Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
1 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
เขื่อนแก่งเสือเต้นจะเป็นเหยื่อรายต่อไป‏


     โลกกำลังวิปริตแปรปรวนอย่างขนานหนัก มากขึ้นทุกขณะ ทั้งภัยที่เกิดจากธรรมชาติ และภัยที่เกิดจากมนุษย์ และภัยที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ที่ทำลายธรรมชาติ ที่แล้งก็แล้งอย่างหนัก ที่ไม่เคยแล้งก็เริ่มที่จะแล้ง ที่หนาวก็เริ่มที่จะหนาวหนักยิ่งขึ้น ที่ร้อนก้จะยิ่งร้อนยิ่งขึ้น ไหนจะแผ่นดินไหว แผ่นดินแยก ไหนจะแผ่นดินทรุด ดินโคลนถล่ม อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

การไฟฟ้าบอกสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันน้ำท่วม แต่น้ำก็ยังท่วม ไม่ใช่ด้วยน้ำป่าแต่เป็นน้ำขัง น้ำทะเลหนุน

การไฟฟ้าบอกสร้างเขื่อนเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งเพื่อการเกษตร แต่ไม่มีน้ำให้เก็บเนื่องจากไม่มีฝน เพราะป่าไม้ถูกทำลาย

เสร็จการไฟฟ้าบอกไฟฟ้าไม่พอใช้ ต้องสร้างเขื่อนอีก ป่าไม้ก็ถูกทำลายฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาลอีก


ถามว่า...เมื่อไรจะพอ รอจนป่าไม้หมดไป ไม่มีน้ำ ก็ไม่มีไฟ

แก่งเสือเต้น จะเป็นเหยื่อรายต่อไป

ถามว่า...หากป่าก็หมดไป น้ำก็จะไม่มีให้ปั่นกระแสไฟฟ้า ใครเป้นผู้คิด คนนั้นจะรับผิดชอบหรือไม่

     บทความต่อไปนี้ คือความเป็นจริงที่น่าสนใจ "สนามหลวงแก็งค์" ขออนุญาตนำลงเผยแพร่ เพื่อปลุกประชาชนให้ลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิประโยชน์ และรักษาป่าไม้ที่ใกล้จะหมดลงไปทุกขณะ เนื่องจากผู้ที่ต้องการกอบโกยผลประโยชน์จากความหายนะของธรรมชาติ




ทางเลือก ๕ ประการ โดยไม่ ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น

บทความข่าวสดวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม 2545

ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

     ไม่ว่าแล้งนี้หรือแล้งไหนสิ่งที่มักปรากฏขึ้นในสังคมไทยก็คือ เราจะเห็นนักสร้างเขื่อนดาหน้าออกมาผลักดันโครงการเขื่อนที่พวกเขาหมายมั่น ปั้นมือว่าจะสร้างให้ได้โดย อาศัยสถานการณ์หน้าแล้งมาช่วยสร้างความชอบธรรม ด้วยการทำให้สังคมไทยกลัวภัยความแห้งแล้งแล้วก็ยัดเยียดให้เชื่อว่า “เขื่อน” เป็นคำตอบสุดท้าย

เขื่อนแก่งเสือเต้นที่กำลังถูกผลักดันในแล้งนี้เป็นตัวอย่างได้ดี

ความจริงแล้ว องค์ความรู้จากทั่วโลกยืนยันแล้วว่า “เขื่อนไม่ได้ผล คนจนต้องแบกรับภาระ” โดยเฉพาะรายงานของคณะกรรมการเขื่อนโลกที่ก่อตั้งโดยธนาคารโลก และสหพันธ์เพื่อการอนุรักษ์นานาชาติที่ระบุว่า เขื่อนทั่วโลกล้วนแต่ไม่เคยบรรลุเป้าหมายตามที่วางไว้ ซึ่งรวมถึงประโยชน์ด้านการชลประทานและการป้อนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค (สามารถดูงานวิจัยจากทั่วโลกนี้ได้จาก www.dams.org)

สำหรับประเทศไทยเรา ตัวอย่างของความไม่มีประสิทธิภาพของเขื่อนนั้นดูได้ในหลายกรณี ดังเช่น เขื่อนเชี่ยวหลานทางภาคใต้ที่อ้างเมื่อตอนสร้างว่าจะทำให้เกิดพื้นที่ชล ประทานมากกว่าแสนไร่ แต่ทุกวันนี้ไม่มีพื้นที่ชลประทานแม้แต่ไร่เดียว ซึ่งก็คล้ายคลึงกับเขื่อนปากมูลที่ตอนอนุมัติโครงการระบุว่าจะตอบสนองน้ำแก่ พื้นที่ชลประทานมากกว่า ๑๖๐,๐๐๐ ไร่ แต่ทุกวันนี้ยังหาพื้นที่ชลประทานของเขื่อนไม่เจอแม้แต่ตารางนิ้วเดียว

ที่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ก็คือ จังหวัดกาญจนบุรี ที่ทุกแล้งยังต้องนำรถน้ำไปแจกจ่ายน้ำให้ประชาชน แม้ว่ากาญจนบุรีได้ชื่อว่าเป็นสลัมเขื่อนเพราะมีเขื่อนที่ถูกสร้างขึ้นใน จังหวัดนี้ถึง ๔ เขื่อน

