space
space
space
<<
มิถุนายน 2563
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
space
space
22 มิถุนายน 2563
space
space
space

ตู้ไฟฟ้ามีกี่ลักษณะ Classification of assemblies

ตู้ไฟฟ้ามีกี่ลักษณะ 
(Classification of assemblies)

 

ตู้ไฟฟ้าจำแนกตามลักษณะต่างๆได้ดังนี้



 
1. แบบภายนอก (External design)

ตู้ไฟฟฟ้าประเถท01





2. สถานที่ติดตั้ง (The place of installation)

ตู้ไฟฟ้าสำหรับติดตั้งภายในอาคาร  

ตู้ไฟฟฟ้าประเถทใช้ภายในอาคาร



ตู้ไฟฟ้าสำหรับติดตั้งภายนอกอาคาร  

ตู้ไฟฟฟ้าประเถทใช้ภายในอาคาร






3. ภาวะการติดตั้ง ในแง่การเคลื่อนที่
(The conditions of installation with respect to mobility)

- ตู้ไฟประจำที่ (stationary ASSEMBLY)
- ตู้ไฟแบบตั้งพื้น (floor standing ASSEMBLY)
- ตู้ไฟแบบแขวนผนัง (wall mounting ASSEMBLY)
- ตู้ไฟเคลื่อนที่ (movable ASSEMBLY)
นอกจากนี้ยังมีค่ามาตรฐานต่างๆ ที่ควรพิจารณา  โดยพิจารณาความเหมาะสมจากแบบวงจร , สถานที่ตั้งเพื่อใช้งานของตัวตู้ไฟฟ้า
(โดยคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมของสถานที่ตั้งนั้นเป็นหลัก) ซึ่งมาตรฐานหลักๆที่ควรคำนึงถึงนั้นได้แก่ มาตรฐาน มอก. , มาตรฐาน DIN , มาตรฐาน IEC  

หลักการเบื่องต้นในการเลือกตู้ไฟฟ้าเพื่อมาใช้งาสนนั้นควรคำนึงถึงข้อต่อไปนี้


  1.ภาวะอากาศและความกัดกร่อนที่ต้องเผชิญ เช่น สถานที่ติดตั้งตู้ไฟฟ้านั้นอยู่ใกล้กับพื้นที่มีมลภาวะสูง เช่นโรงงานปูนซีเมนต์  หรืออยู่ใกล้ทะเล ควรจะต้องพิจารณาถึงการป้องกันการกัดกร่อน เช่นมีการชุบ Hot-Dip Galvanized การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน หรือ  ที่นิยมเรียกกันว่า ฮอทดิพ (Hot-Dip Galvanized)  เป็นการป้องกันผิวของเหล็กไม่ให้เกิดออกไซด์ขึ้น  หรือสนิม  กับความชื้น  ในอากาศ  ส่งผลให้อายุการใช้งานของเหล็กนานขึ้น  เหมาะกับงานที่ต้องสัมผัสกับความชื้น  หรือการกัดกัดกร่อนของอากาศ
  2.พิจารณาจากสถานที่ตั้งตู้ไฟฟ้านั้นๆว่าอยู่ภายนอกตัวอาคาร หรือภายในตัวอาคาร เพื่อพิจารณาค่าการป้องกัยของแข็งและค่าการป้องกันของเหลว ตามมาตรฐานของ IEC และ ม.อ.ก. ซึ่งมีการกำหนดลงเป็นค่า IP ไว้หลายระดับเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ทั้งนี้ค่ามาตรฐานอันหนึ่งที่ควรพิจารณาคือ ค่า IP  ซึ่งเป็นการแบ่งระดับการป้องกัน IP (Ingress Protection) Code เป็นไปตามมาตรฐาน DIN 40050/1980 และ IEC 529  โดยระบุการอ่านค่าเป็นตัวเลขสองตัวประกอบกัน  ตัวเลขข้างหน้าบอกถึงลักษณะการป้องกันฝุ่น  ส่วนตัวเลขด้านหลังบอกถึงลักษณะการป้องกันของเหลว

