สายัณห์ ต่ายหลี
Group Blog
 
All Blogs
 
เอกสารประกอบ บทบาทลูกเสือผู้ฝึกสอนและการเป็นผู้นำ / สายัณห์ ต่ายหลี



บทบาทลูกเสือผู้ฝึกสอนและการเป็นผู้นำ เอกสารประกอบ

ลูกเสือผู้ฝึกสอน

ลูกเสือผู้ฝึกสอน คือลูกเสือที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้บังคับบัญชาลูกเสือในการฝึกอบรมลูกเสือ

คุณสมบัติของลูกเสือผู้ฝึกสอน

1. ได้รับเครื่องหมายสายยงยศ(สายหนัง) หรือเครื่องหมายชาวเรือ หรือเครื่องหมายการบิน

อย่างใดอย่างหนึ่งมาแล้ว

2. มีลักษณะเป็นผู้นำ และปรารถนาที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้บังคับบัญชาลูกเสือในการฝึก

อบรมลูกเสือ

3.ผ่านการฝึกอบรมวิชาลูกเสือผู้ฝึกสอนมาแล้ว

4.ได้รับความยินยอมและสนับสนุนจากผู้ปกครองให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นลูกเสือผู้ฝึกสอนได้

5.ผ่านการทดลองการปฏิบัติหน้าที่ในกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่โดยเป็นผู้ช่วยผู้บังคับบัญชา

ลูกเสือให้การฝึกอบรมลูกเสือตามหลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือโลกมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน

6.ผู้กำกับกองลูกเสือที่ได้ทดลองปฏิบัติหน้าที่ตามข้อ 5รับรองว่าได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นที่พอใจ

7. มีความรู้ตามหนังสือ “การลูกเสือสำหรับเด็กชาย”พอสมควร

8.รู้จักหน้าที่ของผู้กำกับลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ และผู้บังคับบัญชาลูกเสือคนอื่นๆ

9. มีความรู้ความเข้าใจในระบบหมู่และการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานของกอง

ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

10.ยึดมั่นและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ

ลักษณะของลูกเสือผู้ฝึกสอน

ลูกเสือผู้ฝึกสอนควรจะต้องมีลักษณะดังนี้

1. มีบุคลิกลักษณะที่ดีมีความสง่า กล้าหาญ

2.มีความเป็นผู้นำและเชื่อมั่นในตนเอง

3. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และศึกษาหาความรู้ตลอดเวลา

4. มีความสามารถในการประสานงานและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

5. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีจิตใจร่าเริง แจ่มใส เป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั่วไป

6.มีความเป็นประชาธิปไตยยอมรับและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล

7.มีความประพฤติปฏิบัติตนเป็นที่ยอมรับ และเชื่อถือของบรรดาลูกเสือ และผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

8.มีความรับผิดชอบและปฏิบัติงานด้วยความเสียสละ

9. มีระเบียบวินัยปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ อย่างเคร่งครัด

10.มีความเคารพและเชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา

บทบาทของลูกเสือผู้ฝึกสอน

ลูกเสือผู้ฝึกสอนเป็นผู้ช่วยผู้บังคับบัญชาลูกเสือมีบทบาทภายในกองลูกเสือ3 ประการดังนี้

1. บทบาทต่องาน

2. บทบาทต่อกองลูกเสือ

3. บทบาทต่อบุคคล

1. บทบาทต่องาน คือการปฏิบัติงานภายในกองลูกเสือตามที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้

1.1 ด้านการฝึกอบรม

1.1.1 จัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์สำหรับการฝึกอบรมตามที่ได้รับมอบหมาย