ที่ร้ายกว่านั้นก็คือ ในบางกรณี น้ำจากเขื่อนก็มิได้หมายความว่านำความอุดมสมบูรณ์มาให้ชาวบ้าน แต่กลับนำหายนะมาแทน ดังเขื่อนราษีไศลที่น้ำในเขื่อนเค็มจนไม่สามารถนำมาใช้ในการเกษตรหรืออุปโภค บริโภคได้ จนกระทั่งรัฐบาลเห็นด้วยกับการเปิดประตูเขื่อนตามข้อเรียกร้องของชาวบ้าน หรือเขื่อนปากมูลที่ปรากฏว่า หลังการสร้างเขื่อน มีน้ำเยอะก็จริง แต่น้ำนั้นก็ไร้ซึ่งประโยชน์ เพราะอย่าว่าแต่จะใช้ดื่มกินเลย แม้แต่ จะลงไปอาบหรือหาปลาเหมือนก่อนก็ไม่ได้เพราะน้ำเน่าเสีย ทำให้ชาวบ้านต้องแบกรับภาระค่าน้ำประปาซึ่งเป็นต้นทุนที่ไม่ได้คิดมาก่อน หลังจากเปิดประตูเขื่อนทั้งสอง ขณะนี้ชาวบ้านก็ได้หันมาใช้น้ำมูนอีกครั้ง ไม่ว่าใช้อุปโภคบริโภค การได้กลับไปอาศัยบ่อน้ำสร้างสำหรับดื่มกิน

ในทางนิเวศวิทยา เขื่อนไม่เพียงแต่ทำลายระบบนิเวศน์แม่น้ำเท่านั้น แต่เขื่อนยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการระบาดของพันธุ์พืชและสัตว์ต่าง ถิ่นโดยเฉพาะหอยเชอรี่ ผักตบชวา และไมยราบยักษ์ ที่กลายมาเป็นปัญหาเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมที่แก้ไม่ตก ซึ่งดูได้จากเขื่อนปากมูล เขื่อนราษีช่วงเก็บกักน้ำ และเขื่อนอื่นๆ อีกหลายแห่งในประเทศ ซึ่งปัญหานี้ นักสร้างเขื่อนไม่เคยตระหนักถึง

นอกจากนั้น เขื่อนขนาดใหญ่ยังต้องลงทุนมหาศาล โดยที่สังคมไทยต้องแบกรับภาระต้นทุนนี้โดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างก็คือ เขื่อนชุด ๑๔ เขื่อนในโครงการผันน้ำ-โขง-ชี-มูล ที่อ้างว่าจะทำให้อีสานเขียว ขณะนี้โครงการดังกล่าวใช้เงินไปมากกว่า ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท ขณะที่ตอบสนองต่อพื้นที่ชลประทานได้เพียง ๑๐,๐๐๐ ไร่ หรือคิดแล้วลงทุนไปไร่ละ ๑ ล้านบาท!!! แพงพอๆ กับกองทุนหมู่บ้านเลยทีเดียว

บทเรียนเหล่านี้ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า “เขื่อนได้ไม่คุ้มเสีย” จนกระทั่งนักวิชาการบางท่านกล่าวว่า เขื่อนคือการจัดการน้ำที่หยาบคายที่สุดในโลก แต่เขื่อนก็ยังถูกผลักดันจากนักสร้างเขื่อนและนักการเมืองต่อไป นั่นก็เป็นเพราะความเชื่อทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับขนาดโครงการ (Economy of scale) ที่ว่า “โครงการยิ่งมีขนาดใหญ่เท่าใด ก็ยิ่งดีเท่านั้น” และมายาคตินี้ก็ทำให้นักสร้างเขื่อนมองข้ามแนวทางอื่นๆ ในการจัดการน้ำ

ด้วยบทเรียนดังกล่าวข้างต้นนี้เอง ชาวบ้านและองค์กรพัฒนาเอกชนจึงได้เสนอแนวทางการจัดการน้ำโดยไม่ต้องสร้าง เขื่อนมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเขื่อนแก่งเสือเต้นที่กำลังเกิดความขัดแย้งในขณะ นี้ แต่อธิบดีกรมชลประทานทุกยุคทุกสมัยก็ไม่เคยสนใจ

เพื่อย้ำอีกครั้งว่านักอนุรักษ์มิได้เอาแต่คัด ค้านเขื่อน ดังนั้นจึงใคร่สรุปทางเลือกในการจัดการน้ำโดยยกกรณีลุ่มน้ำยมมาเสนอต่อสังคม ไทยอีกครั้งว่า มีทางเลือกมากมายที่ไม่ต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ดังต่อไปนี้


๑.การฟื้นฟูพื้นที่ชุมน้ำ

แนวความคิดหลักในการจัดการลุ่มน้ำที่ควรนำมา พิจารณาก็คือ การจัดการโดยการคิดบนฐานของภูมินิเวศของแม่น้ำ หากคิดบนฐานนี้แล้ว ก็จะเข้าใจได้ว่า “น้ำแล้ง-น้ำท่วม” ในเขตลุ่มแม่น้ำยม สามารถจัดการได้เพราะธรรมชาติได้สร้างสมดุลตามธรรมชาติให้แล้วนั่นก็คือ แม่น้ำสายนี้มีระบบนิเวศน์ที่เรียกว่า “ที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงลุ่มน้ำยม” หรือ Yom River Flood-plain และพื้นที่ชุ่มน้ำอื่นๆ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วไปตลอดลุ่มน้ำ ตั้งแต่สุโขทัยลงไปจนถึงพิจิตร เฉพาะพิจิตรจังหวัดเดียวก็มีบึงมากกว่า ๓,๐๐๐ แห่ง

พื้นที่ชุ่มน้ำและที่ราบลุ่มน้ำยมนี้ได้หล่อเลี้ยงชีวิตคนลุ่มน้ำนี้มาช้านาน จากการทำหน้าที่กักเก็บน้ำในฤดูน้ำหลากและค่อยๆ ปล่อยออกมาคล้ายกับฟองน้ำ ใน ฤดูแล้งก็มีน้ำใช้ แหล่งน้ำธรรมชาติเหล่านี้ยังเป็นแหล่งหากิน วางไข่ และที่อยู่อาศัยของปลา ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของชาวบ้าน กล่าวได้ว่า สังคมแถบนี้พัฒนาขึ้นมาเป็นบ้านเป็นเมืองได้ดังปัจจุบันก็เพราะความอุดม สมบูรณ์ของลุ่มน้ำยมนั่นเอง

