ฉันคงเป็นนางมาไม่ได้หรอกนะ
ส่วนตัวแล้วชอบดูละครเรื่องผู้ใหญ่ลีฯมากๆมันทำให้รู้สึกดีและก็เหมือนมันเป็นความฝันว่าได้อยู่กับชีวิตที่สงบสุขรู้สึกว่านางมาโชคดีเหลือเกินที่ได้ไปอยู่กับธรรมชาติและท้องทุ่งและที่สำคัญชาวทุ่งหมาหอนยังมีผู้นำท้องถิ่นที่ใส่ใจบริการ และรักษาความเป็นท้องถิ่นได้ดีก็อยากจะเป็นนางมา ของผู้ใหญ่ลีบ้าง ดูนางมามีความสุขจริงๆกับการเกี่ยวข้าว ทำไรไถนา ขี่ควาย พอมาดูความคิดเห็นในเวบไซต์ชื่อดังหลายๆแห่ง ก็มีเสียงชื่นชมตอบรับอย่างน่าอัศจรรย์ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า นี่ทุกคนปรารถนาที่จะ back to basic และใช้ชีวิตอย่าง "พอเพียง" ขนาดนั้นเชียวหรือ ชนชั้นกลางในกรุง ชาวปัญญาชนทั้งหลายในโลกไซเบอร์ ต่างร่วมกันใฝ่หาสิ่งที่ตนหลีกหนีมาหรือเมื่อเทียบกับตัวชั้น .... ชั้นมันก็ชนชั้นกลางดีๆ ทั่วไป นี่เองนะก็ได้แต่พรำเพ้อพรรณาถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทุ่งนา ว่ามันเป็นเรื่องดี เป็นเรื่องสุดยอดตามอุดมคติเอาเข้าจริงจะกลับไปทำแบบนั้นได้หรือป่าว ก็คงไม่ได้ " ฉันคงจะเป็นนางมาไม่ได้ "นางมา ..ตัวแทนจากชนชั้นกลางระดับสูงในเมืองกรุงได้เข้าไปใช้ชีวิตในท้องทุ่งภายหลังจากที่คุณยายเสียชีวิตและมอบมรดกเป็นผืนนานางมาไม่เข้าใจเลยว่า ทำไมคุณยายถึงเลือกจะทิ้งชีวิตในเมืองเข้ามาและเมื่อเธอได้สัมผัสกับ ชีวิตชาวนา ชุมชนคลองหมาหอน และความรักจากผู้ใหญ่ลีทำไมเธอได้รุ้ว่า ความสุขที่แท้จริงอยู่ที่นี่ ... บทวิเคราะห์ด้วยนามธรรมล้วนๆ ((จะไม่ feel good แน่ หากได้อ่านอะไรหลังจากนี้ฉะนั้นท่านใดไม่อยากเสียอรรถรส กรุณาอย่าอ่านแต่หากท่านใดปรับอารมณ์และความคิดได้ทุกสถานการณ์อย่างดิฉัน เชิญอ่านได้ค่ะ))เมื่อมองละครเรื่องนี้ในแง่ของหลักปรัชญาอย่างนึงบางทีมันเป็นเรื่องของคุณค่าของปรัชญาที่แฝงในละคร หลักปรัชญาที่ทุกคน "เชื่อ" ว่าเป็นแนวทางที่เยี่ยมยอด และก็แสวงหาที่จะดำเนินเดินทางตามแบบนั้นไปแต่เนื่องจากในชีวิตจริงของชนชั้นกลางเมืองกรุง แทบจะเหินห่างกับการกระทำจึงทำได้แค่คิด