1.1.2 ให้การฝึกอบรมลูกเสือตามที่ได้รับมอบหมาย

1.1.3เป็นที่ปรึกษาของหมู่ลูกเสือในระหว่างการฝึกอบรม

1.1.4ให้คำปรึกษาแก่หมู่ลูกเสือในระหว่างการอยู่ค่ายพักแรม

1.1.5วางแผนร่วมกับนายหมู่ลูกเสือในเรื่องความก้าวหน้าทางการลูกเสือของลูกเสือ

แต่ละคน

1.2 ด้านธุรการ

1.2.1 จัดทำบัญชีและทะเบียนต่างๆตามที่ได้รับมอบหมาย

1.2.2 จัดเก็บรักษาวัสดุ อุปกรณ์และสื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม

1.3 ด้านการปกครองโดยการประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ดังนี้

1.3.1 แต่งเครื่องแบบลูกเสือให้เรียบร้อยถูกต้องตามกฎกระทรวง

1.3.2 มีระเบียบวินัยตรงต่อเวลา

1.3.3เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ

1.3.4เคารพและเชื่อฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด

1.3.5 แนะนำตักเตือนลูกเสือให้อยู่ในระเบียบวินัยที่ดี

1.3.6ปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบและเสียสละ

1.3.7มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในสิ่งใหม่ๆ

2. บทบาทต่อกองลูกเสือ กองลูกเสือในที่นี้ หมายถึง บุคคลต่างๆ อันได้แก่ผู้กำกับลูกเสือรองผู้กำกับลูกเสือ นายหมู่ลูกเสือ รองนายหมู่ลูกเสือลูกเสือและลูกเสือผู้ฝึกสอนที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในกองลูกเสือนั้นๆ ลูกเสือผู้ฝึกสอนมีภาระที่จะต้องส่งเสริมให้กองลูกเสือมีสิ่งต่อไปนี้คือ

2.1 อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

2.2 มีความสามัคคี

2.3 ประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

2.4 ภาคภูมิใจในเกียรติของกองลูกเสือ

2.5 ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม

3. บทบาทต่อบุคคล ลูกเสือผู้ฝึกสอนมีบทบาทต่อบุคคลต่างๆภายในกองลูกเสือดังนี้

3.1 ต่อผู้กำกับลูกเสือและรองผู้กำกับลูกเสือ

3.1.1เคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด

3.1.2 ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความเสียสละและรับผิดชอบ

3.1.3 เสนอความคิดเห็นต่างๆเพื่อพัฒนากิจการของกองลูกเสือ

3.1.4รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมข้อเสนอแนะ ปัญหาและอุปสรรค

3.1.5ประสานงานระหว่างผู้บังคับบัญชาลูกเสือกับบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

3.1.6ขอคำปรึกษาเมื่อมีปัญหาและอุปสรรค

3.2 ต่อนายหมู่และรองนายหมู่ลูกเสือ

3.2.1ร่วมกันวางแผนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

3.2.2 ส่งเสริมให้นายหมู่ลูกเสือมีภาวะการเป็นผู้นำของหมู่อย่างแท้จริง

3.2.3ให้คำปรึกษาเมื่อมีปัญหาและอุปสรรค

3.2.4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับทุกคน

3.2.5 ร่วมมือกับนายหมู่ลูกเสือส่งเสริมให้ลูกเสือทุกคนมีความก้าวหน้าทางการลูกเสือ

3.3ต่อลูกเสือ

3.3.1ส่งเสริมให้ลูกเสือทุกคนประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติกิจกรรม

3.3.2ส่งเสริมให้ลูกเสือแต่ละคนมีความก้าวหน้าทางการลูกเสือ

3.3.3ให้คำปรึกษาเมื่อมีปัญหาและอุปสรรค

3.3.4ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของลูกเสือ

3.3.5ทำการประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมทั้งเป็นบุคคลและเป็นหมู่

ภาพที่ 4.1 แสดงบทบาทของลูกเสือผู้ฝึกสอน

บทบาทของลูกเสือผู้ฝึกสอน คือหน้าที่ที่ลูกเสือผู้ฝึกสอนจะต้องปฏิบัติซึ่งสามารถสรุปโดยย่อได้ดังนี้

