"ความรู้" คู่ "ความงาม"
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2551
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
8 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
Skincare Basic #11-1 :Sun Survival Tips for Healthy Skin


เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่ารังสี UV จากดวงอาทิตย์เป็นสาเหตุของปัญหาผิวมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องจุดด่างดำ สีผิวไม่สม่ำเสมอ หยาบกร้าน ริ้วรอยก่อนวัย ร้ายแรงสุดก็เป็นมะเร็งผิวหนัง การปกป้องผิวจากรังสี UV จึงเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่จำเป็นมากที่สุดหากเราต้องการที่จะมีผิวสุขภาพดี เพราะถึงแม้เราจะล้างหน้าอย่างอ่อนโยน ปรับสภาพผิว ผลัดเซลล์ผิวและบำรุงมาอย่างดีแค่ไหน ก็ไร้ประโยชน์หากผิวที่เราไม่ได้ปกป้องผิวที่เราเฝ้าถนอมให้พ้นภัยแสงแดด

Photobucket


เพื่อที่จะปกป้องผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องมาทำความเข้าใจพื้นฐานกันก่อนว่า รังสี UV คืออะไร ก่อความเสียหายให้ผิวได้อย่างไร และมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ผิวของเราได้รับความเสียหายจากรังสี UV มากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละบุคคล





ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับรังสี UV (Ultraviolet Radiation)


ดวงอาทิตย์เป็นก้อนพลังงานขนาดใหญ่ยักษ์ที่ปลดปล่อยรังสีสารพัดอย่างเข้ามาสู่โลก หนึ่งในนั้นก็รังสี UV ซึ่งมีความยาวคลื่น (wavelength) อยู่ที่ 100 - 400 นาโนเมตร (nm) และสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 3 ช่วงย่อย ๆ คือ

Photobucket


1. UVA (wavelength : 320-400 nm)

รังสี UVA สามารถแบ่งย่อยได้อีกสองส่วนคือ UVA-I มี wavelength อยู่ระหว่าง 340-400 nm และ UVA-II มี wavelength อยู่ระหว่าง 320-340 nm รังสี UVA นั้นสามารถทะลุทะลวงผ่านชั้นบรรยากาศและเมฆได้เป็นอย่างดี รังสี UV ที่ผิวคุณได้รับส่วนใหญ่จึงเป็นรังสี UVA


2. UVB (wavelength : 290-320 nm)

โอโซน (Ozone) ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจนในชั้นบรรยากาศจะดูดซับรังสี UVB ไปได้มากสุดประมาณ 90%


3. UVC (wavelength : 100 – 290 nm)

หลายคนคงรู้จัก UVA และ UVB กันดีอยู่แล้ว แต่ UVC อาจจะเป็นชื่อที่ไม่คุ้นหู ทำไมถึงไม่มีการพูดถึง UVC น่ะหรือ? ก็เพราะว่าเราโชคดีที่รังสี UVC ทั้งหมดนั้นถูกดูดซับไปโดยโอโซน (Ozone) ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจนในขณะที่ผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศ


อย่างไรก็ดี ปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันทำให้ชั้นโอโซนบางลง ส่งผลให้รังสี UV สามารถทะลุผ่านลงมาได้มากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่โอโซนเป็นรูโหว่อย่างประเทศออสเตรเลีย และประเทศในแถบเส้นศูนย์สูตรที่มีชั้นโอโซนบางตามธรรมชาติ


Note : อาจจะเจอบางตำราบอกค่า Wavelength ต่างไปเล็กน้อย เช่น "UVB มี Wavelength 280-320 nm. หรือ 280-315 nm." ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่อาจจะมีคลาดเคลื่อนต่างกันบ้าง ไม่ถือว่าผิดอะไรขอรับ





อันตรายของรังสี UV


Photobucket


รังสี UVB จะเน้นทำความเสียหายที่ผิวชั้นนอก (Epidermis) ผลเสียที่เกิดขึ้นจากการเผชิญรังสี UVB ก็คืออาการ Sunburn หรือผิวไหม้จากแสงแดดซึ่งจะมีอาการแสบแดง กระตุ้นการสร้างเม็ดสีเมลานินอย่างช้า ๆ ทำให้ผิวค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีแทน และข้อมูลบอกว่ามะเร็งผิวหนังมีสาเหตุมาจาก UVB ถึง 90%

