space
space
space
 
กันยายน 2562
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
space
space
26 กันยายน 2562
space
space
space

พยากรณ์อากาศ (หลักความสมมาตร) ลงวันที่ 25 กันยายน 2562
ที่มา : https://www.facebook.com/525992480778039/photos/a.2481582088552392/2481582221885712/?type=3&theater

25กันยายน2562แรม12ค่ำเดือน10มาคุยกันของเรื่องลมฟ้าอากาศในช่วงนี้กัน 2ผ่านนี้ที่ผ่านมาเราก็เจอกับสภาพอากาศที่เรียกว่า วิปริตผิดธรรมดา หลายคนอาจสงสัยว่ามันเกิดอาเพศอะไร ซึ่งทฤษฎีจับคู่ความสมมาตรสามารถให้คำตอบได้ ซึ่งปกติความกดอากาศสูงจะลงมาหลังครึ่งเดือนตุลาคมไปแล้ว แต่สำหรับปีนี้ ทำไมลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจึงพัดมาไวกว่าปกติ ผมอธิบายได้ครับ โดยใช้หลักความสมมาตรในการอธิบาย ย้อนกลับไปเมื่อปลายฝนต้นหนาวของปี2561ผมเคยทำนายไว้ว่าฤดูฝนของปี2561จะหมดเร็ว ปลายๆเดือนกันยายนฝนก็จะหมด และผมได้ทำนายข้ามช๊อตไปว่า ในฤดูร้อนของปี2562ช่วงเดือนมีนาคมฝนจะมาตกชดเชยให้ ซึ่งมันก็เป็นความจริง พอเข้า เดือนมีนาคมเมฆมากจนฝนเทียมเริ่มปฏิบัติการทำฝนมาตั้งแต่มีนาคม แต่ฝนก็ไม่ได้ตกตามคาดหวังเพราะคงมาจากฝนเทียมกดอากาศไว้ ดังนั้นหากเรานำเอาข้อมูลสมมาตร360วันและ180วันมาวิเคราะห์ มันจะไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะลมหนาวมันมาตามหลักความสมมาตรของมัน ถ้าถามว่าสภาพอากาศที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ มันจะเกิดอะไรขึ้นในอีก180วันที่เป็นคู่สมมาตรกันในวันนั้นมาถึง ผมเคยพูดไว้เสมอว่า เดือนกันยายน หากพบว่ามีลมอีสานพัดมา แต่เมฆครึ้มปกคลุมโดยเฉพาะเมฆฝุ่น เมฆชั้นบน แสดงว่าอีก180วันจะพบอากาศร้อนอบอ้าว เป็นอากาศร้อนถึงร้อนจัดในอีก180วันข้างหน้า(มีนาคมปี63) บ่ายค่ำมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง แต่หากเจอกับสภาพอากาศอย่างวันที่24-25กันยายน2562 ที่พบลมอีสานพัดฉิว มีอากาศเย็นท้องฟ้าโปร่งสดใส คล้ายฤดูหนาว ให้พยากรณ์เอาไว้เลยว่าอีก180วันข้างหน้าจะเกิดฝนตกฟ้าคะนองพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นระหว่างวันที่21-22มีนาคม2563ซึ่งก่อนหน้าจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นมันมีอากาศที่ร้อนอบอ้าวมีฝนบางแห่งมายาวนาน เป็นเชื้อความชื้นที่สามารถเร่งให้เกิดฝนเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีความกดอากาศสูงแผ่ลงมาช้อนให้อากาศร้อนชื้นยกตัว ดังนั้นในเดือนมีนาคมช่วงวันที่11-12-13-14-15มีนาคม2563อากาศประเทศไทยจะร้อนมาก พอวันที่16-17-18-19-20มีนาคม2563 อากาศร้อนถึงร้อนจัดอบอ้าวมาก เริ่มมีฝนฟ้าคะนองบ่ายค่ำช่วงที่มีแดดร่มลมตก พอเข้าสู่วันที่21-22มีนาคม2563ความกดอากาศสูงแผ่ลงมาทำให้เกิดพายุฤดูร้อน นี้คือผลของความสมมาตรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีก6เดือนข้างหน้า ที่ผมเคยบอกว่าผมสามารถพยากรณ์อากาศล่วงได้ถึง6เดือน เพราะว่าผมใช้ข้อมูลที่บันทึกไว้6เดือน นำมาวิเคราะห์ทั้งหมด โดยไม่ใช้ข้อมูลจากส่วนอื่น หรือจากแหล่งอื่นมาใช้วิเคราะห์เลย แต่มีบ้าง ที่ใช้ข้อมูล30วันในการนำมาหาความชัดเจนถูกต้อง การที่ผมบอกว่าผมพยากรณ์ได้ล่วง6เดือน จึงเป็นคำกล่าวที่เป็นจริง เพราะใช้ข้อมูล6เดือนในการวิเคราะห์ ซึ่งวันพรุ่งนี้วันที่26กันยายน2562ที่ผมบอกว่า จะมีฝนกลับมาตกอีก จากพบเมฆฝุ่นในบันทึก180วันบันทึกเอาไว้ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นความจริง เพราะกำลังมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก เคลื่อนลงมา พรุ่งนี้คลาดว่าจะปกคลุมประเทศไทยของเราเกือบทั้งหมด วันที่27จะมามากเพิ่มขึ้น

