เรื่อง จงกรม เดินจงกรม ก็ทำนองเดียวกัน ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจเหตุผลและความมุ่งหมายว่า เขาทำเพื่ออะไร เขาปฏิบัติเพื่อฝึก อบรม เจริญนามธรรม เช่น สติ สัมปชัญญะ สมาธิ เป็นต้น และในนั้นเข้าใจอีกว่า เป็นการปรับอินทรีย์ด้วย เขาจึงแบ่งจงกรมเป็น ๖ ระยะๆ ๑-๓ เน้นวิริยินทรีย์ ๔-๖ เน้นสมาธินทรีย์ เพราะเมื่อวิริยินทรีย์ล้ำเกินอินทรีย์อื่นจิตมักตกไปข้างฟุ้งซ่าน ก็ให้เพิ่มสมาธินทรีย์ โดยจงกรมระยะ ๔, ๕, ๖, ฯลฯ ถ้าสมาธินทรีย์ล้ำเกินอินทรีย์อื่น จิตมักตกไปข้างเกียจคร้าน ไม่คล่องตัว ก็ปรับด้วยจงกรมระยะ ๑, ๒, ๓, เขามีเหตุผลของเขา เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจการปรับอินทรีย์ขณะปฏิบัติด้วย
- สภาวะที่ประสบจากการปฏิบัติเมื่อจิตมีสมาธิถึงระดับหนึ่ง จะชี้ให้ดูข้อสังเกตที่สมาธิ (สมาธินทรีย์) ล้ำเกินวิริยะ (วิริยินทรีย์) จากตัวอย่างนี้

ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป
วันแรกๆ ก็ไม่เป็นอะไร พอ
วันที่สามนั่งไปซักพักประมาณ
สิบนาทีเริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัวจึงนั่งต่อไม่ได้ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น
เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็
นั่งก็เป็นอีก
จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก
จนลาสิกขามาก็เริ่มมาหาอ่านเอง จนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม
คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ
หายใจตอนแรกก็
ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย
ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจน
จะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น
คำถามครับ
1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง
2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ
ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์ อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนา ทำให้เราเข้าใจว่า ทุกอย่างมีเกิด-ดับของมัน เป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน.
- ที่ไฮไลท์บอกว่า สมาธิ ล้ำเกินวิริยะ ผู้ปฏิบัติต้องจงกรมระยะต่ำๆปรับ เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้ปฏิบัติแบบภาวนาพุท-โธๆ ส่วนมากมักไม่ค่อยจงกรม ถึงมีจงกรมบ้าง ก็ไม่ค่อยเข้าใจเหตุผลและความมุ่งหมายของจงกรม และคิดเห็นเรื่องนี้ออกแนวเป็นของขลังของศักดิ์สิทธิ์ไป

- ข้อให้สังเกตสำหรับผู้ปฏิบัติเอง เมื่อประสบสภาวธรรมใดๆก็ตาม เช่น ลมหายใจหาย คลื่นไส้อาเจียน นั่นนี่โน่น มันไม่ทำให้ผู้ปฏิบัติตายเป็นอันขาด (แต่อย่าหลงมัน พอหลงก็ติด ก็เลิก) ถ้าสภาวะนั่นนี่โน่นทำให้ตายได้นะ เราตายก่อนหน้านั้นแล้ว ก่อนหน้าที่เราจะประสบกับมัน เพราะอะไร ? เพราะสภาวะนั่นมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นทุกเวลา (สามัญลักษณ์) แต่เราไม่เคยรู้ไม่เคยประสบ เพราะเราไม่เคยมนสิการ (จะอ้วกจะอะไรก็กำหนดไปตามที่มันเป็น) เมื่อมามนนิการแล้วประสบกับมัน หน้าที่ผู้ปฏิบัติ ก็คือ ต้องกำหนดรู้จักตามที่มันเป็นของมัน นี่แหละหนทางที่จะไม่หลง ไม่ยึด ไม่ติดมัน ตรงข้ามผู้ปฏิบัติจะรู้จักมันเข้าใจมัน
- เมื่อใดรู้เข้าใจมันแล้ว เมื่อนั้นก็ธรรมะ ก็ธรรมชาติ ก็ธรรมดาของมัน

แต่เมื่อยังไม่รู้ไม่เข้าใจ พอทำไปปฏิบัติไปนั่นนี่เข้าหน่อย ขนลุกหน่อย ฯลฯ เอาละมาล่ะฌาน (ผู้หนักในฌาน) มาล่ะศักดิ์สิทธิ์ (ผู้หนักในศักดิ์สิทธิ์อภินิหาริย์) ติดวนอยู่นั่น