รังสี UVA จะทำร้ายผิวได้ลึกกว่าถึงชั้นหนังแท้ (Dermis) ส่งผลให้คอลาเจนและอีลาสตินถูกทำลายจนเกิดริ้วรอยก่อนวัย กระตุ้นการสร้างเม็ดสีในทันที (ปัญหา ฝ้า กระ จุดด่างดำส่วนหนึ่งก็มาจากเจ้า UVA นี่แหล่ะ) UVA มีส่วนเสริมทำให้ผิวเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งจากรังสี UVB มากขึ้นอีกด้วย

นอกจากนี้ ผลเสียจากการเผชิญรังสี UV โดยไม่ปกป้องสามารถสะสมเพิ่มจนก่อความเสียหายกับดวงตาได้ด้วย เราจึงควรปกป้องตัวเราเองจากแสงแดดเป็นประจำทุกวันเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น





รังสี UV ก็มีประโยชน์


รังสี UV นั้นมีอันตรายก็จริง แต่แน่นอนว่ามันก็ไม่ใช่นางอิจฉาในละครหลังข่าวที่มีเลวร้ายไร้ซึ่งความดี รังสี UVB เป็นหนึ่งในปัจจัยที่จำเป็นสำหรับร่างกายในการสังเคราะห์ Vitamin D ผู้ใดที่หวาดกลัวแสงแดดจนถึงขั้นวิตกจริตขนาดขังตัวเองอยู่ในบ้านที่มีแต่ผนังปูนรอบด้านไม่มีหน้าต่างสักบานก็เสี่ยงที่จะขาด Vitamin D ซึ่งมีส่วนสำคัญในการดูดซึมแคลเซียมของร่ายกาย ถ้าขาด Vitamin D จะส่งผลทำให้กระดูกไม่แข็งแรง

ทางองค์การอนามัยโลกระบุว่า การรับแสงแดดอ่อน ๆ ในช่วงเวลาเช้าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 5 – 15 นาทีจะมีประโยชน์กับร่างกาย รู้อย่างนี้แล้วเราก็ควรตื่นเช้า ๆ ไปออกกำลังกายรับแสงแดดอ่อน ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับ Vitamin D อยู่เสมอ ถ้ามีผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุอยู่ที่บ้านก็อย่าหมกท่านให้นอนง่อยรับประทานอยู่แต่ในห้องอย่างเดียว หาเวลาว่างทำหน้าที่เป็นลูกหลานกตัญญูพาท่านออกมาเดินเล่นหรือ Picnic ทานข้าวพร้อมอาบแดดอุ่น ๆ ยามเช้า นอกจากจะช่วยป้องกันการขาด Vitamin D แล้ว ยังช่วยเสริมความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัวเป็นของแถม





UV-Index (UVI) คืออะไร?


ปัจจุบันมีหลักฐานมาสนับสนุนมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่ารังสี UV นั้นมีโทษต่อร่างกายมากมาย จึงมีการจัดทำ UV-Index หรือหน่วยมาตรฐานที่ใช้บอกความเข้มข้นของรังสี UV ที่มีอยู่ในบริเวณนั้น เพื่อบอกให้ประชาชนทราบว่าพื้นที่ใดมีปริมาณรังสี UV มากหรือน้อยแค่ไหน จะได้นำข้อมูลเหล่านั้นไปปรับใช้เพื่อการป้องกันรังสี UV อย่างเหมาะสม

ทางองค์การอนามัยโลกได้กำหนดมาตรฐานของ UV-Index โดยแบ่งเป็น 5 ช่วง แต่ละช่วงจะมีสีเฉพาะดังรูปด้านล่างนี้

Photobucket


ส่วนอีกรูปด้านล่างเป็น Global UV-Index ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 2004 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเขตที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรนั้นมีค่าความเข้มข้นของรังสีอยู่สูงมาก (ถึงระดับ Extreme เลยทีเดียว)

Photobucket


ค่า UV-Index ของประเทศไทยจะอยู่ระหว่าง 8 – 12 โดยช่วงที่มีค่า UV-Index น้อยที่สุด (8) คือช่วงเดือน พฤศจิกายน ธันวาคม และมกราคม ส่วนช่วงที่มีค่า UV-Index สูงสุด (12) ก็คือตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป

ถ้าต้องการทราบค่า UV-Index ของแต่ละวันสามารถคลิกที่ Links ด้านล่างเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

- International UV-Index reporting sites

- Thailand UV-Index






ปัจจัยที่ทำให้แต่ละพื้นที่มีความเข้มข้นของรังสี UV แตกต่างกัน


สภาพทางภูมิศาสตร์

พื้นที่ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรนั้นจะได้รับปริมาณรังสี UV มากกว่าเนื่องจากอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด และปริมาณโอโซนตามธรรมชาติในบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะบางกว่าส่วนอื่นอยู่แล้ว