แต่ปัจจุบัน ความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำยมลังถูกคุกคามอย่างหนักเนื่อง มาจากการใช้ที่ดินผิดประเภทและการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในเขต พื้นที่ชุ่มน้ำและที่ราบลุ่มแม่น้ำยม ซึ่งรวมถึงถนน สถานที่ราชการ นิคมอุตสาหกรรม และหมู่บ้านจัดสรร บึงหลายแห่งถูกถมและยึดครองทั้งจากเอกชนและหน่วยงานราชการ ในบางพื้นที่ยังปรากฏว่ากรมชลประทานเองก็ได้เข้าไปทำลายพื้นที่เหล่านี้โดย การทำคันดินล้อมรอบ ทำให้ระบบของพื้นที่ชุ่มน้ำกลายสภาพเป็นบ่อน้ำที่ทำให้ระบบการไหลของน้ำตัด ขาดออกจากระบบแม่น้ำ ผลที่ตามมาก็คือพื้นที่ชุ่มน้ำและที่ราบลุ่มแม่น้ำยมไม่สามารถทำหน้าที่ ป้องกันน้ำท่วมได้เนื่องจากไม่มีที่พักน้ำ ทำให้น้ำไหลท่วมลงด้านล่างของลุ่มน้ำยมรวมทั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยาอย่างรวดเร็ว และทำให้ความเสียหายจากน้ำท่วมมีความรุนแรงมากขึ้น และเมื่อถึงฤดูแล้ง พื้นที่ชุ่มน้ำเหล่านี้จึงขาดแคลนน้ำ

การฟื้นฟูที่ราบลุ่มแม่น้ำยมสามารถทำได้โดยการขุดลอกคูคลองที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำกับ หนองบึง การหยุดยั้งการบุกรุกพื้นที่ชุ่มน้ำรวมทั้งหยุดสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำยม การกำหนดการใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้เหมาะสม เช่น เป็นที่ท่องเที่ยว เป็นแหล่งประมง เขตอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การแนะนำให้เกษตรกรปลูกพืชอายุสั้นหรือพืชไม่หิวน้ำในฤดูแล้ง/และพันธุ์ข้าว ขึ้นน้ำในฤดูฝนให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และฤดูกาล นอกจากนั้นยังต้องมีมาตรการอื่นเพื่อป้องกันน้ำท่วมด้วย เช่น การยกถนนให้สูงขึ้นหรือเจาะถนนไม่ให้กีดขวางทางน้ำ การสร้างบ้านเรือนให้อย่างน้อยที่สุดชั้นล่างสุดต้องสูงกว่าระดับน้ำท่วมสูง สุด การกำหนดให้เป็นเขตเสี่ยงภัยจากน้ำท่วม เป็นต้น

การฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำนี้จะเป็นประโยชน์ทั้ง การบรรเทาปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งในลุ่มน้ำยมตอนล่างได้ไปพร้อมๆ กัน เฉพาะที่ราบลุ่มแม่น้ำยมเพียงที่เดียวก็เป็นที่พักน้ำที่สามารถพักน้ำไม่ให้ ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาพร้อมกันถึง 500-1,500 ล้านลูกบาศก์เมตร และน้ำเหล่าก็จะทำให้น้ำยมไหลตลอดปีให้ประชาชนสามารถใช้กัน ซึ่งคิดแล้วเป็นปริมาณที่มากกว่าที่เขื่อนแก่งเสือเต้นจะกักเก็บได้เสียอีก) นอกจากนั้นยังเกิดแหล่งอาหารตามธรรมชาติให้ชาวบ้านอีกด้วย

ตัวอย่างการใช้ที่ราบลุ่มแม่น้ำในการป้องกันน้ำท่วมและแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำก็คือ U.S.Army Corp. of Engineer ได้ใช้ที่ราบลุ่มแม่น้ำชาร์ลส์(Charles River Flood-plain) ในมลรัฐแมสซาซูเส็ทท์ในการป้องกันน้ำท่วมหลังจากการศึกษาพบว่า ที่ราบลุ่มแม่น้ำชาร์ลส์พื้นที่ 3,800 แฮคแตร์(23,750 ไร่ หรือเล็กกว่าที่ราบลุ่มแม่น้ำยม 15 เท่า)ช่วยป้องกันน้ำท่วมได้ จากการที่เมื่อมีการพัฒนาพื้นที่ 40% ได้เกิดความเสียหายจากน้ำท่วมเพิ่มขึ้นเสียหายถึงปีละ 3 ล้านเหรียญ และคาดว่าถ้าหากมีการพัฒนาพื้นที่ทั้งหมดแล้ว ความเสียหายจากน้ำท่วมจะเพิ่มขึ้นได้ถึงปีละ 17 ล้านเหรียญ ในการแก้ปัญหาน้ำท่วมนี้ U.S.Army Corp. of Engineer ได้ใช้งบประมาณเพียงปีละ 1.9 ล้านเหรียญในการฟื้นฟูที่ราบลุ่มแม่น้ำชาร์ลส์ การฟื้นฟูที่ราบลุ่มแม่น้ำชาร์ลส์นอกจากแก้ปัญหาน้ำท่วมแล้ว ยังสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ โดยที่ราบลุ่มแห่งนี้สามารถเป็นแหล่งน้ำตื้นใต้ดินตอบสนองน้ำอุปโภคบริโภคใน ชุมชน 60 แห่งที่มีประชากรรวม 750,000 คน