1.เป็นผู้ช่วยผู้บังคับบัญชาลูกเสือในการฝึกอบรมลูกเสือ

2.เป็นที่ปรึกษาของหมู่ลูกเสือในกองที่ตนเองรับผิดชอบ

3.เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกเสือในด้านต่างๆ เช่น การแต่งเครื่องแบบ ความอดทน

ความซื่อสัตย์สุจริตการมีระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา เป็นต้น

4. รักษาชื่อเสียงของกองลูกเสือและกลุ่มลูกเสือ

5. ให้คำแนะนำแก่ลูกเสือในการปฏิบัติตามระเบียบกฎ ข้อบังคับต่างๆ อย่างถูกต้อง

6. ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและทบทวนความรู้เดิมอยู่เสมอ

7. ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาลูกเสือด้วยความเคารพและจริงใจ

8. ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความเสียสละและรับผิดชอบ

9. เก็บ บำรุงรักษาดูแลวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรมให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี

10. ประสานงานกับบุคคลต่างๆ

11.ปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม

12.ยึดมั่นและปฏิบัติตามคำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ

ความต้องการในการฝึกอบรมของลูกเสือผู้ฝึกสอน

เพื่อให้ลูกเสือผู้ฝึกสอนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาการต่างๆของการลูกเสือจนเกิดทักษะในการที่จะสามารถปฏิบัติงานตามบทบาทและหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพลูกเสือผู้ฝึกสอนจะต้องได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ในเรื่องต่อไปนี้

1.ความรู้ความเข้าใจในเรื่องกิจการลูกเสือ ได้แก่

1.1 สาระสำคัญของการลูกเสือ

1.2 กิจการขอองค์การลูกเสือโลก

1.3 กิจการของคณะลูกเสือแห่งชาติ

1.4 คำปฏิญาณและกฎของลูกเสือ

1.5ระบบหมู่และคณะกรรมการดำเนินงานของกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่

2.ความรู้ด้านทักษะเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่

2.1 การให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่ลูกเสือ

2.2 การทำงานร่วมกับลูกเสือแต่ละคน

2.3 การส่งเสริมความมีน้ำใจในหมู่คณะ

2.4 การประสานงานกับนายหมู่ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

3. ความรู้ด้านทักษะเกี่ยวกับวิชาการลูกเสือได้แก่

3.1 การอยู่ค่ายพักแรม

3.2 การบุกเบิก

3.3 การเดินทางไกล และการเดินทางสำรวจ

3.4 การปฐมพยาบาล

3.5 การผจญภัย

3.6 ระเบียบแถวลูกเสือ

4.ความรู้ด้านทักษะเกี่ยวกับการวางแผน ได้แก่

4.1 ความคิดริเริ่ม

4.2 การประชุมวางแผนร่วมกับนายหมู่ลูกเสือและผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

4.3การวางแผนกับหมู่ลูกเสือเพื่อปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ

5. ความรู้ด้านทักษะเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและการนำไปใช้ ได้แก่

5.1 วิธีสอนแบบต่างๆ

5.2 การจัดการค่ายพักแรม

5.3 การประชุมกองลูกเสือ

5.4การเก็บและบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์ในการฝึกอบรม และการจัดทำทะเบียนต่างๆ

การพัฒนาตนเองของลูกเสือผู้ฝึกสอน

การที่ลูกเสือผู้ฝึกสอนจะมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ด้านต่างๆทั้ง 5 ประการจนเกิดทักษะ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลูกเสือผู้ฝึกสอนจะต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถอยู่เสมอ แนวทางในการพัฒนาตนเองของลูกเสือผู้ฝึกสอนมีดังนี้

1. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ได้แก่

1.1 ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ ตำรา คู่มือวารสารที่เกี่ยวกับวิชาการทางลูกเสือ เช่น หนังสือเงื่อนลูกเสือ คู่มือการบุกเบิกคู่มือระเบียบแถวลูกเสือ คู่มือแผนที่ –เข็มทิศ เป็นต้น

