทั่งสุโขทัยเสื่อมลงและถูกอยุธยากลืนเข้าไป แต่อันตรายของแพร่ก็ไม่ได้หมดไปแต่เพียงเท่านี้ อาณาจักรใหม่ที่ใหญ่โตเข้มแข็งที่สุดในภาคเหนืออย่างล้านนาเริ่มขยายขอบเขตจากเชียงใหม่-เชียงราย-ลำปาง-ลำพูน เข้ามาครอบครองพะเยา แพร่ และน่าน ตามลำดับ โดยเมืองแพร่ถูกพระเจ้าติโลกราชยึดครองในปี พ.ศ.1987 นับว่าเมืองแถบนี้ล่มสลายลงในเวลาใกล้ๆกันเลยนะครับ
1981 - สิ้นราชวงศ์พระร่วง สุโขทัยถูกอยุธยายึดอย่างสมบูรณ์
1987 - แพร่ถูกล้านนายึด
1992 - น่านถูกล้านนายึด

แพร่ถูกรวมเข้าเป็นหนึ่งกับล้านนาและหมดบทบาทไปอีกยาวๆเลยครับ จากนั้นก็ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ายุคบุเรงนอง และเข้ามาสวามิภักดิ์สยาม ช่วงการต่อสู้ปลดปล่อยเมืองเหนือยุคธนบุรี-ต้นรัตนโกสินทร์

รายละเอียดที่พระพิทูลย์อธิบายมีเยอะมาก ทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมต่างๆ โครงสร้างวิหาร ประวัติความเป็นมาของโบราณวัตถุชิ้นสำคัญๆ ฯลฯ ขอลงไว้โดยสังเขป ท่านใดสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ขอเชิญเที่ยวจังหวัดแพร่ครับ

จอดรถทิ้งไว้ที่วัดหลวงนั่นละครับ เดินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ 200 เมตร จะถึงวัดศรีชุมแพร่โดยบังเอิญ (โดนเจดีย์เก่าๆ ดึงดูดมา) วัดนี้สร้างในเวลาไล่เลี่ยกับวัดหลวง และใช้เป็นที่ถือน้ำของข้าราชการ ด้านในโบสถ์มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปยืนที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองแพร่ด้วยนะครับ น่าเสียดายที่ตอนนี้โบสถ์ยังไม่เปิด แต่อย่างน้อยก็ได้เห็นเจดีย์ทรงปราสาทศิลปะล้านนานะ



เดินกลับมาที่วงเวียนน้ำพุ แล้วไปทางตะวันตก หรือจะเดินผ่าสวนสาธารณะมาก็ได้ ต่อไปเราจะเที่ยว คุ้มเจ้าหลวง อีกหนึ่งที่เที่ยวยอดฮิตของแพร่กันครับ ที่นี่ก็เป็นเช่นเดียวกับคุ้มเจ้าเมืองอื่นๆ ที่คนเป็นเจ้าเมืองยุครัตนโกสินทร์จะใช้บ้านของตัวเองเป็นที่ทำการ และย้ายที่ทำการเมืองตามเจ้าเมืองที่เปลี่ยนไป สำหรับคุ้มแห่งนี้เป็นบ้านของเจ้าเมืองแพร่คนสุดท้าย เจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์อุดร ผู้สละที่ดินสร้างศาลากลางจังหวัดหลังแรกและสนามหลวงของแพร่ แต่ขัดแย้งกับรัฐบาลกลางในเหตุการณ์กบฏเงี้ยว หลังพ่ายแพ้ก็หนีไปพำนักที่หลวงพระบางจนสิ้นชีวิต



อนุสาวรีย์เจ้าพิริยเทพวงศ์อุดร ด้านหน้าคุ้มเจ้าหลวง

จะขอเล่าประวัติศาสตร์เมืองแพร่ที่โด่งดังอีกเรื่องหนึ่งคือเหตุการณ์กบฏเงี้ยว ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวเงี้ยวจากพม่าเข้ามาอยู่ในแพร่มาก เพราะบริษัทจากอังกฤษเข้ามาค้าไม้ในพื้นที่ โดยใช้เงี้ยวจากพม่าซึ่งเป็นอาณานิคมของอังกฤษเป็นแรงงาน ชาวเงี้ยวรวมกลุ่มก้อนได้มากจนมีบทบาททางสังคมและการเมือง จนสร้างวัดพม่าในเมืองแพร่ได้ เช่น วัดสระบ่อแก้ว ในปี พ.ศ.2445 ยุครัชกาลที่ 5 ซึ่งปฏิรูปรวมอำนาจเข้าส่วนกลาง มีการส่งข้าหลวงจากส่วนกลางมาควบคุมหัวเมืองต่างๆ สำหรับเมืองแพร่ที่มีเจ้าพิริยเทพวงศ์อุดรเป็นเจ้าเมืองอยู่นั้น มีพระยาไชยบูรณ์เป็นข้าหลวงจากกรุงเทพมาดูแล ซึ่งนโยบายรวมอำนาจทำให้เกิดการกระทบกระทั่งระหว่างคนจากกรุงเทพกับคนพื้นเมืองที่ถูกกดขี่ข่มเหง ทั้งเกณฑ์แรงงานและเก็บภาษี

สุดท้ายความอดทนก็ถึงขีดจำกัด ชาวเงี้ยวในพื้นที่ภาคเหนือหลายจังหวัดได้รวมตัวกันโจมตีเมืองแพร่เป็นที่แรก พร้อมเผาสถานที่ราชการและสังหารข้าราชการจากกรุงเทพไปเป็นจำนวนมาก พระยาไชยบูรณ์ไม่ยอมจำนนจึงถูกประหารไป แต่รัชกาลที่ 5 ก็ส่งกองทัพจากกรุงเทพมาปราบปรามจนได้รับชัยชนะ เจ้าพิริยเทพวงศ์อุดรลี้ภัยไปหลวงพระบางและไม่กลับมาอีก ส่วนแม่เจ้าบัวไหลและลูกๆ ถูกคุมตัวมาอยู่ที่กรุงเทพ แล้วตำแหน่งเจ้าเมืองแพร่ก็ถูกยกเลิกไปนับแต่นั้น

หลายคนทำราวกับว่าความขัดแย้งระหว่างคนท้องถิ่นกับรัฐบาลกลางไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คอประวัติศาสตร์กระแสหลักมักพยายามข่มเรื่องราวในอดีตของอาณาจักรที่ไม่ได้อยู่ภาคกลาง จนราวกับหริภุญชัย นครศรีธรรมราช หรือแม้กระทั่งล้านนา เป็นแค่แคว้นเล็กๆ และบางคนแยกคำว่าประวัติศาสตร์กระแสรองกับตำนานท้องถิ่นไม่ออกด้วยซ้ำ เราเลยยุค nationalization มา 60 กว่าปีแล้ว ผมคิดว่าเราควรรื้อเค้าโครงประวัติศาสตร์ใหม่ ให้ความสำคัญกับรัฐต่างๆที่เคยเกิดขึ้นและล่มสลายลงในพื้นที่ประเทศไทยตามความเป็นจริง เพื่อทำให้คนถิ่นอื่นๆนอกเหนือจากกรุงเทพรู้สึกมีส่วนร่วมและภาคภูมิใจในเรื่องราวของถิ่นนั้นๆ มากกว่าให้นั่งท่องจำประวัติศาสตร์สุโขทัย-อยุธยาที่ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับบรรพบุรุษของพวกเขา ที่สำคัญคือการให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ประวัติศาสตร์อุษาคเนย์อันจะช่วยให้เราเข้าใจความเชื่อมโยงและความเป็นมาของประเทศต่างๆในปัจจุบัน ทั้งพื้นที่เราที่เคยเป็นหนึ่งเดียวกับคนอื่นมาก่อน และพื้นที่คนอื่นที่เคยเป็นหนึ่งเดียวกับเรามาก่อน เช่นเดียวกับที่อารยประเทศเขาทำกัน



ภาพเจ้าหลวงพิริยเทพวงศ์ แม่เจ้าบัวไหล (ชายา) พร้อมด้วยบุตรธิดา ในคุ้มเจ้าหลวง

คุ้มเจ้าหลวงเป็นอาคารไทยผสมยุโรป สร้างในปี พ.ศ. 2435 มีสองชั้น พื้นเป็นไม้สักขัดเงา ชั้นบนเคยเป็นที่ประทับของในหลวงรัชกาลที่ 9 และราชินี ครั้งเสด็จเยี่ยมแพร่ในปี พ.ศ.2501 ด้วย



...ตั้งแต่บล็อกที่แล้วจนถึงบล็อกนี้จะเห็นว่าวัดหรือบ้านที่สร้างจากไม้สักทองในแพร่มีเยอะมาก ที่นี่เป็นแหล่งไม้สักใหญ่จริงๆครับ แต่เจ้าเมืองต่างๆมีการทำกิจการไม้เพื่อการส่งออกกันมาก การตั้งกรมป่าไม้ในสมัย ร.5 ก็เพียงแค่ทำให้รายได้จากกิจการไม้ของพื้นที่ต่างๆไหลเข้าส่วนกลาง หลังปี พ.ศ.2496 จึงเริ่มมีการเปิดสัมปทานป่าไม้ ช่วงหลังพื้นที่ป่าไม้ลดลงไปมากจนต้องยกเลิกสัมปทานในปี พ.ศ.2532 แต่ก็ยังมีขบวนการค้าไม้เถื่อนอยู่เนืองๆ





บายศรีเอาขวัญผูกข้อมือเจ้าบัวไหลตามวัฒนธรรมเมืองแพร่ ของเก่าเก็บตั้งแต่ปี พ.ศ.2432

ชั้นใต้ดินของคุ้มเจ้าหลวงเป็นคุก คุมขังทาสที่กระทำความผิด แบ่งเป็นสามห้อง ห้องกลางแสงส่องไม่ถึงจะเป็นที่ขังผู้ทำความผิดร้ายแรง ในนี้ยังคงมีโซ่ตรวนและข้าวของทาสเมื่อร้อยกว่าปีก่อนให้ชม เผื่อใครอยากเข้ามาอยู่ มีเคล็ดให้ถอยหลังเข้าคุกและเดินหน้าออกด้วยนะ ใครชอบก็เอาไปทำตามกันได้



ศาลหลักเมืองแพร่ อยู่ใกล้ศูนย์ราชการจังหวัด เดิมนำศิลาจารึกเก่ามาตั้งบูชาเป็นศาลหลักเมือง ตัวศาลปัจจุบันเพิ่งสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2535 พร้อมหลักเมืองใหม่สลักจากไม้ ตั้งคู่กับศิลาจารึกหลักเมืองเดิม บริเวณที่ตั้งหลักเมืองนี้ถือเป็นศูนย์กลางเมือง หรือสะดือเมืองด้วยครับ



วัดพงษ์สุนันท์ อันนี้ผ่านตอนจะเดินไปบ้านวงศ์บุรีเห็นวัดสวยดีเลยแวะ เพิ่งบูรณะขึ้นจากวัดร้างในปี พ.ศ.2472 ครับ เดิมชื่อวัดปงสนุก แต่เปลี่ยนชื่อตามผู้สนับสนุนการบูรณะคือหลวงพงษ์พิบูลย์และเจ้าแม่สุนันตา (นี่มันวัดหรือถ้วยคาร์ลิ่งคัพ??)