ตัวอย่างข้างต้นนั้น สะท้อนให้เห็นได้ว่า การแก้ปัญหาบนพื้นฐานของภูมินิเวศน์นั้นเป็นทางออกที่ดี แม้แต่ประเทศที่เป็ฯเจ้าเทคโนโลยีเขื่อนก็ยังหันหลังให้กับเขื่อนมาดำเนิน การในแนวทางนี้ แล้วทำไมประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่เขตร้อนและมีพื้นที่ชุ่มน้ำมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ห้วย หนอง คลอง บึง กุด ป่าพรุ ฯลฯ จึงไม่ลองคิดดูกัน เพราะหากจัดการให้ดีโดยไม่เข้าไปทำลายก็จะมีน้ำใช้ไปชั่วลูกชั่วหลาน


๒.การจัดการทางด้านความต้องการ(Demand Side Management)

สาเหตุประการหนึ่งของการขาดแคลนน้ำที่นักสร้างเขื่อนไม่เคยกล่าวถึงก็คือ การขาดแคลนน้ำเกิดจากการที่รัฐเข้าไปสร้างระบบ ชลประทานที่ไร้ประสิทธิภาพ ประกอบกับการส่งเสริมให้ชาวบ้านทำนาปรังในฤดูแล้งโดยไม่ได้พิจารณาศักยภาพ ของทรัพยากรน้ำ เมื่อสองสิ่งนี้มาบรรจบกันก็ทำให้เกิดปรากฏการณ์ของการขาดแคลนน้ำ ดังนั้นพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำและมีความขัดแย้งจนแย่งชิงน้ำกันนั้น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นลุ่มน้ำที่มีการ สร้างเขื่อนหรือพื้นที่ที่ชลประทานที่รัฐเข้าไปดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำและ สนับสนุนการเกษตรฤดูแล้ง จนน้ำไม่พอความต้องการ จนรัฐต้องห้ามปรามการทำนาปรัง

แต่การจะห้ามนี้ก็ยากยิ่งเพราะรัฐเข้าไปสนับสนุนตั้งแต่แรก ข้อเท็จจริงนี้ดูได้จากลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่มีการส่งเสริมการชลประทานและการ เกษตรแบบเข้มข้นได้เป็นอย่างดี หรือกรณีชาวบ้านลุ่มน้ำพรมที่ทางการได้สร้างเขื่อนใหญ่ถึง ๒ เขื่อนทางต้นน้ำคือเขื่อนจุฬาภรณ์และเขื่อนห้วยกุ่ม อีกทั้งยังมีฝายทางตอนล่างอีกหลายแห่ง ปรากฏว่าเมื่อมีโครงการเหล่านี้ น้ำในลำน้ำพรมก็หายไปจนทำให้ชาวบ้านต้องแย่งน้ำกัน และรวมกันเดินตามน้ำที่เรียกว่า “ขบวนการตามน้ำ” จนในที่สุดก็พบว่าน้ำไปเพราะอยู่ในเขื่อนหมดจนไม่เหลือลงมาเลี้ยงชีวิตชาว บ้าน

สำหรับในลุ่มแม่น้ำยม ปัจจุบันลุ่มน้ำนี้มีระบบชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลาง 24 แห่ง ระบบชลประทานขนาดเล็ก 220 แห่ง บ่อน้ำตื้น 240 บ่อ และระบบสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้าของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน 26 แห่ง รวมพื้นที่ชลประทาน 1,117,465 ไร่ ระบบชลประทานเหล่านี้ล้วนแต่มีประสิทธิภาพต่ำ กล่าวคือ ประสิทธิภาพเฉลี่ยระบบชลประทานของกรมชลประทานมีเพียง 35% ขณะที่ประสิทธิภาพระบบชลประทานทั่วโลกเฉลี่ย 64% ส่วนระบบสูบน้ำด้วยพลังไฟฟ้ามีประสิทธิภาพเฉลี่ย 57% เท่านั้น

การจัดการด้านความต้องการนี้หมายรวมถึงการซ่อมบำรุงระบบชลประทาน ที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนให้เกิดกลุ่มผู้ใช้น้ำ การให้ความรู้แก่ผู้ใช้น้ำ รวมทั้งมาตรการอื่นๆ ซึ่งจะทำให้เหลือน้ำจำนวนมาก เฉพาะระบบของกรมชลประทานเพียงกรมเดียว ถ้าจัดการให้ดีก็จะเหลือน้ำถึง 101 ล้านลูกบาศก์เมตร เทียบเท่ากับปริมาณในการอุปโภคบริโภคของคนในลุ่มแม่น้ำยมถึง 7.6 ล้านคน

ด้วยข้อมูลพื้นฐานนี้ จึงใคร่ขอเสนอว่า ก่อนที่นักสร้างเขื่อนจะดำเนินโครงการก่อสร้างอะไรก็ตาม รวมถึงเขื่อนแก่งเสือเต้นและฝายยักษ์อื่นๆ ในแม่น้ำยมที่ต้องใช้งบประมาณเป็นร้อยล้านพันล้านกัน ก็ควรที่จะต้องจัดการให้โครงการที่มีอยู่แล้วนี้มีประสิทธิภาพเสียก่อน กรณีง่ายๆ ของกรมชลประทานก็คือ การนำน้ำจากเขื่อนแม่มอกที่ลำปางที่ไหลไปลงสุโขทัยที่เพิ่งสร้างไม่นานให้ลง ไปหล่อเลี้ยงชาวสุโขทัยให้ดูหน่อย ลองทำแค่นี้ให้ได้ก่อน ก่อนที่จะไปคิดถึงโครงการใหม่ๆ


