"แจ๊ส....ฉัน"
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
31 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
5 เพลงแจ๊สมาสเตอร์พีซที่ถูกลืม

วันนี้มีพลังงานเหลือ ก็เลยมานั่งแปลบทความน่าสนใจจาก NPR สถานีวิทยุของทางอเมริกา อยากแปลอยู่หลายชิ้นเหมือนกัน แต่ยังไม่สามารถหาเวลามานั่งทำได้เลย ลำพังงานเขียนส่งแต่ละเดือนก็เล่นเอางอม -_-" เพื่อนๆ ลองดูนะคะ เราเอาเพลงมาแปะให้ฟังด้วย ส่วนตัวเราชอบบางเพลงค่ะ ทั้งห้าอันดับนี้คัดสรรโดย บ็อบ เบลเดนค่ะ

** ทำไมเพลงมัน auto play ก็ไม่ทราบ ทำไม่เป็น งงจัง -_-" ปิดกันเอาเองละกันนะ **

First Light [Bonus Track]
Artist: Freddie Hubbard
Song: First Light




เพลงเพลงนี้เป็นเหมือนบิดาแห่งดนตรีแจ๊สร่วมสมัยเลยทีเดียว ซาวด์ฟลูเกลฮอร์นของเฟรดดี ฮับบาร์ด ในเพลง Moment to Moment ให้นิยามของคำว่า Smooth Jazz ชัดเจน ก่อนที่จะมีคนคิดคำคำนี้ขึ้นมาเสียอีก First Light เป็นเพลงที่ออกมาพร้อมๆ กับ Moment to Moment ส่วนหนึ่งที่ทำให้อัลบัมได้รับรางวัลแกรมมีในปี 1972 เป็นผลงานที่ควรค่าแก่การหามาฟังอย่างยิ่งยวด (โดยเฉพาะในบรรยากาศสลัวๆ และไวน์อีกสักแก้ว) โดยผลงานชุดนี้ยังมีศิลปินอื่นๆ อย่าง จอร์จ เบนสัน (กีตาร์), รอน คาร์เตอร์ (เบส) และแจ็ก ดิจอห์นเน็ต (กลอง) ฝีมือการอะเรนจ์โดย ดอน เซเบสกี

Jewel in the Lotus
Artist: Bennie Maupin
Song: Past Is Past




ในท่ามกลางกระแสแจ๊สฟังก์ที่ค่อนข้างจะเชี่ยวกรากของ Headhunters (ต้นฉบับเขียนติดกัน แต่เราคิดว่าน่าจะเป็น Head Hunters) ของ Herbie Hancock และยุคก่อนอิเล็กโทรนิกอย่างอัลบัมก่อนนั้น (Mwandishi) ได้ปรากฏเสียงแห่งความสงบเยือกเย็นโดยนักแซ็กโซโฟนมากความสามารถคนนี้ เบนนี เมาพิน อีกนัยหนึ่ง นี่คือ ความเข้าใจในดนตรีภายใต้บรรยากาศอันสุขสงบ และพินิจพิเคราะห์ของความเป็นพุทธ ผลงานเพลงขั้นมาสเตอร์พีซของพลังชีวิตและจักวาล ก่อนหน้าที่จะมีดนตรีนิวเอจ ก็ยังมี The Jewel in the Lotus บรรเลงโดย ตัวเบนนีเอง, เฮอร์บี, บัสเตอร์ วิลเลียมส์ (เบส) และบิลลี ฮาร์ต (กลอง)

Now He Sings, Now He Sobs [Bonus Tracks]
Artist: Chick Corea
Song: Windows




ความสมบูรณ์แบบของวงแจ๊สทริโอ... ในการเปิดตัวเพลง Windows และ What Was, ในการนำพาให้เสียงฉาบ เข้าสู่คลังสรรพาวุธแห่งวงดนตรีทริโอยุคใหม่ที่มีกลองเป็นหลัก, ในการปรับระดับการฟังเพลงเข้าสู่ความสมูรณ์แบบด้วยการจับฟังเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นได้ ภายใต้บริบทของวงสามชิ้น และสุดท้าย ในการเล่นที่สอดประสานกันเป็นอย่างดีของ ชิก คอเรีย (เปียโน), มิรอสลาฟ ไวทูส์ (เบส) และรอย เฮนย์ส (กลอง) ผลงานชุดนี้เปรียบเสมือสะพานเชื่อมระหว่าง บิล เอแวนส์ และแม็กคอย ไทเนอร์ มุ่งสู่อนาคตของวงแจ๊สสามชิ้น

** ส่วนตัวไม่คิดว่าชุดนี้เป็นผลงานที่ถูกละเลย เพราะว่าได้รับการกล่าวขานพอสมควรในวงกว้าง แต่ก็ไม่ทราบเหตุผลในการคัดเลือกของทางบ็อบ เบลเดนเช่นกัน**

Filles de Kilimanjaro
Artist: Miles Davis
Song: Frelon Brun (Brown Hornet)




