กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
20 พฤษภาคม 2565
space
space
space

รูป หรือสสาร คือ อะไร(ต่อ)



   คัมภีร์อัฏฐสาลินี อรรถกถาอภิธรรมได้อธิบายถึงการรวมตัวกันของธาตุ ๔ เป็นก้อนสสารไว้อย่างละเอียดและน่าสนใจยิ่ง กล่าวคือ ปฐวี เตโช วาโย รวมกันเป็นก้อนอยู่ได้ โดยมีอาโปเป็นตัวยึดเกาะโดยที่การยึดเกาะของอาโปนั้นก็เป็นไปโดยอาโปไม่ถูกต้องหรือสัมผัสธาตุทั้ง ๓ นั้นเลย เพราะอาโปนั้นเป็นแรงยึดหรือแรงดึง จึงไม่จำเป็นต้องกระทบกับสิ่งนั้นก็สามารถทำให้สิ่งนั้นติดกันอยู่ได้

   "ธรรมชาติทั้งหลายมีก้อนเหล็กเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่าติดกันอยู่เพราะความที่อาโปธาตุนั้นเกาะกุมไว้ แม้ในแผ่นดิน ภูเขา ต้นตาล หน่อไม้ งาช้าง เขาโค เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน ก็อาโปธาตุเท่านั้นเกาะกุมวัตถุเหล่านั้นทั้งหมดทำให้ติดกัน ธรรมชาติเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นธรรมชาติติดกัน ก็เพราะถูกอาโปธาตุควบคุมไว้" (อภิ.แปล.76/301-2)

   ในขณะเดียวกัน  แม้ว่าธาตุเหล่านี้  จะติดกันหรือเกาะกุมกันเป็นก้อนสสารดังกล่าวแล้ว แต่ว่าธาตุแต่ละอย่างก็ยังคงลักษณะตัวเองไว้ คือ ปฐวีธาตุก็ยังแข็งอยู่เช่นเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะของตน เพียงแต่เปลี่ยนสภาวะเป็นของแข็งที่ร้อนเท่านั้น ในกรณีของวาโยธาตุก็เช่นเดียวกัน แม้ถูกเตโชธาตุทำให้ร้อนก็ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นลักษณะอื่น ก็ยังคงมีลักษณะเป็นวาโย แต่ว่าเป็นวาโยที่ร้อนเท่านั้นเอง   ธาตุทั้งหลายจึงรวมกันอยู่โดยไม่เปลี่ยนลักษณะของตน ก้อนวัตถุจะมีสภาพเป็นอย่างไร คือ เป็นวัตถุที่แข็งหรืออ่อน เป็นวัตถุหนักหรือเบา จึงขึ้นอยู่กับปริมาณของธาตุที่ประกอบกันเป็นวัตถุนั้นๆ ว่ามีธาตุชนิดใดมากกว่าธาตุอื่นๆ (อภิ.แปล.76/302-4)

   การรวมตัวกันของธาตุ ๔ เป็นก้อนสสารนั้น พระพุทธศาสนาก็ได้อธิบายไว้ว่า เป็นการรวมกันอย่างหลวมๆ คือ ไม่ติดเป็นเนื้อเดียวกัน แต่มีช่องว่างระหว่างธาตุแต่ละอย่าง ช่องว่างดังกล่าวนี้ พระพุทธศาสนา เรียกว่า อากาสธาตุ หรือปริจเฉทรูป (วิภาวินี.278) การที่ธาตุเหล่านี้รวมกันอยู่โดยไม่สัมผัสกันหรือไม่ติดกัน (อสัมผุฏฺฐตา) แต่รวมกันเป็นก้อนอยู่ได้ก็ด้วยพลังยึดเกาะหรือพลังดึงดูดของอาโปธาตุดังอธิบายมาแล้วนั่นเอง  บางครั้ง เพื่อให้เข้าใจถึงความจริงของวัตถุที่รวมกันอยู่ในสภาพดังกล่าวนี้  พระพุทธเจ้าจึงทรงเปรียบเทียบกายว่าเหมือนฟองน้ำ (เผณุปมํ กายมิมํ) (ขุ.ธ.25/14/21) ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงสภาพของการรวมตัวกันของธาตุ ๔ ได้อย่างชัดเจนที่สุด
 


Create Date : 20 พฤษภาคม 2565
Last Update : 20 พฤษภาคม 2565 10:11:19 น. 0 comments
Counter : 210 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space