 |
|
|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | |
|
 |
|
คุณสมบัติฝ่ายลบ ของโสดาบันบุคคล |
|
ข. คุณสมบัติฝ่ายหมดหรือฝ่ายละ (แสดงเฉพาะที่สำคัญ และน่าสนใจพิเศษ)
๑. ละสังโยชน์ คือ กิเลสที่ผูกมัดใจได้ ๓ อย่าง คือ
๑) สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นตัวของตน ติดสมมติเหนี่ยวแน่น ซึ่งทำให้เห็นแก่ตัวอย่างหยาบ และเกิดความกระทบกระทั่ง มีทุกข์ได้แรงๆ
๒) วิจิกิจฉา ความสงสัยไม่แน่ใจต่างๆ เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ และสิกขา เป็นต้น ซึ่งทำให้จิตไม่น้อมดิ่งไปในทางที่จะระดมความเพียรมุ่งหน้าปฏิบัติให้เร่งรุดไปในมรรคา
๓) สีลัพพตปรามาส ความถือเขวเกี่ยวกับศีลพรต คือ การถือปฏิบัติศีล กฎเกณฑ์ ระเบียบ วินัย ข้อปฏิบัติ ขนบธรรมเนียมต่างๆ ไม่บริสุทธิ์ตามหลักการ ตามความมุ่งหมาย ที่มุ่งเพื่อความดีงาม เช่น ความสงบเรียบร้อย และความเป็นบาทฐานของสมาธิ เป็นต้น แต่ประพฤติด้วยตัณหาและทิฏฐิ เช่น หวังผลประโยชน์ตอบแทน หวังจะได้เป็นนั่นเป็นนี่ เป็นต้น ตลอดจนประพฤติด้วยความงมงายสักว่าทำตามๆกันมา
๒. ละมัจฉริยะ คือ ความตระหนี่ ความใจคับแคบ หวงแหน คอยกีดกันผู้อื่น ทั้ง ๕ อย่าง คือ
๑) อาวาสมัจฉริยะ หวงที่อยู่อาศัย หวงถิ่น
๒) กุลมัจฉริยะ หวงตระกูล หวงพวก หวงสำนัก หวงสายสัมพันธ์ เทียบกับที่พูดกันบัดนี้ว่าเล่นพวก
๓) ลาภมัจฉริยะ หวงลาภ หวงผลประโยชน์ คิดกีดกันไม่ให้คนอื่นได้
๔) วัณณมัจฉริยะ หวงกิตติคุณ หวงคำสรรเสริญ ไม่พอใจให้ใครมีอะไรดีมาแข่งตน ไม่พอใจให้ใครสวยงาม ได้ยินคำสรรเสริญคุณความดีของคนอื่นแล้ว ทนไม่ได้
๕) ธรรมมัจฉริยะ หวงธรรม หวงวิชาความรู้ หวงคุณพิเศษที่ได้บรรลุ กลัวคนอื่นจะรู้หรือประสบผลสำเร็จเทียมเท่าหรือเกินกว่าตน (องฺ.ปญฺจก.22/256-9/302-3 มีมัจฉริยะ ๕ แม้แต่ปฐมฌานก็ไม่สำเร็จ)
๓. ละอคติ คือ ความประพฤติผิดทาง หรือ ความลำเอียง ได้ทั้ง ๔ อย่าง คือ
๑) ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ
๒) โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง
๓) โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลงหรือเขลา
๔) ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว (วินย.7/615/380)
๔. ละราคะ โทสะ โมหะ หรือ โลภ โกรธ หลง ขั้นหยาบหรือรุนแรง ที่จะทำให้ถึงอบาย ไม่ทำกรรมชั่วขั้นร้ายแรงที่จะเป็นเหตุให้ไปอบาย (สํ.ข.17/469/278)
๕. ระงับภัยเวร โทมนัส และทุกข์ทางใจต่างๆ ที่จะพึงเกิดจากการไม่ปฏิบัติตามศีล ๕ เป็นผู้พ้นจากอบายสิ้นเชิง ความทุกข์ส่วนใหญ่หมดสิ้นไปแล้ว ความทุกข์ที่ยังเหลืออยู่บ้าง เป็นเพียงเศษน้อยนิดที่นับเป็นส่วนไม่ได้ (สํ.ม.19/1575/489 ฯลฯ)