สภาพอากาศ

มีคนจำนวนมากคิดว่าในวันที่มีเมฆทึบหรือไม่มีแสงแดดนั้นไม่มีรังสี UV แต่ในความเป็นจริงแล้วเมฆสามารถกรองรังสี UV ไปได้เพียง 20% เท่านั้น เราจึงสามารถรับอันตรายจากรังสี UV อีก 80% ที่เหลือเต็ม ๆ ถ้าไมได้ปกป้องผิวอย่างถูกต้อง


ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเล


ยิ่งอยู่ในที่สูงเท่าไหร่ก็จะได้รับรังสี UV มากขึ้น เนื่องจากมีชั้นบรรยากาศน้อยกว่าในการกรองรังสี UV โดยในทุก ๆ 1000 เมตรที่สูงขึ้น ก็จะมีปริมาณรังสี UV เพิ่มมากขึ้น 10 – 12 %


พื้นผิว

สภาพพื้นผิวแต่ละประเภทสามารถสะท้อนรังสี UV ได้มากน้อยไม่เท่ากัน โดยหิมะสามารถสะท้อนรังสี UV ได้มากถึง 80% พื้นทรายสามารถสะท้อนรังสี UV ได้ 15%


นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเฉพาะบุคคลที่มีผลต่อปริมาณรังสีและความรุนแรงที่จะได้รับ อย่างเช่นสีผิว อาชีพ และวัฒนธรรม ผู้ที่มีผิวขาวจะได้รับผลกระทบจากรังสี UV ได้ง่ายกว่าและมากกว่าผู้ที่มีผิวสีเข้ม และผู้ประกอบอาชีพที่ต้องทำงานในที่ร่มก็จะได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่าผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง วัฒนธรรมที่แตกต่างกันก็มีผลอย่างมาก เช่นชาวอเมริกกันหรือชาวยุโรปจะชอบอาบแดดและชื่นชอบกิจกรรมกลางแจ้งมากกว่าคนไทย เรื่องศาสนาก็มีส่วนเหมือนกัน เช่นผู้หญิงทีที่นับถืออิสลามอย่างเคร่งครัดก็จะแต่งตัวอย่างมิดชิด





สิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อลดอันตรายต่อร่างกายที่เกิดจากรังสี UV



หลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดในช่วงเวลากลางวัน


Photobucket

(สวยแสดกลางแดดจัด ระวังเหี่ยวเร็ว)


ช่วงเวลาประมาณ 10.00 – 16.00 น. เป็นช่วงที่มีรังสี UV เข้มข้นที่สุด เราจึงควรหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดในช่วงเวลาดังกล่าวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้


แต่งกายสู้แดด


Photobucket

(แต่มิดชิดขนาดนี้ก็เกินไปหน่อย)


การเลือกใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว สามารถช่วยปกป้องผิวจากรังสี UV ด้ส่วนหนึ่ง แต่จะปกป้องได้มากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับชนิดของผ้า ความถี่ในการทอ และสี ผ้าที่ทออย่างแน่นหนาอย่างผ้ายีนส์จะป้องกันรังสี UV ได้ดี และผ้าที่มีสีเข้มจะดูดซับรังสีได้มากกว่าผ้าที่มีสีอ่อน (แต่ผ้าสีเข้มก็ดูดซับความร้อนได้มากกว่าด้วย)

การสวมแว่นตากันแดดที่เคลือบสารกรองรังสี UV จะช่วยปกป้องดวงตาและผิวรอบดวงตาจากรังสี UV ได้เป็นอย่างดี และสวมหมวกปีกกว้างก็จะช่วยปกป้องเส้นผม หนังศีรษะ ใบหู ใบหน้าได้ด้วย


“กางร่ม” เป็นเทรนด์ใหม่


Photobucket

(กางร่มท่านี้เดินข้างนอกคงเปรี้ยวน่าดู)


ร่มไม่ได้มีเอาไว้ใช้เวลาฝนตกแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป โดยเฉพาะในเขตที่รังสี UV แรงทะลุทะลวงอย่างประเทศไทย การกางร่มจะช่วยสร้างร่มเงาลดปริมาณรังสี UV ที่จะมากระทบกับผิวเราได้ถึง 50%

ผู้ใดคิดว่าคนที่กางร่มทั้งที่แดดเปรี้ยง ๆ นั้นประหลาด แปลว่าคุณ “ตกเทรนด์” ต้องรีพอัพเดทให้ทันอย่างด่วน


หลีกเลี่ยงการใช้ Tanning Bed หรือ Sunlamps


Photobucket

(ได้ผิวแทนพร้อมมะเร็งเป็นของแถม)


