ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2561
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
6 สิงหาคม 2561
 
All Blogs
 
สะพานไม้ไผ่กำปงจามที่สร้างขึ้นใหม่ทุกปีกำลังจะสูญหายไป








Photo credit: James Antrobus/Flickr




การเดินทางข้ามแม่น้ำโขงทางตะวันออกของกัมพูชา
ใช้สะพานไม้ไผ่ที่เชื่อมต่อระหว่างเกาะกลางแม่น้ำ Koh Pen
เก๊าะเปน เกาะเต็ม เช่น พนมเปน(เขาเต็ม) แม่น้ำปิง แม่น้ำเต็ม
ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางแม่น้ำโขงกับกำปงจาม Kampong Cham
เมืองใหญ่อันดับที่ 6 ของกัมพูชาทางฝั่งตะวันตก


สะพานไม้ไผ่นี้สร้างเป็นฤดูกาล
โดยจะมีการสร้างขึ้นในทุกฤดูแล้ง
เมื่อลำน้ำในแม่น้ำโขงลดตัวลง
และกลายเป็นที่ตื้นเกินไปสำหรับเรือข้ามฟาก
แต่หลังจากนั้นในช่วงเริ่มต้นของฤดูฝนแต่ละครั้ง
ก่อนที่แม่น้ำโขงจะไหลเอ่อล้นขึ้นมาสูงกว่าเดิม
ชาวบ้านจะช่วยกันรื้อถอนสะพานไม้ไผ่ด้วยมือ
แล้วนำไปเก็บไว้ใช้ใหม่หรือนำไปใช้กับสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ
เพราะในช่วงฤดูฝน กระแสน้ำของแม่น้ำไหลเชี่ยวมากเกินไป
จนสะพานไม้ไผ่เหลือที่จะทนทานอยู่รอดได้
เรือข้ามฟากจึงทำหน้าที่ข้ามแม่น้ำโขงแทน


เมื่อน้ำในแม่น้ำเริ่มลดลงมีสภาพเริ่มตื้นเขินและกระแสน้ำไหลไม่เชี่ยวแล้ว
ชาวบ้านก็จะร่วมมือกันก่อสร้างสะพานไม้ไผ่ใหม่ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง
โดยการนำท่อนไม้ไผ่ขนาดยาวและหนากระแทกลงในแม่น้ำ
แล้วนำไม้ไผ่ที่ตอกออกมามัดเป็นซีก ๆ วางไว้ด้านบนเพื่อทำให้พื้นผิวถนน
กับใช้การประสานกันของไม้ไผ่พร้อมกับการขวั้นเชือกเพื่อโยงยึดเข้าด้วยกัน
ไม้ไผ่แต่ละท่อนมีส่วนในการโยงยึดและรั้งกับฐานรากของสะพานไม้ไผ่
สะพานไม้ไผ่แห่งนี้มีความแข็งแรงและกว้างพอ
ที่จะรองรับน้ำหนักของยานพาหนะที่มีน้ำหนักเบา
ถ้ามองดูจากระยะไกลดูเหมือนกับก้านไม้ขีดไฟสานกัน


เนื่องจากไม้ไผ่โค้งงอตัวได้มาก
ทำให้มีโอกาสหักได้น้อยมาก
ไม่ไผ่นำมารนไฟแบบพวกมืออาชีพที่ทำว่าวขาย
จะเหนียวหนึบ/เด้งตัว/กันมอดดีกว่าไม้ไผ่ที่ไม่ผ่านการรนไฟ

การขับขี่รถยนต์หรือรถเครื่อง(จักรยานยนต์) เหนือสะพานไม้ไผ่
เร้าใจเร้าอารมณ์มากเหมือนขับบนระนาด
เพราะการที่สะพานไม้ไผ่หดตัวและตีดกลับ
สร้างประสบการณ์ในการขับขี่ผ่านกองคลื่นไม้ไผ่
พร้อมกับเสียงกระเพื่อม/เสียงอึกทึกที่ส่งผ่านล้อยาง


" ยังไม่มีใครนับจำนวนไม้ไผ่ราวหลายพันลำ
ที่โยงยึดกันเป็นแนวยาวและแนวนอนขึ้นเป็นรูปสะพานได้
แต่มันค่อนข้างไหลลื่นและขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ
การเร่งเครื่องยนต์บนสะพานไม้ไผ่
จะส่งเสียงและแรงกระเพื่อนไปทั่วทั้งสะพาน
ทำให้คนเดินเท้าบนสะพานต้องหลีกทางก่อน
ไปยืนหลบตามแถวข้างทางสะพานไม้ไผ่
ที่ดูค่อนข้างน่ากลัวและแหลมคม "
Emily Lush เขียนใน Wander Lush