พระนอนองค์ใหญ่โดดเด่นบริเวณวัด


วิหารแก้วองค์พระธาตุเจดีย์ 108 ยอด

พระประธานในอุโบสถคือพระเจ้าแสนสุข อยู่มาตั้งแต่สร้างวัดปงสนุก คาดว่ามีอายุกว่า 500 ปี



มาที่สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตอีกแห่งของแพร่ ฮิตไม่แพ้คุ้มเจ้าหลวงครับ นั่นคือบ้านวงศ์บุรี สร้างในปี พ.ศ.2440 ให้เจ้าสุนันทา วงศ์บุรี ลูกหลานอดีตเจ้าเมืองแพร่คนก่อนๆอยู่ ค่าเข้าคนไทย 30 บาท ไม่ฟรีเหมือนคุ้มเจ้าหลวงนะครับ



บ้านวงศ์บุรีเป็นบ้านทรงยุโรปสองชั้นสีกุหลาบ สร้างในยุคที่แพร่ยังมีกิจการไม้สักเฟื่องฟู มีรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมงดงาม ด้วยความงามของบ้านหลังนี้จึงถูกเลือกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์หลายเรื่อง พระครูพิทูลย์ที่วัดหลวงก็เล่าว่ามีทีมงานภาพยนตร์มาขอยืมผ้าแพรของพิพิธภัณฑ์ไปถ่ายทำหนังด้วย แต่ด้วยความเป็นคนไม่ดูหนังผมเลยจำชื่อเรื่องไม่ได้แล้ว



ตอนนี้ 11.30 น. ก่อนไปหาข้าวเที่ยงกินขออีกสักวัดครับ วัดพระนอน วัดนี้สร้างขึ้นช่วงแรกๆที่สร้างเมืองพลนคร (ตามตำนานบอกว่าตั้งแต่ พ.ศ.1417) มีการค้นพบหินยาว 6 ศอกลักษณะคล้ายพระพุทธรูปปางไสยาสน์ จึงสร้างพระนอนครอบหินที่ว่าไว้

พระนอนศิลปะเชียงแสนแห่งเดียวในจังหวัดแพร่ ยาว 9 เมตร ชาวเมืองนับถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากจะมีประเพณีจุดดอกไม้ไฟที่บรรจุในกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า "บอกไฟดอก" ทุกปี เป็นการนมัสการพระนอน



ส่วนพระประธานในวิหารชื่อหลวงพ่อมงคลทิพณี



เดินกลับไปเอารถที่จอดทิ้งไว้ที่วัดหลวงซะครึ่งวัน ขับไปหามื้อเที่ยงกินครับ ตั้งเป้าหมายไว้ที่ร้านปั๋นใจ๋ ขายขนมจีนกับข้าวซอย เพราะทริปนี้ยังไม่ได้กินอาหารเหนือเลย แต่หาที่จอดไม่ได้เลยไปจอดริมกำแพงเมืองเก่าแล้วเดินมา

ปั๋นใจ๋มีอาหารหลากหลายให้เลือกกินทั้งข้าวซอย ส้มตำไก่ย่าง ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน และของหวาน ที่เด่นคือขนมจีน ที่มีน้ำยาให้เลือกหลากหลาย (ถ้วยละ 25 บาท) ร้านนี้บริการตัวเองนะครับ ต้องแลกคูปองด้วย ถึงคนจะเยอะ แต่ก็มีโต๊ะนั่งอย่างเหลือเฟือ ทั้งขนมจีนและข้าวซอยอร่อยครับ ที่เด็ดตามคำรีวิวคือน้ำเงี้ยวเมืองแพร่ ซึ่งผมกินไม่เป็นเลยไม่ได้สั่ง (เวรกรรม) ถ้าเทียบรสชาติและราคาแล้ว ก็ยังสู้ร้านขนมจีนบ้านประไพ เจ้าโปรดในเมืองอยุธยาที่ผมไปกินบ่อยๆไม่ได้อะนะ ร้านนี้เมนูเครื่องดื่มค่อนข้างแย่ทั้งลำใยทั้งมะพร้าวเหมือนน้ำตาลใส่สี ไม่ควรมีเมนูน้ำให้แปดเปื้อนเลยครับ ร้านนี้สมควรมีได้แค่น้ำเปล่ากับโค้กเท่านั้น



อันนี้ร้านหนังสือศรีสมบูรณ์ครับ อยู่บนเส้นถนนรอบเมืองระหว่างเดินไปร้านปั๋นใจ๋ มีขายหนังสือการ์ตูนเยอะอยู่เหมือนกัน คงเป็นแหล่งการ์ตูนสำคัญของแพร่ เหมือนร้านหนังสือสนามหลวงที่โคราช หรือร้านเจริญรัตน์ที่ลำปาง

เดินกลับมาที่วัดพระบาทมงคลมิ่งเมือง ซึ่งตอนเช้ายังไม่เปิด เป็นวัดเก่าแก่ที่ไม่ทราบอายุแน่นอน วัดนี้อยู่ใกล้จุดสวดมนต์ทำบุญปีใหม่ช่วงเช้าครับ พระราชเขมากร เจ้าคณะจังหวัดแพร่ซึ่งนำสวดมนต์เมื่อเช้าก็เป็นเจ้าอาวาสของวัดนี้ด้วย

ในภาพนี้คือพระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี พระประธานของวัดนี้เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองแพร่ สร้างในปี พ.ศ.2498 เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะแบบเชียงแสนผสมสุโขทัย



ที่มาของชื่อวัดคือรอยพระพุทธบาทสี่รอย เป็นโบราณวัตถุตั้งแต่ยุคเริ่มแรกที่สร้างวัดนี้ อายุประมาณ 600 ปี



อันนี้เป็นส่วนแรกของวัดที่สร้างขึ้นครับ พระวิหารมิ่งเมือง เป็นโบราณสถานอายุกว่า 600 ปี ด้านหลังคือพระเจดีย์มิ่งเมือง ตัววิหารบูรณะในปี พ.ศ.2544 โดยคุณลาวัลย์ ใบหยก เจ้าของตึกใบหยก และใช้เป็นพิพิธภัณฑ์เก็บของเก่า ทั้งพระพุทธรูปโบราณ เครื่องเขิน เครื่องเงิน เหรียญเก่า ธนบัตรเก่า ฯลฯ ส่วนใหญ่อายุร้อยกว่าปี ไม่เก่าแก่ขนาดของในพิพิธภัณฑ์วัดหลวงนะ





เที่ยวในเขตเมืองเก่าหมดแล้วครับ ขับรถออกไปนอกเมือง ถ.น้ำคือ มีวัดสระบ่อแก้ว ทีแรกตั้งใจจะมาเป็นวัดแรกเพราะอยู่ใกล้ที่พักโรงแรมแม่ยมพาเลสมากที่สุด แต่มันยังไม่เปิด เลยมาเก็บตกเอาทีหลัง เทียบกับวัดอื่นๆในเมืองแล้ววัดนี้ถือว่าใหม่มาก สร้างโดยคหบดีชาวพม่าชื่อหม่องโพธิ์อ่านในปี พ.ศ.2419 นิมนต์พระจากพม่ามาเป็นเจ้าอาวาส เนื่องจากคนพม่าสื่อสารกับพระไทยไม่รู้เรื่อง วัดนี้จึงเป็นศูนย์รวมใจของชาวพม่าและเงี้ยวในพื้นที่นี้ ชื่อวัดสระบ่อแก้วมาจากการที่ในบริเวณวัดมีสระน้ำและดอกแก้ว

ศาลาการเปรียญของวัดเดิมเป็นไม้สักทองทั้งหลัง ด้านในมีพระพุทธรูปหินอ่อนทรงเครื่องแบบพม่า ส่วนพระประธานองค์เดิมรวมทั้งสระน้ำโบราณถูกตึกองค์การโทรศัพท์ตั้งบังไปแล้ว





พระธาตุกู่กองคำ เป็นเจดีย์แบบพม่าที่ได้รับการบูรณะมาหลายครั้ง



สวนพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ แต่ละองค์แสดงท่าทางแตกต่างกันไปด้วยนะ



ได้เวลาเที่ยววัดดังของแพร่แล้วครับ ออกจากเมืองมาตามเส้น 1022 ประมาณ 7.5 กม. จะถึงวัดพระธาตุช่อแฮ ตัววัดตั้งบนเนินเตี้ยๆ ที่จอดรถหาไม่ยากเท่าวัดพระธาตุแช่แห้ง แต่คนแน่นพอๆกันเลย เช่นเดียวกับวัดพระธาตุแช่แห้งของน่าน วัดพระธาตุช่อแฮของแพร่ก็อยู่นอกตัวเมือง สมัยก่อนผมจำพระธาตุสองแห่งนี้ไม่ได้สักทีว่าอันไหนอยู่แพร่ อันไหนอยู่น่าน พอรู้ประวัติว่าช่อแฮ-ช่อแพรเป็นที่มาของชื่อเมืองแพร่ และแช่แห้งเป็นชื่อเมืองก่อนย้ายมาตำแหน่งเมืองน่านปัจจุบัน ก็จำได้แม่นละ

(ช่อแฮ หรือ ช่อแร หรือ ช่อแพร แปลว่าธงที่ทำด้วยผ้าแพร พระธาตุแห่งนี้เป็นที่มาของชื่อเมืองแพร่ ดังที่กล่าวไว้ต้นๆบล็อกด้วย)



วัดพระธาตุช่อแฮ ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ.1879 ช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาที่เมืองแพร่ตกเป็นเมืองขึ้นของสุโขทัย พะมหาธรรมราชา (ลิไท) ซึ่งช่วงนั้นยังเป็นอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัย ได้โปรดให้สร้างสถานที่สำคัญทางศาสนาในพื้นที่ต่างๆ ที่มีเหตุการณ์ในพุทธประวัติ และบริเวณดอยโกสัยธชัคคะบรรพตแห่งนี้มีตำนานว่าพระพุทธองค์เคยเสด็จมาประทับใต้ต้นหมาก และแสดงปาฏิหาริย์ให้แก่ขุนลัวะอ้ายกอมเห็น พญาลิไทจึงสร้างเจดีย์ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนข้อศอกซ้ายและพระเกศาธาตุ ชาวบ้านได้นำผ้าแพรชั้นดีจากสิบสองปันนามาผูกบูชาพระธาตุ (เป็นที่มาของชื่อช่อแฮ) 

หลวงพ่อช่อแฮ พระประธานของวัดนี้เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สันนิษฐานว่าสร้างหลังองค์พระธาตุ แต่ก็มีอายุหลายร้อยปีแล้ว



