บล๊อกของลุง กับป้า ที่ชอบการท่องเที่ยว
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
11 ตุลาคม 2558
 
All Blogs
 
ตอน 4 - รอบ ๆ เราที่จิตตะกอง


จาก Cox's Bazar เราย้อนกลับจิตตะกองค่ะ



รถจอดบริเวณนี้ ที่ Motel Road - Cox's Bazar จากนั้นก็นั่งชมวิวทิวทัศน์ 2 ข้างทางจาก Cox's Bazar ไปจิตตะกองกัน





ดูคึกคัก มีทุกยานพาหนะ สามล้อ รถลาก รถบรรทุก สามล้อเครื่อง บ้านเรามีแต่รถเก๋ง

จิตตะกอง (Chittagong)

จิตตะกอง เป็นเมืองหลวงของแคว้นจิตตะกอง อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของบังคลาเทศ ...ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ  ตัวเมืองตั้งอยู่ทางเหนือของแม่น้ำ Karnaphuli ...  เป็นเมืองศูนย์กลางการค้า อุตสาหกรรม และเป็นเมืองท่าที่มีการขนส่งหนาแน่นที่สุดของประเทศ

สำหรับคนท้องถิ่นมักกล่าวว่า คำว่า "Chittagong" มาจากคำว่า "Chattagram" แปลว่าหมู่บ้านเล็ก ๆ .... แต่จริง ๆ ดูเหมือนจะมาจากคำของชาวอาระกัน คือ "tsi-tsi-gong" ที่ปั๊มมาบนอุปกรณ์ของผู้บุกรุก ซึ่งมีความหมายว่า "สงครามที่ไม่ควรมีการต่อสู้" (war should never be fought)    

ถึงแม้จะมีความหมายเช่นนี้ จิตตะกองก็ถูกบุกรุก ผลัดเปลี่ยนกันปกครอง และครอบครองโดยชนมุสลิม โมกุล อาระกัน  อังกฤษ และพม่า ซึ่งภายหลังถูกอังกฤษ บังคับให้ต้องยอมคืนพื้นที่บริเวณรอบ ๆ จิตตะกอง ที่อ้างว่าเป็นของตนเอง ...การปฏิวัติของจิตตะกองก็ดำเนินรอยตามแบบกรุงธากา

จิตตะกองจึงเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งอิสลาม ฮินดู และพุทธ


บังคลาเทศอาจไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไปมากเหมือนที่อื่น ๆ  แต่เสน่ห์ของประเทศนี้ อยู่ที่การสังเกตุ เฝ้ามอง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา ..ชาวบังคลาเทศมักไม่ถือสา  ถ้านักท่องเที่ยวอาจทำอะไรที่ขัดกับสิ่งที่ควรทำ ตามความคิดของคนท้องถิ่น  .. ทั้งนี้ เนื่องจากไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวบังคลาเทศมากนัก  ชาวต่างชาติจึงได้รับความสนใจอย่างมาก แม้จะแต่งกายธรรมดา ๆ ไม่หวือหวา  แต่ถ้าไม่ใช่คนท้องถิ่น ก็จะมีคนจ้องมองอยู่เสมอ ๆ 


จิตตะกองก็เช่นเดียวกันค่ะ ...เราเดินเที่ยวบริเวณใกล้เคียงกับที่พัก  ดูวิถีชีิวิต การทำมาหากิน ของชาวจิตตะกอง เดินไปทางไหน เหมือนเป็นร้านค้า ตลาดทั้งนั้น  .. ผู้คนยิ้มแย้ม ทักทาย คำถามยอดฮิต คือ "Your gunttrrrr"  ถ่ายรูปเหรอ ไม่ว่ากัน หลายคนขอให้ถ่ายรูปให้เขาด้วย บางคนก็ตั้งท่าซะหล่อเลย 

จิตตะกองเป็นเมืองใหญ่  การจราจรในเมืองก็ เช่นเดียวกับกรุงธากา ที่ถนนเต็มยานพาหนะทุกประเภท รวมทั้งสามล้อจำนวนมาก  ย่านที่จอแจที่สุดของเมือง คือ บริเวณรอบ ๆ สถานีรถไฟ และ Station Road



 พ่อค้าเด็ก มาดดูดีมาก เก๊กหล่อเชียว











หนุ่มน้อยคนนี้เก๊กหล่อเหมือนกัน โพสต์ท่าให้ถ่ายรูปหลายท่า โตขึ้นเป็นพระเอกได้เลย

เดินไปจนสุด Station Road เป็นตลาดใหญ่ มีตรอก ซอกซอยทะลุถึงกัน มีทั้งร้านอาหาร ผลไม้ และของแห้ง ส่วนใหญ่เป็นเครื่องเทศ
















แวะซื้อยี่หร่า ได้แพคเกจเป็นกระดาษห่อสีน้ำตาล มัดด้วยเชือกปอ ผูกแบบให้หิ้วได้ด้วย ไม่มีถุงพลาสติคค่ะ ....

