[The Witcher Trilogy รำลึก] ไฉนซีรีส์นี้จึงได้สำคัญนัก
สารภาพว่าผมเพิ่งเล่นซีรีส์ The Witcher เมื่อประมาณปีสองปีที่ผ่านมานี่เอง ก่อนหน้าที่ The Witcher 3 : Wild Hunt จะออกอยู่หลายเดือน

(เกรัลท์จาก The Witcher ภาคแรก ปี 2007)


ผมได้ยินมานานแล้วว่าเกมนี้มี "เนื้อเรื่องที่ดี" 

ผมรู้ว่ามันดัดแปลงมาจากหนังสือที่เหมือนเอา Lord of the Rings มาผสมกับ Game of Thrones และบวกด้วยตำนานภูตผีปิศาจของโปแลนด์หรือยุโรปเหนือ 

ผมรู้ว่านิยายดังมากที่โปแลนด์และผมไม่เคยอ่านเลยสักเล่มเดียว (แต่กำลังสนใจว่าจะไล่เก็บเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ เนื่องจาก ในไทยยังไม่มีแปล และผมอ่านโปแลนด์ไม่ออก!)


(เรื่องสั้นเปิดตำนาน The Witcher นี่คือเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษที่เปลี่ยนปกให้เข้ากับเกม)


ผมเห็น Steam ลดราคาแล้วก็ซื้อมาดองไว้ ยังไม่มีแรงใจจะเล่นเท่าไหร่ จนกระทั่งตอน Wild Hunt ใกล้ออกและกำลังโหมโฆษณาหนัก ผมจึงลองเล่นภาคแรกดู 

ตอนแรกผมไม่ได้ชอบระบบของมันเลย แต่เมื่อผมเปิดใจกับมัน สุดท้ายแล้วซีรีส์ The Witcher กลับกลายเป็นเกมซีรีส์หนึ่งที่ผมจะจำไปอีกนาน เคียงคู่กับ Tomb Raider และ Mass Effect

ไฉนมันจึงได้สำคัญนัก?

คำตอบนั้นก็คือ...



1. ความกำกวมทางด้านศีลธรรม

ภาพรวมของซีรีส์ The Witcher นั้นทำได้ดีในแง่ของเนื้อเรื่องที่ "กำกวมทางด้านศีลธรรม" ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของนิยาย คนที่เคยอ่านนิยายล้วนบอกว่าเกมซีรีส์ The Witcher เก็บตกประเด็นนี้ได้ดีมาก ทางเลือกของเรามีผลต่อตัวเกมตั้งแต่ต้นยันจบ อีกทั้งผลการเลือกของเรา บางครั้งยังมีผลลัพธ์ที่ออกมากำกวม ไม่สามารถฟันธงได้ว่า "ดี" หรือ "เลว" บทพูดของเกมซีรีส์ค่อนข้างฉลาดเพราะไม่ว่าจะเลือกทางไหน เราอาจจะถูกอีกฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ได้เหมือนกัน ไม่เหมือนกับเกมของ Bioware อย่าง Mass Effect ที่จะฟันธงไปเลยว่า เฮ้ย อันนี้ดี เฮ้ย อันนี้เลว


(โลกของ The Witcher มีความคลุมเครือทางศีลธรรมสูง)



2. เราสวมบทเป็นนักล่าค่าหัว ไม่ใช่ฮีโร่กู้โลก

ซีรีส์ The Witcher ทำให้ผมเป็นนักล่า ไม่ใช่นักล่าแบบ Monster Hunter แต่มันเหมือนกับ "แซมและดีน" ใน Supernatural หรือ "กัซ" ใน Berserk มากกว่า เราออกเดินทางไปตามเมืองต่างๆ หางานทำเพื่อเลี้ยงชีพ ซึ่งงานของเราคือการกำจัดภูตผีปิศาจบ้าง กำจัดโจรบ้าง 

เราสวมบทบาทเป็นเกรัลท์ เดอะวิชเชอร์ที่เก่งกาจ แนวทางของเดอะวิชเชอร์ไม่ใช่นักรบ ไม่ใช่ผู้กล้ากอบกู้อาณาจักร เกรัลท์อาจมีช่วยงานกษัตริย์บางองค์ แต่ก็เหมือนกับการทำงานตามปกติ คือทำงานเพื่อรับค่าตอบแทน 

อย่างไรก็ตาม เส้นทางของเกม The Witcher ได้มอบอิสระให้เรา ดังนั้นเราอาจช่วยเหลือใครสักคนด้วยความรู้สึกส่วนตัวก็เป็นได้ (ในขณะที่ The Witcher ในนิยายจะออกในแนวทางสายกลาง ไม่ฝักฝ่ายฝ่ายใดเป็นพิเศษ)


(เกมภาคแรกบอกว่า "ฉันคือวิชเชอร์ ฉันไม่ตัดสินใครหรือลงโทษใคร ฉันแค่แก้ปัญหาของมนุษย์เท่านั้น" คำพูดนี้บ่งบอกถึงความเป็นวิชเชอร์ได้ดีที่สุด)



