อธิบายอุปมาให้เข้าใจว่า "กรรม" แก้ได้ ชำระได้

อธิบายอุปมาให้เข้าใจว่า "กรรม" แก้ได้ ชำระได้


  ยกตัวอย่างที่ ๑


  เราทำอาหาร ชิมแล้วมันเค็มมาก วิธีปฏิบัติ กรณีที่ ๑ เราจะปล่อยเลยตามเลย กรณีที่ ๒ เราจะแก้ไขความเค็มให้เกิดความพอดี ด้วยการเติมน้ำหรืออย่างอื่นเพื่อลดความเค็ม 


  กรณีอย่างที่ ๒ นี่แหละ เราเรียกว่า แก้กรรม แก้ไขการกระทำของเรา


  ไม่ใช่ว่าไปแก้ตัวที่ "ความเค็ม" ไม่ให้เกิดขึ้นมาเลย แต่ความเค็มเกิดขึ้นแล้ว เป็นผลแล้ว แล้วเรามาแก้ไขด้วยวิธีการตามธรรม ตามธรรมชาติ แค่เติมน้ำเข้าไปปรุง ความเค็มก็ลดลง  


  นี่แหละ การแก้กรรม


  ยกตัวอย่างที่ ๒


  เราปวดท้อง เป็นโรคกระเพาะ เรามาวิเคราะห์สาเหตุเกิดจากอะไร เราจะวิเคราะห์แบ่งออกเป็น ๒ สาย


  สายที่ ๑ สายข้างนอก เกิดจาก กระเพาะอักเสบ อันเนื่องมาจากการกินอาหารไม่ถูกต้อง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ความเครียด ฯลฯ


  วิธีแก้กรรม กินยาลดการอักเสบ กินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ ฯลฯ


  สายที่ ๒ สายข้างใน เกิดจาก ๑) ทรมานสัตว์หรือคน ให้เขาอดๆ อยากๆ หิวโหย และอาหารที่ให้ก็ไม่ดี มีบูดเน่า เป็นต้น


  ๒) ให้ความหวังเขาแล้วละเลย


  วิธีแก้กรรม ทำบุญสร้างกุศล 

 

๒.๑) ทำบุญให้ทานยารักษาโรคกระเพาะ 

 

๒.๒) ไม่ทรมานสัตว์หรือคนให้เขาได้รับการอดๆ อยากๆ หิวโหย 

 

๒.๓) ให้ความหวังเขาแล้วต้องทำตามสัจจะ


  เอ...คนทั่วไปก็จะมาคิดว่า เป็นโรคกระเพาะมันเกี่ยวอะไรกับสายใน เกี่ยวอะไรกับกรรมด้วย ถ้าเราเชื่อเรื่อง เหตุ-ผล เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ก็ย่อมเป็นไปตามนี้ เพราะเราสร้างเหตุแห่งวิบากไว้ เราก็จะต้องได้รับผลแห่งเหตุวิบากนัั้นๆ "สร้างเหตุเช่นใด ย่อมได้รับผลตามเหตุเช่นนั้นๆ"


  คนทั่วไปเข้าใจผิด ไปคิดว่า การแก้กรรม คือไปแก้ตรงที่ว่าให้เหตุการณ์เช่นนั้นไม่ให้เกิดขึ้นเลย อย่างนี้ไม่ใช่ แต่การแก้กรรมไปแก้ตรงเหตุแห่งวิบาก


  ยกตัวอย่างเช่น เราไปฆ่าสัตว์ เราได้สร้างเหตุแห่งการเบียดเบียน เหตุแห่งการฆ่า เราต้องไปสำนึกเหตุตรงที่ไปฆ่าเขาว่าจะไม่ทำอีกต่อไป แล้วสร้างเหตุแห่งการปล่อยชีวิตมาทดแทน คนทั่วไปเข้าใจง่ายๆ เรียกว่าการทำบุญสร้างกุศลนั่นเอง


