Group Blog
OWL2's blog
มีนาคม 2560
>>
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
24 มีนาคม 2560
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๘ )
All Blogs
น่าน น้าน นาน (ตอนจบ)
น่าน น้าน นาน (4)
น่าน น้าน นาน (3)
น่าน น้าน นาน (2)
น่าน น้าน นาน (1)
Konnichiwa Nihon no densha (14)
Konnichiwa Nihon no densha (ตอนจบ)
Konnichiwa Nihon no densha (24)
Konnichiwa Nihon no densha (23)
Konnichiwa Nihon no densha (22)
Konnichiwa Nihon no densha (21)
Konnichiwa Nihon no densha (20)
Konnichiwa Nihon no densha (19)
Konnichiwa Nihon no densha (18)
Konnichiwa Nihon no densha (17)
Konnichiwa Nihon no densha (16)
Konnichiwa Nihon no densha (15)
Konnichiwa Nihon no densha (13)
Konnichiwa Nihon no densha (12)
Konnichiwa Nihon no densha (11)
Konnichiwa Nihon no densha (10)
Konnichiwa Nihon no densha (9)
Konnichiwa Nihon no densha (8)
Konnichiwa Nihon no densha (7)
Konnichiwa Nihon no densha (6)
Konnichiwa Nihon no densha (5)
Konnichiwa Nihon no densha (4)
Konnichiwa Nihon no densha (3)
Konnichiwa Nihon no densha (2)
Konnichiwa Nihon no densha (1)
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( ตอนจบ )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 12 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 11 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 10 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 9 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 8 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 7 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 6 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 5 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 4 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 3 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 2 )
มิงกาลาบาห์ เมียนมาร์ ( 1 )
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (ตอนจบ)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (5)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (4)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (3)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (2)
พินิจงานรถไฟสายอีสานด้วยค่าโดยสารเพียง 50 บาท (1)
ล่องใค้ ไปอีสาน (ตอนสุดท้าย)
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑๒ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑๑ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑๐ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๙ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๘ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๗ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๖ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๕ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๔ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๓ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๒ )