แล้วบันทึก180วันที่บันทึกไว้ มันมีส่วนไหนที่บอกถึงคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกบ้าง ให้ไปอ่านดูข้อมูลบันทึก180วันของวันที่27กันยายนครับ พบว่ามีลมตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งบางคนเรียกลมนี้ว่าคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออก ซึ่งมันเป็นตัวการที่สำคัญที่ทำให้เกิดฝนหากมีการเบียดย้อยลงมาของคลื่นกระแสลมฝ่ายตกวันตก คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเกิดได้อย่างไร ผมเคยวิเคราะห์เรื่องนี้มาหลายรอบแล้วครับ หากใครได้ติดตามผมมานานจะทราบดี ว่าผมเคยเขียนเรื่องคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเอาไว้หลายบทความ คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก คือลมที่อยู่สูง5.5กิโลเมตร ระดับความกด500เฮกโตปาสคาล(Hpa)โดยทั่วไปจะเกิดคลื่นได้จากลมแอนตี้ไซโคลน (หมุนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ) หรือไม่ก็ลมที่หมุนแบบโซโคลนิก(หมุนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ)แต่คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกที่มามีอิทธิพลกับบ้านเรา มันต่างจากที่อื่น เพราะมันเป็นลมที่ตกเขาลงมาจากหลังคาโลกคือเทือกเขาหิมาลัย ที่มีความสูงถึง8กิโลเมตร สูงกว่าบรรยากาศชั้นกลาง5.5กิโลเมตร ที่มีลมแจ๊ดสตรีม พัดเคลื่อน ผ่าน ลมนี้คือลมของบรรยากาศชั้นบน หรือเรียกว่าลมกรด ที่พัดรอบโลกจากตะวันตกไปตะวันออก จะพัดแรงมากในฤดูหนาว พัดอยู่ช่วงละติจูดที่30โดยประมาณ ในฤดูหนาวจะลงมาในละติจูดที่ต่ำ ลมตกเขาคือความกดอากาศสูงจากหลังคาโลกหรือเทือกเขาหิมาลัย ดันให้ลมที่มีน้ำหนักของความกดอากาศสูงชั้นนี้ตกลงมา ทำให้ลมกรดย้อยลงมาทางพม่าหาประเทศไทยของเรา ในขณะเดียวกันหากเป็นช่วงที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเสยขึ้นไปหา เกิดลมพัดสอบ จึงทำให้เกิดฝนตก เพราะเกิดการพัดสอบกันของลม2ทิศทาง เมื่อลมพัดเบียดกันจะทำให้เกิดเป็นเมฆแผ่นเกาะกลุ่มกันหนาแน่น คุณสมบัติของเมฆคือมันสามารถสั่นคลื่น ทำให้เกิดปะจุไฟฟ้าในอากาศได้ เมื่อบรรยากาศเกิดปะจุไฟฟ้า มันเกิดความร้อนแฝงขึ้น ความร้อนแฝงเกิดจากสภาวะเครียด หมายความว่า ปะจุบวกปะจุลบในบรรยากาศไหลหาปะทะกันแบบห่างๆ ทำให้อากาศร้อนขึ้น เมื่ออากาศใต้เมฆแผ่นร้อนขึ้น มันจึงทำให้อากาศยกตัว ทำให้ลมที่มากับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก พัดกดลงตามความกดอากาศเท่าที่มีการยกตัวขึ้น จากการสร้างของความร้อนแฝง เมื่อกระแสลมกรดจากคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกพัดลงตามแนวดิ่ง มาเจอความร้อนแฝงด้านล่าง ทำให้ลมเหล่านั้นแตกตัวกลายเป็นไอน้ำจากลมเย็นมาเจอความร้อนจากความร้อนแฝงที่ผลิตด้วนการสั่นของเมฆแผ่น แล้วกลายเป็นฝนตกมีพายุลูกเห็บได้ เพราะมีลมพัดขึ้นลงระหว่างลมชั้นบนพัดตามความกดอากาศเท่าของลมชั้นล่างที่ยกตัวทะลุถึงกัน นี้คือที่มาของการเกิดฝนจากคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก ความจริงคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก ผมเพิ่งศึกษา มาได้ไม่นานนี้เอง สมัยก่อนผมไม่เคยรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องราวของคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกนี้เลยแม้แต่น้อย เมื่อมันเข้ามาสร้างความสงสัยในเรื่องการวิจัยเรื่องอากาศเขตร้อนทำให้ผมศึกษาเจาะลึก ค้นหาคำตอบ และกำลังค้นหาวิธีที่จะมาทำนายพยากรณ์เกี่ยวกับฝนฟ้าอากาศที่เกิดจากการเกิดขึ้นของคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก ให้ชัดเจนกว่านี้

