Ride to Raid
Group Blog
 
All Blogs
 
เรียนภาษาไทใหญ่จากเพลง "แผ่นดินแยก" นางหมวยใส

มอื่อ สูง ค่า (สวัสดีครับ)
ช่วงนี้จ๊ายก๊งเหลวหนีเที่ยว ทำให้บล็อกไม่มีความเคลื่อนไหว
แต่ตอนนี้กลับมาสานงานต่อแล้วครับ


บทเรียนภาษาไทใหญ่วันนี้ เป็นเพลงของนางหมวยใสสมัยเด็ก
เพลงนี้เป็นเพลงช้า แต่คำร้องจะเร็ว แล้วมีศัพท์ใหม่เยอะดัวย ทำให้ผมฟังไม่ทัน
โอเคว่าจับใจความคร่าวๆ ได้ แต่รายละเอียดนั้นตัองมาค่อยๆ แกะเช่นเคยครับ



ชื่อคลิปไม่ตรงกับชื่อเพลงข้างในครับ


(อ่าน) สาย หลิน ขาต

สระอายของไทใหญ่ แปลกดี ไม่ได้ใช้ระบบสระอา แล้วสะกดด้วย ย อย่างไทย
แต่ไทใหญ่จะใช้สระไอ ผสมสระอา ได้เป็นสระอาย
ตัวคอมม่าที่อยู่บนพยัญชนะ คือสระไอของไทใหญ่ ส่วนสระอาก็หน้าตาเหมือนของไทย
ถ้าถอดให้ตรงตัวกันเลย จะได้ "ไสา" อ่านไม่ออกในแบบภาษาไทย แต่นี่คือสระอาย ของไทใหญ่

(แกะ) สาย ดิน ขาด
(เกลา) แผ่นดินแยก


(อ่าน) ฮ่อง-น้าง โหมย สอื๋อ
แต้ม-หาน จื้น แล้ง

(เกลา) ร้อง-นางหมวยใส
แต่ง-นายหาญชื้นแลง


(อ่าน) ฮั่ก อั่มจ้าง เส ฮั่ก อยู่ ก้อ อั่มจ้าง โฮ่ม ฮ้อม กั๋น ไล่ ไหน ฮุ่ อยู่ เย่า

"จ้าง" คือ ทำได้ ทำเป็น คนล้านนาใช้คำนี้ให้ได้ยินบ่อยๆ
"อั่มจ้าง" คือ ไม่อาจ ไม่สามารถ ไม่เป็น

(แกะ) รัก ไม่อาจ เสีย รัก อยู่ ก็ ไม่อาจ ร่วม รวม กัน ได้ นี้ รู้ อยู่ แล้ว

"เส" แปลว่า เสีย ที่เป็นคำสร้อยนะครับ ไม่ได้มีความหมายสำคัญอะไร

(เกลา) รักไม่สามารถ รักไม่อาจลงเอยกันได้ รู้อยู่แล้ว


(อ่าน) เหมิน เจิ้ง สาย หลิน ขาต แค่น ไว่ แก้ก๋าง สู ตั๊ง เฮ้า เส
(แกะ) เหมือน เช่น สาย ดิน ขาด แยก ไว้ ท่ามกลาง สู กับ เรา เสีย
(เกลา) เหมือนดั่งแผ่นดินแยกกั้นกลางระหว่างสูกับเรา


(อ่าน) ต่า จั๋ม กั๋น อั่ม มี้
(แกะ) เพื้อ ใกล้ กัน ไม่ มี
(เกลา) ไม่มีทางได้อยู่ใกล้กัน


(อ่าน) น่อง ยื่น มื้อ จู๊ จ๊าย อั่ม ถืง เต๋ กว่า จู๊ จ๊าย ก้อ อั่ม ไล่
(แกะ) น้อง ยื่น มือ หา ชาย ไม่ ถึง จะ ไป หา ชาย ก็ ไม่ ได้

ท่อนนี้ไม่ต้องเกลาเลย ไวยากรณ์ตรงกันดีมาก


(อ่าน) เหมิน ฮ่าง จั๋ม เส แล่ ซั่ม ไก๋ ถ่าง ว่า เต๋ ไล่ ซั่ม คื้น ไล่ หยาน
(แกะ) เหมือน อยู่ ใกล้ เสีย แล กลับ ไกล คิด ว่า จะ ได้ กลับ กลับ ได้ จาก

"ฮ่าง" ตามพจนานุกรม แปลว่า "จัดเตรียม" แต่กรณีนี้ ผมคิดว่า คงจะแปลว่า "อยู่" นั่นเอง
"เส" กับ "แล่" กรณีนี้เป็นคำสร้อย
"ซั่ม" กับ "คื้น" ในกรณีนี้ แปลว่า "กลับ ดัน แต่" ให้ความหมายในการเชื่อมสิ่งที่ตรงข้ามกัน

