กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มีนาคม 2565
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
space
space
17 มีนาคม 2565
space
space
space

บทสรรเสริญธรรมคุณ (ต่อ)


    อีกประการหนึ่ง ธรรมทั้งสิ้นชั้นต่ำๆ รวมยอดได้ เป็นศีล ชั้นกลาง เป็นสมาธิ ชั้นสูงก็เป็นปัญญา เป็นลำดับสะดวกแก่แนวทางของผู้จะศึกษา จึงไพเราะ ๓ สถาน  อันนี้ หมายความว่า ไพเราะเป็นเบื้องต้น ได้แก่ ศีล  ไพเราะเป็นท่ามกลาง ได้แก่ สมาธิ  ไพเราะในที่สุด ได้แก่ ปัญญา

ศีล สมาธิ ปัญญา  เป็นข้อปฏิบัติที่วางไว้โดยลำดับ  เบื้องต้นรักษาศีลก่อน  ต่อไปก็ฝึกฝนพัฒนาจิตให้มีสมาธิ เมื่อจิตมีสมาธิแล้วก็สืบค้นเพื่อให้เกิดปัญญา เรียกว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไตรสิกขา  สิกขา   เรื่องควรศึกษาควรเล่าเรียน คำว่า “สิกขา” ไม่ได้หมายความว่า เรียน ท่อง บ่น อย่างเดียว แต่หมายถึง การปฏิบัติด้วย ไม่ใช่เรียนท่องจำเฉยๆ ถ้าเรียนท่องจำเฉยๆ และเอาไว้คุยกันเล่น จะไม่เกิดประโยชน์ ประโยชน์คุ้มค่า ประโยชน์อยู่ที่เรียนเข้าใจแล้วเอาไปปฏิบัติฝึกหัดกาย วาจา ใจ ของเราให้เป็นไปในทางที่ถูกที่ชอบต่อไป การเรียนอย่างนั้น จึงจะได้ผลสมบูรณ์

    เมื่อกล่าวโดยทั่วไป ปริยัติ คือ การศึกษา ก็งามในเบื้องต้นเหมือนกัน  ปฏิบัติ คือ การทำจริง ในศีล สมาธิ ปัญญา ก็เรียกว่างามในท่ามกลาง  ปฏิเวธ  คือ มรรค ผล นิพพาน เป็นผลเกิดมาจากปฏิบัติ ก็งามในที่สุด ได้ชื่อว่า ไพเราะ ๓ สถานเหมือนกัน  เช่น  การเรียนก็เป็นเรื่องดี การปฏิบัติก็เป็นเรื่องดี  ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติก็เป็นเรื่องดี  ในภาษาบาลี เรียกว่า ปริยัติ คือการศึกษาเล่าเรียน  ปฏิบัติ หมายถึง ทำจริงตามสิ่งที่ได้เรียนมานั้น  ปฏิเวธ  หมายถึง ได้รับผล อันจะเกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ก็เรียกว่าไพเราะอีกเหมือนกัน

   เมื่อกล่าวเฉพาะวงการปฏิบัติ   การเว้นจากกามสุขัลลิกานุโยค งามในเบื้องต้น  การเว้นจากอัตตกิลมถานุโยค  งามในท่ามกลาง  การเสพมัชฌิมาปฏิปทา คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ งามในที่สุด
นั่นคือการพูดถึงการปฏิบัติ เลิกมัวเมาในกาม เลิกทรมานตนตามแบบโยคี ซึ่งปฏิบัติกันมากในสมัยนั้น แล้วมาเสพ คือ ปฏิบัติมัชฌิมาปฏิปทา ได้แก่ มรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เป็นหลักประกาศอันถูกต้อง เป็นทางเอกทางเดียว ที่จะนำเราไปสู่ทางพ้นทุกข์ ก็เรียกว่า ไพเราะเบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุดเหมือนกัน

  เมื่อกล่าวโดยผล  ธรรมที่เป็นอุบายเครื่องพ้นจากอบายภูมิ ชื่อว่างามในเบื้องต้น  สิ่งที่ทำให้หลุดพ้นจากกามคุณของมนุษย์ หรือของทิพย์อันเป็นบ่วงตรึงรัด ชื่อว่างามในท่ามกลาง  ส่วนที่เป็นอุบายให้พ้นไปจากภพชาติ คือโมกขธรรม ถือว่า งามในที่สุด. ที่ว่ามานี้ พูดถึงผล ผลที่เกิดจากการปฏิบัตินั้น ก็มี ๓ ชั้น

ไพเราะในเบื้องต้น  ในท่ามกลาง ในที่สุด  ไพเราะในเบื้องต้น หมายความว่า เมื่อปฏิบัติแล้วช่วยให้เราพ้นจากอบายภูมิ คือให้จิตเราพ้นจากความเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต อสุรกาย เรียกว่าพ้นจากอบายภูมิ และถ้าเราปฏิบัติอีกต่อไปอย่างนั้นสูงขึ้นไป จิตของเราก็พ้นจากกามคุณ ไม่ใยดีมัวเมาในกาม เรียกว่าพ้นจากกาม เป็นท่ามกลาง  แล้วก็พ้นจากภพ ชาติ กิเลส ไม่มีอีกแล้ว ความยึดมั่นไม่เกิดอีก จิตสงบนิ่งถึงพระนิพพาน นี้เป็นที่สุด นี้เป็นชั้นๆ โดยหลุดจากอบายภูมิ หลุดจากกาม ซึ่งเรียกว่าหลุดจากการเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา ไม่ติดอยู่ในความเป็นมนุษย์ เป็นเทวดา พ้นเครื่องผูกมัดด้วยประการทั้งปวง หมดกิเลสไม่หลงเหลืออยู่ในจิตใจ ของเรา แม้แต่น้อย ผู้นั้น ได้ชื่อว่า พ้นโดยเด็ดขาด ชื่อว่า พ้นจากทางที่ปฏิบัติในทางพุทธศาสนา

  เมื่อกล่าวโดยการละเว้น คำสอนที่เป็น ตะทังคะปหานะ ละชั่วคราว เช่น กิเลสดับได้เป็นชั่วคราว ก็เป็นความงามในเบื้องต้น
วิกขัมภะนะปหานะ ข่มไว้ได้นานด้วยกำลังฌาน เช่น คนที่เจริญสมาธิแก่กล้า จนถึง บรรลุฌานที่ ๓ ที่ ๔ นี่เรียกว่างามในท่ามกลาง
ส่วนที่เป็นสมุจเฉทะปหานะ ละได้เด็ดขาด ไม่มีกำเริบต่อไป เรียกว่า งามที่สุด. ๓ ชั้นเหมือนกัน

   เมื่อกล่าวโดยความเจริญ  ธรรมที่ทำความเจริญในโลกนี้ ชื่อว่างามในเบื้องต้น  ที่เป็นความเจริญในโลกหน้า ชื่อว่างามในท่ามกลาง  ที่ให้ข้ามพ้นจากโลกถึงนิพพาน ชื่อว่างามในที่สุด เรียกว่าไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง ในที่สุด ด้วยประการฉะนี้
ที่เราว่า อาทิกัล๎ยาณัง ไพเราะในเบื้องต้น มัชเฌกัล๎ยาณัง ไพเราะในท่ามกลาง ปะริโยสานะกัล๎ยาณัง ไพเราะในที่สุด นั้น มีอธิบายดังว่ามานี้.
 


Create Date : 17 มีนาคม 2565
Last Update : 17 มีนาคม 2565 9:56:37 น. 0 comments
Counter : 361 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space