innobun เป็นกระต่ายอ้วนจับฉ่าย สนใจ ชอบลองทำหลายอย่าง มีอย่างเดียวที่ innobun ไม่เคยเลิกทำคือ " งานเขียน "
<<
พฤษภาคม 2561
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
5 พฤษภาคม 2561

เด็กเต็กบอกเล่า Ep.09 : สถาปัตยกรรมสีเขียว



หลังจากไปงานสถาปนิก'61 มาก็มีไอเดียเรื่องหนึ่ง

ที่อยากจะเขียนบอกเล่าสู่กันฟังค่ะ

Green Building หรือที่เรียกกันติดปากว่า อาคารสีเขียว


.. สาเหตุมาจาก ..

รู้สึกว่าในปัจจุบันมีวัสดุทดแทนมากขึ้นทุกปี 

บูธที่เป็นวัสดุธรรมชาติเริ่มมีน้อยลง

ประกอบกับได้เข้าร่วมสัมนาเรื่องเกี่ยวกับอาคารเขียว

C2C ( Cradle to Cradle )



หลังจากได้ยินคำว่า Green buildingแล้ว ภาพที่นึกถึงเป็นอย่างไรบ้างค่ะ 

อาคารที่ต้องปลูกต้นไม้เยอะๆ 

รักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอะไรประมาณนั้นใช่รึเปล่า 

แล้วต้องมีสีเขียวเยอะๆด้วยรึเปล่า


Cr.streamsofcontext.tumblr


ในความเป็นจริง เรียกกันว่าอาคารเขียว 

*ไม่ใช่อาคารสีเขียว*ความเขียวมีมากกว่าแค่ สี


ที่ผ่านมาพูดถึงแค่เปลือก ว่าต้องประกอบด้วย 3R

Reduce,Reuse และ Recycle

แต่ถ้าเรามองลึกกว่านั้น Recycle ที่ย้อนกลับมาใช้ได้จริงสักเท่าไร

ลด , ละ , เลิก แค่ตอนรณรงค์ หรือแค่ขอผ่านเกณฑ์พอ


ส่วนใหญ่ทุกวันนี้เป็น Down cycle 

ที่เอากลับมาใช้ .. แต่หน้าตามักไม่ชวนให้ใช้ หรือคุณภาพแย่กว่าเดิม    

สุดท้ายก็กลายเป็นขยะกองโตอยู่ดี เพราะ มันเอามาใช้ไม่ได้ ใช้ไม่ลงแล้วจริงๆ !!! 

จากนั้นก็มีต่ออีก 1 R = Regulate


Cr.kumakihieo.blogpot


กองทัพต้องเดินด้วยท้องเสมอ

ถ้าเรายังหิวอยู่ เราก็จะค่อยแต่หาอาหารมากกว่าทำอย่างอื่น

R ที่ต่อท้ายมามักสวนทางกับสภาพการเงินและประโยชน์จากผลผลิตที่ควรได้

ในคหสต. ของเด็กเต็กก็ไม่แปลกใจถ้ารณรงค์หรือส่งเสริมอะไรสักอย่าง

จะทำกับในแบบขอผ่านเกณฑ์ หรือขอไปทีเพราะมันไม่ได้ตอบสนองแบบครบองค์


แนวคิดแบบ C2C = Cradle to Cradle 

( ใช้แล้วใช้อีก เกิดแล้วเกิดอีกได้)

มีมานานตั้งแต่สมัยค.ศ. 1991( ไม่ใช่ของใหม่ )

แนวคิด"วิธีคิดแบบรอบด้านและครบวงจร"


ขั้วตรงข้ามกับ  Cradle to Grave 

ผลิตภัณฑ์ที่มีวงจรชีวิตเดียว ( ใช้แล้วตายเลย ใช้แล้วใช้ต่อไม่ได้ ) 

