กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มิถุนายน 2565
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
30 มิถุนายน 2565
space
space
space

แทรกเสริม กรรม



   กิเลส   สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง   ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์ และเป็นเครื่องปรุงแต่งความคิดให้ทำกรรม ซึ่งนำไปสู่ปัญหา ความยุ่งยากเดือดร้อนและความทุกข์, กิเลส ๑๐   (ในบาลี เดิม เรียกว่ากิเสลวัตถุ คือ สิ่งก่อความเศร้าหมอง ๑๐)  ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ


    “ธรรมเป็นกุศล  เป็นไฉน ?    ได้แก่   กุศลมูล ๓   คือ   อโลภะ อโทสะ อโมหะ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่ประกอบด้วยกุศลมูลนั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีกุศลนั้นเป็นสมุฏฐาน เหล่านี้  คือ ธรรมเป็นกุศล”

    “ธรรมเป็นอกุศล  เป็นไฉน ?   ได้แก่   อกุศลมูล ๓ คือ โลภะ โทสะ โมหะ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ที่ประกอบด้วยอกุศลมูลนั้น กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีอกุศลนั้นเป็นสมุฏฐาน เหล่านี้ คือ ธรรมเป็นอกุศล” (อภิ.สํ.34/663/259)


   กุศล   “สภาวะที่เกี่ยวตัดสลัดทิ้งสิ่งเลวร้ายอันน่ารังเกียจ”    “ความรู้ที่ทำความชั่วร้ายให้เบาบาง"  "ธรรมที่ตัดความชั่วอันเป็นดุจหญ้าคา"   สภาวะหรือการกระทำที่ฉลาด กอปรด้วยปัญญา หรือเกิดจากปัญญา เกื้อกูล เอื้อต่อสุขภาพ ไม่เสียหาย ไร้โทษ ดีงาม เป็นบุญ มีผลเป็นสุข, ความดี  (กุศลธรรม), กรรมดี  (กุศลกรรม)

 
   กุศลกรรม
    กรรมดี,   กรรมที่เป็นกุศล,    การกระทำที่ดีคือเกิดจากกุศลมูล

   กรรม   การกระทำ   หมายถึง   การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา คือ ทำด้วยความจงใจหรือจงใจทำ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เช่น ขุดหลุมพรางดักคนหรือสัตว์ให้ตกลงไปตาย เป็นกรรม แต่ขุดบ่อน้ำไว้กินใช้ สัตว์ตกลงไปตายเอง ไม่เป็นกรรม   (แต่ถ้ารู้อยู่ว่า บ่อน้ำที่ตนขุดไว้อยู่ในที่ซึ่งคนจะพลัดตกได้ง่าย แล้วปล่อยปละละเลย มีคนตกลงไปตาย ก็ไม่พ้นเป็นกรรม)   ว่าโดยสาระ  กรรมก็คือเจตนา หรือ เจตนานั่นเองเป็นกรรม, การกระทำที่ดี เรียกว่า กรรมดี การกระทำที่ชั่ว กรรมชั่ว

   กรรม ๒ กรรมจำแนกตามคุณภาพ หรือตามธรรมที่เป็นมูลเหตุ มี ๒  คือ

     ๑. อกุศลกรรม - กรรมที่เป็นอกุศล  กรรมชั่ว  คือเกิดจากอกุศลมูล
   
     ๒. กุศลกรรม - กรรมที่เป็นกุศล กรรมดี  คือเกิดจากกุศลมูล

 กรรม ๓  กรรมจำแนกตามทวาร คือทางที่ทำกรรม มี ๓  คือ

     ๑. กายกรรม - การกระทำทางกาย

     ๒. วจีกรรม - การกระทำทางวาจา

     ๓. มโนกรรม - การกระทำทางใจ  (ความคิด)
 


Create Date : 30 มิถุนายน 2565
Last Update : 22 มกราคม 2567 10:17:02 น. 0 comments
Counter : 199 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space