  การทำบุญสร้างกุศลที่จะมาแก้ไขเหตุตรงนี้ ก็ต้องตรงจุดด้วย เราถ้าเราไปฆ่าสัตว์ แต่ไปทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ เพื่อมาแก้กรรม แก้เหตุตรงนี้ ย่อมไม่ได้ กรรมไม่อโหสิ จะต้องแก้ให้ตรงกับเหตุที่เราทำ คือ ปล่อยสัตว์ เพราะเราฆ่าสัตว์


  บางคนแก้กรรมก็แล้ว ทำบุญก็แล้ว ทำไมชีวิตไม่ดีขึ้น เพราะว่าเราไม่ได้แก้ตรงกับ "เหตุ"


  มีคำถามว่า ทำไมเราแก้กรรม ต้องให้อาจารย์มาช่วยแก้กรรมด้วย ทั้งๆ เราทำกรรมเอง แต่ให้คนอื่นมาแก้


  ตอบว่า อาจารย์ท่านมาช่วยเหลือ มาอำนวยการในการแก้กรรม ไม่ใช่บุคคลที่แก้ให้ ผู้ที่แก้คือตัวเรา เพียงแต่อาจารย์ท่านเป็นผู้ชี้แนะ สั่งสอน เป็นผู้จูง-นำพา-อบรมบ่มเพาะ-เอื้อ-เกื้อ-กัน-ส่ง ให้เราได้ปฏิบัติที่ถูกต้องตามธรรม เพราะว่าท่านศึกษาเรียนรู้มาทางสายนี้โดยตรง เป็นครูบาอาจารย์สายนี้โดยตรง


  ก็เหมือนกับ เราเจ็บป่วยต้องไปหาแพทย์รักษา เราจะสร้างบ้าน ต้องไปหาวิศวะกรก่อสร้าง ถึงจะดีและถูกต้อง


  ยกตัวอย่าง เกิดอุบัติเหตุรถชน เราก็ต้องเรียกตำรวจจราจร ตำรวจทางหลวง คือ เจ้าหน้าที่/พนักงานจราจรตามกฎหมาย สามารถเป็นพยานให้เราได้กรณีที่มีการฟ้องร้องกันขึ้น ทั้งๆ ตำรวจก็ไม่ได้มาร่วมวิบากกรรมกับเราเลย แต่เพราะท่านศึกษาเรียนรู้มาทางนี้ ได้รับหน้าที่ ยศ ตำแหน่งมาทางนี้


  เช่นเดียวกัน ผู้ที่มาแก้กรรมให้กับเรา ท่านก็เป็นเจ้าหน้าที่ทางนี้ ค่อยช่วยเหลือทางนี้ ก็เหมือนกับมัคนายกวัด เป็นผู้นำทาง ผู้นำบุญ ผู้แนะนำทางบุญ ผู้ชี้ทางบุญ เวลาทำพิธีที่วัดหรือที่บ้าน เพราะท่านศึกษาเรียนรู้มาทางนี้ เป็นต้น ท่านย่อมมีความรู้ทางสายบุญกุศลมากกว่าเรา แต่ถ้าผู้ที่ศึกษาเรียนรู้มาแล้ว ก็ไม่จำเป็น


  เช่นเดียวกัน ถ้าเราเข้าใจกรรม กฎแห่งกรรม ว่าด้วยเหตุและผล ว่าด้วยการอโหสิกรรม เป็นที่เข้าใจดีแล้ว ก็ไม่ต้องอาศัยอาจารย์ผู้แก้กรรมก็ได้ แต่ถ้ามีก็จะดีจะได้ชี้แนะ นำทางที่ถูกต้องให้กับเรา


  อาจารย์ผู้ที่จะแก้กรรมให้เราได้ดีที่สุดเลย ก็คือพระพุทธเจ้า เพราะท่านก็แก้กรรมที่ไม่ดีของตนเองได้ จนสำเร็จเป็นพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ แต่เนื่องจากปัจจุบันพระพุทธเจ้าท่านได้ปรินิพพานไปแล้ว เหลือคงไว้แต่พระธรรมกับพระวินัยที่จะให้เราศึกษาปฏิบัติตาม แต่เราไปศึกษาเองอ่านพระไตรปิฎกเองเราก็ไม่เข้าใจอย่างซึ้งประจักษ์อย่างถ่องแท้ได้ เราก็ต้องพระสงฆ์นำพา


