2. thalebanii นั้นถ้าหมายถึง แหล่งที่กำเนิด หรือชื่อบุคคล แล้ว การลงท้ายด้วย -ii นั้น มีความหมายว่าอะไร และถูกต้องตามหลักภาษาละตินหรือเปล่า คำตอบ ส่วนลงท้าย suffix ii นั้น มีความหมายถึงสถานที่ = in the names of place เพื่อให้แยกแตกต่างจาก in the name of region และบังเอิญหลักการทำให้เป็นละติน (Latinization) ของสถานที่ บางคำนั้น ไปคล้าย กับหลักการ Latinization ของชื่อคน ตามหลัก ICZN และ ICBN ครับ
จันทบุรี = Chantaburi = Chataburium (n. sing. nom. noun) = Chataburii (n. sing. gen. noun) หรือ ??? Chataburius (m. sing. nom. noun) = Chataburii (m. sing. gen. noun) เดาใจเค้าไม่ถูกจริงๆครับ ไม่รู้ว่าเค้าได้นึกถึงหรือเปล่าด้วยครับ เพราะว่า สมัยนี้ คนมีการศึกษาทางตะวันเองก็เรียนภาษาละตินน้อยลงมาก (ชื่อสถานที่ในภาษาละตินส่วนใหญ่จะเป็น Feminine หรือ Neuter มีส่วนน้อยมากที่จะเป็น Musculine)
ถ้าหากยึดตามหลัก latinization ของเดิมแล้ว น่าจะเป็นดังนี้ครับ จันทบุรี = Chantaburi = Chataburia (f. sing. nom. noun) = Chataburiae (f. sing. gen. noun) แต่อย่างไรก็ตาม ICZN ไม่อนุญาต ให้ แก้ไขการสะกดดังกล่าวเป็น Copera chantaburiae Asahina, 1984 แน่ครับ
ส่วน Ingerana tasanae (Smith, 1921) Smith ได้แปลง ท่าสาน เป็นละตินดังนี้ ท่าสาน = Tasan = Tasana (f. sing. nom. noun) = Tasanae (f. sing. gen. noun) แต่ถ้าหากยึดตามหลัก latinization ในความหมายของ in the names of place ตามวิธีของเดิมแล้ว น่าจะเป็นดังนี้ครับ ท่าสาน = Tasan = Tasanum (n. sing. nom. noun) = Tasani (n. sing. gen. noun) หรือ ท่าสาน = Tasan = Tasanium (n. sing. nom. noun) = Tasanii (n. sing. gen. noun) แต่อย่างไรก็ตาม ICZN ไม่อนุญาต ให้ แก้ไขการสะกดดังกล่าวเป็น Ingerana tasani (Smith, 1921) หรือ Ingerana tasanii (Smith, 1921) แน่ครับ ถ้านักอนุกรมวานผู้ตั้งชื่อได้ระมัดระวัง ในการที่ไม่ใช้หลักการตั้งชื่อบุคคลมาใช้กับสถานที่ น่าจะทำให้เกิดความสับสนน้อยลงนะครับ แต่จริงๆแล้วก็น่าจะใช้รูป Adjective มากกว่า เพราะว่า อาจจะมีการตั้งชื่อ สกุล genus เป็น ชื่อสถานที่ ซึ่ง ICBN ก็แนะนำไม่ให้ใช้ด้วยเหตุผลนี้ เพราะความหมายมันจะแปลได้สองอย่าง คือ อย่างเช่น ไทย = Thai = Thaia (f. sing. nom. noun) = Thaiae (f. sing. gen. noun) อย่างเช่น Seidenfaden ได้ตั้งกล้วยไม้สกุลใหม่ของโลกว่า Thaia Seiddenf. เอื้องไทย โดยมีเพียงชนิดเดียว คือ Thaia saprophytica Seidenf. เอื้องไทยกินซาก หากจะมีการตั้งชื่อกล้วยไม้ ในสกุล Phalaenopsis โดยใช้คำว่า ไทย นั้น จะตั้งได้ดังนี้ Phalaenopsis thaiae แบบนี้จะให้ความหายได้สองอย่างคือ หมายถึงกล้วยไม้ชนิดนี้มาจาก ประเทศไทย หรือหมายถึง มีลักษณะ อย่างใดอย่างหนึ่งคล้าย เอื้องไทย ซึ่งมันขัดต่อข้อแนะนำของ ICBN ด้วย Phalaenopsis thaiana แบบนี้ จะหมายถึงเฉพาะ ประเทศไทยครับ
7. Phalaenopsis thalebanii Seidenf. ออกเสียงที่ถูกต้อง ตาม Classical latin และ Traditional English อย่างไรครับ จะตอบเป็นอักษรไทยหรือ IPA ก็ได้ครับ IPA ให้ทำลง PDF แล้วเซฟเป็น jpg ครับ และกรุณาบอก stress ด้วยครับ ตอบ
ทะเลบัน = Thaleban
a. อ่านแบบ Classical Latin Phalaenopsis thalebanii = พะลัยน็อปสิส ทะเลบะนี
b. อ่านแบบ Classical Latin แต่อ้างอิงการออกเสียงชื่อ epitet จากภาษาไทย Phalaenopsis thalebanii = พะลัยน็อปสิส ทะเลบันนี
c. อ่านแบบ Traditional English โดยใช้สำเนียง มาตรฐานแบบอังกฤษ Recieved Pronunciation English Phalaenopsis thalebanii = ,แฟลลินอปสิส ,เทย์ลิเบย์นิอาย