จุดจบส่วนใหญ่ คือ ขยะกองโต


Cr.Greenworld.or.th


ในด้านงานสถาปัตยกรรม ในคหสต.เด็กเต็ก ต้องอาศัยหลายส่วน

ถึงจะเป็น Green Building ของจริง

ไม่ใช่แค่ทำให้ผ่านเกณฑ์ ขออนุญาตผ่าน ได้การันตี ได้รางวัลก็เลิกกัน

เรื่องงบประมาณ ถ้าคนจ่าย เจ้าของ เข้าใจก็ไปต่อได้

เรื่องวัสดุ บริษัทที่ผลิต ถ้ามีมาตรฐานแบบ C2C ในกระบวนการผลิตก็ไปต่อได้

เรื่องการออกแบบ ถ้าสถาปนิกเห็นในกระบวนการออกแบบที่ดี ก็เป็นไปได้

เรื่องพฤติกรรมการใช้สอย ถ้าปรับตัวและเข้าใจ ที่บางพื้นที่

ไม่ได้ตอบสนองแค่มนุษย์เพียงอย่างเดียว 

แบ่งการตอบสนองกับธรรมชาติบ้างก็ไปต่อได้

รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

จะรัฐ , เอกชน , องค์กรแสวง ไม่แสวงกำไรก็ด้วย

ที่ต้องให้ความรู้ความเข้าใจ ผลกระทบของอนาคต

ที่อาจไม่เกิดตอนนี้ แต่อาจไปชิ_ห_ยในวันข้างหน้า 


Cr.inspirationde.com


มันเกิดจากจุดเล็กๆในตัวเราก่อนก็ได้

ลองมองให้ลึกขึ้น ในภาพที่เห็น ในสิ่งที่เป็น

ว่าไม่ได้แค่มีต้นไม้มาวางๆ แล้วก็เป็น Green Building แล้ว

คิดไปให้จบตอน จบวงจรไปถึงเรื่องการดูแลรักษา


ถ้าตอนนี้ คุณผู้อ่านไม่ได้คิดจะสร้างบ้าน แต่งห้องใหม่ก็ไม่เป็นไร

แค่ลองดูสภาพแวดล้อมรอบตัวก่อนก็ได้ค่ะ 

ลองพกถุงผ้า อันไหนใส่ถุงรวมกันได้ก็ใส่ ลองปลูกต้นไม้เล็กๆที่ระเบียง

บางอย่างใช้ได้ ก็เอามาใช้ บางอย่างซ่อมอยู่ก็เอามาซ่อม

อันไหนไม่ใช้ก็ส่งต่อให้กับคนที่เค้าได้ใช้สอยจริงๆ

เด็กเต็กเชื่อว่าทุกอย่างเกิดจากตัวเรา ที่เป็นจุดหนึ่งๆในสังคมเสมอ

แค่ทำเท่าที่ทำได้ในตอนนี้ไปก่อน

Cr.landezine


การทำสวนแนวตั้งหรือ Vertical Garden เป็นที่นิยมมาก

ลองคิดให้ครบด้านสักหน่อยว่า สวนจะอยู่ให้เติบโตได้อย่างไร

แบบไหนรอด ไม่รอด ถ้าตายก็เปลี่ยนใหม่ไปเรื่อยๆ อยู่แบบนั้น

ก็ไม่ต้องมีเลยยังดีกว่า


Cr.Arquitectura Clarin


 

อาจจะยังอยู่ไกลตัวเพราะยังไม่มีกฎ , ข้อบังคับในการสร้างบ้านเขียวอย่างชัดเจน

แต่ในอาคารใหญ่มีข้อกำหนดตรงนี้และกำลังพัฒนาไปสู่

 Well - Being Building มากกว่าแค่ Green Building

( มาถึงไทยแล้ว )


หากท่านผู้อ่านสนใจเรื่อง C2C 

มีบทความตาม Link ด้านล่างลองเข้าไปอ่านกันได้นะคะ


TCDC : ถึงเวลาของผลิตภัณฑ์สีเขียวเข้ม

Green world : จากอู่ สู่ อู่


ส่วนเรื่องของ Well - Being Building 

เด็กเต็กของทำความเข้าใจให้มากขึ้น

แล้วจะมาบอกเล่าให้กันค่ะ 


พบกันใหม่โพสต์หน้านะคะ

#เด็กเต็ก

- - - - -


ติดตามความรู้ , มุมมองสถาปนิกสื่อสารถึงทุกท่านผ่านภาษาอ่านง่ายได้ทุกช่องทาง

Fanpage , Blogger , Bloggang , OK Nation Blog เด็กเต็ก 

+Inbox / สอบถามรายละเอียด / ขอคำแนะนำ

ออกแบบ รับเหมา ตกแต่งบ้าน 

https://www.facebook.com/dektectdesign/

หรือ

Email : dektect.design@gmail.com

ID line : @dektect (มี @ ด้วยนะคะ)


หรือ คลิกhttps://line.me/ti/p/%40gwm0708l





Create Date : 05 พฤษภาคม 2561
Last Update : 5 พฤษภาคม 2561 15:53:39 น. 0 comments
Counter : 483 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ญเล็ก อินโนบัน
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




+งานประจำเป็นสถาปนิก
+งานไม่ประจำแต่ทำเสมอคือ นักเขียน

ติดตามช่องยูทูปได้ที่
https://www.youtube.com/channel/UCu9sRpXaGjGkxsk-0MBEtUQ?sub_confirmation=1
ติดตามได้ใน
https://yinglekinnobun.wixsite.com/aboutinno

หรือ หาคำว่า innobun ใน Google ได้เลย
* ที่หายไปบางครั้งโพสต์ไม่ได้ ไม่รู้สาเหตุอันใดจ้า
[Add ญเล็ก อินโนบัน's blog to your web]