องค์พระธาตุช่อแฮ เป็นเจดีย์หุ้มทองจังโกศิลปะเชียงแสน สูง 33 เมตร มีบริเวณโดยรอบแคบมาก หามุมถ่ายรูปสวยๆแทบไม่ได้เลยครับ แถมวันนั้นคนยังแน่นแบบสุดๆเพราะเป็นวันปีใหม่ด้วย ตามความเชื่อทางเหนือพระธาตุวัดนี้เป็นพระธาตุประจำปีนักษัตรขาล (เสือ) (ผมก็ไปจำว่าปีแพะ ก็เมืองแพร่ก็ต้องปีแพะสิ! ไหนๆก็มีแพะเมืองผีแล้ว) คนเกิดปีขาลนิยมนำผ้าแพรสามสีไปถวาย การโปรโมทพระธาตุประจำ 12 นักษัตรทำให้พระธาตุ 12 แห่งได้รับความนิยมคนเที่ยวล้นหลามมาก เจ๋งกว่า ททท. ซะอีก แต่คนกระจุกกันทำบุญวัดดังๆ แบบนี้น่าหาตำนานใหม่ๆมาโปรโมทวัดอื่นๆให้นักท่องเที่ยวกระจายกันออกไปสักหน่อย



นอกจากมุมถ่ายรูปจะแคบแล้ววันนี้ยังเจอฟ้าหลัวทั้งวันอีก Smiley

(ภาพซ้าย) ผ่านซุ้มประตูด้านทิศตะวันตกออกมาข้างๆองค์พระธาตุ มีพระเจ้าทันใจประดิษฐานในซุ้มปราสาท เป็นพระพุทธรูปที่สร้างเสร็จภายในวันเดียว ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้น เสร็จก่อนพระอาทิตย์ตก ซึ่งตามความเชื่อโบราณจะถือว่าเป็นพระที่มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ขออะไรได้อย่างนั้น และเรื่องที่ขอควรเกี่ยวกับหน้าที่การงานนะ ต้องต่อคิวเข้าไปขอพรนะครับ แถวยาวเอาเรื่อง (เข้าไปถ่ายรูปก็ควรจะต่อคิวเช่นกัน)

(ภาพล่าง) บรรยากาศผู้คนมาทำบุญกันอย่างเนืองแน่นในวันปีใหม่




ใกล้กับวัดพระธาตุช่อแฮมีวัดพระธาตุจอมแจ้งที่เก่าแก่เช่นเดียวกัน ตามตำนานวัดนี้สร้างในปี พ.ศ.1331 เดิมชื่อพระธาตุจวนแจ้ง เพราะตามตำนานพระพุทธเจ้าเสด็จมาบริเวณนี้ในเวลาจวนสว่าง ได้มีผู้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระหัตถ์ซ้ายและพระเกศาธาตุในบริเวณนี้



วัดนี้ถูกบูรณะสร้างเจดีย์ทับองค์เดิมในปี พ.ศ.1900 สมัยพญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย (Again, ช่วงนั้นแพร่เป็นเมืองขึ้นของสุโขทัย) รูปทรงแบบเดียวกับพระธาตุช่อแฮ สูง 30 เมตร ด้านข้างมีพระยืนขนาดใหญ่ยืนคู่เจดีย์เป็นเอกลักษณ์ของวัดนี้

องค์ประกอบของวัดนี้แทบจะเหมือนวัดพระธาตุช่อแฮทุกอย่าง มีทั้งองค์เจดีย์ พระทันใจ ใครทนคนแน่นๆในวัดพระธาตุช่อแฮไม่ไหว กระเด็นมาไหว้วัดนี้แทนก็ได้นะครับ

Smiley



หลวงพ่อจอมแจ้ง พระประธานของวิหาร สร้างในครั้งที่พญาลิไทเข้าบูรณะวัด (ตอนนี้ก็อยู่ระหว่างบูรณะ)



ด้านหลังวัดมีเจดีย์ทรงปราสาทแบบสุโขทัย สร้างในสมัยพญาลิไท พร้อมๆกับเจดีย์จอมแจ้ง โชคดีที่อันนี้ไม่ถูกบูรณะจนใหม่เอี่ยมแบบเจดีย์หลักครับ



ด้านซ้ายมือของประตูทางเข้าวัดเป็นลานปฏิบัติธรรม มีรูปปั้นพุทธประวัติฝีมือชาวบ้านแบบตามมีตามเกิด แต่พระนอนองค์ใหญ่ดีนะครับ เป็นพระไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดใน จ.แพร่ด้วย



จากนั้นเรากลับเข้าตัวเมืองแพร่ นอนค้างที่โรงแรมแม่ยมพาเลสอีกคืนนึง ช่วงเย็นวันนี้มีถนนคนเดินบนถนนเจริญเมือง ถึงหลายแห่งจะมีถนนคนเดินเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจนเฝือไปหมด แต่ถนนคนเดินของแพร่จัดขึ้นเฉพาะวันอาทิตย์แรกของเดือนเท่านั้น และตรงกับวันที่ผมนอนอยู่แพร่พอดีแบบนี้ไม่ไปเดินไม่ได้แล้วนะครับ (วันที่ 1 ม.ค. 2560 เป็นวันอาทิตย์แรกของเดือนพอดี)



หัวถนนที่หน้าร้าน Gingerbread House Gallery มีเสวนาวงเล็กๆที่คุณเชษฐา สุวรรณสา นักเขียนชื่อดังของแพร่จัดขึ้นเป็นระยะๆอยู่แล้ว วันนี้คุยเรื่อง "ปฏิรูปการศึกษา จะว่าจะได"



งานถนนคนเดินแพร่มีช่วง 17.00 - 22.00 น. ช่วงถนนคนเดินยาวถึง 700 เมตร มีร้านค้าและผู้คนเยอะเอาเรื่อง ไม่ค่อยมีการแสดงให้ดูเหมือนถนนคนเดินที่เชียงรายหรือกระบี่นะครับ เน้นขายของมากกว่า และอาหารส่วนใหญ่ก็เป็นอาหารทั่วไป มีอาหารท้องถิ่นอย่างข้าวเกรียบปากหม้อโบราณและเมี่ยงคำนิดหน่อย ซึ่งมื้อเย็นวันนี้ก็ซื้อเอาร้านละนิดละหน่อยบนถนนคนเดินไปนั่งกินที่โรงแรมนั่นแหละ



นอนพักอีกหนึ่งคืน วันต่อมาได้เวลาเดินทางกลับครับ หลังเช็คเอาท์จากโรงแรมแม่ยมพาเลสไปแล้ว ก็เดินทางลงเส้น 101 กลับกรุงเทพบ้านเฮา Smiley



แต่วันนี้ยังคงเหลือแผนการท่องเที่ยวช่วงขากลับครับ ที่วัดพระหลวง อ.เด่นชัย และวัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี อ.สูงเม่น ระหว่างทางขาออกจากเมืองแพร่ แวะไหว้พระยาไชยบูรณ์ผู้พ่ายศึกกบฎเงี้ยวกันสักหน่อย

อนุสาวรีย์พระยาไชยบูรณ์ ตั้งอยู่บนถนนยันตรกิจโกศล ทางออกเมืองแพร่ อนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างไว้บนจุดที่ท่านถูกประหารในเหตุการณ์กบฏเงี้ยว เพื่อเทิดทูนพระยาไชยบูรณ์ผู้ไม่ยอมแพ้ แต่ถ้าเทียบกันแล้วเจ้าพิริยเทพวงศ์มีคนแพร่นับถือมากกว่านะครับ ยังไงคนท้องถิ่นเขาก็เคารพคนบ้านเดียวกันและคนที่สร้างประโยชน์ให้ท้องถิ่นมากกว่าคนจากส่วนกลางอยู่แล้วอะนะ



ลงมาถึง อ.เด่นชัย จะมีวัดพระหลวงติดถนน 101 เลยครับ วัดพระหลวง หรือวัดพระหลวงธาตุเนิ้ง เป็นวัดเก่าแก่ที่ถูกทิ้งร้างมานาน จนกระทั่งปี พ.ศ.2330 ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ชาวเชียงแสนได้อพยพหนีภัยสงครามปลดปล่อยล้านนาลงมาร่วมสร้างบ้านเรือนบริเวณนี้ และปฏิสังขรณ์วัดพระหลวงขึ้นใหม่



พระหลวง พระประธานของวัดนี้ สร้างในยุคบูรณะปฏิสังขรณ์วัด คาดกันว่าที่มาของชื่อวัดพระหลวง (หลวง = ใหญ่) มาจากพระหลวงซึ่งเป็นพระประธานของวัด การมีผู้คนมาอยู่ถึง 3 หมู่บ้าน และบริเวณวัดนี้เดิมเป็นป่าใหญ่ดงหลวง


หอไตรด้านหน้าวัด สร้างในปี พ.ศ.2458 เป็นศิลปะพื้นบ้านผสมรัตนโกสินทร์



กู่บรรจุอัฐิพระครูชัยลังการ์ และพระครูปัญญาภิชัย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระหลวง

โบราณสถานสำคัญของวัดนี้คือองค์พระธาตุเนิ้ง เป็นเจดีย์ทรงปราสาทศิลปะล้านนา ซุ้มเรือนธาตุทั้งสี่ด้านประดิษฐานพระยืนแบบสุโขทัย ที่เรียกว่าพระธาตุเนิ้งเพราะองค์พระธาตุเอียงเล็กน้อยเนื่องจากแผ่นดินไหว (เนิ้ง = เอียงในภาษาท้องถิ่น)





จุดหมายปลายทางสุดท้ายของการท่องเที่ยวนี้ก่อนดิ่งยาวครับ วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี เป็นวัดใหม่ แต่สร้างอลังการมาก สวยมาก และโปรโมทเยอะมาก แถมไม่ไกลจากถนนเส้นหลักด้วย ต้องแวะนะครับ

วัดนี้สร้างในปี พ.ศ.2520 พระครูใบฎีกามนตรี เจ้าอาวาสที่มีฝีมือด้านงานช่าง ได้ออกแบบปลูกสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ โดยนำศิลปะจากวัดดังหลายแห่งมาผสมผสานกันอย่างลงตัว จนสวยงามโดดเด่น ส่วนด้านหน้ามีพระไสยาสน์องค์ใหญ่ที่เห็นแล้วก็นึกถึงพระตาหวาน (พระนอนเจาทัตยี) ที่พม่า หน้าราวบันไดนาคจำลองจากวัดเจ็ดยอด (เชียงใหม่) มีสิงห์อมพระอุปคุตบัวเข็ม ซุ้มประตูโขงที่จำลองแบบมาจากพระธาตุลำปางหลวง (ลำปาง) ก็สวยงาม แต่เดินขึ้นไปด้านบนก็ปิดเข้าไปข้างในไม่ได้นะครับ ประตูหน้าจะเปิดสำหรับเชื้อพระวงศ์และเถระชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น ให้ขับรถขึ้นไปถนนข้างๆถึงจะเข้าไปในวัดได้






พระเมรุมาศ? ไม่รู้ว่าสร้างไว้ใช้ในงานไหน แต่ก็สวยงามอลังการสมฐานะวัดนี้ครับ



ในบริเวณวัดมีเจดีย์กว่า 30 องค์ ซึ่งล้วนสวยงามมีเอกลักษณ์ หนึ่งในนั้นคือเจดีย์ยอดพระวิหารที่อยู่ระหว่างก่อสร้างครับ


อนุสาวรีย์ทหารที่เสียชีวิตในสมรภูมิร่มเกล้า 77 นาย

ใกล้ๆกันมีพิพิธภัณฑ์สุวรรณหอคำ สร้างจากไม้สักทอง (อีกละ... แถบนี้เคยมีไม้สักทองเยอะจริงๆ) ที่นี่จัดแสดงภาพถ่ายและพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ถ่ายรูปไม่ได้นะครับ ว่าแล้วก็เข้าไปชมโบสถ์และพระธาตุหลักของวัดกันเลยดีกว่า...