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๑ )
ทานตะวัน Express (2)
ทานตะวัน Express (1)
xinchao Vietnam (ตอนจบ)
Xinchao Vietnam ( 13 )
Xinchao Vietnam ( 12 )
Xinchao Vietnam ( 11 )
Xinchao Vietnam ( 10 )
Xinchao Vietnam ( 9 )
Xinchao Vietnam ( 8 )
Xinchao Vietnam ( 7 )
Xinchao Vietnam ( 6 )
Xinchao Vietnam ( 5 )
Xinchao Vietnam ( 4 )
Xinchao Vietnam ( 3 )
Xinchao Vietnam ( 2 )
Xinchao Vietnam ( 1 )
Meeting สุดชายแดนบูรพา (ตอนสุดท้าย)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (4)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (3)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (2)
Meeting สุดชายแดนบูรพา (1)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนสุดท้าย)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 5)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 4)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 3)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 2)
สะบายดี...จำปาสัก (ตอนที่ 1)
กุลวาขาว แมคคิลวารี
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนสุดท้าย)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 6)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 5)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 4)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 3)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 2)
เที่ยวไปกับทัวร์ Circular Train (ตอนที่ 1)
เที่ยวสุพรรณ....กับด่วนขุนแผน ตอนที่ 3 (ส่งท้าย)
เที่ยวสุพรรณ....กับด่วนขุนแผน ตอนที่ 2
เที่ยวสุพรรณ....กับด่วนขุนแผน ตอนที่ 1
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 6 (สุดท้าย)
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 5
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 4
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 3
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 2
เที่ยวฉ่ำฝน (ที่ไม่ใช่ธรรมดา) ตอนที่ 1
ก่อนที่จะมาเป็นถนนวิภาวดีรังสิต
เรื่องราวในอดีตของถนนมิตรภาพ : กรุงเทพฯ - หนองคาย ใน 8 ชั่วโมง
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (12)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (11)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (10)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (9)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (8)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (7)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (6)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (5)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (4)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (3)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (2)
สารคดีสั้น...จาก "คนเมือง" (1)
ล่องใต้ ไปอีสาน ( ๘ )
