กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
18 พฤษภาคม 2565
space
space
space

ปัญญา กับ ความรู้



170ปัญญา กับ ความรู้


   มีประเด็นที่น่าพิจารณาอีกประเด็นหนึ่งในเรื่องความรู้ของพระพุทธศาสนา ก็คือ ความแตกต่างระหว่างปัญญา กับ ความรู้ โดยปกติแล้ว คำว่า ปัญญา กับ ความรู้ นั้น เรามักใช้ในความหมายเดียวกัน หรือ ถือว่า เป็นเรื่องเดียวกัน คือ เมื่อพูดถึงปัญญาก็หมายถึงความรู้ และเมื่อพูดถึงความรู้ ก็หมายถึงปัญญา   แต่ในความหมายที่ละเอียดลงไปพระพุทธศาสนาถือว่า ปัญญา กับ ความรู้ ต่างกัน

  เมื่อพูดถึงความรู้ พระพุทธศาสนา เรียกว่า พาหุสัจจะ บ้าง  สิปปะหรือศิลปะบ้าง แต่ถ้าพูดถึงอาการที่รู้ หรือ ลักษณะของการรู้  ท่านใช้คำว่า ญาณะ บ้าง ชานนะ บ้าง ความรู้นั้นคือเรื่องราวต่างๆ ที่เรารับรู้ หรือเรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งหก และถูกเก็บไว้ในลักษณะเป็นความจำ (สัญญา) บ้าง เป็นความเข้าใจ (ทิฏฐิ) บ้าง ฉะนั้น ความรู้นั้น จึงเสื่อมได้ หรือ ลืมเลือนไปได้

  แต่ความรู้นั้นเอง ได้ก่อให้เกิดอีกสิ่งหนึ่งขึ้นในจิตของมนุษย์ คือ ปัญญา ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นสมรรถนะ หรือ คุณภาพของจิตที่เป็นตัวชี้นำในการกระทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง อาจเทียบให้เข้าใจง่าย คือ ผู้ที่เรียนรู้เรื่องดนตรีมามาก ก็เกิดปัญญาในทางดนตรี ปัญญาดังกล่าวนี้สามารถสืบทอดไปถึงชาติต่อไปได้ด้วย เรียกว่า สชาติปัญญา (สา.ป.1/50) คือ ปัญญาที่ติดมากับการเกิด หรือ มีมาแต่กำเนิด คนประเภทนี้ เมื่อไปเกิดใหม่ ก็จะมีความสามารถเรียนรู้เรื่องดนตรีได้เร็ว และได้ดีกว่าคนอื่น เพราะมีความสามารถหรือปัญญาในเรื่องนี้ติดมาแต่ชาติก่อน ปัญญาลักษณะนี้ เรามักเรียกกันว่า พรสวรรค์ นั่นเอง

  จากประเด็นเรื่อง สชาติปัญญา นี้ ให้นัยแก่เราว่า พระพุทธศาสนาถือว่า มนุษย์ทุกคนล้วนมีปัญญาติดตัวมาแต่กำเนิดมากบ้าง น้อยบ้าง ทั้งนั้น ปัญญาจึงเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของความเป็นมนุษย์ และปัญญานี้เองที่ได้เป็นรากฐานให้มนุษย์สามารถเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ได้ ยิ่งเรียนก็ยิ่งรู้ ยิ่งรู้ก็ยิ่งพัฒนาปัญญาให้สูงยิ่งขึ้น แต่สชาติปัญญาดังกล่าวนี้ ยังมิใช่ปัญญาที่สมบูรณ์ จึงต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และเมื่อมีการพัฒนาให้เพิ่มพูนขึ้นได้  ก็หมายความว่า เป็นสิ่งที่อาจเสื่อมหายไปได้เหมือนกัน   หากไม่ได้รับการพัฒนาต่อไป  ดังข้อความในพระสูตรที่ว่า

อปฺปสฺสุตายํ ปุริโส ... ปญฺญา ตสฺส น วฑฺฒติ.
ผู้มีการสดับ (คือการศึกษา) น้อย ปัญญาของเขาย่อมไม่เจริญ.  (ขุ.ธ.25/21/35)

โยคา เว ชายเต ภูริ.
ปัญญาเกิดจากการประกอบการ.

อโยคา ภูริสงฺขโย.
เพราะไม่มีการประกอบการ ปัญญาย่อมเสื่อม. (ขุ.ธ.25/30/52)

นตฺถิ ปญฺญา อฌายโต.
ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่เพ่งพินิจ. (ขุ.ธ.25/35/65)

  ปัญญาที่ได้รับการพัฒนาจนสมบูรณ์แล้วเท่านั้นจึงจะไม่มีการเสื่อม และปัญญาที่สมบูรณ์ดังกล่าวนี้ก็คือ ปัญญาของพระอริยบุคคล หรือ พระอรหันต์

 


Create Date : 18 พฤษภาคม 2565
Last Update : 18 พฤษภาคม 2565 7:25:09 น. 0 comments
Counter : 289 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space