ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
เมษายน 2561
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
14 เมษายน 2561
 
All Blogs
 
ป้อมปราการที่สหรัฐสร้างผิดที่ผิดทางในแคนาดา




Fort Montgomery Rouses Point NY







Fort Montgomery, also known as Fort Blunder. Photo credit: Axel Drainville/Flickr



ระหว่างสงครามปฏิวัติอเมริกาและสงครามในปี 1812
ระหว่างอังกฤษกับสหรัฐอเมริกา
พรมแดนระหว่างอังกฤษแคนาดาและทางตอนเหนือของรัฐนิวยอร์ก
คือเขตพื้นที่สู้รบที่ดุเดือดมากที่สุดแห่งหนึ่ง
การรบมักจะเกิดขึ้นรอบ ๆ ทะเลสาบ Champlain
ทะเลสาบน้ำจืดแห่งนี้ตั้งอยู่ตรงข้ามพรมแดนสหรัฐฯ - แคนาดา
ทำให้อังกฤษสามารถบุกเข้าสู่ใจกลางอเมริกาได้โดยง่าย
เส้นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญจาก Saint Lawrence ไปยัง Hudson
ถ้าตกอยู่ในเงื้อมมือกองทัพอังกฤษแล้ว
สงครามปฏิวัติอเมริกาอาจจะแตกต่างจากเดิมมาก

ดังนั้น หลังจากสงครามในปี 1814 Battle of Plattsburgh
เพื่อป้องกันการรุกรานครั้งใหม่จากอังกฤษ
ในปี 1816 สหรัฐอเมริกาได้ตัดสินใจที่จะเสริมแนวป้องกันตรงชายฝั่งทะเลสาบ Champlain
เกาะที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทรายขนาดเล็กที่ชื่อว่า Island Point
จึงมีการสร้างป้อมปราการรูปแปดเหลี่ยม มีกำแพงสูง 30 ฟุต(9.1 เมตร)
พร้อมติดตั้งปืนใหญ่ 125 กระบอกพร้อมยิงถล่มเรือรบอังกฤษที่พยายามจะแล่นเรือผ่าน
โดยประธานาธิบดี James Monroe ได้แวะมาเยี่ยมชมระหว่างก่อสร้างในปี 1817
แล้วมีการเรียกชื่อป้อมปราการนี้อย่างไม่เป็นทางการว่า The Commons
แต่หลังจากการก่อสร้างไปร่วม 2 ปีแล้ว
มีการปักปันเขตแดนระหว่างสหรัฐอเมริกากับอังกฤษ
ก็พบปัญหาที่สำคัญระหว่างชายแดนเกิดขึ้น
ป้อมปราการสร้างผิดที่ผิดทางสร้างในเขตของอังกฤษ(ที่ยึดครองแคนาดาในช่วงนั้น)
เพราะสร้างขึ้นเหนือเขตแดนสหรัฐอีก 3⁄4 ไมล์ (1.2 กิโลเมตร)

เมื่อความผิดพลาดสะเพร่าที่ถูกพบขึ้นมาในการปักปันดินแดน
ทำให้การสร้างต่อเติมป้อมปราการต้องยุติลงไปทันที
ป้อมนี้จึงได้เรียกกันว่า ป้อมสะเพร่า Fort Blunder
หรือบางครั้งก็เรียกว่า Works Fortification หรือ Battery
ทำให้ป้อมนี้กลายเป็นป้อมร้างถูกทอดทิ้งเป็นเวลากว่า 20 ปี
ทำให้ชาวบ้านแถวนั้นฉวยโอกาสรื้อขนเอาหินและวัสดุก่อสร้าง
ไปใช้สร้างบ้านและอาคารสาธารณะในที่ต่าง ๆ

ในปี ค.ศ. 1842 ทั้งสหรัฐอเมริกากับอังกฤษ
ได้ตกลงเจรจาเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาเรื่องนี้
และปัญหาเขตแดนอื่น ๆ อีกมากมาย
พรมแดนระหว่าง New York กับ Quebec
ตามที่ได้รับสัตยาบันกันในสนธิสัญญาปารีสในปี ค.ศ. 1783
เส้นกั้นพรมแดนระหว่างสหรัฐอเมริกากับอังกฤษจะต้องอยู่ในเขตเส้นขนานที่ 45
ดังนั้น Fort Blunder จึงจะต้องตั้งอยู่บนพื้นดินของอังกฤษ(แคนาดา)
แต่สหรัฐอเมริกาซึ่งมีชัยชนะเหนือมหาอำนาจอังกฤษที่ตกยุคแล้ว
ได้ยืนยันว่าเขตแดนใหม่จะต้องถูกผลักขึ้นไปทางเหนือของสหรัฐอเมริกา
เพื่อให้ป้อมปราการดังกล่าวอยู่ในดินแดนของสหรัฐอเมริกา
ทำให้การเจรจาข้อตกลงครั้งนี้กลายเป็นการแลกดินแดน
มีการเจรจาลงนามกันในสนธิสัญญา Webster-Ashburton ในปี 1842






