space
space
space
 
กุมภาพันธ์ 2561
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728 
space
space
27 กุมภาพันธ์ 2561
space
space
space

สมรรถภาพทางร่างกาย


เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดแต่ละองค์ประกอบของสมรรถภาพทางกาย

1. ความแข็งแรง ใช้เครื่องมือไดนาโมมิเตอร์ ,ฟรีเวท ,หรือเครื่องมือไอโซคิเนติก

2. พลัง ใช้เครื่องวัดยืนกระโดดสูง แผ่นยางยืนกระโดดไกล

3. ความทนทานของระบบไหลเวียนโลหิต ใช้จักรยานวัดงาน การวิ่ง 3.2 กิโลเมตร วิ่ง 12 นาที และ สเตปเทส 3 นาที

4. ความทนทานของระบบกล้ามเนื้อใช้การดึงข้อ ดันพื้น Sit-up

5. ความเร็วใช้การวิ่ง 15 ถึง 50 เมตร

6. ความอ่อนตัว ใช้เครื่องมือวัดการยืนหรือนั่งงอตัว

7. ความคล่องตัวใช้การวิ่งเก็บของระยะทาง 10 เมตร

สมรรถภาพกลไก ( Motor Fitness) หรือ
สมรรถภาพเชิงทักษะปฏิบัติ
(Skill – Related Physical Fitness)

ความสามารถของร่างกายที่ช่วยให้บุคคลสามารถประกอบกิจกรรมทางกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเล่นกีฬาได้ดี มีองค์ประกอบ 6 ด้าน ดังนี้

1. ความคล่อง (Agility) หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วและสามารถควบคุมได้

2. การทรงตัว (Balance) หมายถึง ความสามารถในการรักษาดุลของร่างกายเอาไว้ได้ทั้งในขณะอยู่กับที่และเคลื่อนที่

3. การประสานสัมพันธ์ (Co-ordination) หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น กลมกลืน และ มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการทำงานประสารสอดคล้องระหว่างตา-มือ-เท้า

4. พลังกล้ามเนื้อ (Power) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อส่วนหนึ่งส่วนใดหรือหลายๆ ส่วนของร่างกายในการหดตัวเพื่อทำงานด้วยความเร็วสูง แรงหรืองานที่ได้เป็นผลรวมของความแข็งแรงและความเร็วที่ใช้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เช่น การยืนอยู่กับที่ กระโดดไกล การทุ่มน้ำหนัก เป็นต้น

5. เวลาปฏิกิริยาตอบสนอง (Reaction time) หมายถึง ระยะเวลาที่ร่างกายใช้ในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น แสง เสียง สัมผัส

6. ความเร็ว (Speed) หมายถึง ความสามารถในการเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว

สมรรถภาพเฉพาะด้านที่สำคัญและนักกีฬาต้องการ

ประกอบด้วย

1. พลังระเบิด (Explosive Power)

2. กำลังความเร็ว (Power Speed)

3. การปรับเร่งความเร็ว (Acceleration Speed)

4. ความเร็วสูงสุด (Maximum Speed)

5. ความเร็วอดทน (Speed Endurance)

6. ความแข็งแรง (Strength)

7. ความอดทน (Endurance)

8. ปฏิกิริยาการเคลื่อนไหว (Movement Time)

9. การประสานงาน ฯ (Co-ordination)

10. ความอ่อนตัว (Flexibility)

11. ความคล่องแคล่วว่องไว (Agility)

12. ความแม่นยำ (Accuracy)

13. การทรงตัว (Balance)

“Physical Miseducation“

phy1




Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2561
Last Update : 27 กุมภาพันธ์ 2561 14:56:34 น. 3 comments
Counter : 329 Pageviews.

 
ดีมากเลย


โดย: m3_10@anubantp.ac.th (สมาชิกหมายเลข 4350285 ) วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:14:12:09 น.  

 

เม้นนน


โดย: ทิพย์ (สมาชิกหมายเลข 4391516 ) วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา:14:18:30 น.  

 
เนื้อหาดีน้ะ


โดย: m3_12@anubantp.ac.th (สมาชิกหมายเลข 4350265 ) วันที่: 5 มีนาคม 2561 เวลา:14:15:21 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 4393553
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 4393553's blog to your web]
space
space
space
space
space