จากร้านหมี่สะปำ เจ้าถิ่นก็นำผมมายังวัดฉลอง (วัดหลวงพ่อแช่ม) ซึ่งเป็นวัดที่มีชื่อเสียงตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวกบฎอั้งยี่
ว่ากันว่า ในปีพุทธศักราช ๒๔๑๙ กรรมกรเหมืองแร่เป็นจำนวนหมื่น ในจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียง ได้ซ่องสุมผู้คนก่อตั้งเป็นคณะขึ้นเรียกว่า อั้งยี่ โดยเฉพาะพวกอั้งยี่ในจังหวัดภูเก็ตก่อเหตุวุ่นวายถึงขนาดจะเข้ายึดการปกครองของจังหวัดเป็นของพวกตน
ทางราชการในสมัยนั้นไม่อาจปราบให้สงบราบคาบได้ พวกอั้งยี่ถืออาวุธ รุกไล่ ยิง ฟันชาวบ้านล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านไม่อาจต่อสู้ป้องกันตนเองและทรัพย์สิน ที่รอดชีวิตก็หนีเข้าป่าไป เฉพาะในตำบลฉลองชาวบ้านได้หลบหนีเข้าป่า เข้าวัด ทิ้งบ้านเรือนปล่อยให้พวกอั้งยี่เผาบ้านเรือน หมู่บ้านซึ่งพวกอั้งยี่เผา ได้ชื่อว่า บ้านไฟไหม้ จนกระทั่งบัดนี้
ชาวบ้านที่หลบหนีเข้ามาในวัดฉลอง เมื่อพวกอั้งยี่รุกไล่ใกล้วัดเข้ามา ต่างก็เข้าไปแจ้งให้หลวงพ่อแช่มทราบ และนิมนต์ให้หลวงพ่อแช่ม หลบหนีออกจากวัดฉลองไปด้วย หลวงพ่อแช่มไม่ยอมหนี ท่านว่า ท่านอยู่ที่ วัดนี้ตั้งแต่เด็กจนบวชเป็นพระ และเป็นเจ้าวัดอยู่ขณะนี้ จะให้หนีทิ้งวัดไปได้อย่างไร
เมื่อหลวงพ่อแช่มไม่ยอมหนีทิ้งวัด ชาวบ้านต่างก็แจ้งหลวงพ่อแช่มว่า เมื่อท่านไม่หนีพวกเขาก็ไม่หนี จะขอสู้มันละ พ่อท่านมีอะไรเป็นเครื่องคุ้มกันตัวขอให้ทำให้ด้วย หลวงพ่อแช่มจึงทำผ้าประเจียดแจกโพกศีรษะคนละผืน เมื่อได้ของคุ้มกัน คนไทยชาวบ้านฉลองก็ออกไปชักชวนคนอื่นๆ ที่หลบหนีไปอยู่ตามป่า กลับมารวม พวกกัน อยู่ในวัด หาอาวุธ ปืน มีด เตรียมต่อสู้กับพวกอั้งยี่
พวกอั้งยี่ เที่ยวรุกไล่ฆ่าฟันชาวบ้าน ไม่มีใครต่อสู้ก็จะชะล่าใจ ประมาทรุกไล่ฆ่าชาวบ้านมาถึงวัดฉลอง ชาวบ้านซึ่งได้รับผ้าประเจียดจากหลวงพ่อแช่มโพกศีรษะไว้ก็ออกต่อต้านพวกอั้งยี่ พวกอั้งยี่ไม่สามารถทำร้าย ชาวบ้านก็ถูกชาวบ้านไล่ฆ่าฟันแตกหนีไป ครั้งนี้เป็นชัยชนะครั้งแรกของไทยชาวบ้านฉลอง
ข่าวชนะศึกครั้งแรก ของชาวบ้านฉลอง รู้ถึงชาวบ้านที่หลบหนีไปอยู่ที่อื่น ต่างพากลับมายังวัดฉลอง รับอาสาว่า ถ้าพวกอั้งยี่มารบอีก ก็จะต่อสู้ ขอให้หลวงพ่อแช่มจัดเครื่องคุ้มครองตัวให้ หลวงพ่อแช่มก็ทำผ้าประเจียดแจกจ่ายให้คนละผืน พร้อมกับแจ้งแก่ชาวบ้านว่า "ข้าเป็นพระสงฆ์จะรบราฆ่าฟันกับใครไม่ได้ พวกสูจะรบก็คิดอ่านกันเอาเอง ข้าจะทำเครื่องคุณพระให้ไว้สำหรับป้องกันตัวเท่านั้น" ชาวบ้านเอาผ้าประเจียดซึ่งหลวงพ่อแช่มทำให้โพก ศีรษะเป็นเครื่องหมาย บอกต่อต้านพวกอั้งยี่
พวกอั้งยี่ให้ฉายาคนไทยชาวบ้านฉลองว่า "พวกหัวขาว" ยกพวกมาโจมตีคนไทยชาวบ้านฉลองหลายครั้ง ชาวบ้านถือเอากำแพงพระอุโบสถเป็นแนวป้องกัน อั้งยี่ไม่สามารถตีฝ่าเข้ามาได้ ภายหลังจัดเป็นกองทัพเป็น จำนวนพัน ตั้งแม่ทัพ นายกอง มีธงรบ ม้าล่อ เป็นเครื่องประโคมขณะรบกัน ยกทัพเข้าล้อมรอบกำแพงพระอุโบสถ ยิงปืน พุ่งแหลน พุ่งอีโต้ เข้ามาที่กำแพง เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่บรรดาชาวบ้านซึ่งได้เครื่องคุ้มกันตัวจากหลวงพ่อ แช่มต่างก็แคล้วคลาดไม่ถูกอาวุธของพวกอั้งยี่เลย
