MY VIP Friend

พฤศจิกายน 2567

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
9
10
11
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
27
29
30
 
All Blog
ย้อนรอยสารเคมีกำจัดแมลงที่เคยนึกว่าอยู่ไกลตัว(ตอนที่ 2)
24 ต.ค.2567 เป็นข่าวฮือฮาเมื่อเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN)  ร่วมกับ นิตยสารฉลาดซื้อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แถลงผลการตรวจสารพิษในองุ่นไชน์มัสแคททั้งหมด 24 ตัวอย่าง ปรากฎว่า 23 ตัวอย่างจาก 24 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินที่กฎหมายกำหนด โดย 1 ตัวอย่างพบสารคลอร์ไพริฟอส ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 และเป็นสารที่ถูกแบนในไทยแล้ว 

เรามารู้จักคลอร์ไพริฟอส(Chlorpyrifos) กันดีกว่าคะ

คลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos)เป็นสารประกอบประเภทออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphates) มีฤทธิ์กำจัดแมลงและหนอนต่างๆได้หลายชนิด เกษตรกรจึงใช้สารเคมีชนิดนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1965 (พ.ศ.2508) เพื่อเป็นยากำจัดศัตรูพืช

คลอร์ไพริฟอส จะออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของระบบประสาทในตัวแมลง(Inhibiting acetylcholinesterase) องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้คลอร์ไพริฟอสเป็นสารประกอบที่มีอันตราย การสัมผัสโดยตรงสามารถส่งผลกระทบต่อระบบประสาทของมนุษย์ และทำให้เกิดภาวะภูมิต้านทานตนเอง (Autoimmune disorders)

นอกจากนี้สารประกอบออร์กาโนฟอสเฟต ยังสร้างผลกระทบต่อกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย เช่น ทำให้สูญเสียการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ทำลายกระบวนการเจริญเติบโตของเซลล์ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายต่ำลง ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต สตรีมีครรภ์ที่ได้รับสารประกอบชนิดนี้ จะส่งผลให้การพัฒนาระบบประสาทของทารกในครรภ์ผิดปกติได้

การศึกษาของมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย พบว่าระดับ IQ และความจำในการทำงานที่ลดลงของเด็กอายุ 7 ขวบ มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยของการสัมผัสคลอร์ไพริฟอสก่อนคลอด 

การศึกษาอีกกรณีหนึ่งในกลุ่มเดียวกัน พบว่า เด็กอายุ 3 ขวบที่มีการสัมผัสกับคลอร์ไพริฟอสก่อนคลอดมากกว่าปกติ มีแนวโน้มที่จะมีความล่าช้าของพัฒนาการในวัยเด็ก ปัญหาความสนใจ ปัญหาสมาธิสั้น และปัญหาความผิดปกติทางพัฒนาการทั่วไป

การศึกษาของ UC Davis พบว่า คุณแม่ที่อาศัยในรัศมี 1 ไมล์จากทุ่งนาที่ใช้คลอร์ไพริฟอสและยาฆ่าแมลงออร์กาโนฟอสเฟตชนิดอื่น มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคออทิสติกสเปกตรัมสูงขึ้น 60 เปอร์เซ็นต์ 

ความเชื่อมโยงระหว่างโรคออทิสติกและยาฆ่าแมลงอาจเป็นเพราะการสัมผัสยาฆ่าแมลงในระหว่างตั้งครรภ์ทำให้ความเสี่ยงต่อโรค
ออทิสติกเพิ่มขึ้น

การศึกษาล่าสุด พบความเชื่อมโยงระหว่างการสัมผัสกับคลอร์ไพริฟอสและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมองในเด็กอายุ 7 ขวบ

จากข้อมูลความเป็นพิษหลายประการของคลอร์ไพริฟอส ทำให้ครอบครัวเกษตรกรในอเมริกา เลิกใช้คลอร์ไพริฟอสในฟาร์มของตนเองตั้งแต่ปี ค.ศ.2001 (พ.ศ.2544) เป็นต้นมา แต่เพิ่งมีการประกาศแบนในสหรัฐอเมริกา ปี 2021 ที่ผ่านมานี่เอง

การบริโภคคลอร์ไพริฟอสที่ตกค้างในพืชผักเป็นปริมาณมากๆ สามารถทำให้มนุษย์เสียชีวิตได้ อดีตที่ผ่านมาคลอร์ไพริฟอสเป็นยาฆ่าแมลงที่มีการจำหน่ายเกือบ 100 ประเทศทั่วโลก โดยใช้ฉีดพ่นลงในแปลงเกษตร เช่น ฝ้าย ข้าวโพด อัลมอนด์ รวมถึงผลไม้จำพวกส้ม กล้วย และแอปเปิ้ล แต่ถูกต่อต้านและมีการยกเลิกการใช้ยาฆ่าแมลงชนิดนี้ในหลายประเทศเช่นกัน