(เกลา) ยิ่งใกล้เหมือนยิ่งไกล คิดว่าจะได้ลงเอยกลับต้องพลัดพลาก


(อ่าน) มั้น อั่มเป๋นไล่ ฮุ่ อยู่ ก้อ ต่า เต๋ ว่า ลื้ม จ๊าย นั่น น่อง ตื๊น อั่มหัน
(แกะ) มัน เป็นไปไม่ได้ รู้ อยู่ ก็ เพื่อ จะ ว่า ลืม ชาย นั้น น้อง แน่นอน ไม่มี

"อั่มเป๋นไล่" ถ้าแปลตรงตัว คือ "ไม่เป็นได้" ซึ่งก็คือ "เป็นไปไม่ได้" นั่นเอง
ไวยากรณ์อาจจะไม่ตรงกับไทยนัก สำหรับวลีนี้ และมีอีกหลายตัวอย่าง เช่น
"อั่มเอ๋าไล่" = เอามาไม่ได้
"สังเป๋นไล่" = ถ้าเป็นไปได้

ส่วน "อั่มหัน" คือ "ไม่เห็น ไม่มี ไม่เกิดขึ้น"

(เกลา) มันคงเป็นไปไม่ได้ก็รู้อยู่ แต่จะให้ลืมชายก็คงไม่ได้เช่นกัน



(อ่าน) เสง เต้น นอื๊อ โอ๊ก จอื๋อ ก้อ ตึ้ก ฮ่อง ออก จื้อ จ๊าย ไว่ อยู่
(แกะ) เสียง เต้น ใน อก ใจ ก็ ยัง ร้อง ออก ชื่อ ชาย ไว้ อยู่
(เกลา) หัวใจยังเต้น ยังร่ำร้องเป็นชื่อชายเสมอ

มาถึงตรงนี้ ทำให้ทราบว่า ไทใหญ่ใช้ "เต้น" ได้สองคำ
คำหนึ่ง ก็คือ "เต้น" ตรงกับไทย อีกคำหนึ่งคือ "ต้ง"
แต่ "ต้ง" จะแปลว่า "เคลื่อนไหว" ได้ด้วย สามารถย้อนไปดูได้ในเพลง
"หยาดน้ำค้าง" และ "ไม่ใช่เนื้อคู่" ที่ผมเคยแปลไว้แล้ว จะมีคำว่า "ต้ง"


(อ่าน) ต่า จั๊ง จ๊าย อั่ม มี้
(แกะ) ให้ ชัง ชาย ไม่ มี

"ต่า" ตามพจนานุกรม แปลว่า "สำหรับ เพื่อ ส่วน" บางทีจะใส่ว่า "เพื่อ" มันก็ไม่ตรงซะทีเดียว

(เกลา) ให้ชังชายคงเป็นไปไม่ได้


(อ่าน) ไว่ ว่า ต๊างย้อนซู้ อั่ม เต๋ม ฮั่ก หน่า ล่น โอ๊ก ล่น จอื๋อ ก้อ
(แกะ) ไว้ ว่า คำขอพร ไม่ เต็ม รัก มาก ล้น อก ล้น ใจ ก็
(เกลา) เหมือนว่าคำขอพรยังไม่จบ แม้รักมากจนล้นใจก็ (ไปต่อท่อนต่อไป)


(อ่าน) อั่ม จั๋ม กั๋น ไล่ เหมิน ย้ามเหลว โห่ญหมากโหจอื๋อ น่อง ป๊อ คอื้อ แตก
(แกะ) ไม่ ใกล้ กัน ได้ เหมือน ตอนนี้ หัวใจ น้อง ก็ ใคร่ แตก
(เกลา) อยู่ใกล้กันไม่ได้ในตอนนี้ หัวใจน้องอัดอั้นจนอยากจะระเบิด

"โห่ญ" กับ "หมาก" แปลว่า "ลูก หมาก ผล" ใช้เน้นคำว่า "โหจอื๋อ"
แปลไทยตรงๆ ก็คือ ลูกหัวใจ ผลหัวใจ หมากหัวใจ นั่นเอง


(อ่าน) เต๋ เป๋น เก้าะ จู๊ก ไว่ อยู่ ไก๋ ไก๋ จ๊าย เส น่อง หือ กว่า เหลอ ไล่ น้อ
(แกะ) จะ เป็น คน ยืน ไว้ อยู่ ไกล ไกล ชาย เสีย น้อง หรือ ไป เหลือ ได้ หนอ