คณะกรรมการเมืองภูเก็ต ได้ทำรายงานกราบทูลไปยังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะกรรมการเมืองนิมนต์หลวงพ่อแช่ม ให้เดินทางไปยังกรุงเทพมหานคร มีพระประสงค์ทรงปฏิสันฐานกับหลวงพ่อแช่มด้วยพระองค์เอง หลวงพ่อแช่มและคณะเดินทางถึงกรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานสมฌศักดิ์หลวงพ่อแช่ม เป็นพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญานมุนี ให้มีตำแหน่งเป็นสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต อันเป็นตำแหน่งสูงสุดซึ่งบรรพชิตจักพึงมีในสมัยนั้นในโอกาสเดียวกัน ทรงพระราชทานนามวัดฉลองเป็นวัดไชยาธาราราม
นอกจากหลวงพ่อแช่มแล้ว ที่วัดฉลองยังมี หลวงพ่อช่วง และหลวงพ่อเกลื้อม ที่ชาวบ้านเคารพศรัทธาเลื่อมใสเช่นกัน โดยนอกจากความศักดิ์สิทธิ์แล้ว ท่านทั้งสองยังมีชื่อเสียงทางด้านการปรุงสมุนไพรและรักษาโรคด้วย ดังนั้น แม้ท่านได้มรณภาพไปแล้ว ชาวบ้านที่มีเรื่องทุกร้อน ก็ยังคงมากราบไหว้บนบานไม่ขาดสาย
ขออนุญาตบันทึกภาพไว้เป็นศิริมงคลกับตัวเองก่อนครับ
ขนาดเวลาจะใกล้บ่ายโมงแล้ว ยังมีนักท่องเที่ยวและคณะทัวร์ ต่างเข้ามากราบไหว้บูชากันไม่ขาดระยะ โดยเฉพาะชาวจีน
ขณะที่ผมสาละวนบันทึกภาพอยู่นั้น คุณนพ ก็สะกิดให้ผมเดินไปข้างหลังวัด ชมกุฏิจำลอง พ่อท่านสมเด็จเจ้า (หลวงพ่อวัดฉลอง) ซึ่งภายในจัดแสดง หุ่นขี้ผึ้งจำลอง ของหลวงพ่อวัดฉลอง ทั้งสามท่าน (หลวงพ่อแช่ม - หลวงพ่อช่วง - หลวงพ่อเกลื้อม) นอกจากนี้ ทางวัดยังได้นำเครื่องเรือน และเครื่องใช้โบราณต่างๆ มาจัดแสดงด้วย
เริ่มจากภาพแสดงถึงหลวงพ่อแช่ม ขณะยังมีชีวิตอยู่หน้ากุฎิเก่า
ขอนำภาพมาฝากเพื่อเป็นศิริมงคลแด่ทุกๆ ท่านครับ
ท่านพ่อเกลื้อม ที่เก่งกาจเรื่องการใช้ยารักษาคน
และหลวงพ่อช่วง ที่ผมบันทึกภาพมาได้ เพราะในกุฎิมีแสงน้อย
ออกจากวัด คุณนพก็พาผมผ่านถนนนี้ ออกถนนโน้น ทำให้ผมมีโอกาสรู้จักตัวเมืองภูเก็ตไปด้วย
แล้วก็มาหยุดตรงหน้าคฤหาสน์หลังหนึ่ง พลางชี้นิ้วบอกผมว่า นั่นคือ "บ้านชินประชา"
ผู้ที่เข้าไปชม จะเป็นนักท่องเที่ยวฝรั่งแทบทั้งนั้นครับ ส่วนนักท่องเที่ยวไทยนั้นแทบจะไม่ปรากฎเลย ยกเว้นนักเรียนมัธยม อัตราค่าเข้าชม คนละ ๑๐๐ บาท แต่นักท่องเที่ยวต่างประเทศ คนละ ๑๕๐ บาท
จะเป็นเพราะเหตุใดนั้น เห็นจะต้องขอความรู้จากคุณยายโมล่ะครับ สำหรับผมในวันนั้น ด้วยเวลามีจำกัด จึงขอเก็บรูปไว้เป็นที่ระลึกก่อนจะกลับมาขึ้นรถให้คุณนพพามาตั้งหลักที่บ้าน รอเวลาขึ้นรถทัวร์เดินทางกลับ
สำหรับข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้าข้อมูลในภายหลัง พบความสำคัญของ "บ้านชินประชา" ดังนี้ครับ
บ้านชินประชาสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๖๖ (ค.ศ.๑๙๐๓) หรือในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยพระพิทักษ์ชินประชา (ตันม่าเสียง)
บิดาของท่านคือ หลวงบำรุงจีนประเทศ (ตันเนียวยี่) เป็นชาวฮกเกี้ยนที่รับราชการทหารในประเทศจีน ต่อมาบิดาท่านได้เดินทางมายังประเทศไทยในปี พ.ศ.๒๓๙๗ (ค.ศ.๑๘๕๔) หรือในปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ประกอบกิจการทำเหมืองแร่ดีบุกที่เกาะภูเก็ต และกิจการค้าขายที่เกาะปีนัง