  เมื่อพระพุทธเจ้าไม่อยู่แล้ว เราก็ต้องอาศัยพระสงฆ์เป็นผู้แก้กรรมให้ แต่พระสงฆ์บางรูปก็เข้าใจ บางรูปก็ไม่เข้าใจ ก็ต้องอาศัยคุรุ ครูบาอาจารย์ ฆราวาสที่ได้ศึกษาเรียนรู้มาช่วยชี้แนะ นำพา ช่วยเหลือเรา แก้กรรมให้กับเรา เป็นต้น


  อย่าลืมว่า อาจารย์ท่านเป็นผู้ชี้แนะ สั่งสอน ช่วยเหลือเราได้เท่านั้น จะแก้กรรมได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับเราเท่านั้น


  ถ้าเราตั้งใจจริง สำนึกบาปที่ทำผิด ไม่กระทำบาปหรือสิ่งที่ผิดนั้นอีก ขอขมากรรม ขอรับการอโหสิกรรม หมั่นสร้างบุญกุศลส่งไปให้กับเจ้ากรรม และไม่หวนกลับไปทำกรรมเช่นนั้นอีก เราย่อมหลุดพ้นจาก "เหตุแห่งวิบากกรรมนั้นๆ"


  แต่ถ้าเรายังไปทำกรรมซ้ำอันเดิมอีก เราก็ต้องพบเจอวิบากกรรมเช่นนั้นอีก


  การทำพิธีแก้กรรม เป็นการประกาศ ยืนยันเจตนารมณ์ คนเราจะต้องมีการประกาศเจตนารมณ์ ถึงจะมีความมุ่งมั่น ไม่ใช่ว่าทำพิธีกรรม แล้ววิบากกรรมนั้นจะหายไป อย่างนี้ไม่ใช่ เป็นการประกาศยืนยันว่าเราจะปฏิบัติตาม เหมือนกับทางราชการ ตำรวจ ทหาร นักเรียน 


  ยกตัวอย่างเช่น นักเรียน พอเราเข้าสู่โรงเรียน พอถึงวันไหว้ครู เราจะต้องมาประกาศว่า ทำไมเราต้องไหว้ครู เพราะว่าเรายกย่องครู จะเชื่อฟังครู สรุป "ประกาศว่าตนเองเป็นนักเรียน ที่จะเชื่อฟังครู"


  ยกตัวอย่างสถาบันการเมือง ก็จะมีการเปิดสภา ปฏิญาณตนกับในหลวง แม้แต่ผู้พิพากษา ก็ยังต้องไปปฏิญาณตนกับในหลวงว่าจะซื่อสัตย์


  สิ่งที่เราประกาศ ปฏิญาณตนไปนั้น เพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ เกิดความมั่นคงที่จะปฏิบัติตาม ไม่ใช่ว่าประกาศ ปฏิญาณตนแล้วกรรมวิบากจะหายไป เราจะต้องนำสิ่งที่เราประกาศนั้นไปปฏิบัติ หากว่าเราทำผิดยังต้องโดนจับเข้าคุก


  ความสำคัญของการแก้กรรม ถ้าเราไม่แก้กรรม เราก็จะจมปลักกับพฤติกรรมนั้นๆ สิ่งดีๆ เราก็ไม่มีทางจะเกิดได้ ไม่มีทางที่จะพัฒนา คือ การจมปลัก ถ้าเราแก้ก็จะเจริญ วิวัฒน์ พัฒนาการได้




Create Date : 14 กันยายน 2564
Last Update : 14 กันยายน 2564 17:04:34 น.
Counter : 680 Pageviews.

1 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณอุ้มสี, คุณhaiku

  
สาธุ
โดย: อุ้มสี วันที่: 14 กันยายน 2564 เวลา:21:58:41 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พรหมสิทธิ์
Location :
เชียงราย  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต

ศึกษาเรียนรู้ธรรมะโดยธรรม นำมาปฏิบัติ และเผยแผ่ธรรมะนั้น ให้คนรู้จักบริหารกรรม แก้กรรม พัฒนากรรม ให้เกิดสันติสุข
New Comments
Group Blog
กันยายน 2564

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
All Blog