กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
ธันวาคม 2567
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
1 ธันวาคม 2567
space
space
space

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ


- ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ
 
     พระพุทธศาสนานั้น เราถือกันว่าเป็นศาสนาประจำชาติ  การถืออย่างนี้เป็นประเพณีที่สืบต่อมาโดยถูกต้องตามสมควรแก่เหตุ   คือ  การที่พระพุทธศาสนากับชนชาติไทยได้มีความสัมพันธ์แนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  ทั้งในทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม
 
     ในทางประวัติศาสตร์  ความเป็นมาของชนชาติไทยเนื่องมาด้วยกันกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนา  โดยเฉพาะนับตั้งแต่สมัยที่ชนชาติไทย  มีประวัติศาสตร์อันชัดเจน ชาวไทยก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาต่อเนื่องตลอดมา  จนกล่าวได้ว่า  ประวัติศาสตร์ของประเทศไทย  เป็นประวัติศาสตร์ของชนชาติที่นับถือพระพุทธศาสนา
 
     ในด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนไทยได้ผูกพันประสานกลมกลืนกับหลักความเชื่อ และหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนา  ตลอดเวลายาวนาน  จนทำให้เกิดการปรับตัวเข้าหากัน และสนองความต้องการของกันและกัน  ตลอดจนผสมคลุกเคล้ากับความเชื่อถือและข้อปฏิบัติสายอื่นๆ ที่มีมาในหมู่ชนชาวไทย  ถึงขั้นที่ทำให้เกิดมีระบบความเชื่อและความประพฤติปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาที่เป็นแบบของคนไทยโดยเฉพาะ อันมีรูปลักษณะและเนื้อหาของตนเอง ที่เห็นเด่นบางแง่บางด้านเป็นพิเศษ  แยกออกได้จากพระพุทธศาสนาอย่างทั่ว ๆ ไป ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นพระพุทธศาสนาแบบไทย หรือพระพุทธศาสนาของชาวไทย
 
     วัฒนธรรมไทยทุกด้านมีรากฐานสำคัญอยู่ในพระพุทธศาสนา  ถ้อยคำมากมายในภาษาไทยมีต้นกำเนิดมาจากภาษาบาลี และมีความหมายที่สืบเนื่อง ปรับ แปรหรือเพี้ยนมาจากคติในพระพุทธศาสนา  แบบแผน  และครรลองตามหลักการของพระพุทธศาสนา  ได้รับการยึดถือเป็นแนวนำและเป็นมาตรฐานสำหรับความประพฤติการบำเพ็ญกิจหน้าที่ และการดำเนินชีวิตของคนในสังคมไทยทุกระดับ  ทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ปกครองประเทศ และไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
 
 
     คนไทยทั่วทั้งหมด ตั้งแต่องค์พระเจ้าแผ่นดินลงมาจนถึงผู้ชายชาวบ้านสามัญแทบทุกคน ได้บวชเรียนรับการศึกษา จากสถาบันพระพุทธศาสนา ดังมีประเพณีบวชเรียนเป็นหลักฐานสืบมา วัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาของสังคมไทย เป็นแหล่งคำสั่งสอน การฝึกอบรม และอำนวยความรู้ทั้งโดยตรงแก่ผู้เข้าไปบวชเรียนอยู่ในวัด และโดยอ้อมแก่ทุกคนในชุมชนที่อยู่แวดล้อมวัด ชุมชนทุกแห่ง แม้แต่หมู่บ้านในชนบทห่างไกล   ต่างก็มีวัดประจำเป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นศูนย์กลางกิจกรรมของชุมชน
 
     กิจกรรมใหญ่ที่มีความสำคัญของรัฐก็ดี  ของชุมชนก็ดี    จะมีส่วนประกอบด้านพระพุทธศาสนาเป็นพิธีการ  เพื่อเน้นย้ำความสำคัญและเสริมคุณค่าทางจิตใจ  แม้แต่กิจกรรมเล็กน้อยจนถึงการประกอบกิจส่วนตัวของบุคคลในชีวิตประจำวัน  เช่น  ตื่นนอน  ล้างหน้า  ออกเดินทางไปทำงานจนถึงเข้านอน  ก็อาจเคร่งครัดถึงกับนำคำสอนและข้อปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาเข้าแทรกเป็นส่วนนำสำหรับเตือนสติกระตุ้นเร้าในทางกุศล หรือเพื่อความเป็นสิริมงคล   (ดังปรากฏต่อมาภายหลัง   บางทีเลือนลางเหลือเพียงเป็นการทำตามๆ กันมา เป็นเรื่องโชคลาง หรือสักว่าทำพอเป็นพิธี)   เหตุการณ์ทั้งหลายในช่วงเวลาและวัยต่างๆ ของชีวิต  เช่น  การเกิด  การแต่งงาน และการตาย  ก็ทำให้มีความสำคัญ และดีงามด้วยกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา  กล่าวได้ว่า ชีวิตของคนไทยผูกพัน อิงอาศัยกันกับพระพุทธศาสนาเต็มตลอด  ตั้งแต่เกิดจนถึงตาย