พระอุโบสถสร้างตามแบบวังประทับพญามังราย (เชียงราย) หน้าโบสถ์มีรูปปั้นปริศนาธรรมยักษ์คู่ ตนหนึ่งหลับ (ผู้ใช้ชีวิตอย่างประมาท) ตนหนึ่งตื่น (ผู้ใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท) และซุ้มประตูด้านตะวันออกจำลองแบบมาจากวัดพระธาตุดอยสุเทพ (เชียงใหม่)



พระพุทธชินเรศนวราชบพิตร พระประธานของวัดนี้ จำลองแบบจากพระพุทธชินราช (พิษณุโลก)



พระบรมธาตุบารมี 30 ทัศ ประกอบด้วยเจดีย์ 32 ยอด นำแบบจากวัดพระธาตุหน่อ (สิบสองปันนา) มาประยุกต์สร้าง ล้อมด้วยช้างปูนปั้น พระพุทธรูป เทวดา และทวารบาล โดยแบ่งพระธาตุเป็นสามชั้น แทนนรก-โลก-สวรรค์



พระนอนสีหไสยาสทรงเครื่อง ในเขตพระอุโบสถ พระครูใบฎีกามนตรี สร้างถวายเป็นกุศลแด่เจ้าหนานทิพย์ช้าง ผู้ปลดปล่อยเมืองลำปางจากพม่า ช่วงปลายกรุงศรีอยุธยา



ส่วนองค์พระธาตุสุโทนที่มาของชื่อวัดนี้ที่สร้างก่อนพระครูมนตรีจะเนรมิตวัดจนอลังการ เป็นเจดีย์เล็กๆสูงแค่ 15 เมตร อยู่นอกเขตวัดไปอีกครับ อันนี้หาไม่เจอเลย ภาพประกอบจากเว็บ //www.touronthai.com/article/1311




Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley SmileySmiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley

ได้เวลาดิ่งยาวลงกรุงเทพครับ ผมกลับก่อนวันสุดท้ายของหยุดยาวหนึ่งวันกันรถติด แต่ที่ลืมไปก็คือปกติวันกลับเราจะซิ่งออกจากที่พักกันตั้งแต่ตีห้า แต่โปรแกรมรอบนี้ดันมีแวะเที่ยวรายทาง เลยเดินทางยาวจริงๆตอน 9 โมง ซึ่งมันเลทสาหัสมาก จากแพร่ถึงอุตรดิตถ์ก็ยังไปได้เรื่อยๆ เริ่มรถเยอะตรงพิษณุโลก และเริ่มติดแหงกที่พิจิตรครับ ทีแรกตั้งใจว่าจะกินข้าวเที่ยงวแถวๆนครสวรรค์ก็ฝันสลาย ต้องกินกลางทางที่ร้านอาหารเสี่ยแขกข้างทางพิจิตร ต้มยำปลาคังอร่อยใช้ได้นะ แต่สั่งแค่สองเมนูยังไม่พอที่จะเอามารีวิว

ติดยาวๆตั้งแต่พิจิตรลงมาเลยครับ ถ้ารถไม่ติดสามารถวิ่งถึงกรุงเทพได้ตั้งแต่เที่ยง แต่วันนี้จ๋อยสนิท แวะกินข้าวเย็นที่ FLYNOW สิงห์บุรี ร้านขนมจีนบางกอก แล้วกลับไปนอนที่บ้านวังน้อย ก่อนพาแม่ไปส่งที่บ้านกรุงเทพในวันถัดมา



จบทริปปีใหม่ปี 2560 แล้วครับ ภาคเหนือได้รับความนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวด้วยอากาศที่เย็นสบายและผู้คนเป็นมิตร แต่ช่วงหลังๆได้รับความนิยมมากไปนิดจนเชียงใหม่เป็นสถานที่ต้องห้ามสำหรับช่วงเทศกาลไปซะแล้ว อย่างไรก็ดี แพร่ยังคงเป็นจังหวัดเงียบสงบที่น่าเที่ยวนะครับ ที่โดนใจคอประวัติศาสตร์ก็คือจังหวัดนี้มีเรื่องราวของตนเองอย่างเข้มข้น ตั้งแต่สมัยเป็นแคว้นอิสระจนกระทั่งกรณีกบฎเงี้ยว ส่วนน่านได้รับการโปรโมทในช่วงหลังจนนักท่องเที่ยวเริ่มหลั่งไหลเข้ามา แต่ความสะดวกในการท่องเที่ยวภายในตัวเมืองและความสวยงามของวัดต่างๆก็ชวนให้มาเยือน ถ้าใครเที่ยวเชียงใหม่-เชียงรายจนปรุแล้ว ลองออกมาอีกเส้นนึงเที่ยวเมืองเล็กๆอย่างแพร่-น่าน ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจนะ









Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2560
Last Update : 10 มีนาคม 2560 22:39:16 น. 65 comments
Counter : 8424 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณเรียวรุ้ง, คุณlovereason, คุณtoor36, คุณRinsa Yoyolive, คุณสองแผ่นดิน, คุณสาวไกด์ใจซื่อ, คุณThe Kop Civil, คุณกะว่าก๋า, คุณClose To Heaven, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณเนินน้ำ, คุณnewyorknurse, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณkae+aoe, คุณข้ามขอบฟ้า, คุณชมพร, คุณผู้ชายในสายลมหนาว, คุณmambymam, คุณAppleWi, คุณซองขาวเบอร์ 9, คุณตุ๊กจ้ะ, คุณที่เห็นและเป็นมา, คุณtuk-tuk@korat, คุณTui Laksi, คุณ**mp5**, คุณกาบริเอล, คุณhaiku, คุณschnuggy


 
มาเอาหน้าก่อน ไม่ไหว ตาจะปิดค่ะ

FC


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:21:17:25 น.  

 
สวัสดีจ้า

วัดหัวข่วงกับพระธาตุช่อแฮแน่ใจว่าเคยไปมาแล้ว

แต่ที่อื่นๆนี่ไม่แน่ใจแฮะ ตามรอยคุณชีริวเที่ยวนี่ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ไปด้วย ดีจังเลย ว่าแต่สนใจคิดจัดทัวร์มั้ยคะ

เรื่องคุ้มเจ้าหลวงมีคุกอยู่ใต้คุ้มเหมือนเคยอ่านเจอเพื่อนในบล๊อกรีวิวเหมือนกันแฮะ

ว่าแต่คนอาศัยอยู่ในคุ้มไม่รู้สึกอะไรหรือไงนะที่ใต้คุ้มเป็นที่คุมขังนักโทษ มันต้องมีเสียงร้องโอดโอยบ้างแหละว่ามั้ย

แล้วมันก็คงต้องมีนักโทษตายในคุกบ้างแหละ บรื้ออออออ

น่ากลัวเกินไปอะ

บายศรีเอาขวัญผูกข้อมือ เคยได้ยินแต่บายศรีสู่ขวัญ ว่าแต่ทำไมต้องเอาขวัญ ต่างกับสู่ขวัญยังไงอะ

ชีริว Travel Blog


โดย: เรียวรุ้ง วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:21:21:02 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับน้องชีริว

ลายมือพี่ก๋าเองล่ะครับ
ถ่ายมาจากสมุดบันทึก
แต่แต่งภาพด้วย Snapseed

เมืองแพร่มีวัดสวยๆเยอะเลยนะครับ

ชอบบ้านวงศ์บุรี เป็นเรือนขนมปังขิงที่สวยมากครับ
งานละเอียดยิบแบบนี้เหลือให้ดูไม่กี่แห่งแล้ว
ที่เชียงใหม่แถววัดเกตุถูกทุบทิ้งไปเยอะ
น่าจะเหลือที่ลำปางบ้าง
แต่ก็ไม่งามเท่าที่นี่แล้วล่ะครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:21:37:45 น.  

 
มีพระเดินสวนมาด้วย บางทีพระเห็นเราถ่ายภาพท่านทำหน้าดุนะครับ แต่ไม่ได้ว่าอะไรเราหรอก ผมอาจคิดไปเองก็ได้ ท่านก็ทำหน้าปกตินี่แหละ แต่จริงๆ ผมก็ไม่ค่อยอยากมีเรื่องกับท่านเท่าไหร่ ถิ่นท่านด้วย (ขนาดนั้นเชียว)

มีพิพิธภัณฑ์นี่คุณชีริวต้องแวะเลย~

โดนยึดสลับๆ กันไปแบบนี้ก็ลำบากแย่เหมือนกัน

เหตุการณ์กบฏเงี้ยวนี่ไม่มีในหนังสือเรียนเลยแหะ (เค้าไม่ลงรายละเอียดด้วยมั้ง)

คุกใต้ดินนี่ยังไงก็รู้สึกไม่อยากเข้าไปเท่าไหร่ครับ มีโซ่ด้วย

ศาลหลักเมืองนี่มีทุกเมืองล่ะนะ บ้านวงศ์บุรีสมัยก่อนน่าจะยิ่งใหญ่น่าดูประมาณว่าถูกพูดถึงกันมาก

หลายๆ ที่ที่ไปนี่คนเยอะนะครับ แน่นอนล่ะนะช่วงปีใหม่ด้วย

คุณชีริวโชคดีมาก ไปตอนที่เค้ากำลังบูรณะ เลยได้รูปไม่เหมือนใคร


จากบล็อก
พอๆ กันครับ ตอนเด็กๆ ผมไม่ชอบ แต่ยังไงก็ยอมรับในฝีมือ ภายใต้เงื่อนไขที่เคยบอกไปครับ

การส่งถ่ายวัฒนธรรมมันมีไม่เยอะเท่าไหร่ครับ อันนี้คนจีนและคนญี่ปุ่นก็ยอมรับเลยนะคเออ (จากที่คุยกับทั้งคนจีน คนญี่ปุ่น)


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:23:04:08 น.  

 
ไปเที่ยวทั้งทีเหมือนไม่มีเวลานอนนะเนี่ย
เพราะแวะหลายที่มาก หรือแวะไปกดภาพแล้วออกมาอะป่า 555

คุ้มวงศ์บุรี มีบล็อกเกอร์ดังมาเชาเป็นงานแตงงานเมือกลางเดือนก่อน
อลังมาก
แต่ภายในนี่น่ากลัวเหมือนกันนะ
คุ้มเจ้หลวงรนิไปจำได้่ายัไม่เคยมารีวิวเลย
สต็อกดองนานเกิน จนจำไม่ได้แล้วว่าเอาไฟล์ภาพไว้ไหน 555
ข้าวซอยเจ้านี้ขึ้นชื่อเลยเหมือนกันนะ
เคยไ้ด้ยินว่าไปแพร่ต้องกินร้านนี้ๆ
แต่รินก็ยังไม่เคยกินจ้า


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
อาจารย์สุวิมล Diarist ดู Blog
AppleWi Health Blog ดู Blog
lovereason Literature Blog ดู Blog
Tui Laksi Photo Blog ดู Blog
ALDI Klaibann Blog ดู Blog
ปรัซซี่ Review Food Blog ดู Blog
ไวน์กับสายน้ำ Diarist ดู Blog
haiku Art Blog ดู Blog
ชีริว Travel Blog ดู Blog





โดย: Rinsa Yoyolive วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:23:25:19 น.  