d. อ่านแบบ Traditional English โดยใช้สำเนียง มาตรฐานแบบอังกฤษ RP English แต่อ้างอิงการออกเสียงชื่อ epitet จากภาษาไทย Phalaenopsis thalebanii = ,แฟลลินอปสิส ,ทาลิบันนิอาย
e. อ่านแบบ Traditional English โดยใช้สำเนียง แบบอเมริกัน General American English Phalaenopsis thalebanii = ,เฟเลอะนาปสิส ,เทย์เลอะเบย์นิอาย
f. อ่านแบบ Traditional English โดยใช้สำเนียง แบบอเมริกัน GA English แต่อ้างอิงการออกเสียงชื่อ epitet จากภาษาไทย Phalaenopsis thalebanii = ,เฟเลอะนาปสิส เทอะ,เลย์บานนิอาย
ข้อนี้คิดว่าไม่สามารถตอบลงเวปได้ครับ
ยังไงดูใน รูปที่ตอบเป็น IPA International Phonetic Alphabet นะครับ ส่วนส่วนของตัวอักษรไทย คือว่าแค่เทียบเคียงครับ
23.1. The name of a species is a binary combination consisting of the name of the genus followed by a single specific epithet in the form of an adjective, a noun in the genitive, or a word in apposition, or several words, but not a phrase name of one or more descriptive nouns and associated adjectives in the ablative (see Art. 23.6(a)), nor certain other irregularly formed designations (see Art. 23.6(c)). If an epithet consists of two or more words, these are to be united or hyphenated. An epithet not so joined when originally published is not to be rejected but, when used, is to be united or hyphenated, as specified in Art. 60.9.
60.9. The use of a hyphen in a compound epithet is treated as an error to be corrected by deletion of the hyphen, unless the epithet is formed of words that usually stand independently or the letters before and after the hyphen are the same, when a hyphen is permitted (see Art. 23.1 and 23.3).
Ex. 16. Hyphen to be omitted: Acer pseudoplatanus L. (1753), not A. "pseudo-platanus"; Eugenia costaricensis O. Berg, not E. "costa-ricensis"; Ficus neoëbudarum Summerh. (1932), not F. "neo-ebudarum"; Lycoperdon atropurpureum Vittad. (1842), not L. "atro-purpureum"; Croton ciliatoglandulifer Ortega (1797), not C. "ciliato-glandulifer"; Scirpus sect. Pseudoëriophorum Jurtzev (in Bjull. Moskovsk. Obšc. Isp. Prir., Otd. Biol. 70(1): 132. 1965), not S. sect. "Pseudo-eriophorum".
Searching the International Orchid Register The International Orchid Register can be searched by two methods: Parentage Search can be used to identify any grexes from particular seed and pollen parents. Grex Name Search can be used to find the parentage of particular grexes. ดูตรงบริเวณนี้อะ จะเห็นว่ามีให้กด สองปุ่ม เลือกเอา Parentage Search หมายถึงเรารู้ชื่อพ่อแม่ไม้ เราสามารถ หาชื่อลูกได้ (Grex) Grex Name Search หมายถึงเรารู้ชื่อลูกไม้ (Grex) แล้วต้องการหาชื่อพ่อแม่ไม้ พอเข้าไป Parentage Search จะเห็นช่องว่างดังนี้ For grex name search click here Seed parent Pollen parent Genus:
ที่แน่นอนเลยมันต้องมีกฎการตั้งชื่อครับ ในพืชก็มีสองกฎครับ คือ 1. ICBN (International Code of Botanical Nomenclature) หรือกฎสากลตั้งชื่อทางพฤกษศาสตร์นั่นเองครับ 2. ICNCP (International Code of Nomenclature for Cultivated Plants) หรือกฎสากลตั้งชื่อไม้เพาะเลี้ยงครับ