Photo credit: Stephen Bugno/Flickr




อย่างไรก็ตาม มีนักท่องเที่ยวหลายพันคน
ต่างเดินทางมาที่กำปงจามในแต่ละปี
เพื่อได้ความตื่นเต้นเร้าใจกับการขับขี่ข้ามสะพานไม้ไผ่
สำหรับชาวบ้านในท้องถิ่นต่างจ่ายเงิน 100 เรียล
2.5$ เซนต์(สามสลึง)ในการใช้สะพาน


แต่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะถูกเรียกเก็บเงิน
เป็น 40 เท่าของราคาชาวบ้าน(ราว 30.-บาท)
ซึ่งเป็นธรรมเนียมปรกติของพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกแล้ว
สร้างรายได้คิดเป็นเงินที่เรียกเก็บเงินราว 1-2 ล้านเรียล/วัน
หรือประมาณ 250-500$(7,500-15,000.-บาท)
ประมาณปีละ 2.0 ล้านบาท


รายได้หลัก ๆ จึงมาจากชาวต่างชาติแบบเสือนอนกิน
โดยจะนำรายได้ที่เก็บรวบรวมไว้นี้
ไปทำการก่อสร้างและบำรุงรักษาสภาพสะพานไม้ไผ่
ซึ่งต้องใช้เงินประมาณ 50,000-60,000$ในแต่ละปี(1.5-1.8 ล้านบาท)


สะพานไม้ไผ่กำปงจามมีการสร้างขึ้นใหม่ทุกปีมานานหลายสิบปีแล้ว
แต่ในปีนี้อาจจะเป็นปีสุดท้ายที่จะมีสะพานไม้ไผ่


เพราะห่างออกไปจากสะพานไม้ไผ่นี้
อีกประมาณ 2 กิโลเมตรทางตอนใต้
มีการสร้างสะพานคอนกรีตเส้นใหม่แล้ว
ที่ได้เปิดให้บริการในเดือนมีนาคม ปีนี้
สะพานคอนกรีตมีความยาว 800 เมตร
สามารถรองรับน้ำหนักรถบรรทุกได้ถึง 30 ตัน
ขณะที่สะพานไม้ไผ่รองรับได้เพียง 4 ตัน
และมีอายุการใช้งานนานกว่าสะพานไม่ไผ่ถึง 50 ปี


ชาวบ้านบางคนบน Kok Pen
ดูเหมือนว่ามีความสุขกับสะพานใหม่
เพราะมีความสะดวก ประหยัดเวลา รวมทั้งปลอดภัยยิ่งขึ้น
และยังไม่ต้องจ่ายค่าผ่านทางเหมือนเดิมอีกด้วย


แต่การสูญเสียสะพานไม้ไผ่
อาจจะต้องสูญเสียนักท่องเที่ยว
ทำให้ชาวบ้านหลายคนต่างวิตกว่า
จะส่งผลกระทบ/ผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมของเกาะแห่งนี้
รวมทั้งภูมิปัญญา/การมีส่วนร่วมของชาวบ้าน
ในการสร้างสะพานไม้ไผ่ทุก ๆ ปี


เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/2AEKTYy






Photo credit: Donald Macauley/Wikimedia



Longest bamboo bridge in the world. Photo credit: Dale Warren/Shutterstock.com



Photo credit: Stephen Bugno/Flickr



Photo credit: Stephen Bugno/Flickr



Photo credit: Stephen Bugno/Flickr



View under the bamboo bridge in Kampong Cham. Photo credit: Vitalii Karas/Shutterstock.com



Photo credit: Vitalii Karas/Shutterstock.com


Photo credit: Kompasskind.de/Shutterstock.com




เรื่องเล่าไร้สาระ


กำปง คือ ท่า (ทางขึ้นบก/ท่าเรือ/ท่าน้ำ)
จาม คือ ชาวจาม/จัมปา ที่หนีตายมาขึ้นบกทึ่นี่
อาณาจักรจัมปา ที่เคยรุ่งเรืองมากในอดีต
เดิมนับถือศาสนาฮินดู/พุทธก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นศาสนาอิสลาม