ตัวอย่างการอ่านค่าIP  ได้แก่   ค่า IP35 (ตู้ไฟฟ้านี้จะสามารถป้องกันของแข็งที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าหรือเท่ากับ   12 มม. เข้าไปได้  (*3) และ สามารถป้องกันการฉีดน้ำจากทุกทิศทุกทาง (*5)) [*อ้างอิงจากตารางประกอบตามด้านล่างนี้]      หรือ
ค่า IP55  (ตู้ไฟฟ้านี้จะสามารถป้องกันฝุ่นได้ (*5) และ สามารถป้องกันการฉีดน้ำจากทุกทิศทุกทาง (*5)) [*อ้างอิงจากตารางประกอบตามด้านล่างนี้]
 
 
 
รหัสตัวที่  1
 
บอกถึงลักษณะการป้องกันฝุ่นอันอาจจะเกิดอันตรายแก่อุปกรณ์ที่บรรจุภายใน
 
 
รหัสตัวที่   2
 
บอกถึงลักษณะการป้องกันของเหลวอันอาจจะเกิดอันตรายแก่อุปกรณ์ที่บรรจุภายใน
 
1
 
ไม่มีการป้องกัน No Protection
 
 
1
 
ไม่มีการป้องกัน No Protection
 
 
 2
 
สามารถป้องกันของแข็งทีมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าหรือเท่ากับ   50มม.เข้าไปได้
Large foreign bodies, diameter greater or equal to   50 mm.
 
 
 2
 
สามารถป้องกันน้ำที่ตกลงมาจากด้านบนได้
Vertically falling droops of water
 
 
 3
 
สามารถป้องกันของแข็งที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าหรือเท่ากับ   12มม. เข้าไปได้
Medium-size foreign bodies, diameter greater or   equal to 12 mm.
 
 
  3
 
สามารถป้องกันน้ำที่ตกลงมาจากด้านบนและด้านข้างที่ทำมุมกับแนวดิ่งไม่เกิน   15 องศาได้
Obliquely falling drops of water up to 15 towards   vertical
 
 
 4
 
สามารถป้องกันของแข็งที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าหรือเท่ากับ   1มม. เข้าไปได้
Grain-shaped foreign bodies, diameter greater or   equal to 1 mm
 
 
  4
 
สามารถป้องกันหยดน้ำหรือน้ำที่สาดมาจากทุกทิศทุกทาง
Splash water from all sides
 
 5
 
สามารถป้องกันฝุ่นได้
Dust Deposit
 
 
 5
 
สามารถป้องกันการฉีดน้ำจากทุกทิศทุกทาง
Jets of water
 
 
 
6­­
 
 
สามารถป้องกันฝุ่นได้อย่างสมบูรณ์แบบ
Ingress of Dust
 
 
 6­­
 
สามารถป้องกันคลื่นน้ำทะเลและการฉีดน้ำอย่างแรง
Power jets of water
 
 
 7
 
สามารถป้องกันอันตรายจากน้ำท่วมชั่วคราวได้
Partial    immersion
 
 
 8
 
สามารถป้องกันอันตรายจากน้ำท่วมได้อย่างถาวร
Immersion
 
 


: IEC:60439, มอก.1436-2540 (2.3,2.5.1,2.5.2,2.5.3,2.5.4)

ส่วนตู้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ เราจะเรียกว่า Main Distribution Board  โดยจะมีองค์ประกอบหลักๆดังนี้

1.Enclosure (ตัวตู้ด้านนอก)
2.Status Lamps (หลอดไฟแสดงสถานะหน้าตู้ควบคุม)
3.Voltmeter , Power Meter , Ammeter
4.Timer , Phase Protection , Fuse , Surge Protection , Magnetic
5.Power Factor Controller
6.Capacitor Bank
7.Bus Bar
8.Mold Case Circuit Breaker [MCCB]
9. Circuit เช่น Star Delta

เรียนรู้เพิ่มเติมจากภาพประกอบ  คลิ๊กที่รูป!!

 
ภาพประกอบเพื่อการเรียนรู้เพิ่มเติม



Create Date : 22 มิถุนายน 2563
Last Update : 22 มิถุนายน 2563 10:53:54 น. 0 comments
Counter : 1519 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 5399748
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 5399748's blog to your web]
space
space
space
space
space