     สภาพที่กล่าวมานี้ได้เป็นมาช้านาน   จนฝังลึกในจิตใจและวิถีชีวิตของชาวไทย  กลายเป็นเครื่องหล่อหลอมกลั่นกรองนิสัยใจคอพื้นจิตของคนไทย   ให้มีลักษณะเฉพาะตน  ที่เรียกว่าเป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย และทำให้พูดได้อย่างถูกต้องมั่นใจว่า  พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทย
 
     อย่างไรก็ตาม เมื่อ ๑๐๐ ปีเศษล่วงมานี้  ประเทศไทยได้ถูกคุกคามโดยลัทธิอาณานิคม เป็นเหตุให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบแบบแผนต่างๆ ในการบริหารประเทศตามแบบอย่างประเทศตะวันตก  เพื่อเร่งรัดปรับปรุงตัวให้เจริญทัดเทียมที่จะต้านทานป้องกันอำนาจครอบงำของประเทศที่กำลังเที่ยวล่าอาณานิคมอยู่ในเวลานั้น  เริ่มแต่เปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา ไปจนถึงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในที่สุด พร้อมกันนั้น วัฒนธรรมแบบตะวันตกก็หลั่งไหลเข้ามามากขึ้นตามลำดับ  ทำให้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่แปลกแยกห่างเหินจากวัฒนธรรมไทยเดิมยิ่งขึ้นทุกที   แม้ว่าเอกราชของประเทศชาติจะได้รับการดำรงรักษาให้รอดพ้นปลอดภัยมาได้   แต่เอกลักษณ์ของสังคมไทยก็ได้ถูกกระทบกระแทกจนสึกกร่อน และเลือนจางลงไปเป็นอันมาก
 
     เมื่อเวลาผ่านมาจนถึงยุคปัจจุบัน  ความแปลกแยกห่างเหินจากวัฒนธรรมของตน และความกร่อนเลือนไม่ชัดเจนของเอกลักษณ์ไทย  ก็ทำให้คนไทยจำนวนไม่น้อยเกิดความไม่มั่นใจหรือลังเลที่จะพูดว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทย  โดยเฉพาะในด้านการเมืองการปกครอง  แม้ว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญข้อว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ”   จะมีผู้ตีความว่าเป็นการบ่งบอกโดยนัยว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  เพราะกำหนดตายตัวให้พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันคู่กันกับสถาบันพระมหากษัตริย์และเป็นหลักประกันว่า  องค์พระประมุขของชาติทรงเป็นศาสนิกแห่งศาสนาเดียวกันกับประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ  แต่กระนั้น  คนไทยไม่น้อย แม้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบชะตากรรมของประเทศ   ก็ยังขาดความมั่นใจ ต่างก็พยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงคำพูดประโยคสั้นๆ ที่ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาตินี้  หรือไม่ก็พูดออกมาอย่างอึกอักอ้อมแอ้ม
 
     ภาวะลังเล   ขาดความมั่นใจ และไม่แน่วแน่เข็มแข็งที่เริ่มกลายเป็นความขัดแย้งกันนี้ได้ครอบงำสังคมไทยอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง จนกระทั่งในที่สุด ความยืนยันตัวเองก็กลับคืนมาได้อีกครั้งหนึ่ง เมื่อชาวไทยทั่วประเทศได้ฟังกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ตรัสต้อนรับพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ ๒ ประมุขแห่งศาสนจักรคาทอลิก ในคราวที่เข้าเฝ้า ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๗ มีความจำเพาะตอนนี้ว่า
 
        “คนไทยเป็นศาสนิกที่ดีทั่วกัน   ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ”
 
     หลังจากได้ความมั่นใจ  ดุจเป็นพระราชวินิจฉัยจากพระราชดำรัสครั้งนี้แล้ว  บุคคลและวงการต่างๆ ก็พากันมีความกล้าหาญที่จะพูด หรือเขียนให้ชัดแจ้งออกมาว่า   “พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ”
 
     เหตุผลที่ถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ   มิใช่เฉพาะที่กล่าวไว้คร่าวๆ ข้างต้นเท่านั้น แต่มีมากหลายประการ  ซึ่งพอจะประมวลได้   ดังนี้

 
 



 



Create Date : 01 ธันวาคม 2567
Last Update : 2 ธันวาคม 2567 9:35:47 น. 0 comments
Counter : 215 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณนายแว่นขยันเที่ยว


ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space