กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
มีนาคม 2565
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
space
space
27 มีนาคม 2565
space
space
space

เรื่องของสมาธิ



สมาธินี่เรื่องใหญ่  คิดเอาไม่ถึง จะให้ดีต้องฝึกเองแล้วรู้เห็นเอง


170ความเข้าใจเกี่ยวกับสมาธิ

   ถ้าจะถามว่า ตัวสมาธิที่แท้จริงคืออะไร   ตอบว่า คือ ความตั้งมั่นของใจ  ประเภทของสมาธิ มี ๒ ประเภท คือ

   ๑. สมาธิที่ทุกคนมีอยู่โดยธรรมชาติ ขณะใดที่เราไม่ฟุ้งซ่าน จิตใจสงบอยู่โดยปกติ ขณะนั้น เรียกว่ามีสมาธิ เราจึงทำงานต่างๆ ได้ ไม่เป็นบ้า ไม่เป็นโรคจิต

   ๒. สมาธิที่เกิดจากการฝึก  ที่เรียกว่าฝึกสมาธิ ฝึกได้ทั้ง ๔ อิริยาบถ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน (นอนทำระวังจะหลับ 110 หลับก็หลับ ไม่มีฌานหลับ ฌานหลับไม่มี อย่าหลอกตัวเอง 2) ไม่ใช่ทำได้แต่นั่งอย่างเดียว แบบนี้เรียกว่า สมถะ

   สมถะ   แปลว่า  อุบายฝึกจิตให้สงบ เมื่อใจตั้งมั่นแล้วสงบแล้ว จึงเรียกว่า สมาธิ สมาธิเป็นผลของสมถภาวนา เมื่อเราเริ่มทำทีแรกจิตใจยังไม่ตั้งมั่น วอกแวก เมื่อฝึกไปใจก็ตั้งมั่นเป็นสมาธิตั้งมั่นชั่วขณะเรียกขณิกสมาธิ ใช้ประโยชน์ในการทำงาน เรียนหนังสือ ประกอบกิจต่างๆ ได้โดยไม่ฟุ้งซ่าน ถ้าจิตตั้งมั่นเฉียดๆ ฌานก็เป็นอุปจารสมาธิ ถ้าตั้งมั่นอย่างแน่วแน่มั่นคงเป็นอัปปนาสมาธิ

   สมาธิซึ่งเป็นผลของการฝึก เรียกสมถกรรมฐาน หรือ สมถภาวนา แล้วจะมีผลเกิดขึ้น คือ สมาหิตํ แปลว่า ตั้งมั่น ปาริสุทฺธํ คือ บริสุทธิ์ ขาวรอบ กมฺมนิยํ ควรแก่การงาน คือพร้อมที่จะน้อมจิตไปให้ทำอะไรได้ตามที่ต้องการ คล้ายๆ ดินที่หมาดหรือดินน้ำมั่น เราจะปั้นให้เป็นสิ่งใดรูปใดก็ได้ เพราะความที่มันไม่แข็งไม่เหลวเกินไป  ฉะนั้น จิตที่อ่อนเกินไปทำอะไรไม่ได้ จิตที่แข็งกระด้างเกินไปก็ทำอะไรไม่ได้ จิตที่ฝึกให้ดีได้ตรงที่เป็นสมาธิควรแก่การงาน หมุนไปทางไหนเป็นอย่างไรก็เป็นได้

   จิตที่ไม่ได้รับการฝึกมักมีโทษมาก เหมือนช้าง ม้า วัว ควาย ที่มีไว้แล้วไม่ได้ฝึก ได้แต่กินอาหารของเราอย่างเดียว ใช้งานอะไรไม่ได้ ทำให้เสียเวลาเลี้ยงดูเอาใจใส่  แต่ถ้าฝึกได้ดีแล้ว เราจะใช้ประโยชน์ได้คุ้มกับการที่เราเลี้ยงดู จิตของคนก็เหมือนกัน ถ้าไม่ได้รับการฝึก เรายิ่งสูญเสียอะไรๆ ไปมาก  แต่คนที่ยิ่งฝึกได้มากเท่าไร การที่จะต้องเสียอะไรกับจิตจะมีน้อยลง แต่มีผลได้มากขึ้น จนในที่สุดจะไม่เสียอะไรเลย จะได้รับส่วนดีอย่างเดียวจากการฝึก