๓.การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก

ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มแม่น้ำยมสามารถดำเนินการ ได้โดยการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ตามที่มีรายละเอียดในแผนการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ซึ่งจัดทำโดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย แผนดังกล่าวสามารถแก้ปัญหา การขาดแคลนน้ำได้โดย ใช้งบประมาณ เฉลี่ยแล้วหมู่บ้านละประมาณ 3 ล้านบาทเท่านั้น แต่เป็นที่น่าเสียใจที่แผนดังกล่าวถูกแช่แข็งไว้ที่สภาพัฒน์


๔.การพัฒนาระบบประปา แก้ปัญหาน้ำในเมือง

เมื่อถึงฤดูแล้ง ชาวเมืองมักจะเป็นกลุ่มที่ได้ประสบกับปัญหาขาดแคลนน้ำเสมอ และนักสร้างเขื่อนมักจะเหมารวมว่าการขาดแคลนน้ำนี้มีสาเหตุจากไม่มีเขื่อน

แท้จริงแล้ว เมืองใหญ่หลายเมืองที่ประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคในฤดู แล้งนั้น ไม่ได้เกิดจากการขาดน้ำดิบ แต่เกิดจากระบบการผลิตน้ำประปาที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการน้ำได้

ในลุ่มน้ำยมนั้น ดูตัวอย่างได้จากเมืองสุโขทัยที่ขาดแคลนน้ำประปาในฤดูแล้ง แต่การขาดแคลนนี้เป็นเพราะว่าระบบการผลิตน้ำประปามี ความสามารถในการผลิตน้ำประปาเพียง 60 % ของความต้องการน้ำประปาสูงสุดในฤดูแล้ง มิใช่ขาดแคลนน้ำแต่อย่างใด

ทางออกต่อเรื่องนี้ ก็คือ การส่งเสริมให้มีการประหยัดน้ำในฤดูแล้ง ขณะเดียวกันก็ควรพิจารณาพัฒนาให้ระบบการผลิตน้ำประปา ให้มีประสิทธิภาพสามารถตอบสนองต่อความต้องการน้ำอุปโภค-บริโภค


๕.การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ

ความแห้งแล้งและน้ำท่วม (ที่ไม่ใช่ธรรมชาติ) นั้น เป็นที่ชัดเจนว่าเกิดมาจากการทำลายสภาพแวดล้อมซึ่งเกิดขึ้นในแทบทุกลุ่มน้ำ การเสนอให้สร้างเขื่อนนอกจากไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้นแล้วยังมีผลต่อการทำลาย สภาพแวดล้อมให้สาหัสไปอีกโดยเฉพาะการทำลายป่าที่ป็นแหล่งปล่อยน้ำ

มีหลักฐานการวิจัยมากมายที่ชี้ว่า ป่าที่ถูกทำลายจากเขื่อนนั้นมิใช่แค่พื้นที่อ่างเก็บน้ำแต่รวมถึงถนนเข้าสู่ หัวงาน การสร้างหัวงาน บ้านพักคนงาน แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูง การสัมปทานทำไม้ในอ่าง (โดยการทำไม้นอกอ่าง) ถนนเข้าสู่หัวงานเขื่อนยังเป็นสะพานอย่างดีที่ทำให้เกิดการบุกรุกถือครอง พื้นที่ป่าตามมา บางที่อาจจะแถมสนอมกอล์ฟบริเวณหัวงานเขื่อนเข้าไปด้วย ดังตัวอย่างเช่น เขื่อนศรีนครินทร์ที่ป่าถูกทำลายมากกว่าบริเวณที่ถูกน้ำท่วมถึง ๒ เท่า หรือกรณีเขื่อนจุฬาภรณ์ที่ป่าถูกทำลายมากกว่าป่าที่กลายเป็นอ่างเก็บน้ำถึง ๒๐ เท่า

ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า การนำพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายจากเฉพาะจากอ่างเก็บน้ำของเขื่อนมาทำการเทียบกับพื้นที่ป่าที่ถูกทำลายในแต่ละปีจึงเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง

ข้อเสนอที่ใคร่จะเสนอต่อสังคมไทยก็คือ แทนที่จะสร้างเขื่อนไปทำลายป่ากัน น่าจะหันมาอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว เพราะเป็นการฟื้นฟูเสถียรภาพของสภาพแวดล้อมกลับคืนมา

ในกรณีลุ่มน้ำยม การฟื้นฟูป่าจะต้องทำตลอดทั้งลุ่มน้ำซึ่งรวมถึงต้นน้ำและป่าริมน้ำของแม่น้ำ สาขาและห้วยต่างๆ ที่ไหลลงแม่น้ำยมตั้งแต่แพร่ สุโขทัย ไปจนถึงพิษณุโลกและพิจิตร

กรณีของชาวสะเอียบเป็นตัวอย่างได้ดี เพราะชุมชนสะเอียบได้ช่วยกันรักษาป่าแม่ยมซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำยมมานาน นับสิบปีแล้ว และปรากฏว่าแม่น้ำยมบริเวณนี้ไหลไม่เคยขาดสาย แตกต่างกับพื้นที่ทางตอนล่างอย่างสิ้นเชิง การฟื้นฟูป่าในลุ่มน้ำนั้น หากทุ่มเทกันอย่างจริงจังให้ได้ซักครึ่งหนึ่งอย่างที่ชาวสะเอียบได้ทุ่มเทลง ไปก็คงแก้ปัญหาของแม่น้ำยมได้พอสมควร

เชื่อแน่ว่า หากข้อเสนอดังกล่าวข้างต้นนี้ได้มีการดำเนินการอย่างจริงจัง ทุกแล้ง เราก็ไม่ต้องโหยหาเขื่อนแก่งเสือเต้นหรือเขื่อนอื่นๆ กันอีกต่อไป เว้นเสียแต่ว่าจริงๆ แล้วในใจนั้นคิดกันอยู่ว่า “แล้งนี้ (และทุกแล้ง)…. ฉันจะเอาเขื่อน ไม่ใช่เอาน้ำ”

