กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
มกราคม 2565
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
22 มกราคม 2565
space
space
space

???

หลวงวิจิตรวาทการ

เป็นการง่าย ยิ้มได้ ไม่ต้องฝืน
เมื่อชีพชื่น เหมือนบรรเลง เพลงสวรรค์
แต่คน ที่ควรชม นิยมกัน
ต้องใจมั่น ยิ้มได้ เมื่อภัยมา

ตย. 450

https://www.facebook.com/laonewsdotnet/videos/1143048693189864


   คัมภีร์วิสุทธิมรรค สัมโมหวิโนทนี และสัทธัมมปกาสินี (วิสุทฺธิ.3/81; วิภงฺค.อ.112 ปฏิสํ.อ.63/239) ได้ชี้แจงเหตุผลไว้อย่างน่าฟังว่า  เหตุใด พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงอริยสัจ ๔ ไว้ โดยเรียงลำดับข้ออย่างที่เรียนรู้กันอยู่นี้   ข้อความที่ท่านกล่าวไว้แม้จะสั้น แต่มีสาระหนักแน่น จึงขอนำมาเป็นเค้าความสำหรับกล่าวถึงอริยสัจ ๔ 

ก) ยกทุกข์ขึ้นพูดก่อน เป็นการสอนเริ่มจากปัญหา เพื่อใช้วิธีการแห่งปัญญา

    ๑.ทุกข์ คือ ปัญหาต่างๆของมนุษย์ เป็นเรื่องบีบคั้นชีวิตจิตใจ มีอยู่ทั่วไปแก่สัตว์มนุษย์ทุกคน เกิดขึ้นแก่ใครเมื่อใด ก็เป็นจุดสนใจ เป็นของเด่นชัดแก่ผู้นั้นเมื่อนั้น แต่ว่าที่จริงมองกว้างๆ ชีวิตมีปัญหาและเป็นปัญหากันอยู่เรื่อยๆ เป็นธรรมดา ดังนั้น ทุกข์จึงเป็นจุดสนใจปรากฏเด่นชัดอยู่ในชีวิตของทุกๆคน เรียกได้ว่า เป็นของรู้ง่ายเห็นง่าย จี้ความสนใจ เหมาะที่จะยกขึ้นเป็นข้อปรารภ คือ เป็นจุดเริ่มต้นในการแสดงธรรม

ยิ่งกว่านั้น ทุกข์เป็นของน่าเกลียดน่ากลัว และน่าตกใจสำหรับคนจำนวนมากคอยหลีกเลี่ยง ไม่อยากได้ยิน แม้แต่คนที่กำลังเพลิดเพลินลุ่มหลงมัวเมา ไม่ตระหนักรู้ว่า ตนเองกำลังมีปัญหา และกำลังก่อปัญหา

เมื่อมีผู้มาชี้ปัญหาให้ ก็จะกระทบใจทำให้สะดุ้งสะเทือนและมีความไหวหวั่น สำหรับคนที่อยู่ในภาวะเช่นนั้น  พระพุทธเจ้าทรงสอนปรารภเรื่องทุกข์  เพื่อกระตุ้นเตือนให้เขาฉุกใจ ได้คิด เป็นทางที่จะเริ่มต้นพิจารณาแก้ปัญหาดับความทุกข์กันได้ต่อไป

เมื่อแสดงอริยสัจ โดยตั้งต้นที่ทุกข์  ก็เป็นการสอนที่เริ่มจากปัญหา  เริ่มจากสิ่งที่เห็นง่ายเข้าใจง่าย เริ่มจากเรื่องที่น่าสนใจ และโดยเฉพาะเป็นการสอนเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ไม่ใช่เรื่องเลื่อนลอย ไม่ใช่เรื่องคิดเพ้อฝัน หรือสักว่าพูดตีฝีปากกันไป  เมื่อพูดกับใครก็เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับคนนั้น เมื่อพูดเป็นกลางๆ ก็เกี่ยวข้องกับทุกคน

พระพุทธเจ้าสอนเรื่องทุกข์   มิใช่เพื่อให้เป็นทุกข์   แต่เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่จะดับทุกข์ เพราะทรงรู้ว่า ทุกข์หรือปัญหานั้นเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ดับได้   มิใช่เป็นของเที่ยงแท้แน่นอนจะต้องคงอยู่ตลอดไป ชีวิตนี้ที่ยังคับข้อง ก็เพราะมีทุกข์มีปัญหาคอยรบกวนอยู่

ถ้าดับทุกข์แก้ปัญหาแล้ว หรือได้สร้างความสามารถในการดับทุกข์แก้ปัญหาไว้พร้อมแล้ว ชีวิตก็จะปลอดโปร่งโล่งเบา พบสุขแท้จริง

แต่การดับทุกข์ หรือ แก้ไขปัญหานั้น  มิใช่ทำได้ด้วยการหลบเลี่ยงปัญหา หรือปิดตาไม่มองทุกข์ ตรงข้าม ต้องใช้วิธีรับรู้สู้หน้าเข้าเผชิญดูมัน การรับรู้สู้หน้า  มิใช่หมายความว่า จะเข้าไปแบกทุกข์ไว้ หรือ จะให้ตนเป็นทุกข์   แต่เพื่อรู้เท่าทัน   จะได้แก้ไขกำจัดมันได้  พูดง่ายๆว่า ไม่ใช่ไปเอาทุกข์มาใส่ในใจ   แต่เอาปัญญาไปแก้ไขจัดการ