 
ไปแพร่ครั้งหน้าจะตามรอยไปเที่ยวบ้างครับ


โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 4 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:23:59:33 น.  

 
สวัสดีค่ะ คุณชีริว ^^
นึกว่าอ่านไม่จบแล้ว วันนี้ง่วง อึนมึนมาก ><
แพร่เนี่ยสวยเหมือนกันนะคะ
ททท น่าจะให้เข้าโครงการ จังหวัดคงคึกคักมากกว่านี้
แต่ก็ดีเหมือนกัน พอความเจริญไม่มามาก ความเป็นพื้นบ้านท้องถิ่นก็ยังอยู่ได้
เห็นกู่ในภาพที่ถ่ายมา แวบแรกนึกถึงวัดเจ็ดยอดเชียงใหม่ค่ะ อ่านลงมาด้านล่างๆ อ้าว มีวัดที่มีศิลปะวัดเจ็ดยอดยกมาผสมอยู่ด้วย
นุ่นว่าสวยมากค่ะ คุณชีริวไปเที่ยวเชียงใหม่ลองไปดูนะคะ หรือว่าเคยไปแล้วก็ไม่รู้ แหะๆ
เจดีย์สีขาวสวย กับพิพิธภัณฑ์ เห็นแล้วนึกถึงวัดพระธาตุหนองจองคำ กับพระธาตุดอยกองมูด้วย
เพิ่งรู้ว่าแพร่ แปลงมาจากหลายคำมากเลย กว่าจะมาเป็นแพร่ แต่นุ่นชอบอะ คนเมืองแป้ น่ารักดี ภาษาเหนือน่ารัก
พระนอนที่นี่ก็สวยและใหญ่มากนะคะ
คุ้มเจ้าหลวงสวย แต่นุ่นชอบคุ้มพระลอ ดูน่าอนุรักษ์ท่ามกลางศิลปะสมัยใหม่มากๆเลย
ชั้นใต้ดินที่เอาไว้ขังนักโทษ น่ากลัวจัง อย่าได้ไปเดินกลางคืน หวาดเสียวอ่า แค่กลางวันก็น่ากลัวแล้วดูเยือกๆไงไม่รู้สิ
บ้านวงศ์บุรีสวยมาก เคยเห็นในหนังเรื่องไหนหนอ จำไม่ได้
วัดพระธาตุช่อแฮก็สวย ได้ยินแต่ชื่อ ดูแต่รูปไม่รู้เมื่อไหร่จะได้ไปเองค่ะ
ไม่รู้เคยดูที่ไหนที่ว่าขนมจีนเมืองแพร่จะแปลกกว่าที่อื่น หรือจำผิด ใช่ขนมจีนน้ำย้อยมั้ยนะ ไม่แน่ใจค่ะ แหะๆ
แต่ถ้าได้ไปจะไปชิมมั่ง 55
ขอบคุณสำหรับรีวิวค่า เสียดายอ่า คุณชีริวไม่เขียนตะพาบทั้งปีเลยเหรอ
อดอ่านเรื่องสนุกๆนะสิ รอบนี้มาเอาดีทางท่องเที่ยว แต่ว่าเพื่อนบล็อกเขียนท่องเที่ยวเยอะมากเลยนะคะ


โดย: lovereason วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:0:24:44 น.  

 
เนื้อหาอัดแน่นมากพ่อคุณ

ไปหลายที่ที่พี่ไม่ได้ไปเยอะเลย สนใจพิพิธภัณฑ์แฮะ

ปั๋นใจ๋ตอนพี่ไปก็ไม่ชอบหละ แต่ตอนพี่ไปไม่ต้องซื้อคูปองนะ

ตอนไปคุ้มเจ้าหลวงเจอมัคคุเทศก์น้อยที่นั่นปะ มีคนหนึ่งบรรยายดี๊ดี

ขออภัยค่ะ คุณโหวตบล็อกนี้ไปแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
Sai Eeuu Food Blog ดู Blog
คนผ่านทางมาเจอ Health Blog ดู Blog
ปรัซซี่ Review Food Blog ดู Blog
ผู้ชายในสายลมหนาว Education Blog ดู Blog
ชีริว Travel Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:1:46:50 น.  

 
เนื้อหาละเอียดยิบเลยครับ เสมือนได้ไปท่องเที่ยงกับ จขบ.ด้วยเลยครับ


โดย: The Kop Civil วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:3:30:43 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับน้องชีริว

โหวต Travel Blog ครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:6:51:40 น.  

 
โหๆๆๆๆๆ เด๋วนี้มีจัดเลย์องเลย์เอาท์แล้ว สิ้นปีเตรียมรับโหวตสายตะพายดีไซน์อีกเส้นนึง แอฟนับก้าวน่าสนแฮะ น่าเอาไปนับเวลาเดินป่า

ว่าแต่ว่าเด๋วนะ ดูท้องฟ้าแล้วนี่ทริปหน้าหนาวรึ!!



โดย: น้ำ-ฟ้า-ป่า-เขา วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:8:05:15 น.  

 
ชีริว Travel Blog ดู Blog

เน็ทง่อยมากกกก กว่าจะโหลดรูปขึ้น
ไว้เค้ามาเมนท์อีกรอบนะ


โดย: Close To Heaven วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:8:16:43 น.  

 
ขอบคุณครับน้องชีริว

การมาของ prisma
ทำให้พี่ก๋าอยากลองวาดการ์ตูนด้วยภาพ+แอพฯนี้นะครับ

คิดอยู่เลย

แต่ปีนี้น่าจะต้องเขียนหมื่นตาแล้ว
มีคนเรียกร้องอยากอ่านมาพอสมควรเลยครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:9:57:36 น.  

 
อ่านนเพลินเลย... คำว่าวัดหัวข่วง มีหลายจังหวัดจริงเลยครับ

คำว่า ข่วง เขาหมายถึง ลานกว้าง ๆ...

วัดภาคเหนือ ส่วนใหญ่จะมีหลังคาไม่สูง แล้วอ่อนช้อยลง..ภาพ
ข้างบนที่คุณชีริวถ่ายมา สวยงาม ดูสอาดน่าไปเที่ยว ไปพักมาก

เคยไปพม่า.. แล้วนึกถึง ประวัติศาสตร์ที่ไทยเขียนขึ้นมา รู้สึกว่า
พวกเขาโหดร้ายมาก... แต่ไปสัมผัสจริงก็หลายวันอยู่ พวกเขา
น่ารัก บางแห่งจะว่า น่าสงสารก็ว่าได้(เป็นบางคนนะครับ)

พม่ามีความเชื่อ ว่าสร้างวัด สร้างเจดีย์ เป็นการสะสมบุญสูงสุด
เขาเป็นผู้รบชนะ ยังสร้างวัดในไทย..


ผมเห็น ใบลานที่จารึกพระธรรม. ใส่ถุงผ้าไว้..เสียดายกลัวจะ
อยู่ไม่ได้นาน..

ไม่ทราบว่า มีผู้ใดถ่ายภาพ หรือสแกนไว้หรือเปล่าหนอ.. บาง
ที่คนที่จาร หรือจารึกคงจะเขียนตาม ผู้รู้บอกกว่า จะได้รู้จิตใจ
ของคนโบราณ.. ถ้าแปลเป็นภาษาภาคกลาง

อาจจะเห็นประวัติศาสตร์ที่แท้จริง หรือ การแปล ธรรมมะ หรือ
ศิล แตกต่างกับที่เราเห็นในปัจจุบันก็ได้นะครับคุณชีริว

(ตามความจริง เคยอ่าน ผ่าน..เพราะ เขาไม่ผูกประโยคหรือ
ข้อความให้เข้าใจง่าย เลยละทิ้ง..ปล่อยเก็บไว้ในตู้ตามเดิม
555)

เขียนเม้นท์ยาวไป..จบแค่นี้ก่อน งั้นโหวตให้ครับ

ชีริว Travel Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

เป็นกำลังใจให้คุณชีริว มีแรงใจเขียนเพิ่มอีก อยากอ่านคน
ที่เขียนเรื่องการ์ตูน มองการท่องเที่ยวเป็นอย่างไรครับ



โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:13:48:29 น.  

 
ตามมาไหว้พระด้วยนะคะ จัดเต็มมาก ๆ ค่ะคุณซีริวครบเลยทั้งกินและเที่ยว
ใช่แล้วค่ะที่เมืองแพร่เป็นแหล่งไม้สักทองในอดีต มีสถานที่ที่น่าสนใจและงดงามโดยเฉพาะวัด เพิ่งเคยเห็นจารึกใบลานชัด ๆ คราวนี้เองค่ะ ส่วนโบราณวัตถุต่าง ๆ พี่คิดว่าต้องอยู่ในโบราณสถานแห่งชาติซะอีกค่ะ เกรงว่าอนาคตสิ่งทีมีคุณค่าจะกลายเป็นมูลค่าจัง
โหวตค่ะ


โดย: เนินน้ำ วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:16:09:40 น.  

 
มาเที่ยวด้วยค่ะ

โหวดค่ะ


โดย: newyorknurse วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:19:55:59 น.  

 
ช่ายยยยย

เดือนแห่งความรักแล้วนะ

ว่าแต่ยังกอดคานไว้รึเปล่า

หรือมีใครพาลงจากคานแล้วเอย


โดย: เรียวรุ้ง วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:20:23:45 น.  

 
พระวิทยากรท่านคงดีใจ นาน ๆ ที จะเจอคนสนใจจริงจัง ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันด้วย อยู่วัดนี้ ชม. กว่า แต่คุ้มเลยค่ะ

แพร่ พี่เคยแวะแค่พระธาตุช่อแฮ ที่เดียว ชอบคุ้มเจ้าหลวง และบ้านวงศ์บุรีค่ะ

ฟังไปฟังมา แพร่ก็น่าเที่ยว น่าสนใจดีเหมือนกัน พี่ไม่ใช่คอประวัติศาสตร์จริงจัง แค่ชอบค่ะ แต่ถ้ามีโอกาสจะแวะเที่ยวแน่ ๆ (ไม่ใช่เพราะเที่ยวเชียงใหม่ เชียงรายจนปรุนะ เพราะมีอีกหลายที่ ยังไม่ได้เที่ยวเลย)

*** บ้านพี่เที่ยวกับใครไม่ได้หรอก (เกรงใจ) พี่แวะตลอด ระหว่างทางไม่ได้อยู่ในแผนนี่ประจำเลยค่ะ

เขามัทรี เดินขึ้นบันได -- น่าจะ 800 เมตรมัง พี่จำไม่ได้ว่ากี่ขั้น ดีที่มีราวบันไดให้เกาะ อ่านรีวิวที่ไหนเค้าก็ขับรถขึ้นไปกัน พี่โชคดีเจอช่วงรถเยอะซะ

แต่วิวสวยจริงค่ะ


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:20:27:40 น.  