ผลกระทบต่อระบบนิเวศมีดังนี้
1.ปนเปื้อนลงในแหล่งน้ำ อากาศ พื้นดิน จนทำให้เสียสมดุลของระบบนิเวศน์และการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า รวมถึงแมลงที่มีประโยชน์อย่าง ผึ้ง ผีเสื้อที่ช่วยผสมพันธุ์พืชตามธรรมชาติได้ตายลงเป็นจำนวนมาก ตัวอ่อนของสัตว์น้ำ เช่น ลูกปลาไม่สามารถเจริญเป็นตัวเต็มวัยมักตายลงเสียก่อน หรือการปนเปื้อนในปลาใหญ่ที่พอจะทนพิษยาฆ่าแมลงได้อาจส่งผลกระทบมาถึงผู้บริโภคปลาด้วย

2.ไส้เดือนซึ่งเป็นสัตว์เกษตรกรที่ผิวดิน มีหน้าที่ทำให้ดินร่วนซุยและเกิดปุ๋ยตามธรรมชาติจะสูญหายไปจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากยาฆ่าแมลง สัตว์ป่าตามธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศน์ภาคเกษตรกรรม เช่น นก อาจสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ

3.เกิดภาวะกลายพันธุ์ของแมลงที่เป็นศัตรูพืช แมลงเหล่านี้สามารถทนพิษของยา ฆ่าแมลงทำให้เราเรียนรู้ว่าการใช้ยาฆ่าแมลงไม่ใช้วิธียั่งยืน แต่กลับก่อให้เกิดผลเสียมากกว่า

4.มนุษย์ที่ได้รับยาฆ่าแมลงโดยตรงหรือโดยอ้อมหรือไม่รู้ตัวว่ากำลังได้รับยาฆ่าแมลงอยู่ จนทำให้เกิดโรคต่อร่างกายได้มากมายไม่ว่าจะเป็นโรคทางระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ กล้ามเนื้อ หัวใจและมะเร็ง

ผลกระทบของสารกําจัดศัตรูพืชต่อผักและผลไม้

ดีดีที (ไดคลอโรไดฟีนิลไตรคลอโรอีเทน) เป็นตัวอย่างของ POP( มลพิษอินทรีย์ถาวร คือเป็นสารกําจัดศัตรูพืชชนิดหนึ่งที่ทนต่อการย่อยสลาย ดังนั้นจึงยังคงอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน)ที่มีพิษสูง ในปี ค.ศ 1900 มีการค้นพบว่า ดีดีทีเป็นยาฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงมีการใช้อย่างกว้างขวางโดยเกษตรกร ผลกระทบทางชีวภาพที่เป็นอันตรายของดีดีทีถูกค้นพบในอีก 20 ปีต่อมา ปัจจุบันถูกแบนในหลายประเทศเนื่องจากผลเสียต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง

ในปี ค.ศ. 1962 นักชีววิทยาชาวอเมริกันชื่อ ราเชล คาร์สัน
ได้ตีพิมพ์หนังสือชื่อ Silent Spring บรรยายถึงผลกระทบของดีดีทีต่อสิ่งแวดล้อม การก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ และทำให้สัตว์ป่าหลายชนิดโดยเฉพาะนก เช่น นกอินทรีหัวขาวจำนวนลดลงจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ทำให้เกิดการศึกษาวิจัยสืบเนื่องและรณรงค์ให้ยกเลิกการใช้ดีดีทีอย่างขนานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา จนมีการประกาศใช้กฎหมายห้ามใช้ดีดีทีในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1972 และเกิดอนุสัญญาสต็อกโฮล์ม ห้ามการใช้ดีดีทีทั่วโลกมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001

สารบางชนิดที่พบในสารกําจัดวัชพืช(herbicide )ได้แก่

1.Glyphosate(ไกลโฟเสท)มีชื่อทางการค้าเรียกว่า Roundup(ราวด์อัพ),ทัชดาวน์, สปาร์ค, ไกลโฟเสทเป็นสารก่อกวนต่อมไร้ท่อ มักเชื่อมโยงกับมะเร็ง โรคตับ ปัญหาการเจริญพันธุ์ ข้อบกพร่องตั้งแต่แรกเกิด ปัญหารก และความเสียหายของดีเอ็นเอในตัวอ่อน
ซึ่งบริษัทผู้ผลิตเคลมว่าไม่ทำอันตรายในคน แต่พบว่าเป็นสารก่อมะเร็ง ในสหรัฐอเมริกาก็มีเคสฟ้องร้องกันอยู่ แล้วผู้ป่วยชนะคดีด้วย ในบ้านเราเพิ่งจะตื่นตัว รณรงค์ห้ามใช้สารนี้เช่นกันคะ

พวกผู้อพยพที่มารับจ้างทำเกษตรกรรมในสหรัฐอเมริกา มักจะขาดความรู้และความระมัดระวังเวลาที่ใช้พวกยากำจัดแมลงศัตรูพืช คือไม่ได้ใช้พวกอุปกรณ์ป้องกันต่างๆทำให้สัมผัสกับสารเคมีโดยตรง จึงเป็นอันตรายต่อสุขภาพ คนกลุ่มนี้เลยมีอายุเฉลี่ยประมาณไม่เกิน 50 ปี ก็ตายจากโลกใบนี้ไปเสียแล้ว