3. อิสระในการเลือก

เมื่อพูดถึงอิสระแล้ว เกมนี้หลายครั้งจะบีบให้เราเดินอยู่บนทางแยกที่ตัดสินใจลำบาก อย่างที่บอกในตอนต้นๆว่าการเลือกของเรามีผลไปตลอดเกม แม้กระทั่งตัวเลือกที่เป็นคำพูดก็ส่งผลด้วยเช่นกัน 

บางครั้งตัวเลือกที่ผุดขึ้นก็เล่นเอาผมชะงักไปนาน ไม่รู้ว่าจะเลือกเส้นทางไหนดี

บางครั้งเราคิดว่าได้เลือกหนทางที่ถูกต้อง แต่แล้วกลับต้องมาพบว่ามันผิด 


(ทางเลือกของเรา บางครั้งก็ให้ผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึง)



4. ความหลากหลายของภารกิจ+การเขียนที่ดี

ขยายมาจากข้อ 2 : ภารกิจของเดอะวิชเชอร์ไม่ใช่การล่าภูตผีปิศาจไปเรื่อยๆ บางครั้งเรามีการสืบคดีฆาตกรรม บางครั้งเรารับเควสท์เพื่อค้นหาความจริงอะไรสักอย่าง เราก็ต้องไล่ตามเงื่อนงำตรงนั้นไป หลายครั้งภารกิจมีการหักมุมจนต้องอึ้ง 

ทั้งหมดนั่นเกิดการการเขียนเนื้อเรื่องและบทที่ดี แน่นอนว่าตัวนิยายต้นฉบับน่าจะส่งอิทธิพลสำคัญต่อทีมเขียนเนื้อเรื่องและบทในเกม แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังควรชื่นชมว่าเกมซีรีส์นี้มีการดัดแปลงที่ดีมาก

(มีกระทั่งภารกิจไล่ต้อนหมู!!)


5. SEXXXXX!!!!

อาจอุจาดไปหน่อย แต่นี่ถือเป็นไฮไลท์อย่างหนึ่งของ The Witcher บางตัวเลือกที่ผมเลือกนั้น ก็ไม่ได้อะไรมากนอกจากอยากเห็นฉาก sex ของเกรัลท์กับตัวละครที่เล็งเอาไว้ มันกลายเป็นกิมมิคเล็กๆที่สร้างอรรถรสให้กับเกมได้เหมือนกับเกมซีรีส์ Mass Effect เพียงแต่ฉาก sex ของ The Witcher บางครั้งก็แฝงไว้ด้วยอารมณ์ขำๆอยู่เหมือนกัน


(เกรัลท์ x ชานี่ ใน Heart of Stone น่าจะเป็นฉากเซ็กส์ที่ยาวที่สุดในซีรีส์)


6. รายละเอียดของโลกที่แน่นปึ้ก

เนื่องจากนิยายซีรีส์ The Witcher มีออกมาขายหลายเล่ม ดังนั้นรายละเอียดของโลกย่อมต้องมากตามไปด้วย 

CD Projekt Red ทำได้ดีในแง่ของการเก็บรายละเอียดโลกผ่านคำพูดของตัวละคร ภารกิจที่เกรัลท์ต้องเจอ รวมถึงหนังสือหนังหามากมายที่ปรากฏอยู่ในเกม

เพียงแต่... แน่นอนว่าคนที่เคยนิยายมาแล้วย่อมต้องเข้าใจรายละเอียดพวกนั้นได้ดีกว่าคนที่ยังไม่อ่าน อย่างเรื่องของเยนนิเฟอร์กับซิริ ถ้าไม่เคยอ่านนิยายมาก่อนจะไม่รู้เลยว่า "แม่มด" ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มหนึ่งภายในเกมภาคแรกสุด คือเยนนิเฟอร์ ตัวละครที่มีความสำคัญทั้งในนิยายและเกมภาค 3 : The Wild Hunt


(โลกของวิชเชอร์เต็มไปด้วยตำนาน ประวัติศาสตร์ด้านสงคราม ทั้งสงครามระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ สงครามระหว่างมนุษย์กับอมนุษย์อย่างเอลฟ์หรือคนแคระ ฯลฯ)


แถมท้ายอีกนิด

คนที่ไม่ได้อ่านนิยาย แต่อยากรู้เรื่องของโลก The Witcher แบบพอสังเขปทั้งตัวนิยายและเกมละก็ ลองหาหนังสือชื่อ The World of the Witcher ของสำนักพิมพ์ Dark Horse ดูสิครับ



หนังสือเล่มนี้จะบอกเล่ารายละเอียดแบบพอสังเขปตั้งแต่การปรากฏตัวของเผ่าพันธุ์ต่างๆ เหตุผลที่มนุษย์มักรบราฆ่าฟัน รายละเอียดของการถือกำเนิดพวกวิชเชอร์ รายละเอียดของพวกแม่มด ฯลฯ 

รับรองว่าคุ้มมาก!!






คราวต่อไป เรามาคุยกันเรื่อง The Witcher ภาคแรก (2007) กันเถอะ!! 



Create Date : 20 มกราคม 2559
Last Update : 22 มกราคม 2559 23:42:18 น.
Counter : 5856 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หมาหัวโจก
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 18 คน [?]



All Blog