และก็แอบรุ้สึกสับสนในใจว่าจะปฏิบัติตัวอย่างไรเพราะหลักปรัชญานั้นดูเหมือนว่าจะทำได้เป็นรุปธรรมเพียงแต่ในท้องทุ่ง แม้จริงๆ หลักปรัชญานี้ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกรูปแบบก็ตาม แต่รูปแบบที่ชัดเจนและเป็นอุดมคติ เป็นที่สุดของสุดยอด มันคือรุปแบบตามที่ปรากฏในละครเรื่องนี้ทำให้ทุกคนรู้สึกว่าเป็นแนวทางที่ตนกำลังใฝ่หา และเชื่อว่าดีและการมีจุดร่วมอารมณ์ความรู้สึกไปกับนางมา การที่รู้สึกว่าตนก็คือ นางมา คนหนึ่งมันก็คือการบรรเทา"ความแปลกแยก"ภายในใจ ระหว่างหลักการนี้กับการดำเนินชีวิตของตนการชื่นชม และเห็นดีเห็นงาม ได้ทำให้ตัวเอง "เชื่อ" ในตัวเองว่า ตนได้บรรลุถึงหลักการในระดับนึงแล้ว พลวัตรของชนชั้นการเปลี่ยนแปลงทางชนชั้นที่ปรากฏกับตัวละคร นางมานับได้ว่ามีพลวัตรที่น่าสนใจ และซับซ้อนมากกว่าที่จะบอกว่ามันก็การเคลื่อนที่ลงสู่ชนชั้นที่ต่ำกว่าหากมองผิวเผินจะเห็นได้ว่า นางมาเปลี่ยนตัวเองจากคนกรุงหรูเลิศมาเป็นสาวชาวนาซึ่งทำให้ถูกโยงใยไปถึงความเป็น "คนดี" "เสียสละ" จากการเป็นคนกรุงสุขสบายต้องมาลำบากตรากตรำแต่จริงๆแล้ว การที่นางมาใช้ชีวิตอยุ่ในชนบท อาจจะเป็นการเลื่อนชนชั้นตนให้สูงขึ้นก็ได้จากชนชั้นกลางระดับสูงทั่วไป มีรสนิยมแบบคนกรุง แบบดารานางแบบทั่วไปก็ได้มาเป็นชนชั้นชาวนารวย เป็นชนชั้นนำในชนบท ที่เป็นจุดศูนย์กลางจุดเด่นของชาวบ้านมีอภิสิทธิ์เหนือกว่าในทุกๆด้าน ทั้งความรู้ หน้าตา ความร่ำรวย และ บทบาทการเป็นภรรยาของผู้ใหญ่บ้านการใช้ชีวิตของนางมาในชนบท ท้องนาท้องไร่ จึงไม่ใช่ความลำบากตรากตรำ หรือถูกกดขี่ใดๆนางมา จึงก็อาจจะไม่ได้เป็นนางมาที่สามารถสละชีวิตสบาย มาเคียงคู่เป็นชนชั้นชาวนาทั่วไปได้แต่นางมา ก็เป็นตัวแทนของชนชั้นกลางในเมืองกรุง หากมองในลักษณะนี้นางมาก็คงเหมือน คนกรุงที่บั้นปลายชีวิตอยากจะมีชีวิตที่สงบ สร้างบ้านพักอยู่ท่ามกลางธรรมชาติชนบท ท้องทุ่ง ชาวนา ชาวไร่ จึงเป็นได้เพียงแค่ตัวส่งเสริมให้รู้สึกร่วมไปถึงหลักปรัชญาดังที่กล่าวไว้ ชุมชนเข้มแข็งลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของละครเรื่องนี้ คือ ความเป็น "ชุมชน" ในอุดมคติชุมชนเข้มแข็ง ต่อต้านทุนนิยม และมีความเป็น "ท้องถิ่นภิวัฒน์"(เห็นได้จากตัวอย่างที่วันนี้ชาวบ้านยกเลิกการซื้อ"ควายเหล็ก" หันมา ลงแขกแทน)แต่ทั้งหมด ก็คือการรักษา"ตน" ภายใต้นามของ"ชุมชน" ให้อยู่รอดใน"ระบบ"ที่ยังไงก็โค่นล้มมันไม่ได้การลงแขก ....