1.2 ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ ตำรา คู่มือและวารสารอื่นๆ เช่นหนังสือแผนที่ดาว

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเป็นต้น

1.3ร่วมปฏิบัติงานกับลูกเสือผู้ฝึกสอนที่มีความชำนาญ

1.4 ศึกษาจากการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ

2. การฝึกอบรมที่ไม่เป็นพิธีการ ได้แก่

2.1การขอคำแนะนำจากผู้บังคับบัญชาลูกเสือเฉพาะเรื่อง เช่น ระเบียบแถวลูกเสือ

การเดินทางสำรวจการใช้เข็มทิศ การอยู่ค่ายพักแรม เป็นต้น

2.2 การฝึกทบทวนความรู้ต่างๆ ก่อนการปฏิบัติจริง

2.3 การรับฟังคำวิจารณ์ผลการปฏิบัติงานเพื่อนำข้อบกพร่องมาปรับปรุงการปฏิบัติงาน

ในครั้งต่อไป

3. การช่วยเหลือเฉพาะตัว นอกจากผู้บังคับบัญชาลูกเสือจะเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือแล้วลูกเสือผู้ฝึกสอนควรจะมีลูกเสือผู้ฝึกสอนรุ่นพี่ที่มีความรู้ชำนาญไว้เป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาต่างๆ

4. การเข้ารับการฝึกอบรม ลูกเสือผู้ฝึกสอนควรหาโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมในเรื่องต่างๆตามโอกาสอันเหมาะสม ดังนี้

4.1 การฝึกอบรมลูกเสือบรรเทาสาธารณภัย

4.2 การฝึกอบรมลูกเสือจราจร

4.3 การฝึกอบรมลูกเสือพยาบาล

4.4 การฝึกอบรมลูกเสือป่าไม้

4.5 การฝึกอบรมลูกเสือราชประชานุเคราะห์

ฯลฯ

ผู้นำในกองลูกเสือ

ผู้นำภายในกองลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่แบ่งเป็นลำดับขั้นได้ดังนี้

1. ผู้กำกับลูกเสือ คือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำของกองลูกเสือโดยมีรองผู้กำกับลูกเสือ 1 คน หรือหลายคนเป็นผู้ช่วย หน้าที่ของผู้กำกับลูกเสือ มีดังต่อไปนี้

1.1 ฝึกอบรมลูกเสือให้มีความรู้ตามหลักสูตรและเครื่องหมายวิชาพิเศษตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ

1.2 บังคับบัญชาและรับผิดชอบกิจการในกองลูกเสือของตน

1.3 แต่งตั้งนายหมู่ลูกเสือโดยหารือกับลูกเสือในหมู่นั้นและแต่งตั้งรองนายหมู่ลูกเสือโดย

หารือกับนายหมู่ลูกเสือของหมู่นั้น

1.4 แต่งตั้งหัวหน้านายหมู่ลูกเสือ 1 คนและผู้ช่วยหัวหน้านายหมู่ลูกเสือ 1-3 คน โดยหารือนายหมู่ลูกเสือภายในกองลูกเสือของตน

1.5 พิจารณาอนุมัติและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของกองลูกเสือ

1.6เป็นที่ปรึกษาของที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานของกองลูกเสือ

1.7 รับผิดชอบในเรื่องเกี่ยวกับวินัยและการรับและรายจ่ายเงินของกองลูกเสือ

1.8 ฝึกอบรมนายหมู่ลูกเสือ

1.9 ทำแผนปฏิบัติงาน เพื่อจัดสรรงบประมาณประจำปีของกองลูกเสือ

1.10 วางแผนปฏิบัติงานและกำหนดการปฏิบัติกิจกรรมของกองลูกเสือ

1.11 ส่งเสริมให้ลูกเสือได้รับเครื่องหมายวิชาพิเศษเครื่องหมายสายยงยศ เข็มลูกเสือบำเพ็ญประโยชน์ และอื่นๆ ตามควรแก่กรณี