อย่าไปเชื่อว่าการใช้ Tanning Bed หรือ Sunlamps จะทำให้ผิวเราเปลี่ยนเป็นสีแทนสวยได้โดยไม่มีอันตราย เพราะถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นรังสี UV จะให้มาจากแหล่งธรรมชาติหรือแหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น มันก็อันตรายเหมือนกันทั้งนั้น

อยากมีผิวสีแทนสวย ก็ใช้ผลิตภัณฑ์พวก Self-Tanner จะปลอดภัยกว่า

ใช้ Sunscreen เป็นประจำ


Photobucket


ใช้ครีมกันแดดที่สามารถปกป้องผิวได้ครบทั้ง UVA และ UVB โดยมีค่า SPF ขั้นต่ำ 15 - 30 (ตามแต่ค่า UV-Index ของแต่ละพื้นที่) รายละเอียดเรื่อง Sunscreen จะมีเพิ่มเติมอย่างละเอียดยิบในบทถัดไป





ในบทถัดไปจะอธิบายว่าสารกันแดดมีกี่ประเภท แต่ละประเภททำงานอย่างไร และสารแต่ละจัวมีข้อดีข้อเสียอย่างไร ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 ตอนเนื่องจากข้อมูลเยอะมากจนไม่สามารถใส่ใน Blog เดียวได้

- Skincare Basic #11-2 : Sunscreen Ingredients - Part1

- Skincare Basic #11-2 : Sunscreen Ingredients - Part2




Create Date : 08 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 21 พฤศจิกายน 2551 2:34:43 น. 15 comments
Counter : 10896 Pageviews.

 
UV นี่น่ากลัวจริง ๆ ตอนนี้ก็กระเต็มหน้าหมดแล้ว ขนาดทั้งทากันแดด และกางร่มนะเนี่ย
รออ่านบทถัดไปอยู่นะคะ


โดย: dera IP: 125.27.45.138 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:14:02:29 น.  

 
ติดตามอย่างกระชั้นชิด
น้องปูเป้ สู้ สู้


โดย: sriwis IP: 125.26.172.203 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:17:06:11 น.  

 
Self-Tanner นี่จะช่วยเปลี่ยนสีผิวเป็นสีแทนชั่วคราว(อาบน้ำชำระสีออกได้)หรอคะ
ขอบคุณค่ะ


โดย: ชาช่า IP: 125.25.29.211 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:17:20:01 น.  

 
รอเรื่องกันแดดมานานแล้ว เย้ๆๆ

ขอบคุณคุณปูเป้ค่ะ ^^


โดย: PP IP: 124.120.222.182 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:20:32:02 น.  

 
ขอบคุนค่ะ คุนปูเป้ ละเอียด แจ่มแจ้งมากค่ะ อิ ๆ ชอบรูปประกอบกับคำบรรยาย
แอบขำกิ๊กตรงถ้ามีผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุอยู่ที่บ้านก็อย่าหมกท่านให้นอนง่อยรับประทานอยู่แต่ในห้องอย่างเดียว หาเวลาว่างทำหน้าที่เป็นลูกหลานกตัญญูพาท่านออกมาเดินเล่นหรือ Picnic ทานข้าวพร้อมอาบแดดอุ่น ๆ ยามเช้า นอกจากจะช่วยป้องกันการขาด Vitamin D แล้ว ยังช่วยเสริมความสัมพันธ์อันดีภายในครอบครัวเป็นของแถม
น่าระอ่ะ

ตั้งแต่ได้อ่านบลอกคุน ปุเป้ เราไม่เคยลืมทากันแดดเลยค่ะ หันมาใส่ใจตัวเอง มากขึ้น


โดย: บี IP: 58.9.252.47 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา:22:51:51 น.  

 
ตอนนี้บ้าครีมกันแดดมากมาย ทั้งหน้าและตัว

ผิวเราไวต่อแดดจริงๆ รู้ซึ้งถึงการป้องกันแดดเลย
ขอบคุณที่ทำบทความดีๆฮะ เดี๋ยวจะเข้ามาดูบ่อย ๆ


โดย: Teddy IP: 124.121.162.89 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:00:29 น.  

 
ว้าว ฝีมือในการเขียน
พัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยครับ
กับผลงานใหม่ชิ้นนี้




ดูท่าพี่ปูเป้คงจะอารมณ์ดีด้วยละเนอะ :)


ขอบคุณมากๆครับ
ได้ความรู้มาก ๆ เลย



ปล. รอบทความต่อไปอย่างใจจดใจจ่อ !!
กันเเดด !! กันแดด !! กันแดด !! กันแดดดดด !!