 
มาส่งกำลังใจจองที่ก่อนนะคะ
อีกสามวันจะหายไปห้าวัน จะไปที่ที่คุณชีริว
ไปมาเมื่อเร็วๆนี้

แล้วค่อยแวะมาใหม่ค่ะ



โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:22:36:27 น.  

 
สวัสดีจ้ะ น้องชีริว

บล็อกนี้ ยาวมาก ๆ นะจ๊ะ ได้ความรู้แต่ละวัดมากมาย ทั้งวัดพระหลวง วัดหลวง วัดศรีชุมแพร่ วัดพระนอน มากมายเหลือเกิน แต่จำประวัติสับสนไปหมด อยากเที่ยววัดไหน คงต้องกลับมาอ่านใหม่ ห้าห้า
ได้ความรู้ประวัติของชื่อ เมืองแพร่ด้วย วัดทั้งหมด ที่เล่ามา ครูไปแล้ว 1 วัด คือวัด พระธาตุสุโทนมงคลคิรี ห้าห้า ทำไมเธอเก่งอย่างนี้ อ่ะ วันเดียวเก็บได้ตั้งหลายวัดแบบนี้ นะ เยี่ยมจริง ๆ เลย
โหวด หมวดท่องเที่ยว จ้ะ

ทวาทศมาส ตอนสอง ออกแล้ว จ้ะ อิอิ


โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:22:39:59 น.  

 
บิณฑบาต ไม่ต้อง มี ร ที่บาต จ้ะ บิณฑ แปลว่า ข้าว บาต แปลว่า ตก จ้ะ ข้าวที่ตกลงไปใน บาตรพระ จ้ะ


โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:22:59:34 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:3:43:51 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับน้องชีริว



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:6:33:05 น.  

 
ตามเที่ยวได้แค่ช่วงแรกๆ ต้องไปทำงานก่อน อิอิ เดี๋ยวตามมาเที่ยวใหม่

ดีจังนะคะมีพระครูช่วยพาทัวร์ คิดว่าพระท่านก็ดีใจเช่นกันที่เจอคนสวยใจแบบนี้นะคะ เยี่ยมเลย


โดย: kae+aoe วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:14:46:02 น.  

 
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
เนินน้ำ Food Blog ดู Blog
ข้ามขอบฟ้า Music Blog ดู Blog
Rinsa Yoyolive Travel Blog ดู Blog
อาจารย์สุวิมล Diarist ดู Blog
moresaw Funniest Blog ดู Blog
เรียวรุ้ง Book Blog ดู Blog
ชีริว Travel Blog ดู Blog

เมืองเหนือประวัติน่าสนใจเกือบทุกเมือง
จะรออ่านนะค๊ะ


โดย: ชมพร วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:21:03:21 น.  

 
วัดหัวข่วงโบสถ์งดงามมาก เสียดายที่ยังปิด อยากเห็นข้างในโบสถ์
กำแพงเมืองแพร่ดูบริเวณล้อมๆแล้วร่มรื่นน่าเดินเล่นมากจ้ะ

วัดหลวงเป็นวัดที่เก่าแก่อีกวัดหนึ่ง พิพิธภัณฑ์วัดหลวงมีของเก่าเยอะเหมือนกัน
พี่ชอบเดินดูปราสาท เดินดูวัดนะ ยิ่งเก่ายิ่งโบราณยิ่งชอบมาก ขลังดี แหะๆ (ไม่ได้ไปขอหวยนะ)

คุ้มเจ้าหลวงสวยงามมากดูเหมือนสถาปัตคล้ายทางโปรตุเกสนะ
บ้านวงศ์บุรีก็สวยงามมาก แต่ถ้าให้นอนคงไม่ไหว กลางคืนคงจะวังเวงเกินไป
กราบพระนอนเสร็จแล้ว เย้ๆ ได้พักกินข้าวแล้ว ทริปนี้พี่นึกว่าจะพาไหว้พระอย่างเดียว 555

วัดพระธาตุช่อแฮสวยแปลกตา ถ้าจะเป็นวัดที่ดังมากคนก็เลยเยอะมากด้วย

ถนนคนเดินเป็นพี่ก็เดินแน่นอน อันดับแรกเดินหาของกินก่อนเลย
ท้องเต็มจะได้มีแรงเดินชมอย่างอื่นต่อไปไง
อิ่มหล่ะ นึกว่าจะจบแล้วนะเนี่ยยังมีต่อไปอีก เฮ้อ..ปาดเหงื่อ แหะๆ

วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีเป็นวัดที่สวยงาม สร้างอลังการจริงๆ

1. วัดหัวข่วง 2. วัดหลวง 3. วัดศรีชุมแพร่ 4.วัดพงษ์สุนันท์ 5. วัดพระนอน 6. วัดพระบาทมงคลมิ่งเมือง 7. วัดพระธาตุช่อแฮ
8.วัดพระธาตุจอมแจ้ง 9. วัดพระหลวง หรือวัดพระหลวงธาตุเนิ้ง 10. วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรี (ไม่มีตกหล่นนะ)
บล๊อกนี้ 10 วัด เรียกว่าบุญทับเลยนะน้องชีริว ยังไม่รวมศาลหลังเมือง อนุสาวรีย์ คุ้มเจ้าเมืองอีก ข้อมูลอัดแน่นมาก

อ่านบล๊อกน้องชีริวแล้วได้รู้จักเมืองแพร่มากขึ้น และได้รู้จักวัดมากๆขึ้นอีก
ยังไม่เคยมีเพื่อนบล๊อกคนไหนพาพี่เที่ยววัดมากขนาดนี่เลย ได้ไหว้พระจนอิ่มอกอิ่มใจ สาธุ

ชีริว Travel Blog

**เมื่อวานพี่เข้ามาอ่านแล้วหล่ะ แต่อ่านไม่ไหวมึนหัวเลยต้องถอยทับไปก่อน
วันนี้หายมึนเลยบุกเข้ามาใหม่ อิอิ เป็นบล๊อกที่พี่เม้นท์ยาวที่สุด


โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:21:04:12 น.  

 
วันก่อนไปน่านไม่ได้เข้าแพร่ ยังเสียดาย

เมืองน่าเที่ยวมากค่ะ

มาใหม่พรุ่งนี้นะคะ หมดตัวแล้ว


โดย: ซองขาวเบอร์ 9 วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:21:27:22 น.  

 
พี่ก็ไปเที่ยวปีละหนสองหนน่ะ คุณชีริว แต่เขียนท่องเที่ยวไม่เป็น
ถ่ายภาพไม่เก่งแล้วก็ไม่สะดวกทำด้วย ต้องดูแลตัวเองเดินเหิน
มากเลย ไม่อยากต้องมีภาระ แต่ก็จะมีภาพมาให้ชมในเฟซบ้างค่ะ
มีเพื่อนไปด้วยกลุ่มนึง

งานบล็อกแก๊งก็สนุกดี จะว่าดีมากก็ได้ มีเรื่องฮาๆเยอะ



โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:21:43:16 น.  

 
ชื่นชมคุณชิริวครับ เรื่องยาวขนาดนี้ผมต้องแบ่งเขียนเป็นเดือนเลลย
พลังงานน้อยมาก ผมเนี่ย บลอกมีทั้งพาเที่ยวพาชิม ครบสูตร

จารึกวัดบุพารามอยู่ที่นี่หรือนี่ ไม่เคยทราบมากาอนนึกว่าอยูในพิพิธภัณฑ์ซะอีก
ซื้อหนังสือกบฏเงี้ยวเมืองแพร่มา ยังอ่านไม่กี่หน้าเอง
แค่เปิดผ่านรูปก็อลังมากเลย สมัยก่อนมาเมืองเหนือนี่ลำบากมาก
ขี่ช้าง ขี่ม้ามากันเลยทีเดียว


โดย: ผู้ชายในสายลมหนาว วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:22:31:27 น.  

 
ตอนแรกผมกะจะมาบังคับให้ไปไหว้พระ คุณชีริวชิงลงมือตัดหน้าก่อนเลย

วัดพระแก้ว คนต่างชาติ 500.- บาทเลยนะครับ (ขายควบ อนันต์สมาคม วิมาณเมฆ)

ผมพึ่งทราบว่าพระห้ามยิ้มเห็นฟัน แบบนี้พระนักเทศน์ชื่อดังที่ ทานอาหารจนลืมกลับวัดที่ยิ้่มเห็นฟันประจำไม่อาบัติแย่เหรอครับ


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:22:55:45 น.  

 
วัดสวยๆในเชียงใหม่มีเยอะด้วยมั้งครับน้องชีริว
ส่วนใหญ่มุ่งตรงไปแถวสี่แยกกลางเวียงเป็นหลัก
วัดเกตเลยไม่ค่อยมีใครเข้าไป

ภาพในหนังสือของพี่ปะการังมีทั้งภาพถ่ายและอินโฟกราฟฟิก
พี่ก๋าว่าสัดส่วนประมาณครึ่งต่อครึ่งเลยครับ

ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับ


โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:23:56:00 น.  

 


สวัสดียามเช้าครับน้องชีริว



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:6:52:57 น.  

 
สวัสดีอีกรอบจ้าาา

ก็เค้าปิดง่ะ เลยกินได้แค่นั้น จะกินต่อก็ไม่ยอมขายด้วย ฮือๆ

เลยจบเร็ว


หืออออ ชีริวไม่ดื่มมมมม แหม ช่างเป็นผู้ชายที่หายากเสียนี่กระไร เหมือนคุณก๋าเลยอ้ะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:9:06:24 น.  

 
สวัสดีค่ะ

ชื่อนี้ได้ยินบ่อยมากๆ มันดังหรือมันชื่อโหลนะครับ>>>>>>ม่ายยยยยโหลนะ

กาสิกพื้นที่อยู่บนภูเขามีเหมืองเพชรน่ะ แต่ทานตะติดทะเลค้าขายไม่เก่ง อ่อนแอสุดใน 3 แคว้น อย่างว่าแหละ นิยายนี่เนอะ

หงส์กับห่านอย่าทำพะโล้เลยสงสารมันกินเป็ดต่อไปเถอะ

คุณชีริวอ่านแต่การ์ตูนนี่ไม่ได้อ่านนิยาย ยังไงก็ขอบคุณนะที่แวะเข้ามาทักทาย


โดย: เรียวรุ้ง วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:10:19:32 น.  

 
เหตุการณ์กบฏเงี้ยว กี่ยุคสมัยก็มีความขัดแย้งนะคะ ^^

คุ้มเจ้าหลวงมีคุกอยู่ น่ากลัวดีจัง คนสมัยก่อนก็โหดเลยนะคะ นึกไปถึงหนัง ผู้หญิงโดนขังคุก จนตาย รอคอยการกลับชาติมาเกิดของพระเอก หุหุ



โดย: kae+aoe วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:10:48:02 น.  