1.12พัฒนาตนเองและสนับสนุนส่งเสริมให้รองผู้กำกับลูกเสือมีความรู้และวุฒิสูงขึ้น

1.13ประพฤติและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือและลูกเสือทั่วไป

1.14ประสานงานกับผู้บังคับบัญชาลูกเสือคนอื่นภายในกลุ่มลูกเสือเดียวกัน

1.15ติดต่อประสานสัมพันธ์กับผู้ปกครองของลูกเสือ และหน่วยงานในชุมชน

2. หัวหน้านายหมู่ลูกเสือ คือ ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้กำกับลูกเสือภายในกองลูกเสือนั้นๆโดยมีผู้ช่วยหัวหน้านายหมู่ลูกเสือ 1-3 คน เป็นผู้ช่วย หน้าที่ของหัวหน้านายหมู่ลูกเสือ มีดังต่อไปนี้

1.เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงานของกองลูกเสือ ซึ่งมีการประชุมอย่างน้อย เดือนละ

1ครั้ง

2.วางแผนปฏิบัติกิจกรรมของกองลูกเสือ

3. บริหารกิจการภายในกองลูกเสือ

4.เป็นผู้แทนของกองลูกเสือในการติดต่อกับบุคคลภายนอก

5. พัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถก้าวหน้าอยู่เสมอ

6.ประพฤติและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บรรดาลูกเสือทั้งปวง

3. นายหมู่ลูกเสือ คือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้กำกับกองลูกเสือให้เป็นผู้นำของลูกเสือภายในหมู่โดยมีรองนายหมู่ลูกเสือเป็นผู้ช่วย หน้าที่ของนายหมู่ลูกเสือมีดังต่อไปนี้

1. เป็นกรรมการฝ่ายต่างๆในคณะกรรมการดำเนินงานของกองลูกเสือ ซึ่งมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

2.ปกครองและฝึกอบรมลูกเสือภายในหมู่

3.เป็นประธานในการประชุมสมาชิกภายในหมู่ลูกเสือ

4.วางแผนกำหนดการและปฏิบัติตามแผนนั้น เช่น การเดินทางไกล การอยู่ค่ายพักแรม

5.พัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถและก้าวหน้าอยู่เสมอ

6.รักษาระเบียบวินัยของกองลูกเสือ

7.ประพฤติและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บรรดาลูกเสือทั้งปวง

แบบของการเป็นผู้นำ

ลักษณะของผู้นำ แบ่งออกเป็น 3 แบบ ดังนี้

1. ผู้นำแบบอัตตาธิปไตย มีลักษณะดังนี้

1.1 ผู้นำเป็นผู้กำหนดนโยบายและวิธีการปฏิบัติแต่เพียงผู้เดียว

1.2 ผู้นำจะเป็นผู้วางแผน จัดการ บริหารงานตัดสินใจและทำทุกอย่างให้กับสมาชิก

1.3 ใช้วิธีสั่งการไม่มีใครรู้ล่วงหน้า

1.4 สมาชิกทุกคนปฏิบัติตามคำสั่งและวิธีการที่กำหนดให้

1.5 ผู้นำจะติดต่อกับสมาชิกเป็นการเฉพาะตัวไม่เป็นแบบส่วนรวม

ข้อดี

1. เหมาะกับเรื่องที่เป็นข้อบังคับ ระเบียบและพิธีการต่างๆ

2.ได้ผลดีในระยะสั้น ได้ผลงานเร็ว

3. เหมาะสมกับการปกครองในระยะแรก ซึ่งต้องการในเรื่องของการเชื่อฟังและ

ความพร้อมเพียง

4. เหมาะต่อการให้ความช่วยเหลือเฉพาะคนซึ่งอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง

ข้อจำกัด

1. ทุกคนไม่ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนและแก้ปัญหา

2. ขาดความร่วมมือและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

3. สมาชิกจะขาดความรับผิดชอบ รอฟังแต่การสั่งการ

2. ผู้นำแบบประชาธิปไตย มีลักษณะดังนี้

2.1 นโยบายต่างๆ จะถูกกำหนดโดยสมาชิกทุกคนหรือตัวแทนของสมาชิก

2.2 ผู้นำจะทำหน้าที่เป็นผู้คอยเสนอแนะให้การปรึกษาเพื่อส่งเสริมให้สมาชิกสามารถเลือก

และตัดสินใจได้

2.3 สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการวางแผนและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

2.4การแบ่งงานและภาระหน้าที่เกิดจากการประชุมมอบหมายให้ตามความสามารถของ

แต่ละบุคคล

ข้อดี

1. สมาชิกทุกคนต่างมีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติงานและแก้ปัญหาร่วมกัน

2. ทุกคนถือว่าตนเองเป็นสมาชิกจึงมีความรับผิดชอบร่วมกัน

ข้อจำกัด

1. สมาชิกทุกคนต้องมีระเบียบวินัยและมีความรับผิดชอบสูง

2. สมาชิกจะต้องได้รับการฝึกในเรื่องการแสดงความคิดเห็นและการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีจิตใจเป็นประชาธิปไตย

3. ผู้นำแบบตามสบาย มีลักษณะดังนี้

3.1 ผู้นำมีส่วนร่วมในกิจกรรมน้อยมากปล่อยให้สมาชิกทุกคนตัดสินใจได้โดยอิสระ

3.2 ผู้นำจะวางเฉย และจะให้คำแนะนำหรือความช่วยเหลือเมื่อได้รับการร้องขอเท่านั้น

3.3 ไม่ยึดระเบียบ กฎเกณฑ์ หรือข้อบังคับใดๆ

ข้อดี

1. สมาชิกทุกคนได้ใช้ความรู้ความสามารถและความคิดของตนเองอย่างเป็นอิสระ

2. เหมาะสมกับงานที่ต้องการความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ข้อจำกัด

1. ถ้าขาดความรับผิดชอบจะทำให้ขาดระเบียบวินัย

2. ไม่เหมาะกับกิจกรรมที่เป็นพิธีการหรือเรื่องที่เกี่ยวกับระเบียบกฎ ข้อบังคับ

ข้อสังเกตของภาวะการเป็นผู้นำทั้ง3 แบบ ในกองลูกเสือ

ผู้นำในกองลูกเสือจะเลือกใช้ภาวะการเป็นผู้นำแบบใดย่อมขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และประเภทของกิจกรรม เช่น

1. แบบอัตตาธิปไตยอาจนำมาใช้กับกิจกรรมที่ต้องการผลงานเร็วในเวลาสั้นๆหรือในสถานการณ์ที่เป็นอันตราย หรือต้องการความรวดเร็วและความพร้อมเพียง

2. แบบประชาธิปไตย ใช้กับกิจกรรมที่ต้องการส่งเสริมให้ลูกเสือรู้จักการวางแผนทำงานและแก้ปัญหาต่างๆร่วมกัน รวมทั้งการมีระบบหมู่ที่ดี เช่น การเดินทางไกล การอยู่ค่ายพักแรมการบุกเบิก การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานของกองลูกเสือ เป็นต้น

3. แบบตามสบายใช้กับกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ลูกเสือได้ใช้ความรู้ ความสามารถของตนเองอย่างอิสระส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เช่น การตกแต่งค่ายพักแรม งานฝีมืองานศิลปะ

และวิชาพิเศษต่างๆ




Create Date : 19 กันยายน 2561
Last Update : 19 กันยายน 2561 15:09:38 น. 0 comments
Counter : 17792 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 4744895
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




สายัณห์ ต่ายหลี
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 4744895's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.