พระพิทักษ์ชินประชา (ตันม่าเสียง) ผู้สร้างบ้านหลังนี้ ถือกำเนิดที่เกาะภูเก็ตในปี พ.ศ.๒๔๒๖ (ค.ศ.๑๘๘๓) เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ท่านได้สร้างบ้านหลังนี้ตามแบบ ชิโน-โปรตุกีส เป็นหลังแรกของจังหวัดภูเก็ต หรือที่เรียกว่า "อังม่อเหลา" เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่เป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษเมืองจีน วัสดุส่วนอื่นของบ้านนั้นส่วนใหญ่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เนื่องจากการค้าขายทางเรือผ่านเกาะปีนังมายังภูเก็ตในสมัยนั้นเฟื่องฟู เช่น รั้วบ้านจากฮอลแลนด์ กระเบื้องปูพื้นจากอิตาลี ฯลฯ ปัจจุบันบ้านชินประชามีอายุกว่า ๑๐๐ ปี และมีลูกหลานนับเนื่องเป็นรุ่นที่ ๖ แล้ว
ปัจจุบันลูกหลานพระพิทักษ์ชินประชาผู้สร้างบ้านหลังนี้ (ตระกูลตัณฑวณิช) ได้อนุรักษ์ตัวบ้านและข้าวของเครื่องใช้ต่างๆไว้เป็นอย่างดี และเปิดบ้านให้นักท่องเที่ยวเข้าชมโดยมีลูกหลานตระกูลตัณฑวานิชนำชม เพื่อให้ได้มีโอกาสได้เรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนภูเก็ตในอดีต
นอกจากนั้น บ้านชินประชายังได้อนุรักษ์การแต่งกายของคนภูเก็ตสมัยก่อนที่เรียกว่า การแต่งกายแบบบาบ๋า ย่าหยา ซึ่งผู้มาเยี่ยมชมสามารถลองใส่ชุด ย่าหยา ถ่ายรูปได้อีกด้วย
บ่ายสี่โมงครึ่งวันนั้น คุณนพได้บอกให้ผมอาบน้ำ เปลี่ยนชุดแต่งตัวใหม่ ก่อนที่จะนำไปส่งที่จุดจอดรถทัวร์บริเวณอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีย์ - ท้าวศรีสุนทร (สี่แยกท่าเรือ) รอขึ้นกรีนบัสสายภูเก็ต - เชียงราย ส่วนตัวแกนั้น นั่งเป้นเพื่อนอยู่พักหนึ่งก็ขอตัวไปนอนที่บ้าน เพราะอัดยาแก้แพ้เข้าไปช่วงบ่ายวันนั้นเอง
บ่ายห้าโมงเย็น กรีนบัส รถทัวร์บ้านเฮาก็มาถึง ปลงย่ามเข้าใต้ท้องรถแล้วรู้สึกโล่งตัว สบายใจอย่างบอกไม่ถูก นั่งดูรถทัวร์แล่นผ่านพังงา ทับปุด เข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ไปยัง อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ เข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๔๐๑ ผ่าน อ.บ้านตาขุน อ.พนม อ.คีรีรัฐนิคม สู่ทางหลวงสายเอเซียหมายเลข ๔๑ ที่ อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ก่อนที่จะมาหยุดพักปล่อยให้ผู้โดยสารแวะทานข้าวมื้อดึกที่ร้าน "คุณสาหร่าย" อ.เมืองฯ จ.ชุมพร เจ้าประจำของคนนั่งรถทัวร์สายใต้
มารุ่งเช้าอีกทีที่ถนนกาญจนาภิเษก อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ขณะที่ชาวกรุงกำลังกระวีกระวาดขับรถไปทำงาน หยุดให้ผู้โดยสารแวะทานข้าวมื้อสายอีกที่ครัวร้อยหม้อ (แต่งานนี้ไม่ฟรีนะครับ ผู้โดยสารต้องจ่ายเอง) ที่ จ.อ่างทอง
หลังจากนั้น รถทัวร์กรีนบัสก็เข้าถนนสายอินทร์บุรี - วังทอง แวะส่งผู้โดยสารที่สถานีขนส่งจังหวัดพิษณุโลก และราวบ่ายโมงเศษ รถก็ถึงสถานีขนส่งอุตรดิตถ์
ในส่วนของตะลอนทัวร์ภาคใต้ สิ้นสุดเพียงแค่นี้ครับ
Create Date : 24 มีนาคม 2560
Last Update : 25 เมษายน 2560 20:16:55 น.
0 comments
Counter : 1999 Pageviews.
Share
Tweet
ชื่อ :
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
owl2
Location :
กรุงเทพฯ Thailand
[ดู Profile ทั้งหมด]
ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [
?
]
Friends' blogs
Webmaster - BlogGang
[Add owl2's blog to your web]
Links
Bloggang.com
Pantip.com
|
PantipMarket.com
|
Pantown.com
| © 2004
BlogGang.com
allrights reserved.