2.Atrazine เป็นสารก่อกวนต่อมไร้ท่ออีกตัวหนึ่ง ทราบกันดีว่าทําให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมดลูก ส่งผลให้น้ําหนักทารกในครรภ์ต่ํา ความพิการของแขนขา และภาวะแทรกซ้อนของหัวใจและทางเดินปัสสาวะ

3.คลอโรไพริฟิซิส เชื่อมโยงกับผลกระทบทางระบบประสาทและความผิดปกติของพัฒนาการในเด็ก ความผิดปกติของภูมิต้านตนเองและปัญหาระบบทางเดินหายใจในผู้ใหญ่

4.Heptachlor เป็นสารก่อมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับเนื้องอกในตับ ระบบทางเดินอาหารและอาการทางระบบประสาท เช่น หงุดหงิดและเวียนศีรษะ

เกษตรกรไทยเสี่ยงป่วยด้วยพิษยาฆ่าแมลง-กำจัดศัตรูพืช ในปี 2561 พบผู้ป่วยเกือบ 1 หมื่นคน

คุณหมอแผนกอายุรกรรมในโรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งในภูมิภาค เคยบอกไว้ว่า เจอเคสผู้ป่วยที่รับจ้างฉีดยาฆ่าแมลง มักจะมาด้วยอาการมีแผลพุพองบริเวณหลังลามไปจนถึงแขนและมือ(ปกติจะสะพายถังยาฆ่าแมลงไว้บนหลังเหมือนเด็กนักเรียนสะพายเป้) หายใจติดขัด  ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก การพยากรณ์โรคไม่ค่อยดี สุดท้ายมักเสียชีวิตในวัยไม่เกิน 40 ปีทุกราย 





#สารเคมีกำจัดแมลง
#องุ่นไชมัสคัส(shine muscat)
#คลอร์ไพริฟอส(Chlorpyrifos)
#ไกลโฟเสท(Glyphosate)
#สารเคมีกำจัดวัชพืช
#สารเคมีตกค้างในองุ่น
#ยาฆ่าแมลงออร์กาโนฟอสเฟต
#ดีดีที (ไดคลอโรไดฟีนิลไตรคลอโรอีเทน)
#สารกําจัดศัตรูพืช






ที่มา

คลอร์ไพริฟอส Chlorpyrifos - หาหมอ.com - HaamorHaamorhttps://haamor.com › คลอร์ไพริฟอส

คลอร์ไพริฟอส | เครือข่ายการกำจัดศัตรูพืชและเกษตรนิเวศวิทยา ( ...Pesticide Action Network (PAN)https://www.panna.org › resources › chlorpyrifos-facts

เกษตรกรไทย เสี่ยงป่วยด้วยพิษยาฆ่าแมลง-กำจัดศัตรูพืช ปี 61 พบ ...Hfocus.orghttps://www.hfocus.org › content › 2019/06

ดีดีทีWikipediahttps://th.wikipedia.org › wiki › ดีดีที



Create Date : 12 พฤศจิกายน 2567
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2567 14:52:18 น.
Counter : 81 Pageviews.

0 comments
(โหวต blog นี้) 

BlogGang Popular Award#20



แป้งปังปอนด์
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 878 คน [?]



เริ่มเขียนblog 20ก.ค55
ปัจจุบัน ( 3 มี.ค 57 ) แป้งได้มีเพจแป้งปังปอนด์ สร้างขึ้นเพื่อจุดประสงค์แชร์ข้อมูลจาก blog ให้ท่านที่สนใจได้ติดตามอ่านอย่างสะดวกและรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาโหลดเนื้อหาจาก blog ดังนั้นขออนุญาตงดตอบคำถามใดๆทางเพจและ facebook ค่ะ






หากท่านใดมีคำถามเกี่ยวกับการกินวิตามินเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและบำรุงผิวพรรณ รบกวนส่งคำถามไปยัง blog แป้งปังปอนด์ นานาสารพันปัญหา volume 5 อย่างเดียวเท่านั้นค่ะ


ขออนุญาตฝากกด like เพจแป้งปังปอนด์ เพื่อเป็นกำลังใจในการสรรค์สร้างผลงานด้วยมันสมองและสองมือพยาบาลสาวภูไท คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จบการศึกษา ปี พ.ศ 2539 จากที่ราบสูงคนนี้ด้วยนะคะ


สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ 2539 ห้ามผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการนำชื่อ " แป้งปังปอนด์ " ไปใช้เพื่ออ้างอิงหรือติดป้ายสินค้าในเวปไซด์หรือที่ใดๆหรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของข้อความใน " Blog แป้งปังปอนด์ " แห่งนี้ไปใช้ ทั้งโดยการเผยแพร่เพื่อการอ้างอิงหรือนำรูปภาพไปโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด




New Comments