5 5 5


โดย: kheeze IP: 118.172.25.57 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:30:35 น.  

 
ขอบคุณค่า คุณปูเป้
พออ่านเรื่องกันแดดปุ๊ป ปุ๊กก็เลยซื้อกันแดดมาใช้ตามคุณปูเป้เลยค่ะ โดยใช้ clinique city block SPF 25 มาทารอบดวงตา และก็ใช้ Paula's choice SPF30 มาทาหน้า

ผมปรากฏว่า กันแดด ของคลีนิก มันสีเข้มมากกกกกก เลยทำให้ ผิวหน้า กะ ผิวรอบดวงตาคนละสีกันเลยค่ะ แต่ก็คงต้องทนใช้ต่อไปเพราะไม่รู้จะหาตัวไหนมาใช้ต่อดี


โดย: pook IP: 168.120.43.31 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:57:56 น.  

 
โอ... แย่จังเลยขอรับ

อย่างว่า... ผิวของคนเราไม่เหมือนกัน พวก Tinted Moisturizer หรือ Tinted Sunscreen จะมีปัญหาเรื่องสีผิวขอรับ กระผมต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้บอกรายละเอียดเรื่องสีของเนื้อกันแดดไปด้วย และไม่ได้บอกเอาไว้ว่าควรลองเฉดสีก่อน เป็นความผิดของปูเป้เองขอรับ T-T

(แต่กระผมใช้แล้วไม่มีปัญหาเรื่องสีต่างกันนะขอรับ เพราะเนื้อสีมันออกเป็น Sheer มากกว่า เกลี่ยไปมันก็กลืนไปกับผิวพอดีเลย คงเพราะผิวไม่ขาวมากมั้งขอรับ :P)



โดย: PuPe_so_Sweet วันที่: 9 พฤศจิกายน 2551 เวลา:18:19:17 น.  

 
มาอ่านแล้วก็ได้ความรู้เหมือนเดิมค่า

ขอบคุณสำหรับน้ำใจนะคะ^^


โดย: แพร IP: 203.131.211.142 วันที่: 9 พฤศจิกายน 2551 เวลา:19:46:20 น.  

 
มาตามติด ตลอดครับ


โดย: yo9596 IP: 203.130.159.4 วันที่: 10 พฤศจิกายน 2551 เวลา:18:14:24 น.  

 
ปูเสื่อ กินขนมรอ บทถัดไปค่ะ จุ๊บ จุ๊บ


โดย: Nikar IP: 64.254.121.18 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2551 เวลา:14:43:35 น.  

 
พี่ปูเป้ครับ SunScreen นี่จะอยู่ได้นานหรือเปล่าอ่ะครับ

หรือจะทำในบทต่อไปก็ยังไม่ต้องตอบก็ได้นะครับ

จะติดตามอ่านดีกว่า ฮ่าๆ


โดย: bakerysong IP: 58.8.159.97 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:36:07 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ

ชอบอ่านมาก

ภาษาคุณแบบสนุก อ่านแล้วอารมณ์ดี

หัวเราะได้คนเดียว


โดย: blueskymay วันที่: 12 พฤศจิกายน 2551 เวลา:12:58:40 น.  

 
[url=//www.thevaterconnection.com/alerts.asp?dr-dre-beats-solo-hd-mini-c-17.html]dr dre beats solo hd mini 17[/url]
dr dre beats ds610b wireless bluetooth headphones red 33 uk 32dr dre beats ds610b wireless bluetooth headphones red 33 uk 32 //www.thevaterconnection.com/alerts.asp?dr-dre-beats-ds610b-wireless-bluetooth-headphones-red-33-uk-p-32.html


โดย: dr dre beats ds610b wireless bluetooth headphones red 33 uk 32dr dre beats ds610b wireless bluetooth headphones red 33 uk 32 IP: 157.7.205.214 วันที่: 22 กรกฎาคม 2557 เวลา:5:09:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

PuPe_so_Sweet
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1829 คน [?]




Advertisement


About Pupe_so_Sweet
Pupe_so_Sweet on facebook
Pupe_so_Sweet on Youtube
vr AHA project


หากมีคำถามหรือต้องการคำปรึกษา
สามารถทิ้งคำถามไว้ได้ที่หน้า Wall ของ Facebook ครับ



Web Counter


Counter Start on 29 September 2008


Search by Google

ค้นหาข้อมูลและรีวิวผลิตภัณฑ์ที่ต้องการภายในBlog ของปูเป้ได้ไม่ยากด้วย Google Search Box ด้านล่างนี้เลยขอรับ

Custom Search

Friends' blogs
[Add PuPe_so_Sweet's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.