 
บล็อกวันนี้ละเอียดมาก ๆ เลยค่ะ
ตามเที่ยวด้วยเหมือนได้ร่วมเที่ยวด้วยเลย
ชอบบ้านวงศ์บุรีสีกุหลาบสวยหวานดี
วัดพระธาตุช่อแฮได้ยินชื่อเสียงมานานแล้ว
ได้เห็นความงดงามและรู้รายละเอียดต่าง ๆด้วย
วันนี้ล่องลอยอยู่ในบล็อกนี้นานเลย อยากให้สัก
สิบโหวตเลยค่ะ

ชีริว Travel Blog


โดย: AppleWi วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:13:18:59 น.  

 
สวัสดี จ้ะ น้องชีริว

ถามครูว่า ทวาทศมาส ของปี 59 หรือ 60 ก็ต้อง 59 ซิจ๊ะ 60 เพิ่งผ่านไป เดือนมกราคม เลย กุมภามา ไม่กี่วันนะจ๊ะ
วัดไตรมิตร เป็นถิ่นเก่าของครูเอง จำได้ว่า เขียนบล็อกเรื่องวัดไตรมิตรไปแล้ว เธออ่านแล้วคงลืมไปละ ครูจบประถมศึกษาที่วัดนี้จ้ะ ในวัดนี้ มีโรงเรียนประถม ชื่อ โรงเรียนมหาวีรานุวัตร ครูเป็นนักเรียนรุ่นแรกของโรงเรียนนี้จ้ะ ส่วนอีกโรงเรียนหนึ่ง คือ โรงเรียนชายล้วน ชื่อ โรงเรียนวัดไตรมิตรวิทยาราม มั้ง จำสร้อยที่ต่อท้ายไม่ค่อยแม่น
บุ๊ง ส่งข้อความมาชวนไปงานบล็อกแก๊งปีนี้ ซึ่งปีนี้ เขาจัดเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประมาณ 15-20 คน กลุ่มแรกเขาเพิ่งจัดไป กลุ่มที่บุ๊งชวนนี้ จัดวันที่ 5 ครูให้บุ๊งชวนเธอด้วย เธอไม่ว่างเหรอ ถ้าเลื่อนเรื่องที่ไม่ว่างได้ ก็ไปวันที่ 5 มี.ค. ซี จะได้เจอกัน ไงล่ะ ห้าห้า


โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:14:36:00 น.  

 
พี่ลองไปรื้อไปคุ้ยหา หลวงพ่อขาวก่อนจะมาอยู่ที่พระบรมมหาราชวัง --- ไม่เจอค่ะ จนปัญญา คุณชีริว พูดขึ้่นมาพี่เลยสนใจอยากรู้ไปด้วยเนี่ย


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:19:11:52 น.  

 
ชีริว Travel Blog

สวัสดีค่ะ มาส่งกำลังใจอีกรอบค่ะ


โดย: ซองขาวเบอร์ 9 วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:20:00:20 น.  

 
วัดหลวง กับวัดบารมี 30 ทัศ ยังไม่เคยไปเลยค่ะ
สวยจังเลยนะคะ


บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ข้ามขอบฟ้า Music Blog ดู Blog
Sweet_pills Food Blog ดู Blog
ชีริว Travel Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: ตุ๊กจ้ะ วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:20:11:01 น.  

 
แพร่ เมืองมีเสน่ห์มากเลยค่ะ

อุต๊ะ เราทานร้านปันใจ๋เหมือนกันเลยค่ะ

มากับคุณชีริวได้เที่ยวทีีหลายที่คุ้มมากๆเลยค่ะ




บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
mariabamboo Photo Blog ดู Blog
หอมกร Movie Blog ดู Blog
Mitsubachi Food Blog ดู Blog
ชีริว Travel Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: จี๊ดจ๊าด (บ้านต้นคูน ) วันที่: 7 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:22:36:38 น.  

 
ตามมาเที่ยวด้วยคนคร้าา
ชอบคุ้มเจ้าหลวงค่ะ ตึกสวยมากๆ


โดย: Raizin Heart วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:10:39:12 น.  

 
รินยังเล่าเรื่องน่านไม่จบนะ
ไว้ต่อรอบหน้ายังเหลืออีกให้ชีริวตามรอย อิอิ


คนเค้าไปเมืองอื่นกันแล้ว ไปกันต่อเร็วววว



โดย: Rinsa Yoyolive วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:21:40:33 น.  

 
ลำโพงเสียก็เปลี่ยนใหม่ได้แล้วจ้ะ 555
คอมเม้นท์ 40 มีเราไม่ได้ยินอยู่คนเดียว
แต่เอ๋ะ... หรือว่าแกล้งได้ยินกัน อิอิ

เพลงกว่าจะถึงพรุ่งนี้ วงเฉลียงเพลงเขาออกจะดังเปรี้ยงปร้าง
เพลงนี้ออกมาได้ 26 ปีแล้ว น่าจะทันนะ หรีอว่าไม่ทัน

ไม่เป็นไร มาฟังเพลงบล๊อกใหม่พี่ดีกว่า เพลงนี้น่าจะรู้จักนะ


โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:0:51:16 น.  

 
พี่จะไปอินโดจ้าาา
ขอบคุณโหวตด้วยนะคะ



โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:2:49:28 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับน้องชีริว

การ์ตูนจีนตัวละครมันจะเยอะมาก
พี่ก๋าจำไม่ค่อยได้
และชอบเล่าเรื่องแบบตัดฉับไปอีกฝั่ง
เล่าย้อนไปย้อนมา บางทีอ่านแล้วก็งงครับ 555

96 เล่ม ซื้อเองครับ
ค่อยๆตามซื้อที่ร้านขายหนังสือการ์ตูน
กว่าพี่ก๋าจะตามซื้อครบก็เลยนานมาก
เดี๋ยวนี้สะดวกกว่าเยอะ สั่งทางเน็ต
หรือเข้าร้านมือสองไปเลย ยกชุด ไม่ต้องรอ 5555

นี่ยังมีอีกสองสามเรื่องที่ตามซื้อแบบนี้เลย
สำนักพยัคฆ์มังกร ฟงอวิ๋น
ก็เข้าหลัก 100 กว่าเล่มทั้งนั้นครับ
ตามซื้อมานานมาก งงตัวเองเหมือนกันว่ารอได้ยังไง 5555

ศึกเทพศาสตรายังแตกออกมาเป็นหลายภาคหลายตอนจริงๆ
บางตอนอ่านแล้วไม่สนุกก็มีครับ จริงๆก็ชอบแค่ช่วงแรกประมาณเล่ม 1 ถึงเล่ม 50 เท่านั้นเองครับ


ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:6:33:39 น.  

 
ชีริวววววววววววววววว

บุคลิกแกกับความกวนในคอมเมนท์ที่บล็อกพี่นี่มันช่างขัดแย้งกันนะยะ อีบ้า

เออ นั่นดิ วาเลนไทน์คืออะไร ควรเอาออกจากปฏิทินเนาะ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:9:02:45 น.  

 
สวัสดี จ้ะ น้องชีริว
แหม นึกว่า จะได้อ่านบล็อกใหม่แล้ว ยังไม่เปลี่ยนบล็อกหรือนี่ อิอิ
ขอบใจนะ ที่บอกเรื่องทวาทศมาส พิมพ์เป็น 60 จริง ๆ ตอน 1 ก็ถูก แต่มาตอนสอง กลายเป็น 60 ไปชะงั้น แสดงว่า เริ่มแก่เฒ่าชราแล้ว ห้าห้า ครูแก้เรียบร้อยแล้ว จ้ะ
เรื่องอัพบล็อกถี่ เพราะค้างงานไว้หลายที่เลย จ้ะ ทริป คานาสือ ก็ยังไม่จบ ทริปอีสาน ยังไม่ได้ลงมือเลย ทวาทศมาสก็ได้แค่ 3 เดือน ห้าห้า เดี๋ยว ตะพาบมาอีกละ โปรแกรมเที่ยว เดือน ก.พ. ไปเหนืออีก ห้าห้า ชีวิตหลังเกษียณนี่ ทำไมมันหาเวลาว่างในการเขียนน้อยจัง ของเธอล่ะ งานคงยุ่งน่ะซิ เลยไม่ค่อยได้อัพ เอาอัพสั้น ๆ ซิ จะได้อ่านกันบ่อยหน่อย เนาะ

เมืองกาญจน์ ปิล็อก อีต่อง นี่ ครูก็เพิ่งรู้จัก ตอนที่เด็ก ๆ พาไปนี่แหละ ห้าห้า เพิ่งได้ยินชื่อ คริคริ ไม่ได้เป็นนักเที่ยวอย่างเธอว่า เล้ย
ส่วนของฝาก ขากลับซื้ออีกร้านหนึ่ง ชื่อไร จำไม่ได้แล้ว มีชื่อดัง รถจอดกันเยอะมากเพื่อมาซื้อของฝาก ราคาแพง ๆ ทั้งนั้น นอกจากแพงแล้ว ของที่บรรจุยังน้อยอีกด้วย
ร้าน ชื่อ แปดริ้ว ที่พวกเราไปทานกัน ก็อร่อยนะ ใน ตลาดอีต่อง ร้านค้าที่เขาบอกว่า อร่อย เจ๊ ณี อะไรนี่ คนเยอะ ไม่ให้จอง ให้รอ 2 ชั่วโมง เลยไม่กิน ไปกินผัดไท แทน ก็อร่อย ใช้ได้นะ แต่ ร้าน ณี ที่ว่าอร่อย ไม่ได้ชิม เลยบอกไม่ได้ว่า สมคำเล่าลือ หรือไม่
ว่าง ๆ มีโอกาสก็ไปเที่ยวนะ ธรรมชาติชายแดน ยังสวยงามมากอยู่ ไม่ถูกบุกรุกทำลาย จ้ะ


โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:15:00:06 น.  

 
ทำให้เราทราบเหตการณ์ได้ประมาณนึง
พอตอนหลังเป็นพุทธเถรวาทเค้าก็เลิกสร้างปราสาท
เลิกสร้างจารึก มาจดบันทึกในใบลานแทน

เหมือนอยุธยาเลย เสียกรุง ไฟใหม้ก็หายไปหมด


โดย: ผู้ชายในสายลมหนาว วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:17:15:20 น.  

 
เดี๋ยวมาอ่านใหม่ละเอียด เพราะ เรื่องราวละเอียดมากค่ะ
ปล. โหยแค่ MIT เอง อิอิ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:21:55:23 น.  

 
หุหุหุ คุณชีริวขา จี๊ดจ๊าดเลือกมาถูกเหมาะเหม็งที่ซู๊ดดดด เลยได้เป็นเด็กต่ิงท้ายในงานไงคระ นี่มันคือกลยุทธขั้นสุดยอดในการเข้าแก้งค์ให้หน้าเด็ก
เลยไม่เคยได้เจอคุณชีริวกะคุณต่อเลย
ถ้าเจอกันจี๊ดจ๊าดจะได้เตรียมผ้าก๊อซกะสำลีไปพันแผลมีดบินจากเหล่าแม่ครัวเทพที่เขวี้ยงปักหัวใจคุณชีริวได้เหมาะเหม็งให้


โดย: จี๊ดจ๊าด (บ้านต้นคูน ) วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:22:02:26 น.  