ท่อนนี้ยากจริงๆ ครับ ยากจนต้องไปปรึกษาจากเพจ มุกจุมจาวเคอไต ในเฟสบุค
ต้องขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วย ได้ความอย่างนี้ครับ

(เกลา) จะเป็นคนที่ยืนอยู่ไกลๆ ชาย น้องจะไปต่อได้ไหมยังไม่รู้

"น่องหือกว่าเหลอไล่น้อ" "หือ" กับ "น้อ" ให้ความหมายในเรื่ิองความสงสัย
ประมาณว่า น้องจะไปต่อยังไง จะไปได้ไหม จะเหลือไหม จะรอดไหม ทำนองนี้


(อ่าน) ก้อป ต๊างฮั่ก ย้อน ถืง
(แกะ) เพราะ ความรัก ขอ ถึง
(เกลา) เพราะความรักมันเรียกร้อง

สรุปรวมก็คือ น้องจะยืนดูอยู่ไกลๆ แต่จะอยู่ได้ไหมไม่แน่ใจ เพราะความรักมันเรียกร้อง


(อ่าน) ไหม้จอื๋อ จ๊อม อยู่ กู้ ย้าม พ้อง จ๊าย เฮ่อะ ม่อย ม้า จื๋ง
(แกะ) ร้อนใจ ตาม อยู่ ทุก ยาม ยาม ชาย เหนืีอย ล้า มา จึง
(เกลา) เป็นห่วงอยู่ตลอดเวลา ยามชายเหนื่อยล้ามานั้น


(อ่าน) จ๊าย จ่อง หัน โฮ่ม ลื่อ โอ๊ก ลื่อ จอื๋อ หือ
(แกะ) ชาย ไหม เห็น ร่ม พัก อก พัก ใจ ไหม
(เกลา) ชายจะมีร่มเงาให้ได้พักอกพักใจไหม

ก่อนหน้านี้เป็น "หือ" กับ "น้อ" ที่ช่วยกันสร้างประโยคคำถาม
ส่วนท่อนนี้เป็น "จ่อง" กับ "หือ" ซึ่งพบได้บ่อย จากหลายเพลง


(อ่าน) ก่าว ถืง ก๊องมู้ ตั๊งเซ่ง เจ้า พล้า โหลง ฮ้อม มื้อ ต่าง โห เส เย่า
(แกะ) บนบาน ถึง เจดีย์ ทั้งหมด เจ้า พระ ใหญ่ พนม มือ วางบน หัว เสีย แล้ว
(เกลา) วิงวอนต่อคุณพระคุณเจ้า พนมมือไว้บนหัวแล้ว (ไปต่อท่อนต่อไป)

ท่อนนี้ได้ศัพท์ใหม่เป็นตับเลยครับ
"ก่าว" = กล่าว พูดถึง บนบานสานกล่าว
"ก๊องมู้" = เจดีย์ (สำเนียงไทย ก็ กองมู)

ผมปล่อยไก่ไว้ในเพลง "คิดถึงแสนหวีเหนือ" ตอนนั้นนึกว่า กองมู คือชื่อเฉพาะ
แต่จริงๆ แล้ว เจดีย์อะไรก็ได้ กองมูได้หมด ดังนั้น พระธาตุดอยกองมู ที่แม่ฮ่องสอน
ก็คือ พระธาตุดอยเจดีย์นั่นเองครับ

"ตั๊งเซ่ง" = ทั้งหมด ทั้งสิ้น
"ต่าง" = เอาไว่บน


(อ่าน) หลอม ย้อนซู้ ไว่ อยู่
(แกะ) มุ่ง ขอพร ไว้ อยู่
(เกลา) ขอพรด้วยจิตตั้งมั่น


(อ่าน) จ้าต หน้า ฮอื้อ สู แล่ เฮ้า มี้ ต๊าง เซ้า โฮ่ม เฮิ้น กั๋น
(แกะ) ชาติ หน้า ให้ สู และ เรา มี ทาง อยู่ ร่วม เรือน กัน

"เซ้า" คำนี้มันตรงกับคำลาว และคำอีสาน "เซา" "เซ่า" สำเนียงต่างกันไปในแต่ละพื้นที่
แต่ความหมายมันคือ "หยุด หยุดพัก พักแรม อยู่" ทำนองนี้

(เกลา) ชาติหน้าขอให้สูและเราได้มาอยู่ร่วมเรือนกัน


(อ่าน) อย่า ห่อน มี้ ล่อง ไล่ ผาตหยาน
(แกะ) อย่า อย่า มี เรื่อง ได้ พลัดพลาก
(เกลา) อย่าให้มีเรื่องต้องพลัดพลาก