หลังจากที่ Fort Blunder กลายเป็นของสหรัฐอเมริกาแล้ว
โดยไม่รอช้าแต่อย่างใด สหรัฐอเมริกาก็เริ่มลงมือก่อสร้างใหม่อีกครั้ง
ซึ่งค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างต่ำมากเพราะใช้แรงงานทหารเป็นส่วนใหญ่
มีก็แต่เฉพาะค่าแรงงานฝีมือช่างตัดหินกับชาวบ้านและแวกนั้นราว 400 คน
โดยมีความสูงของป้อมถึง 48 ฟุต(14.63 เมตร)จากเดิมที่สูงเพียง 30 ฟุต(9.1 เมตร)
แล้วตั้งชื่อป้อมปราการนี้ว่า Fort Montgomery
ทั้งนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่วีรบุรุษสงครามปฏิวัติ นายพล Richard Montgomery
ผู้ซึ่งตายในสนามรบระหว่างทำสงครามกับอังกฤษในปีค. ศ. 1775
ในช่วงที่พร้อมรบหรือเรียกระดมทหารเต็มอัตราศึก
จะมีทหารประจำการถึง 800 คนในป้อมแห่งนี้


ในช่วงปี 1860 ที่เกิดสงครามกลางเมืองอเมริกา
มีข่าวลือหนาหูว่าอังกฤษพยายามแทรกแซงสหภาพแคนาดา
เพื่อยึดดินแดนบางส่วนคืนจากสหรัฐอเมริกาเป็นการล้างอาย
กับแอบขนส่งกองทหารฝ่ายใต้ผ่านทางแคนาดา
เพื่อโจมตี/โอบล้อมทหารฝ่ายเหนือตามยุทธวิธีรบ
สหรัฐอเมริกาจึงต่อเติมให้มั่นคงแข็งแรงขึ้นกว่าเดิมมาก
ในปี 1886 มีการติดตั้งปืนใหญ่จำนวน 74 กระบอก
ทุกกระบอกหันหน้าขึ้นไปทางนทางเหนือจ่อไปที่แคนาดา

อย่างไรก็ตาม ความเป็นไปได้ที่จะมีการโจมตีจากแคนาดา
ได้กลายเป็นประเด็นที่เผ็ดร้อนและน่าวิตกกังวลกับสหรัฐอเมริกา
จนทำให้เกิดแนวคิดเสริมสร้างกำลังป้องกันพรมแดนสหรัฐอเมริกา - แคนาดา
แม้ว่าจะถูกมองว่าเป็นเรื่องไร้สาระมากในเวลาต่อมาก็ตาม

อีก 50 ปีถัดมา ปืนใหญ่ของป้อมปราการนี้กลายเป็นอาวุธล้าสมัย
เพราะปืนใหญ่รุ่นใหม่มีกระสุนปืนที่ทรงพลงอำนาจ
ในการทำลายล้างกำแพงและป้อมปราการได้โดยง่ายดาย
จึงมีการถอดปืนใหญ่ในป้อมปราการออกไปเก็บไว้ในที่อื่น/ประมูลขายต่อไป

ในปี 1901 ปืนใหญ่รุ่นเดิมจึงลดลงเหลือ 20 กระบอก
ในปี 1909 ปืนใหญ่ที่เหลือพบจุดจบที่เตาหลอมเศษเหล็กใน Philadelphia
ทำให้ช่วงเวลาหลังจากนี้ กลายเป็นป้อมปราการร้างไร้คนดูแล
มีแต่ทหารที่เกษียณอายุและพักอาศัยอยู่ใกล้เคียงคอยดูแลเท่านั้น

ในปี 1926 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศขายทอดตลาด
ทรัพยสินกับป้อมปราการด้วยการประมูลราคา
มีเอกชนครอบครัวหนึ่งได้ซื้อไปเป็นสมบัติส่วนตัว
และแล้วประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอยอีกครั้งหนึ่ง
ชาวบ้านต่างเก็บกวาดรื้อถอนก้อนหิน ไม้ บานประตู หน้าต่าง ไปสร้างบ้านของตน
ทำให้โครงสร้างส่วนใหญ่ของป้อมปราการพังทะลายและเสื่อมโทรมลง
ในการก่อสร้างสะพานข้ามทะเลสาบ
ก้อนหินส่วนใหญ่ถูกนำมาจากป้อมปราการ
ใช้ในทำรากฐานของสะพานข้ามทะเลสาบ Champlain
ทำให้ทุกวันนี้ Fort Montgomery เหลือสภาพเพียงเล็กน้อย






https://bit.ly/2HzbDJv



https://bit.ly/2HzbDJv






เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2HzbDJv
https://bit.ly/2vifQPE




การแลกดินแดนที่เป็นตำนาน  ไทยแลกดินแดน



Create Date : 14 เมษายน 2561
Last Update : 14 เมษายน 2561 17:45:57 น. 0 comments
Counter : 1963 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.