เมื่อมาหาข้อมูล จึงได้รู้ว่าบังคลาเทศเป็นประเทศแรกที่เห็นผลกระทบของถุงพลาสติคต่อสภาพแวดล้อม .....  แม้ถุงพลาสติคถูกนำมาใช้ในบังคลาเทศ ประมาณ 30 กว่าปีมาแล้ว และแพร่กลายอย่างรวดเร็วแทนการใช้ถุงผ้าปอกระเจาแบบดั้งเดิม  ซึ่งก็เหมือนประเทศอื่น ๆ เพราะถุงพลาสติคเพิ่มความสะดวกสบายแก่ผุู้ใช้  

นักสิ่งแวดล้อมชาวบังคลาเทศคำนวนได้ว่า มีถุงพลาสติคประมาณ 9 ล้านใบทึี่ใช้แล้วในเมือง ถูกทิ้งในแต่ละวัน  และเพียง 10 % เท่านั้น  ที่ทิ้งในถังขยะ .. ส่วนที่เหลือก็ทิ้งขว้างไปทั่ว และกลายเป็นสิ่งกีดขวางในท่อระบายน้ำ และการระบายน้ำ  อันเป็นเหตุสำคัญ ที่นักสิ่งแวดล้อม และนักผังเมือง ตำหนิอย่างรุนแรงว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่่วมใหญ่ ใน ปี 1989 และ 1998 





สภาพน้ำท่วมบังคลาเทศ ปี 1998

Hosain Shahriar, นักนิเวศวิทยาชาวบังคลาเทศ  กล่าวว่าเราคงอาศัยอยู่ในเมืองได้ไม่นาน ถ้าผู้คนยังชอบใช้ถุงพลาสติคอย่างต่อเนื่อง https://en.wikipedia.org/wiki/Phase-out_of_lightweight_plastic_bags)



น้ำท่วมปี 1998 มีผลกระทบต่อประเทศบังคลาเทศ คือ

- พื้นที่ทึ่ถูกน้ำท่วมทั้งหมดประมาณ 57 % ของประเทศ
- ประชาขนเสียชีวิต มากกว่า 1,300 คน
- บ้านเรือนประมาณ 7 ล้านหลัง เสียหายทั้งหมด หรือบางส่วน
- ประชาชน 25 ล้านคน ไร้ที่อยู่อาศัย
- เกิดการขาดแคลนน้ำดื่ม และอาหารแห้งอย่างรุนแรง
- เกิดการระบาดของโรคต่าง ๆ เช่น โรคเกี่ยวกับหลอดลม  อหิวาตกโรค
    ท้องร่วง
- สิ่งที่หลงเหลือหลังน้ำลด คือ ท้องนาที่เต็มไปด้วยพืชผลที่เน่าเหม็น     ถนนและสะพานที่ผุพัง  หมู่บ้านถูกทำลาย
- ข้าวประมาณ 2 ล้านตัน เสียหาย
- สัตว์ปีก และปศุสัตว์ ประมาณ 5 แสนตัว สูญหาย
- ประเทศเสียหายจากน้ำท่วมครั้้ง โดยรวมประมาณ 1 พันล้าน (ดอลล่าร์สหรัฐ)


สืบเนื่องจากน้ำท่วมและผลกระทบต่อผู้คนและประเทศโดยรวม และพบพลาสติคเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ไปขวางกั้นการระบายน้ำ ระหว่างที่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรง  ดังนั้น ในปี 2002 (พศ.2545) บังคลาเทศจึงประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติคแบบบาง เป็นประเทศแรกในโลก ....

ประเทศอื่น ๆ ที่ห้ามใช้ถุงพลาสติดแบบบาง ต่อ ๆ มา คือ แอฟริกาใต้ ระวันดา จีน ออสเตรเลีย และอิตาลี  (//www.bbc.com/news/uk-24090603)



น้ำท่วมประเทศไทย พศ. 2554  ขอบคุณภาพจาก //pae-and-guy.blogspot.com/2011/11/photo-essay-thai-flood-2011.html



ขอบคุณภาพจาก //photos.nj.com/njcom_photo_essays/2011/10/10-28-11_the_star-ledgers_phot.html

น้ำท่วมใหญ่ที่ไหน สภาพความเสียหายก็คงมากพอ ๆ กัน  บ้านเรามีการรณรงค์ให้ใช้ถุงผ้ามาระยะหนึ่งแล้ว  ไม่รู้ได้ผลประการใด .... รู้แต่ว่าถ้าฝนตก ระบายน้ำไม่ทัน สาเหตุหนึ่งมาจากถุงพลาสติคที่ไปอยู่ในท่อระบายน้ำ หรือในแม่น้ำ-ลำคลอง 

ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย และ
//www.kcet.org/news/1st_and_spring/commentary/paper-or-plastic-the-great-debate.html





Create Date : 11 ตุลาคม 2558
Last Update : 15 ตุลาคม 2558 15:49:52 น. 1 comments
Counter : 1876 Pageviews.

 
เห็นภาพแล้ว ที่ยุโรปเขารณรงค์ให้ใช้ถุงกระดาษกันค่ะ


โดย: Maeboon วันที่: 22 มีนาคม 2559 เวลา:22:45:09 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สมาชิกหมายเลข 1920579
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1920579's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.