กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
25 พฤษภาคม 2565
space
space
space

หลักความดี(จบ)

ต่อ


   แต่ระดับของการแก้ทุกข์ หรือการให้ผลดีของหลักความดี ๒ ระดับนี้แตกต่างกัน กล่าวคือ ผลของความดีระดับทั่วไปนั้นสูงสุดก็เพียงการให้เกิดในสุคติ คือ โลก สวรรค์ เท่านั้น คือยังวนเวียนอยู่ในกระแสของวัฏสงสาร คือ การเวียนว่ายตายเกิด จึงจัดว่าเป็นความดีขั้นโลกียะ ส่วนหลักความดีระดับสูงนั้น ให้ผลสูงสุดคือทำให้หลุดพ้นไปจากวัฏสงสาร คือ การเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งพระพุทธศาสนาถือว่า เป็นต้นเหตุของความทุกข์ทั้งปวงของชีวิต ผลของความดีระดับสูงจึงเป็นการแก้ทุกข์แก้ปัญหาชีวิตได้เด็ดขาด คือ กำจัดสาเหตุของการเวียนว่ายตายเกิด  ได้แก่  กิเลส ตัณหาได้สิ้นเชิง   พระพุทธศาสนาจึงเรียกความดีระดับนี้ว่า โลกุตระ คือ พ้นโลก ซึ่งหมายถึงหลุดพ้นไปจากการเกิดอีก  ไม่ว่าในโลกไหนๆ (กามโลก รูปโลก อรูปโลก) ภาวะโลกุตระดังกล่าวนี้ก็คือ ภาวะที่พุทธศาสนาเรียกว่า นิพพาน

  เพราะฉะนั้น นิพพาน จึงเป็นจุดจบของกระบวนศีลธรรม หรือ กระบวนการทำความดีและการละชั่วในพระพุทธศาสนา เพราะภาวะของนิพพานนั้นพระพุทธศาสนาเรียกว่า ภาวะเหนือบุญเหนือบาปคือละได้หมดทั้งความดีและความชั่ว (ปุญฺญปาปปหีนํ - ขุ.ธ.25/13/20 ; ปุญฺญปาปอุปจฺจคา 25/36/70)   เป็นภาวะที่เป็นเอกภาพแห่งคุณธรรม ความรู้ และความบริสุทธิ์ และภาวะแห่งเอกภาพดังกล่าวนี้ พุทธศาสนาเรียกว่า บรมสุข (นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ - 25/25/42)


   ถ้าหากมองในแง่ของผู้บรรลุถึงภาวะแห่งนิพพาน  พระพุทธศาสนาเรียกว่า กตกรณียะ คือ ผู้ทำหน้าที่สมบูรณ์แล้ว กล่าวคือ สิ่งที่ควรรู้ก็รู้หมดแล้ว  (ปริญเญยยธรรม) สิ่งที่ควรละก็ละหมดแล้ว (ปหาตัพพธรรม) สิ่งที่ควรทำให้มีให้เป็นก็ทำก็ครบถ้วนแล้ว (ภาเวตัพพธรรม) สิ่งที่ควรบรรลุหรือทำให้แจ้ง ก็บรรลุถึงแล้ว (สัจฉิกาตัพพธรรม) บุคคลดังกล่าวนี้ก็คือ พระอรหันต์นั่นเอง

สิ่งควรรู้      คือ   ความจริง

สิ่งควรละ    คือ   กิเลส

สิ่งควรทำ    คือ   ศีล-ธรรม

สิ่งควรบรรลุ  คือ  นิพพาน

  ฉะนั้น พระอรหันต์จึงเป็นผู้มีความรู้สมบูรณ์จนไม่มีอะไรจะต้องรู้ต่อไปอีก เป็นผู้ละกิเลสได้หมดสิ้นจนไม่มีอะไรจะต้องละต่อไปอีก เป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ จนไม่ต้องรักษาต่อไปอีก เป็นผู้มีคุณธรรมคือความดีสมบูรณ์จนไม่ต้องทำดีเพื่อผลดีอะไรต่อไปอีก

  การทำหน้าที่ของพระอรหันต์ จึงเป็นการทำเพื่อบุคคลอื่น มิใช่ทำเพื่อตนเอง และการทำดีของพระอรหันต์ ก็เป็นการทำเพื่อผลดีแก่บุคคลอื่น มิใช่เพื่อผลดีแก่ตนเอง ฉะนั้น พุทธศาสนาจึงถือว่า พระอรหันต์เท่านั้นที่สามารถทำการต่างๆ เพื่อผู้อื่นหรือสังคมได้อย่างเต็มที่ เพราะไม่มีอะไรที่จะต้องทำเพื่อตนเองอีกแล้ว

  กล่าวโดยสรุปพระอรหันต์  คือ  บุคคลผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ  หรือคุณลักษณ์ะสำคัญ ๓ ประการ คือ

ปัญญาคุณ   มีความรู้ถูกต้องสมบูรณ์

วิสุทธิคุณ     มีความบริสุทธิ์สมบูรณ์

กรุณาคุณ     มีคุณธรรมสมบูรณ์ ทั้งขั้นศีล และขั้นธรรม



 


Create Date : 25 พฤษภาคม 2565
Last Update : 25 พฤษภาคม 2565 18:49:51 น. 0 comments
Counter : 227 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space