การรู้เท่าทันนี้ คือ การทำหน้าที่ต่อทุกข์ให้ถูกต้อง ได้แก่ ทำปริญญา คือ กำหนดรู้ ทำความเข้าใจสภาวะของทุกข์ หรือ ปัญหานั้น ให้รู้ว่า ทุกข์หรือปัญหาของเรานั้น คือ อะไรกันแน่ อยู่ที่ไหน (บางที  คนชอบหลบเลี่ยงทุกข์หนีปัญหา  และทั้งที่รู้ว่า  มีปัญหา แต่จะจับให้ชัดก็ไม่รู้ว่า ปัญหาของตนนั้นคืออะไร ได้แต่เห็นคลุมๆ เครือๆ หรือพร่าสับสน)  มีขอบเขตแค่ใด เมื่อกำหนดจับทุกข์ได้อย่างนี้ ก็เป็นอันเสร็จหน้าที่ต่อทุกข์ เหมือนแพทย์ตรวจอาการจนรู้โรค รู้จุดที่เป็นโรคแล้ว ก็หมดภาระ ไปขั้นหนึ่ง

เราไม่มีหน้ากำจัดทุกข์  เพราะทุกข์จะดับที่ตัวมันเองไม่ได้  ต้องแก้ที่เหตุของมัน

ถ้าจะละทุกข์ที่ตัวทุกข์  ก็เหมือนรักษาโรคที่อาการ เช่น ให้ยาระงับอาการไว้ ก็ไม่ใช่แก้โรคไม่ได้จริง ต้องค้นหาสาเหตุต่อไป

แพทย์เรียนรู้โรค ต้องเรียนรู้เรื่องร่างกาย อันเป็นที่ตั้งของโรคด้วย ฉันใด  ผู้จะดับทุกข์ เมื่อเรียนรู้ทุกข์ ก็ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับชีวิต อันเป็นที่ตั้งของทุกข์ ซึ่งรวมถึงสภาวะของสังขารโลกที่เกี่ยวข้องด้วย ฉันนั้น  สาระสำคัญของอริยสัจข้อที่ ๑ คือ รับรู้ความจริงเกี่ยวกับทุกข์ตามที่มันเป็นอยู่ และมองดูรู้จักชีวิต  รู้จักโลกตามที่มันเป็นจริง

(พธ. ๘๕๙)

   หลักการต่อไปนี้ เรียกกันง่ายๆว่า ความสุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ ดังที่พุทธพจน์ที่ตรัสแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า

  “ดูกรคหบดี ความสุข 4 ประการนี้ เป็นสิ่งที่คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ควรได้ควรถึงอยู่เรื่อยๆ ตามสมัย ความสุข 4 ประการนั้น คือ อัตถิสุข โภคสุข อนณสุข อนวัชชสุข

  1. อัตถิสุข (สุขเกิดจากความมีทรัพย์) เป็นไฉน?  คือกุลบุตรมีโภคะอันหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า เรามีโภคะที่หามาได้ ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขนอย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม นี่เรียกว่า อัตถิสุข

   2. โภคสุข (สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์บริโภค) เป็นไฉน?  คือกุลบุตรกินใช้และทำสิ่งดีงามอันเป็นบุญทั้งหลาย ด้วยโภคะที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียรอัน เก็บรวบรวมขึ้นด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ ซึ่งเป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรมเธอ ย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่าด้วยทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร....ได้มาโดย ธรรม เราก็ได้กิน ใช้ และได้ทำสิ่งดีงาม อันเป็นบุญทั้งหลาย นี้เรียกว่า โภคสุข

   3.อนณสุข (สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้) เป็นไฉน? คือกุลบุตรไม่ติดหนี้สินไรๆของใครๆ ไม่ว่าน้อยหรือมาก เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่าไม่ติดหนี้สินไรๆของใครๆ เลยไม่ว่าน้อยหรือมาก นี้เรียกว่า อนณสุข

   4. อนวัชชสุข  (สุขเกิดจากกรรมดีงามไร้โทษ) เป็นไฉน? คืออริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมดีงาม ไร้โทษ ประกอบด้วยวจีกรรมดีงาม ไร้โทษประกอบด้วยมโนกรรมดีงาม ไร้โทษ เธอย่อมได้ความสุข ได้ความโสมนัสว่า เราเป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรมดีงาม ไร้โทษ ประกอบด้วยวจีกรรมดีงาม ไร้โทษ ประกอบด้วยมโนกรรมดีงาม ไร้โทษ นี้เรียกว่า อนวัชชสุข

   “เมื่อตระหนักถึงความสุขจาก ความไม่เป็นหนี้แล้ว คนจะพึงระลึกถึงสุขที่เกิดจากความมีทรัพย์ เมื่อกินใช้ก็เห็นแจ้งชัดด้วยปัญญา ถึงโภคสุข เมื่อเห็นอย่างแจ้งชัด เขามีปัญญาดี ย่อมเข้าใจทั้งสองส่วนเทียบกันได้ แลเห็นว่า ความสุขทั้ง 3 อย่างข้างต้นนั้น มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ 16 ของความสุข ที่มีความประพฤติสุจริตไร้โทษ” (องฺ.จตุกฺก.21/62/90)
 


Create Date : 22 มกราคม 2565
Last Update : 23 มกราคม 2565 9:04:36 น. 0 comments
Counter : 384 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space