นานาสาระสุขภาพที่น่ารู้.. เล่าสู่กันฟัง
 
“ลมชัก” โรคที่ไม่ได้มีแค่อาการชักเกร็ง



“ลมชัก” โรคที่ไม่ได้มีแค่อาการชักเกร็ง

โรคลมชัก (Epilepsy) หรือที่คนไทยเรียกว่า “ลมบ้าหมู” จัดเป็นโรคของการเจ็บป่วยทางสมองที่สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย เกิดจากเซลล์สมองนับล้านเซลล์ ที่ทำงานเชื่อมโยงกันเหมือนวงจรไฟฟ้าและปล่อยคลื่นไฟฟ้าออกมาผิดปกติพร้อมกันอย่างเฉียบพลัน จึงส่งผลให้การควบคุมการทำงานของสมองเสียไปชั่วขณะ ซึ่งโรคนี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากกรรมพันธุ์ ติดเชื้อในสมอง สมองขาดออกซิเจน อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดแผลเป็นในสมอง หรือมีเนื้องอกในสมอง

อาการของโรคลมชัก แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. อาการชักกระตุกเกร็งไปทั้งตัว ลักษณะการชักแบบนี้จะเห็นได้ชัดเจน คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยและรู้จักดีว่าคือโรคลมบ้าหมู
     
  2. อาการเบลอๆ เหม่อลอย ไม่รู้สึกตัว หรือที่เรียกว่า “อาการวูบไปชั่วขณะ” อาจมีตาค้าง ตาเหลือกด้วยก็ได้ ส่วนใหญ่มักพบในเด็กอายุ 6-14 ปี อาการของโรคลมชักชนิดนี้ คนยังรู้จักน้อยมาก และมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาการวูบหรือเป็นลมทั่วไป จึงไม่ไปรับการรักษาอย่างทันท่วงที


การรักษาโรคลมชัก

แพทย์จะรักษาตามสาเหตุที่เกิดขึ้น เช่น หากอาการชักเกิดจากคลื่นสมองผิดปกติทั่วไป จะให้การรักษาด้วยยา เพื่อควบคุมอาการชัก โดยปรับกระแสไฟฟ้าในสมองให้กลับมาทำงานเป็นปกติ ป้องกันเซลล์สมองถูกทำลาย หากเกิดจากเนื้องอกในสมอง อาจใช้วิธีการผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออก


วิธีช่วยคนที่มีอาการชักต้องทำแบบนี้

ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้สูงกว่าคนปกติทั่วไป 2-3 เท่า ดังนั้นการช่วยเหลือผู้ที่กำลังมีอาการชักก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับผู้ที่พบเห็นคนที่กำลังชักอยู่ต้องตั้งสติให้ดีโดย

  • ระวังไม่ให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายจากการชัก โดยค่อยๆ จับศีรษะและลำตัวตะแคงไปด้านข้างป้องกันการสำลักน้ำลายหรืออาหาร
     
  • ดูแลไม่ให้มีสิ่งของที่อาจมากระทบกับผู้ป่วยและก่อให้เกิดอันตราย เช่น อุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นของแข็ง
     
  • เพื่อให้หายใจได้สะดวก ให้คลายเสื้อผ้าให้หลวม ถ้าผู้ป่วยใส่แว่นตาควรถอดแว่นออก ถ้าผู้ป่วยใส่ฟันปลอมควรถอดฟันปลอมออกถ้าทำได้
     
  • หากเป็นไปได้ ให้บันทึกภาพเคลื่อนไหวของอาการชักที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปให้แพทย์วินิจฉัยแยกอาการชักจากโรคลมชักกับโรคอื่นๆ ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคและหาแนวทางการรักษาได้เร็วขึ้นอีกด้วย

** ผู้ที่มีอาการชักถ้าได้รับการรักษาเร็ว โดยเฉพาะหลังจากมีอาการครั้งแรก จะมีโอกาสหายขาดสูง สามารถกลับมาเรียนหรือทำงานได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาและมีอาการชักบ่อยๆ จะทำให้เกิดความเสียหาย หรือการบาดเจ็บเกิดขึ้นกับเซลล์สมอง ในระยะยาวก็จะส่งผลต่อสมองในเรื่องของความจำ โดยจะทำให้ความจำถดถอยช้าลง มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง จนในที่สุดเกิดภาวะสมองเสื่อมได้

ข้อมูลเพิ่มเติมคลิก >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/612




Create Date : 20 พฤษภาคม 2565
Last Update : 20 พฤษภาคม 2565 10:09:39 น. 0 comments
Counter : 668 Pageviews.  
 
Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

หนึ่งเสียงในกทม.
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




คุยกับหมอราม
[Add หนึ่งเสียงในกทม.'s blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com