ต่อมาถูก ไดเวียด ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวจัมปา
มีในหนังสือของ ปแฏงมหาบุญเรือง คัชมาย์
ท่านแปลและเรียบเรียงมาจากนักประวัติศาสตร์เขมร
ที่ประมาณการว่า ชาวจามตายราว 400,000 กว่าคน
ท่านได้ส่งต้นฉบับมาให้ผม แต่ผมยังไม่มีเวลาเรียบเรียง
เรื่องราวชาวจามยังมีในบทความของมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์
ผลการแพ้รบเลยทำให้ชาวจามกลายเป็นชนกลุ่มน้อยมุสลิม
อาศัยอยู่ในตะเข็บรอยต่อเวียตนามกับเขมร


เวียด คือ ชาวญวน/เวียตนาม
บางคนว่า เป็นพวกชนเผ่าเย่ว์ที่มักจะก่อการกบฎ
เย่ว์ จีนมักเรียกรวม ๆ ชนเผ่าพื้นเมือง/พวกร้อยเผ่าพันแม่
จนทางการจีนต้องปราบปรามหลายครั้งมาก
บางคนว่า เวียดน่าจะเป็นพวกทหารจีนที่พ่ายแพ้
ในศึกชิงบัลลังค์/พวกก่อการกบฎ
ในยุคแรกเวียดยังไม่มีแผ่นดินของชาติตนเอง
จึงรวมพลกับคนไดเข้ายึดครองอาณาจักรจัมปา
เพื่อยึดครองดินแดนกับทรัพยากรของพวกจาม


ได คือ คนไท ได กะได หรือคนจ้วง
ขัอมูลอื่น ๆ มีใน Facebook จำนงค์ ทองภิรมย์
บริเวณถิ่นฐานเมืองหลวงจัมปา
แถวรอบ ๆ เมืองเดียนเบียนฟู
มีคนไทอาศัยอยู่จำนวนหนึ่ง
ไทดำ ไทขาว ดูจากสีเสื้อผ้าที่นิยมสวมใส่
ไทดำชอบอยู่ตามพื้นที่ราบสูง
ไทขาวชอบอยู่ตามริมแม่น้ำ


คนไทดูเหมือนว่ารักสงบ
แต่ก็รบไปทั่วรอบรั้วบ้านตั้งแต่ยุคอดีต
เคยไปตีพม่า มอญ เขมร ลาว มาเลย์
เพิ่อกวาดต้อนไพร่พลมายังเมืองหลวง
ไทบางส่วนไปสร้างอาณาจักรอัสสัมที่อินเดีย รัฐฉานในพม่า
ก่อนที่ยะแยยะจะพ่ายในภายหลัง


ตอนสงครามครั้งสุดท้ายของเวียตนามกับฝรั่งเศสที่เดียนเบียนฟู
กองทัพปลดแอกเวียตนามก็ต้องขอเดินทางผ่านชุมชนไท


จิรนันท์ พิตรปรีชา กับ เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
ก็เคยเดินผ่านหมู่บ้านไทดำแถวนี้
มีในหนังสือ อีกหนึ่งฟางฝัน
เล่าว่า เสกสรรค์ยิงฟาน(เก้ง) ได้
เจอเด็กไทดำเดินสวนทางพูดไทยว่า " ฟาน ดีกิน "






การล่มสลายของอาณาจักรจัมปา
ทำให้คนจามต้องอพยพมาเป็น กองอาสาจาม
ตามตำนานบอกว่า พวกนี้เป็นพวกเจ้าหนีตายจากไดเวียด
ที่ทำสงครามแบบฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาณาจักรจัมปา
จริง ๆ แล้ว กองอาสา ก็คือ ทหารรับจ้างในสมัยกรุงศรีอยูธยา
แต่ใช้วาทกรรมให้ดูดีมีสกุลกว่าคำว่า รับจ้าง


คนจามมีการอพยพอีกละลอกในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
ในช่วงที่ไทยรบกับญวน
เพราะกษัตริย์เขมรชอบเหยียบเรือสองแคม
ชอบทำตัวเป็นลูกเลี้ยงไม่ยอมโต
เพราะไทยเหมือนแม่ ญวนเหมือนพ่อ
พอถูกใครตีดุด่าก็วิ่งไปหาอีกคน
จนทำให้พ่อแม่ต้องทะเลาะกันเรื่องลูก
ตามข้อเขียน มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช


คนจามส่วนมากมักจะมากระจุกตัวอยู่ที่บ้านครัว
ซึ่งเป็นแหล่งทอผ้าไหมด้วยมือในสมัยอดีต
ที่ Jim Thomson ราชาผ้าไหมไทย
นำไปเผยแพร่และสร้างรายได้อย่างมหาศาลให้กับไทย
เพราะจากการเดินเข้าไปสำรวจชุมชนที่อยู่ตรงข้ามกับบ้าน
มีเพียงคลองแสนแสนคั่นกลางเท่านั้น


โรงงานแถวบ้านก็มักจะชอบ
Import คนจัมปามุสลิมในเขมรมาทำงาน
เพราะส่วนมากมักจะพูดภาษามลายูได้
ค่อนข้างขยัน อดทน และรักความสะอาด
ข้อสำคัญคือ ไม่ดื่มเหล้าแบบแรงงานชาวพุทธ










แถวบ้านมีสะพานข้ามทะเลน้อย
เดิมเป็นถนนชั่วคราวในหน้าแล้ง
ที่พระกับชาวบ้านช่วยกันสร้างถนนให้เดินเป็นทางลัด
จากระโนฏไปยังพัทลุง เรียกชื่อว่า ถนนพระสร้างประชาทำ
โดยต้องสร้างกันใหม่ทุก ๆ ปีในตอนหน้าแล้ง


ต่อมา ชาวบ้านทั้งสองฝั่งทะเลร่วมหุ้น(ลงขัน)
สร้างเป็นสะพานไม้ชั่วคราวให้รถพอวิ่งได้
มีการนำเอาเสาไฟฟ้าและแท่งคอนกรีตที่ขอ/ซื้อมาราคาถูก
มาสร้างเป็นสะพานไม้ให้พอข้ามทางได้ในช่วงหน้าฝน
โดย เอกชัย ศรีวิชัย ที่ดังเพลงหมากัด ในปี 2538-2539
ก็มาช่วยจัด Concert เพื่อหาทุนสร้างสะพานนี้ด้วย




หมากัด - เอกชัย ศรีวิชัย



กรมทางหลวงได้สร้างสะพานคอนกรีตถาวรคร่อมทางเดิมภายหลัง
ชื่อ สะพานเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 (เส้นทาง พท. 3070)
แต่ชาวบ้านยังเรียกกันว่า สะพานเอกชัย หรือ สะพานไประโนฎ(ตาลโตนด)
ชื่อเดิมคือ ถนนสายบ้านไสกลิ้ง-บ้านหัวป่า


สะพานเริ่มจากทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
ไปสู่ อ.ระโนด จ.สงขลา รวมระยะทาง 14 กิโลเมตร
เป็นสะพานที่ยาวที่สุดในประเทศไทย


เส้นทางข้ามทะเลน้อย จะเห็นทะเลน้อย
นกนานาชนิดและ ควายน้ำ อาศัยอยู่










ไม้ไผ่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม






ไม้ไผ่เป็นพืชวงศ์หญ้าที่โตเร็วมาก
สามารถปลูกทดแทนได้ในรอบ 1-3 ปี


หน่อไม้ปี๊บที่ขายกันมากทุกปี
เป็นผลผลิตมาจากปราจีณบุรี


ราวแขวนยางพาราในโรงงานรมควันยางพารา
ราวตากยางแผ่นให้แห้งมักจะใช้ไม่ไผ่เป็นหลัก
ถ้าใช้วัสดุอื่นจะแพงกว่า/แผ่นยางจะมีโอกาสเสียหาย


สวนปาล์มภาคใต้ที่ติดกับชายแดนมาเลย์
จะมียาฆ่ากอไผ่ขาย มีคนลักลอบนำเข้ามา
ยานี้ตัวเดียวกับยาเร่งดอกลำไย
ที่ฉีดใบ/ราดโคนต้นให้ออกดอกนอกฤดู
แต่ต้องบำรุงต้นลำไยให้สมบูรณ์ก่อน ควรทำปีเว้นปี
ข้อมูลจากเกษตรกรที่ทำลำไยนอกฤดูแถวบ้าน


การที่ต้องกำจัดไม้ไผ่เพราะเติบโตเร็วเกินไป
จนไปแย่งปุ๋ย บังแดด กับกีดขวางทางเดิน
ในการเข้าไปแทงทะลายปาล์มน้ำมัน

เอกสารงานวิจัย




Create Date : 06 สิงหาคม 2561
Last Update : 6 สิงหาคม 2561 23:31:29 น. 0 comments
Counter : 2533 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.