 
อนุโมทนา สาธุคะ
คุณลูกน่ารักแบบนี้ ได้บุญคุ้มครองนะคร้าคุณชีริว
ในทางศาสนาสอนไว้ พาคุณแม่ไปทำบุญและเที่ยว
ได้บุญทั้งทางใจและได้บารมีบุญติดตัวตลอดชีวิตคร้า...

โห...ภาพสวยมากเลยน๊ะ ข้อมูลละเอียดเช่นเคย
มีทริกให้เดินถอยหลังเข้าคุกอีก 555 บล๊อกพาเที่ยวนี่ อ่านเพลินเจรงๆ
แต่เราอ่านแบบเร็วมากหน่อยน๊า..ขออภัยเวลามีจำกัด คริ คริ
ขอบคุณมากคร้าสำหรับโหวตที่บล๊อกเราจร้า


โดย: Tui Laksi วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:23:56:30 น.  

 
วันก่อน เค้ามาเมนท์ไว้ ทำไมมันหายไปง่า
ตัวเองลบหราาา

พระพุทธชินเรศนวราชบพิตร จำลองจากพระพุทธชินราช
แบบนี้นี่เอง
พระบรมธาตุบารมี 30 ทัศ อันนี้เค้าไม่เคยเห็นมาก่อนเลย
ถือว่าเยอะที่สุดแล้วป่าวอะ


โดย: Close To Heaven วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:9:11:59 น.  

 
อยากไปเที่ยวเหนือสักครั้งค่ะ จริงๆ ก็อยากไปเที่ยวทุกภาคค่ะ แต่ที่ทำงานใจร้ายไม่ให้ลางานเลยค่ะ เพราะเค้าให้หยุดวันเสาร์ นับเวลาทำงานตามกฎหมายไม่ให้ขาดทุนกันเลย บ.เล็กๆ ก็ทำใจกันไป จะเที่ยวช่วงเทศกาลเคยไปครั้งเดียววันแรงงานเข็ดมากมายค่ะ 5555

ปล.ซีใส่เครื่องมือกันฟันล้มเลยค่ะ ฟันเกเรมาก ฟันใหญ่แต่ปากเล็กไม่มีที่ให้ฟันอยู่


โดย: kae+aoe วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:15:16:21 น.  

 
ตอนหอศิลปฯ จัดแสดงภาพในหลวง พี่ไปไม่ทัน ตอนนี้มีภาพในหลวงที่เซ็นทรัล เอ็มบาสซี ก็ไม่ได้ไปอีกแหละ

พี่ไปดูนิทรรศการฉายาลักษณ์สยาม เลยเดินดูไปเรื่อย ของ อ.ประเทือง เอมเจริญ ... แนว "นามธรรม" ดูไม่รู้เรื่องเลย อ่านชื่อภาพแล้วก็ยังไม่รู้เรื่อง ยังไง คืออะไรเหรอ แต่สีฉูดฉาดดีค่ะ

หลวงพ่อขาวองค์เดียวก็ว่างามแล้ว ประดิษฐานอยู่บนบุษบกแบบนั้น ยิ่งงามวิจิตรขึ้นอีก ไปหลายครั้งแล้วก็ยังชอบ ว่าไปก็ชอบทุกวัดล่ะพี่ ไปซ้ำ ๆ หลายวัดเลย


โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:18:30:58 น.  

 


สวัสดียามเช้าครับน้องชีริว



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:6:40:44 น.  

 
สวัสดีอีกรอบฮับบบ

เออ เข้าใจมือถือมันพิมพ์ยากกว่าคอมฯ จริงๆ เคยลองแล้ว ไม่ชอบเลยยยยย

แกจะพราวด์ลี่พรีเซนต์เพื่อ 55555



โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:10:39:16 น.  

 
อ้าว!! นี่ท่านจะเลิกเขียนเกี่ยวกับการ์ตูนจริงๆ รึนี่ (ผมไปเห็นที่ท่านพิมพ์ไว้ในที่แห่งหนึ่ง) ก็พอเข้าใจหลายๆ อย่างได้ล่ะนะ ผมก็ลงด๋อยไปเยอะมันเลยยังพอเป็นการ์ตูนได้ ไม่งั้นก็แทบไม่เป็นการ์ตูนแล้ว แต่จะว่าไปขนาดด๋อยเล่าเรื่องสั้นๆ ในถนนสายนี้มีตะพาบไม่กี่บรรทัด ยังมีคนแทบไม่อ่านเลยก็มี

ผมอยากรู้เหมือนกันว่าถ้าผมลงสายการศึกษาเต็มรูปแบบแล้วทิ้งสายการ์ตูนไปเลย สายนี้มันจะเละขนาดไหน


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:16:57:00 น.  

 
แวะมาเยี่ยม สวีสดีครับ

ชีริว Travel Blog ดู Blog


โดย: **mp5** วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:20:31:14 น.  

 
สวัสดีจ้า

เที่ยวเผื่อด้วยนะ

ที่เข้าบล๊อกแล้วยังไม่เจออัพบล๊อกใหม่เพราะเรากะยื้อบล๊อกเก่ารอเขียนงานตะพาบจ้า

เรื่องงานมีตติ้งไปมาจ้า แต่จะให้ใบ้เรอะ อย่าเลยเค้าอายอะ

เข้ามาปัดกวาดให้นะ ว่าแต่ไปเที่ยวไหนเนี่ย แต่เดี๋ยวก็ต้องกลับมาเล่าแหละเนอะ ปูเสื่อรอเลย


โดย: เรียวรุ้ง วันที่: 11 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:20:51:47 น.  

 
แวะมาทักทายค่ะคุณชีริว
หนังของยุทธเลิศนี่ต้องเรียกว่าเป็นหนังเฉพาะทางค่ะ ไม่ค่อยเป็นหนังแนวแมสเท่าไหร่ อิอิ


โดย: Raizin Heart วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:13:03:25 น.  

 
บล็อกนี้บล็อกเดียวเที่ยวคุ้มเลยค่ะ
ที่บ้านวงศ์บุรี มีหนังสือสัญญาขายตัวเป็นทาสด้วยค่ะ ดูแล้วเศร้า ๆ พิกล


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:13:36:23 น.  

 
เย่ ... กว่าหน้าเวปจะโหลดมาถึงช่องคอมเมนต์ได้
เน็ตอืดอย่างแรงช่วงนี้

จัดเต็มดีแท้ บล็อกนี้
สรุปว่าปีนี้จะอุทิศงานเขียนภาคการเดินทางให้เต็มที่สินะ

ตอนแรกกำลังคิดว่า เดจาวู หรือคิดไปเอง กับชื่อวัดหัวข่วง
มีการตั้งชื่อซ้ำกันอีกแน้ะ

เจอสถานที่หลายแห่ง ดึงดูดให้เข้าไปเก็บข้อมูลเต็มที่ เลย
(กว่าจะไล่ไปถึงพระธาตุช่อแฮได้)


พระท่านก็คงดีใจนะ คงเห็นว่ามีคนสนใจ
อยากรู้เรื่องประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
ชนิดจริงจังแบบนี้ ด้วยเนอะ เห็นจับเล่มใบลานแล้ว
โห อักขระนี่ไม่คุ้นเลย อ่านไม่ออก (--")

น่าสนใจที่เห็นการสร้างเมือง เป็นรูปทรงหอยสังข์
อย่างงี้คงเป็นพิมพ์นิยมสำหรับ ยุคนั้นใช่ไหม ???

ไอ้การเรียนประวัติศาสตร์ จากห้องเรียน เราคงได้แต่เห็น
การจารึกแค่ส่วนกลางอ่ะ นั่นก็แค่เศษเสี้ยวนึงของชาติไทยแหละ

เรื่องไม้สัก ทางภาคเหนือในยุคก่อนนี่ดังจริง
เดี๋ยวนี้ ก็กลายเป็น ดังแนวลักลอบตัดไม้เถื่อนไปซะละ
หมดกัน ป่าไม้บ้านเมือง

แอบตะลึงกับบายศรี ร้อยปี นะ
ไม่น่าเชื่อว่ายังเก็บไว้ได้นานขนาดนี้
(และไม่คิดว่าเขายังจะเก็บไว้)

เลื่อนลงมาเห็นคุกแล้ว ก็มีเคล็ดการก้าวเสียด้วย...
บรรยากาศนี้ มีโซ่ตรวนแขวน ให้จินตนาการไป
ไม่ต้องถึงกับอยู่ห้องกลางหรอก ยุคโน้นไม่มีแสงไฟ
กลางคืนนี่คงน่ากลัวพิลึก

// แต่คุก(ที่คุมขัง) สำหรับตัวเองแล้ว ที่คิดว่าน่ากลัวจริงๆ
คือ ทุ่งสังหาร อ่ะ ถึงกับนอนไม่หลับไปหลายคืนหลอนมาก

บ้านวงศ์บุรี ฉลุไม้สวยดีจัง ตอนแรกก็ดูทรงว่า
จะน่ามีอะไรไม่หม่นหมองนะ
พอเห็นคอมเมนต์ พี่ตุ๊ก โคราช บอกเรื่อง
หนังสือสัญญาทาส ...ขอเปลี่ยนความคิดละ !!!

ได้เห็นเขาเสวนาแลกเปลี่ยนกันด้วย ช่างถูกจังหวะดีจริง

ทีนี้ อยากถามความเห็นว่า ด้วยความที่ แป้ ยังสงบเงียบไร้กระแสถ่าโถม แบบเมืองอื่นเนี่ยคิดว่าควรเป็นแบบนี้ดีกว่าหรือไม่อ่ะ .... จะว่าจะได?

สุดท้ายแล้ว ปั๋นใจ ก็ไม่ประทับใจเท่า ขนมจีนที่อยุธยาสิน่าาา



โดย: กาบริเอล วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:16:07:59 น.  

 
ใหม่ เจริญปุระ อายุมากแล้วนะ
แต่ก็ยังเป็นน้องพี่อยู่หลายปี (พี่ สาว กว่าอีก 5555)

เพลงของคุณสุชาติ ชวางกูร ถ้าอัพ +40 ถึงจะคุ้น
แต่ร้องเพราะทุกชุดเลยนะ แล้วพี่จะอัพให้ฟังบ่อยๆจะได้ชิน




โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:4:08:01 น.  

 
ตัวเองงงง ทำยังไงให้คลิกเป็นรูปใหญ่อ่าาา


โดย: Close To Heaven วันที่: 13 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา:15:44:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ชีริว
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 89 คน [?]





**5 Latest Entries**
RedLife
เบตง
โดราเอม่อน ตอน ปืนหยั่งรู้ความคิด
ปัว-บ่อเกลือ
โดราเอมอน ตอน ฝาแฝดของโนบิตะ


Friends' blogs
[Add ชีริว's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.