   ให้ดูต้นไม้ที่เราปลูกไว้ ตอนแรกเราต้องเหนื่อยอยู่บ้าง ในการรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย กำจัดศัตรูพืช แต่เมื่อเติบโตขึ้น ภาระของเราจะยิ่งน้อยลง จนในที่สุดไม่ต้องทำอะไรกับต้นไม้ที่ปลูก มันมีแต่จะให้คุณแก่เรา ให้ร่มเงา ให้ผล ฯลฯ เพราะต้นไม้นั้นโตจนอยู่ตัวเลี้ยงตัวได้เอง  จิตที่ได้รับการฝึกดีแล้วก็เช่นกัน จะหมดเปลืองน้อยที่สุดแต่ได้รับประโยชน์มากที่สุด ไม่ต้องไปตามใจเรื่องกินเรื่องอยู่เรื่องเที่ยวเตร่อีกต่อไป การที่จะต้องเสียอะไรให้สิ้นเปลืองก็ลดลงหมด เหลือแต่ที่จำเป็นจริงๆ เพราะจิตได้รับการฝึกให้คุ้นแล้ว ให้ใช้งานได้ดี ให้อยู่ในบังคับ อยู่ในอำนาจของเจ้าของ ไม่พยศ ทำให้เรารู้สึกสบาย ไม่ว่าจะทำอะไร ยืน เดิน นั่ง นอน สบายไปหมด เหมือนสัตว์ที่เชื่องแล้วไม่พยศ  ฉะนั้น การลงทุนฝึกจิตจะได้รับผลเกินคุ้ม ไม่ควรเสียดายเวลาที่เสียไปกับการลงทุนเรื่องนี้

   โดยธรรมชาติของจิต  เมื่อยังไม่ได้รับการฝึกนั้นมันจะดิ้นรนกวัดแกว่ง ห้ามยาก คล้ายลิงที่อยู่นิ่งไม่ได้ จิตถูกโยกโคลงด้วยโลกธรรม ๘ โลกธรรมซัดสาดให้หวั่นไหวกวัดแกว่ง ดิ้นรนแสวงหาต้องการด้วยเรื่องลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ห่อเหี่ยวกับการเสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ทุกข์ จิตถูกโยกโคลงด้วยสิ่งเหล่านี้ตลอดเวลา  แต่เมื่อฝึกจิตให้ดีด้วยสมาธิแล้ว จะเห็นโลกธรรมเป็นของเด็กเล่น ไม่ตื่นเต้นอะไร จิตใจสงบประณีต จะได้ลาภหรือเสื่อมจากลาภ จะได้ยศหรือเสื่อมจากยศ จะถูกนินทาหรือสรรเสริญ จะสุขจะทุกข์ ก็เห็นเป็นเรื่องธรรมดาของโลก ทำให้อยู่สบาย เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ถูกครอบงำด้วยสิ่งเหล่านี้  ผิดกับคนสามัญชนคนทั้งหลายทั่วไปที่เดือดร้อนดิ้นรนกับลาภ ยศ แต่เราไม่เดือดร้อนเหมือนกับขณะที่คนทั้งหลายเปียกฝนกันอยู่ เราได้ที่มุ่งที่บังไม่เปียกฝน   คนที่เปียกนั้น เขาไม่ได้ตั้งใจจะเปียก แต่เพราะไม่มีร่มเงาที่อาศัยเพราะไม่ได้สร้างที่พักอาศัยเอาไว้ แล้วจะมีที่พักอะไรที่เกษม ปลอดโปร่ง เป็นที่มั่นของจิตยิ่งไปกว่าสมาธิ ไม่ต้องโยกโคลงด้วยโลกธรรม เหนื่อยก็เหนื่อยเฉพาะกาย แต่ใจไม่เหนื่อย มีภาระหน้าที่อะไรก็ทำหน้าที่ไป

   มนุษย์เรามีปัญญาสูงมากสามารถรวบรวมพลังจิตให้ปัญญาเอาไปใช้ได้โดยสะดวก ที่เอาไปใช้ไม่ได้มาก เพราะว่าไม่สามารถรวบรวมพลังได้มากเท่าไร เหมือนมีอยู่ ๑๐๐ แต่ใช้ได้เพียง ๑๐ คล้ายน้ำที่ไหลหลายกระแส ถ้าไหลไป ๑๐๐ ทาง น้ำจะไหลไม่แรง แต่ถ้าเราหมุนหรือทำให้ไหลไปทางเดียวน้ำก็จะแรง  ฉะนั้น กระแสปัญญาหรือความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนก็มีอยู่มาก ความสามารถที่จะทำงานก็มีมาก แต่มันถูกความฟุ้งซ่าน ความย่อท้อ ฯลฯ แบ่งเอาสิ่งเหล่านี้ไป คล้ายที่หน้ากระบอกไฟฉายมีกระจกรวมแสง ซึ่งหลอดไฟฉายมีแค่ ๒-๓ แรงเทียน ถ้าไม่มีกระจกรวมแสงจะมองอะไรไม่เห็นเลย เมื่อฉายไฟแสงจะพุ่งออกมาสว่าง  ฉะนั้น สมาธิก็คล้ายเป็นการรวมแสงสำหรับให้แสงพุ่งไปทางใดทางหนึ่งเหมือนดวงปัญญา ซึ่งเมื่อฝึกสมาธิให้ดีแล้วจะใช้ดวงปัญญาได้มาก สามารถเข้าใจสิ่งลี้ลับต่างๆ หรือทำอะไรได้มากมาย

  ในชีวิตประจำวัน   เมื่อมีสมาธิดีแล้ว   ปัญญาที่รับการอบรมดีแล้ว จะทำให้การงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  คราวใดที่เราฟุ้งซ่านสับสนท่านจะเห็นได้ด้วยตนเอง

 


Create Date : 27 มีนาคม 2565
Last Update : 6 เมษายน 2565 17:24:05 น. 0 comments
Counter : 298 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space