เพื่อลดต้นทุนการผลิต ....เพื่อกำไรการที่ชาวบ้านรวมตัวกัน ....เพื่อต่อรองกับพ่อค้าคนกลางไม่ให้กดราคาข้าวดังนั้นการที่เข้าใจว่าหลักปรัชญานี้และประเด็นเรื่องชุมชนเข้มแข็ง คือกระบวนการต่อต้านทุนนิยม จึงเป็นความคิดที่ดูจะผิวเผินเกินไปถ้าจะพูดให้ดูน่ารักๆ สิ่งเหล่านี้ก็คงจะเป็น "ทุนนิยมทางสายกลาง" ทุนนิยมที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม เยี่ยมจริงๆ (พูดจากใจ เพราะเราชอบทางสายกลาง) รวมๆแล้ว ละครเรื่องนี้ เลยมีแก่นไม่ต่างจากภาพยนตร์ ความสุขของกะทิ ซักเท่าไหร่เพียงแต่รายละเอียดของละครเรื่องนี้ ช่างน่ารักน่าเอ็นดู และเข้ากับหลักการที่ทุกคนในสังคมรวมไปถึงชนชั้นนำทางการเมืองทั้งหลายเห็นว่าดีที่จะเชื่อและทำ ทั้งหมดทั้งมวล ไม่ได้มีส่วนไหนบอกเลยนะว่า ละครเรื่องนี้ไม่ดีเพราะเรารักละครเรื่องนี้มากๆ ก็มันทำให้เรารู้สึกดีได้จริงๆนะและเอาจริงๆ มันก็สอนอะไรหลายๆอย่าง ที่คนเราห่างหายไปมากโดยเฉพาะเรื่องคุณธรรม และการย้อนมองดูตัวเราเอง ถ้าคิดมาก ก็จะเป็นแบบข้างบนนี้ มันก็จะทำเอาไม่มีความสุขไปซะเลยเราเลยต้องมีทางสายกลางทางความคิดเพียงแต่บางทีดูละครต้องย้อนดูตัวมันไม่พอหรอกมันต้องย้อนมองไปถึงมโนสำนึกส่วนตัวด้วยเลยเอ้า !!! และอีกอย่าง จริงๆ เราเชื่อว่าละครเรื่องนี้ ต้องการ "เตือนสติ"มากกว่าจะให้ใครๆ สติเลื่อนลอยอยู่กับความฝันนะ (เอาไว้เตือนตัวเราดีกว่ามั้ย 555+) (ต่อไปนี้โปรดทำสำเนียงทุ่งหมาหอน)แต่ถึงยังไง ถึงฉันอยากจะเป็นคุณมาในอุดมคติที่เสียสละ ละทิ้งชีวิตเพื่อสิ่งต่างๆ มากแค่ไหนฉันก็คงทำไม่ได้หรอกนะและยิ่ง มีลุกชายแบบไอ่ปิ๊ด มีสามีดีๆ แบบผู้ใหญ่ลี โอ้โห ....ฉันยิ่งทำไม่ได้ใหญ่เลยจ้า ฮ่าๆๆๆ (ปรารถนาอันหลังสุดก็ควรจะประกาศไปบ้างอะไรบ้าง 555+)
กีฬาและชาตินิยม
ขอบคุณค่ะรักชาติไทยเสมอ ...NuPig ...