(อ่าน) แหนฮ่าง-จ๊าย จ๊าย น้าง โหมย สอื๋อ
(เกลา) นำแสดงโดย นายชาย นางหมวยใส

นั่นก็เป็นเนื้อหาทั้งหมดของเพลง แต่ไม่รู้เหตุผลที่ต้องพลัดพลาก ในเพลงไม่ได้บอก

สรุปเนื้อหา "แผ่นดินแยก"

รักไม่สามารถ รักไม่อาจลงเอยกันได้ รู้อยู่แล้ว
เหมือนดังแผ่นดินแยก กั้นกลางระหวางสูกับเรา ไม่มีทางได้อยู่ใกล้กัน
น้องยื่นมือหาชายไม่ถึง จะไปหาชายก็ไม่ได้
ยิ่งใกล้เหมือนยิ่งไกล คิดว่าจะได้ลงเอย กลับต้องพลัดพลาก
มันคงเป็นไปไม่ได้ก็รู้อยู่ แต่จะให้ลืมชายก็คงไม่ได้เช่นกัน
หัวใจยังเต้น ยังร่ำร้องเป็นชื่อชายเสมอ จะให้ชังชายคงเป็นไปไม่ได้
เหมือนว่าคำขอพรยังไม่จบ แม้รักมากจนล้นใจ ก็อยู่ใกล้กันไม่ได้ในตอนนี้
หัวใจน้องอัดอั้นจนอยากจะระเบิด

จะเป็นคนที่ยืนอยู่ไกลๆ ชาย น้องจะอยู่ยังไงต่อไปยังไม่รู้ เพราะความรักมันเรียกร้อง
เป็นห่วงอยู่ตลอดเวลา ยามชายเหนื่อยล้ามานั้น ชายจะมีร่มเงาให้ได้พักอกพักใจไหม
วิงวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ขอพรด้วยใจตั้งมั่น
ชาติหน้าขอให้สูและเราได้มาอยู่ร่วมเรือนกัน อย่าให้มีเรื่องต้องพลัดพลาก

บทกลอน "แผ่นดินแยก"

...รักไม่อาจ ไม่สามารถ สุขสมหวัง
เป็นเหมือนดั่ง แผ่นดินแยก แตกเป็นสาย
มากั้นกลาง ไม่ให้เรา ได้ข้ามกลาย
เอื้อมมือไป ไขว่คว้าชาย ไม่ถึงกัน

แม้อยู่ใกล้ ก็เหมือนไกล ออกไปมาก
ต้องพลัดพลาก เมื่อมาถึง จุดเปลี่ยนผัน
ไปไม่ได้ จะย้อนกลับ ก็ไม่ทัน
ไม่มีวัน จะลืมชาย ได้ลงคอ

หัวใจเต้น หัวใจร้อง ชื่อชายพี่
ให้หน่ายหนี ให้ตัดใจ ไม่ได้หนอ
เหมือนขอพร ไว้ไม่จบ ไม่เพียงพอ
คับใจคอ อัดอั้นมาก อยากระบาย

จะเป็นคน ที่ยืนอยู่ ไกลไกลพี่
จะอยู่ดี อยู่ได้ไหม ไม่รู้ได้
ด้วยความรัก มันเรียกร้อง อย่างมากมาย
เป็นห่วงชาย จะเหนื่อยไหม ใครดูแล

ขอบนบาน สานกล่าวกราบ สิ่งศักดิ์สิทธิ์
ด้วยความคิด ขอพรไว้ ใจแน่วแน่
ขอชาติหน้า ได้มาอยู่ ร่วมเรือนแพ
อย่าให้แม้ ได้มีเรื่อง ต้องจากจร...

คำแปล และบทกลอน โดยจ๊ายก๊งเหลว



Create Date : 18 ตุลาคม 2556
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2556 23:16:29 น. 0 comments
Counter : 1387 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

RouteRaideR
Location :
อุบลราชธานี Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 10 คน [?]




จักรยาน มีล้อเดียว มันเสียวล้ม
ต้องเพาะบ่ม หมั่นฝึกฝน จนคล่องแข็ง
จะได้ขี่ กระโดดเด้ง เร่งหลบแซง
แม้หลุมแอ่ง อุปสรรค กล้าเิผชิญ

ขี่เก่งแล้ว ก็ค่อยออก ไปเที่ยวเล่น
ปั่นแล้วเป็น เหมือนบินลิ่ว ปลิวลมเหิน
นั่งตัวตรง ไม่มีแฮนด์ เป็นส่วนเกิน
ชมวิวเพลิน ผจญภัย ไม่เบื่อเลย

by RouteRaideR
Friends' blogs
[Add RouteRaideR's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.