Credit : www.livingriversiam.org

สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์

H O M E



Create Date : 01 กรกฎาคม 2553
Last Update : 1 กรกฎาคม 2553 21:28:43 น. 0 comments
Counter : 716 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jenifaae
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Editor
บทความ ความคิดเห็นที่นำลง"สนามหลวงแก็งค์" ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
เพียงเราเห็นว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์ในทางข้อมูล ข่าวสาร
หากท่านมีข้อคิดเห็นประการใด โปรดแจ้งให้เราทราบ จักขอบคุณยิ่ง
"สนามหลวงแก็งค์"
kunkorn : Facebook



"Sanamluang's Gang"
"สนามหลวงแก๊งค์"

kunkorn : Facebook

     เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนให้เกิดการศึกษา การเรียนรู้ เผยแพร่ ส่งเสริม สนับสนุน รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร อนุรักษ์ รักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย วิถีชีวิต และปรัชญา คุณค่าจิตวิญญาณที่งดงาม สืบสานต่อยอดกันมานานนับพันๆปี และกำลังถูกทำลายด้วยอิทธิพลจากแนวคิดเชิงวัตถุนิยมแบบตะวันตก

● เพื่อการศึกษาหาความรู้ ส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการศึกษา เรียนรู้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบ และนำมาเผยแพร่แก่มวลมนุษยชาติ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง มิใช่เพียงวิทยาศาสตร์เชิงวัตถุเพียงอย่างเดียว เพราะถือว่าพระพุทธเจ้า ทรงค้นพบความจริงของธรรมชาติ ทั้งหมดทั้งสิ้น ที่มนุษย์ธรรมดาสามัญอย่างเราๆ ท่านๆ ยังเป็นเพียงผู้รู้ แค่หางอึ่งที่ยังอยู่ในกะลาครอบ แต่บังอาจด่วนสรุป ขัดแย้งกับ สิ่งที่องค์ศาสดาทรงค้นพบมากว่าสองพันปี จนทำให้บังเกิดความสับสน ลดความน่าเชื่อในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

● สนามหลวงแก๊งค์ ต้องขออนุญาตและขอขอบคุณท่านเจ้าของข่าวสาร ข้อมูล ที่เราได้นำลงในสนามหลวงแก๊งค์ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยจิตคารวะ ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็เพื่อให้สนามหลวงแก๊งค์ เป็นแหล่งในการเผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสารที่เป็นประโยชน์และเพื่อเป็นวิทยาทานแก่สาธารณชน แต่หากท่านเจ้าของข้อมูล ข่าวสารที่ สนามหลวงแก๊งค์ นำลงไม่มีความประสงค์ให้นำลง ขอได้โปรดแจ้งความประสงค์ เรายินดีที่จะถอดออกต่อไป

ด้วยจิตคารวะ
www.sanamluang.bloggang.com
kunkorn : Facebook


ดาวหาง
     เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในห้วงมหาจักรวาลอันยิ่งใหญ่ ลี้ลับไร้ขอบเขต ทุกครั้งที่ดาวหางปรากฏ มันจะส่งสัญญาณแห่งความพินาศ มหันตภัย ธรรมชาติ ความตาย ความเจ็บป่วย สงคราม ความขัดแย้ง การกดขี่ การเอารัดเอาเปรียบ การคดโกง การเบียดเบียนของมนุษย์บนพื้นพิภพใบนี้

     มันคือสัญญาณเตือนภัยที่มนุษย์ไม่อาจจะควบคุมได้ ทั้งภัยทางธรรมชาติและภัยที่เกิดขึ้นจากมนุษย์สร้างกันขึ้นมาเองในทุกรอบพันปี

     ไม่ว่ามนุษย์จะคิดว่าตัวเองเก่งกาจสามารถ ฉลาดสักเพียงไหน ก็ไม่อาจหลีกพ้นมหันตภัยเหล่านี้ไปได้
     ดังนั้น จงเชื่อและปฎิบัติตามอย่างไม่ลังเลต่อคำสอนของศาสดาของเราอย่างจริงจังเถิด

     แม้จอมจักรพรรดิ จอมราชันย์ หรือจอมทรราชที่ยิ่งใหญ่ในอดีต ก็ต้องตายร่างกายเน่าเปื่อยเป็นผุยผง และในที่สุดวิญญาณของเขาก็ต้องชดใช้กรรม ด้วยการถูกไฟนรกเผาผลาญโดยไม่มีข้อยกเว้นทั้งทั้งสิ้น

     จงอย่าอหังการ์ว่าตัวเองเก่ง ฉลาด และยิ่งใหญ่กว่าคำสอนของพระศาสดา ไม่มีมนุษย์ตนใดที่จะพ้นจากกฎแห่งธรรมชาติได้ มนุษย์ที่เก่งกว่าเรา เขาได้ตายร่างกายทับถมปฐพีแห่งนี้นับไม่ถ้วนแล้ว


     ● ขออนุญาตนำภาพวาด "วีระชนบนพานรัฐธรรมนูญ" ของ คุณสถาพร ไชยเศรษฐ ศิลปินอิสระ อดีตแนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย ซึ่งวาดเนื่องในโอกาส 2 ปี 14 ตุลา มาเป็นส่วนหนึ่งของหัว "สนามหลวงบล็อก"                


บริการดูดวง



"สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จตามอุดมการณ์ของเรา ที่ได้ตั้งเอาไว้ว่า "เราจะใช้วิชาความรู้ในด้านการพยากรณ์เพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับการให้การปรึกษาของผู้คนที่กำลังประสบปัญหา ความเดือดเนื้อร้อนใจ หรือการเผชิญกับปัญหานั้นๆได้อย่างไรดี