ความจริง คุณสมบัติฝ่ายหมด และฝ่ายมี นี้ ว่าโดยสาระสำคัญ ก็เป็นอย่างเดียวกัน กล่าวคือ จะละสักกายทิฏฐิได้ ก็เพราะมีปัญญาหยั่งรู้สภาวธรรมที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยพอสมควร เมื่อเกิดปัญญาเข้าใจชัดขึ้นอย่างนี้ วิจิกิจฉาคือความสงสัยคลางแคลงใจก็หมดไป ศรัทธาที่อาศัยปัญญาก็แน่นแฟ้น
พร้อมนั้น ก็จะรักษาศีลได้ถูกต้องตามหลักการ ตามความมุ่งหมายกลายเป็นอริยกันตศีล คือ ศีลที่อริยชนชื่นชมยอมรับ สีลัพพตปรามาสก็พลอยสิ้นไป เมื่อจาคะเจริญขึ้น มัจฉริยะก็หมดไป เมื่อราคะ โทสะ โมหะเบาบางลง ก็ไม่ตกไปในอำนาจของอคติ และราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลง ก็เพราะปัญญาที่มองเห็นความจริงของโลกและชีวิต ทำให้คลายความยึดติด เมื่อสิ้นยึดติด ถือมั่นน้อยลง ความทุกข์ก็ผ่อนคลาย และรู้จักความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้น
(มีต่อ)
- สภาวธรรมที่ปัญญารู้เห็นที่ได้ผลก็คือที่กายใจตัวเอง เอาตัวอย่างนี้แล้วกันเบาหน่อย
-> การนั่งครั้งหลังๆ มานี้ เกิดสภาวะคล้ายๆเดิม ตลอดเกือบทุกครั้ง คือ มือหายไปจากความรู้สึก ไม่รู้สึกว่ามีมืออยู่ (รู้ว่ามี แต่รู้สึกว่าไม่มี ผมอธิบายไม่ถูก เชื่อว่าท่านผู้รู้คงเข้าใจผม) ก้นและต้นขาที่นั่งทับพื้นยังรู้สึกว่ามีอยู่ หลังที่นั่งพิงเก้าอี้ก็รู้สึกว่ายังมีอยู่ คือ สรุปว่ามือหายทั้งสองข้าง อย่างอื่นที่เหลือยังรู้สึกถึงได้ อยู่ครบยังไม่หาย มีอาการตัวพองๆยุบๆบ้างแต่ก็ไม่บ่อย มีอาการหายเกือบทั้งตัวบ้างแต่น้อยมาก แต่ที่แน่ๆคือ มือทั้งสองข้างหายทุกครั้ง, ทุกครั้งจริงๆครับ นั่งแป๊บเดียวก็หายแล้ว และหายไปจากความรู้สึกตลอดเวลาที่ยังนั่งอยู่ ลมหายใจเริ่มแผ่วเบาลงเรื่อยๆ จนกระทั่งเหมือนลมหายไป เหมือนไม่ได้หายใจ
ในครั้งแรกๆที่เจอสภาวะนี้ ผมตกใจทำอะไรไม่ถูก ตะลีตะลานรีบควานหาลม แล้วก็กลับมาหายใจแบบปกติ, แต่ในครั้งหลังๆ ผมจะพยายามทนอยู่กับสภาวะนี้ ซึ่งผมจะอึดอัดมาก และในที่สุดผมก็ทนไม่ไหว จนต้องบังคับให้ตัวเองหายใจด้วยการสูดยาว จึงจะกลับมารู้สึกว่าผมหายใจแล้ว ผมจึงเริ่มรู้ลมใหม่ .. แล้วลมก็แผ่ว .. แล้วลมก็หาย .. แล้วผมก็ทน .. แล้วผมก็ทนไม่ไหว .. แล้วผมก็สูดลม .. แล้วผมก็รู้ลม .. แล้วลมก็แผ่ว .. ฯลฯ วนรอบอยู่อย่างนี้ ซ้ำรอบอยู่อย่างนี้
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=samathijit&month=09-12-2023&group=5&gblog=105
- แก้ปัญหาได้รู้เหตุรู้ผลของมัน เกิดปัญญาแล้ว ถ้ายังแก้ปัญหาคือทุกข์สภาวะประมาณนี้ไม่ได้ปัญญายังไม่เกิดยังไม่เกิดปัญญา สักกายทิฏฐิก็ยังไม่สิ้นไป วิจิกิจฉาก็ยังอยู่
Create Date : 06 กันยายน 2567 |
Last Update : 6 กันยายน 2567 20:03:33 น. |
|
0 comments
|
Counter : 132 Pageviews. |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|