ชาวไทใหญ่ในสหภาพม่า
ชาวไทใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ที่ประเทศพม่า เวียดนาม อินเดีย ตอนใต้ของจีนและไทย ขบวนการแบ่งแยกประเทศกลับเกิดขึ้นแต่ในประเทศพม่า ซึ่งในอดีตมีหลายกองกำลังเกิดขึ้นและเสื่อมลง ขบวนการที่โด่งดังที่สุดในอดีตคือ กองทัพเมิงไต ภายใต้การนำของขุนส่า ส่วนในปัจจุบัน ขบวนการที่สำคัญคือ กองทัพกู้ชาติไทใหญ่ (Shan State Army-SSA) ภายใต้การนำของเจ้ายอดศึกความแตกต่างทางเชื้อชาติชาวไทใหญ่มีความสำนึกว่าตนเป็นเชื้อชาติ “ไท” ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากชนชาติพม่าที่มิใช่เชื้อสาย “ไท” วัฒนธรรมและประเพณีของทั้งสองชนชาติก็แตกต่างกัน ชาวไทใหญ่นั้นมีความภูมิใจในวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ฟ้อนนกฟ้อนโต ลิเกไทใหญ่ การใช้ถั่วเน่าประกอบอาหาร เป็นต้นแรงกดดันทางการเมือง สังคม และวัฒนธรรมรัฐบาลพม่าเป็นรัฐบาลที่ปกครองประเทศด้วยระบบเผด็จการทหาร ซึ่งยึดอำนาจมาจากประชาชน ไม่ได้ปกครองแบบ “สหภาพ” อย่างแท้จริง รัฐบาลพม่ามีนโยบายละเมิดสิทธิมนุษยชนชนกลุ่มน้อยอย่างรุนแรง กลุ่มต่อต้านพม่าทุกกลุ่มจะถูกกวาดล้างอย่างรุนแรงและถูกกักขังในคุกอินเส่งรัฐบาลส่งทหารพม่าเข้าไปประจำการควบคุมพื้นที่ต่างๆของชนกลุ่มน้อย และทหารพม่าได้ทำการบังคับขู่เข็ญทำร้ายชนกลุ่มน้อยต่างๆนานา ที่รุนแรงที่สุดคือการที่รัฐบาลพม่าออก “ใบอนุญาตข่มขืน” ให้ทหารพม่ากระทำทารุณกรรมทางเพศในรูปแบบต่างๆต่อผู้หญิงชนกลุ่มน้อยได้ นอกจากนี้ยังมีการฆ่าหมู่ชาวไทใหญ่ในรัฐฉานเป็นจำนวนมากโดยกองกำลังพม่าในปี 1997รัฐบาลพม่ายังพยายามทำลายวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของชนชาติไทใหญ่ด้วยการเปลี่ยนชื่อเมือง บังคับไม่ให้เด็กไทใหญ่ได้เรียนภาษาไทใหญ่ ทำลายหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชาวไทใหญ่ บังคับไม่ให้ดำเนินกิจกรรมตามประเพณีไทใหญ่ สิ่งเหล่านี้จึงเป็นเหมือนการกดอัตลักษณ์ของชาวไทใหญ่เขตแดนถิ่นฐานที่ชัดเจนชนชาติไทใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณรัฐฉานของสหภาพพม่ามาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่6 ไทใหญ่ปกครองด้วยระบบกษัตริย์มาตลอดตั้งแต่สมัยโบราณ แม้กระทั่งในช่วงอังกฤษปกครอง รัฐฉานก็ยังคงมีเจ้าฟ้าดำรงตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุด และมีการจัดการปกครองแต่ละระดับท้องถิ่นอย่างเป็นระบบประวัติศาสตร์สนธิสัญญาปางโหลงในปี1947 ไทใหญ่ กะฉิ่น ฉิ่น ได้ดำเนินการร่วมกันจัดทำข้อตกลงสัญญาปางหลวงที่เมืองปางหลวง รัฐฉาน เพื่อจัดตั้งสหพันธรัฐเทือกเขา โดยมีจุดประสงค์เพื่อขอเอกราชจากอังกฤษ ต่อมานายพล อองซาน ได้เข้าร่วมประชุมและแก้ไขข้อตกลง จนสนธิสัญญาปางโหลงเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ หลังจากนั้นมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของพม่า โดยมีสาระสำคัญคือ เมื่อครบ10 ปี ไทใหญ่ กะฉิ่น ฉิ่น สามารถแยกตัวเป็นอิสระ ก่อตั้งประเทศของตนเป็นเอกราชได้ซึ่งเป็นพันธะผูกพันตั้งแต่สัญญาปางโหลง แต่กลุ่มของนายพลเนวิน กลัวว่าต้องทำตามสัญญา จึงได้ลอบสังหารนายพลอองซาน ภายหลังสหภาพพม่าได้รับเอกราช รัฐบาลพม่าก็ไม่ยอมรับและไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาปางโหลง ประวัติศาสตร์สัญญาปางโหลงจึงเป็นสิ่งที่กองกำลังกู้ชาติไทใหญ่ให้ความสำคัญอย่างมาก ว่าเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญว่าเอกราชของไทใหญ่และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ เป็นเรื่องที่ถูกต้องชอบธรรม
by NuPig
Myanmar in trouble