จากสิ่งที่รู้เพิ่มขึ้นวันนี้ที่พบสัญญาณการเกิดขึ้นของคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก อย่างแรกต้องความกดอากาศสูง ที่ต้องตกเขาสูงอย่างเทือกเขาหิมาลัยลงมา อย่าง2คือลมตะวันออกเฉียงใต้ ถ้า2อย่างนี้ครบองค์ประกอบ มันเกิดฝนจากคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกได้ พอดีหรือบังเอิญยังไงไม่ทราบได้ว่า วันที่27กันยายนตรงกับแรม14ค่ำซึ่งเป็นโฟกัสของความกดอากาศสูงพอดี และบันทึกบอกถึงลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งครบองค์ประกอบพอดี ดังนั้นการมาของคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจึงได้สัญญาณที่จะมาใช้ในอนาคต ถึงการใช้ในการหาความสมมาตรของสัญญาณอากาศร้ายประเภทนี้แล้ว แต่เราคงต้องเก็บสถิติที่จะเกิดซ้ำๆอีกหลายครั้งหลายๆปี ถึงจะนำมาเป็นตรรกะในการ ใช้เป็นบรรทัดฐานในการนำมาใช้หาสัญญาณจริงในอนาคต
ไหนๆก็มาคุยกันเรื่องของอากาศมาดูอากาศระยะยาว วันที่27กันยายนเป็นวันที่พีคสุดของโฟกัสความกดอากาศสูง หากความกดอากาศสูงมันดันลงมาทำให้คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกลงมาต่ำจากพลังงานที่มาก ประกอบกับมีลมลมตะวันออกเฉียงใต้สอบจะทำให้วันที่27กันยายนฝนตกได้มากหนาแน่นจากคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตก จากนั้นหลังจากวันที่27กันยายน คือ28-29-30กันยายน จะมีการผลัดกันไล่ดันกันระหว่างมวลอากาศเย็นกับมวลอากาศร้อนลุกไล่กัน กลางวันอากาศร้อนไล่อากาศเย็น กลางคืนอากาศเย็นไล่อากาศร้อน ผลักกันไปมาจนถึงวันที่30กันยายน วันที่1ตุลาคม อากาศจะกลับมาเป็นปกติ เพราะบันทึกบัก180วันบอกว่าลมตะวันออกหายไปน้อยลงไปพอมีบ้างระยะสั้นๆ พอวันที่2ตุลาคมอากาศกลับมาร้อนอากาศยกตัวบ่ายค่ำปกติ ไปถึง5ตุลาคม ส่วนวันที่6-ถึง10ตุลาคมผมไม่มีบันทึก จึงไม่สามารถพยากรณ์ได้น่าเสีย เพราะความขี้เกียจของผมเองที่ไม่บันทึกอากาศต่อเนื่อง อาจเป็นเพราะเครื่องคอมพังด้วย วันนี้คุยกันเท่านี้ก่อนยาวมากไม่ดี คนมาเจอจะเลื่อนนี้หมด สวัสดี


Create Date : 26 กันยายน 2562
Last Update : 26 กันยายน 2562 21:31:06 น. 0 comments
Counter : 346 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 4239428
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 4239428's blog to your web]
space
space
space
space
space