มนุษย์เกิดแต่กรรม มนุษย์มีกรรมเป็นเหตุ เมื่อเราประสบเคราะห์กรรม ปัญหาอยู่ที่ว่าหากเราทราบเสียก่อน ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าการไม่ทราบ อย่างน้อยก็ทำให้เราระมัดระวังตัว อย่างน้อยก็ทำให้เราหลีกเลี่ยงเพื่อทำให้เราเผชิญกับกรรมน้อยลงไป อย่างน้อยก้ทำให้เรารู้ว่าสิ่งเหล่านั้นมันมีที่มา มันมีที่ไปของมัน

มีนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์วัตถุจิตนิยม มักโจมตีอยู่เสมอว่า การดูดวง เป็นเรื่องของความงมงาย หมอดูคู่กับหมอเดา หมายถึงว่า เขาไม่เชื่อในเรื่องของวิชาโหราศาสตร์เพราะคิดไปว่ามันเป็นเรื่องเดียรัจฉานวิชาบ้าง เป็นการคาดเดาเอาเองบ้าง คิดว่ามันเป็นวิชาที่ใช้สถิติสุ่มเอาบ้าง ไม่เชื่อว่าวิชาโหราศาสตร์จะสามารถไขปริศนาแห่งรหัสลับของดวงดาว จักรวาล และธรรมชาติรอบตัว

แสดงว่าเขาลืมไปว่า อัลเบิร์ต ไอสไตน์ และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ว่า ทุกสรรพสิ่งในโลกรอบตัวเรา ตั้งแต่เล็กเท่าอะตอม (จุลจักรวาล)จนถึงมหาจักรวาล ล้วนมีความผูกพัน ล้วนมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งแยกกันไม่ออก เพียงแต่ว่า กับอะไร เมื่อไร อย่างไร เท่านั้น

กรรมเป็นผลจากการกระทำของเราในอดีตชาติ จะดีหรือจะร้ายก็เพราะเราทำ เป็นสิ่งที่เราจะต้องได้รับผลแห่งการกระทำเหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โหรฯเป็นเพียงผู้แปลรหัสของดวงดาวและธรรมชาติรอบตัว เพื่อเผยแผนที่ชีวิตของเรา และสามารถมองเห็นช่องทางที่จะเลี่ยงหลบสิ่งเลวร้าย ให้ลดน้อยถอยลงหรือพบพานแต่สิ่งที่ดีดี

การสะเดาะเคราะห์ หรือพิธีการตัดกรรมที่กำลังกล่าวขานถึงก็คือการขออโหสิกรรม ลดการอาฆาตจองเวรกับเจ้ากรรมนายเวรที่กำลังจ้องจองเวรด้วยความอาฆาตพยาบาทที่ถูกเรากระทำในอดีตชาติ ไม่ใช่เป็นการตัดทอนผลกรรมที่เราทำให้หมดไปหรือให้ลดลง เพราะกรรมที่เรากระทำไม่สามารถตัดทอนลงไปได้



สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์พยากรณ์เที่ยงตรง แม่นยำเชื่อถือได้ วิเคราะห์พยากรณ์อย่างเป็นระบบ ไม่เลื่อนลอย ยึดมั่นในอุดมการณ์ของครูที่ท่านได้กำชับให้นำเอาวิชาการพยากรณ์มาช่วยเหลือแนะนำ บรรเทาทุกข์ของผู้คนมากกว่าการพยากรณ์เพื่อการค้า

ต้องยอมรับว่า ไม่ว่าประเทศใด? ชาติใด ภาษาใด? สมัยไหน? ชนชั้นวรรณะใด? ไม่ว่าจะเป็นเจ้าสัว นักธุรกิจ นักการค้า แม่บ้าน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ หรือไม่เว้นแต่นายพล นายพัน รัฐมนตรี หรือระดับผู้นำประเทศ ล้วนแต่เคยดูดวงด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่า เราจะเชื่ออย่างงมงายหรือจะเชื่อโดยใช้เหตุผลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยนำเอาคำพยากรณ์มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการดำเนินชีวิต หรือทำธุรกิจ การค้า หรือเพื่อการทำสงครามฯ

"สนามหลวงแก็งค์" ไม่สนับสนุนให้เชื่อเรื่อง "ดวง" อย่างงมงาย แต่เราสนับสนุนให้ใช้คำ "พยากรณ์"อย่างมีวิจารณญาณประกอบการตัดสินใจอย่างมีสติ ใช้ "ปัญญา"อย่างมี "เหตุผล"

หลังจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม จนต้องมีการเข้าจองคิวดูดวงเป็นจำนวนมาก ณ ขณะนี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะคนไทยในประเทศที่เข้ามาใช้บริการจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"เท่านั้น

แต่ยังมีคนไทยที่อยู่หลายประเทศทั่วโลกเข้ามาดูดวง ตรวจสอบชื่อ นามสกุลมากมาย ทั้งนี้คงเป็นเพราะผู้ที่เข้ามา"ดูดวง" กับ "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับความพอใจในคำพยากรณ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ แนะนำแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมตามหลักโหราศาสตร์ จึงได้มีการบอกเล่า แนะนำชักชวนกันปากต่อปากเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันนี้ มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมwww.sanamluang.bloggang.com มีจำนวนถึง 118 ประเทศ โดยเข้ามาเปิดดูหน้า "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"คิดเป็นร้อยละ 80 ของ pageviews ต่างๆใน www.sanamluang.bloggang.comจัดทำบล็อกครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2550 มีผู้เข้าชมจำนวนทั้งสิ้น 579,020 ครั้ง จากจำนวน 262,960 visitors (ข้อมูล ณ เวลา 12.00 น.ของวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553)

ส่วนใหญ่ลูกค้าที่โทรเข้ามาเกือบ 98% เมื่อโทรฯ เข้ามาดูดวงแล้ว จะสามารถนัดวัน เวลาดูดวงได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด อาจจะมีอยู่บ้างเพียงไม่กี่รายที่โทรฯเข้ามาเพื่อสอบถามรายละเอียดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

อาจจะเนื่องมาจากไม่คุ้นเคยการทำธุรกิจแบบออนไลน์ โดยมีการโอนเงินก่อน ไม่ไว้ใจ หรือไม่กล้า ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ประมาณ 2%

สำหรับที่เมลฯมาถามและเงียบไป ไม่สามารถทราบจำนวนได้ อาจเนื่องจากเป็นรายที่โทรเข้ามานัดอีกทางหนึ่งก็เป็นได้

สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์ ยังมีอาจารย์ผู้สอนวิชาโหราศาสตร์ ผ่านประสบการณ์ในการดูดวงหลายปีคิดเป็นจำนวนหลายพันดวง

แน่นอน แม่นยำกระชับ ชัดเจน หากไม่ทราบเวลาตกฟากท่านก็ยังสามารถดูได้ รายที่กำลังประสบเคราะห์หามยามร้าย ท่านก็จะช่วยแนะนำและแก้ไขเรื่องเลวร้ายให้กลายเป็นดีด้วยศาสตร์แห่งความลี้ลับของโหราศาสตร์ โดยไม่ต้องเสียเงินสะเดาะเคราะห์ สามารถดูได้ถึงขนาดปัญหาเรื่องคู่ครอง เรื่องเคราะห์ เรื่องหน้าที่การงาน โดยใช้ "วิชาโหราศาสตร์ดวงไทย"อันเป็นสุดยอดของวิชาโหราศาตร์โบราณของไทย

นอกจากนั้น เรายังมี ซินแส ที่เชี่ยวชาญเรื่องการดูฮวงจุ้ย ทำเลปลูกบ้าน อาคารสำนักงาน ดูฤกษ์ยาม แต่งงาน คลอดบุตร ขึ้นบ้านใหม่ เปิดกิจการต่างๆโดยใช้วิชาโหราศาสตร์จีนโบราณผสานตำราดวงไทย ซึ่งซินแสท่านมีประสบการณ์การดูดวงมาไม่น้อยกว่า 45 ปี ผ่านการดูให้กับนักธุรกิจชื่อดังของเมืองไทย และนักธุรกิจชั้นนำจากฮ่องกงหลายราย

ติดต่อ 081-4834367 หรือ workingmailhome@hotmail.com
--------------------------------------------
● ปรึกษาปัญหากฏหมาย
ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์
--------------------------------------------
● ปัญหาติดต่อราชการ
บริการปรีกษาเรื่อง ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ค่าธรรมเนียมต่างๆ และการติดต่อราชการต่างๆ ของสำนักงานเขต
--------------------------------------------
● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล,

● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work
--------------------------------------------
สำนักพิมพ์ดาวหาง
www.sanamluang.bloggang.com




รับวาดรูปเหมือน และสอนวาดรูป
โดยอาจารย์ ผู้ชำนาญ

ราคาย่อมเยา

















หลังเกิดเหตการณ์ 14 ตุลา 2516 นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ต่างหลั่งไหลดั่งสายน้ำ ล้นขอบ ออกจากเมือง เข้าสู่ ชนบท เหตุเกิดเมื่อ กลางปี พ.ศ.2516 จนถึง พ.ศ.2519 นักศึกษากลุ่มหนึ่ง ได้ พบกันโดยบังเอิญ และ ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับชาวบ้าน ณ หมู่บ้าน แม่ตะมาน ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ ชื่อโครงการว่า "โครงการหมู่บ้านสหกรณ์แม่ตะมาน"
เชิญ พบ และติดตาม กับเรื่องราว และบทสรุป อันควรเป็นจุดเริ่มต้น ต่อไปใน

     เมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตย ที่ถูกหว่านทั่วท้องทุ่งแห่งประชาไทย มาบัดเดี๋ยวนี้ เมื่อต้องฝน ต้องลม แห่งกาลเวลาพัดผ่าน จาก 2516 , 2519 2535,จน 2540 ถึง 2550บางเมล็ดพันธุ์ก็ยังขาวพิสุทธิ์สดใส บ้างเมล็ดพันธุ์เปลี่ยนสี บ้างก็ดอกสีเหลือง บ้างก็ดอกสีแดง บ้างก็ดอกสีม่วงก้มี สีเขียว สีน้ำเงิน หรือบ้างก็อาจเฉาโรยรา หรือบ้าง ผสมผสานกลายพันธุ์ ก็มีไม่น้อย
มาบัดเดี๋ยวนี้ มันไม่ใช่ จิต วิญญาณ แห่ง 14 ตุลา เดิมเสียแล้ว ไม่ใช่พันธุ์เดียวกัน อย่าได้ เอ่ยอ้างเลย ว่า วิญญาณ 14 ตุลา ยังคง...มันประชาธิปไตย ที่ไม่ บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนอย่างเดิมเสียแล้ว.....
..แต่มันเป็น.ประชาธิปไตย...เพื่อใคร..??


“ทุกวันนี้ เราจะรับรู้ ได้เห็น ได้ยินแต่เรื่องเลวร้าย ในสังคม
เราจึงขอบันทึกสิ่งที่ดีๆ ต่างๆ เหล่านี้ ด้วยจิตคารวะ และขอเป็นกำลังใจให้เกิดสิ่งที่ดีงามเหล่านี้ต่อไป”>>>



อ่านงานเขียนเกี่ยวกับภาพยนตร์หลากหลายประเทศทั่วโลก ที่นี่ >>>





*จำนวนผู้ชมทั้งสิ้น* สถาปนาบล็อค 21 ก.ค.2550
Friends' blogs
[Add jenifaae's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.