ผลงานชุดนี้เป็น LP เริ่มต้นแจ๊ส ร็อก ฟิวชัน แต่ว่าแตกต่างจากผลงานยุคหลังๆ ของในแค็ตตาล็อกอัลบัมของไมล์ส เดวิส ที่ถูกประโคมทั้งหลาย Phyllis D (บางคนเรียกอัลบัมนี้ในชื่อนี้) ไม่ได้เป็นอัลบัมที่เกิดจากการตัดต่อแก้ไข จริงๆ แล้ว Filles de Kilimanjaro เป็นงานซิมโฟนิกที่ใช้คีย์หลักๆ อยู่สองคีย์ (F และ Bb) ถ้าต้องการฟังยุคแรกๆ ของกลองแบบฟิวชัน คุณลองฟัง Frelon Brun (Brown Hornet) สำหรับการปรับปรุงบูกาลู บีตใหม่ของโทนี วิลเลียมส์ ไปสู่สิ่งที่ใหม่และอิสระอย่างสมบูรณ์แบบ นี่คืองานอะวองต์-ฟังก์ที่ดีที่สุดในตัวของมันเอง อัลบัมนี้มีเวย์น ชอร์เตอร์ (แซ็กโซโฟน), เฮอร์บี แฮนค็อก และชิก คอเรีย (เปียโนและคีย์บอร์ดส), รอน คาร์เตอร์ และเดฟ ฮอลแลนด์ (เบส), กิล เอแวนส์ ทำหน้าที่อะเรนจ์เพลงทั้งหมด

Sweet Honey Bee
Artist: Duke Pearson
Song: Big Bertha




บางทีแผ่นเสียงต้นแบบของบลูโน้ต ได้แพร่กระจายเชื้อสวิงในแบบของดุ๊ก เพียร์สัน (นักเปียโน) ไปจนทั่ว ท่อนโซโลชัดเจน พอเหมาะพอเจาะกับพลังและแรงขับเคลื่อนของงานดนตรี และเพลงในอัลบัมทั้งหมดได้ถูกเขียนขึ้นมาแบบเรียงร้อยต่อเนื่อง แต่ก็มีความโดดเด่นเป็นเอกเทศเหมือนกัน ดุ๊กได้คัดเลือกนักดนตรีชั้นนำมาเล่นด้วยกัน อย่าง เฟรดดี ฮับบาร์ด (ทรัมเป็ต), เจมส์ สปอล์ดิง (ฟลู้ตและอัลโต แซ็ก), โจ เฮนเดอร์สัน (เทเนอร์ แซ็ก), รอน คาร์เตอร์ (เบส) และมิกกี โรเกอร์ (กลอง) เขาเรียบเรียงดนตรีด้วยตัวเอง แนวทางค่อนข้างจะอยู่ในแบบอนุรักษ์นิยม แต่จุดมุ่งหมายคือ ทำให้ดนตรีออกมาแล้วสอดคล้องกันมากที่สุด ดนตรีของเขาเหมาะเจาะพอดีกับภาวะอารมณ์ และบุคลิกของนักดนตรีโซโลแต่ละคน เพลง Big Bertha เป็นเพลงที่สวิงที่สุดแล้วเท่าที่เคยทำออกมา สำหรับผลงานที่ผ่านๆ ตาของบลูโน้ต โดยมีโจ เฮนเดอร์สันฝากเสียงโซโลแซ็กที่โดดเด่นเอาไว้ด้วย




Create Date : 31 กรกฎาคม 2552
Last Update : 31 กรกฎาคม 2552 11:58:29 น. 3 comments
Counter : 1212 Pageviews.

 
สวัสดีค่ะ แวะมาเยี่ยมและทักทายคนเมืองเดียวกันนะคะ


โดย: วิสกี้โซดา วันที่: 31 กรกฎาคม 2552 เวลา:22:52:01 น.  

 
ไปห้องดนตรีมาเลยเห็ตคุณ nunaggie อัพใหม่ ยังดูผ่านๆอยู่เพราะมันเต็มไปด้วยเนื้อเหมือนเดิม เข้ามาเหมือนนั่งอ่านนิตยสาร แฮ่ๆ แต่เข้ามาแล้วไม่ทักไม่ได้ อันที่จริงเราไม่ได้เน้นแจ๊สมากหรอกนะคะที่ฟังๆ แต่ว่าเราเป็นคนที่ชอบเสียงเปียโนมาก เพราะฉะนั้นนักดนตรีแนวนี้ที่เรารู้จักส่วนใหญ่จะเล่นเปียโนและมีชื่อเสียงหน่อย แต่เนื่องจากอยู่ที่ฝรั่งเศสเลยได้ยินแนวนี้บ่อยๆ มันเลยติดหู

ชมเราด้วยอ่ะ นี่ถ้าลอยได้ลอยไปแล้วนะเนี่ยเขิน ขอนอกเรื่องหน่อย แบบว่าเราชอบอีโมตัวนี้มาก มันดูเจ้าเล่ห์ตลกดี

ปล.เฮียที่เป่าแซกในกล่องคอมเม้นท์เนี่ย ลายหมอนเราเลยอ่ะค่ะ


โดย: prunelle la belle femme วันที่: 1 สิงหาคม 2552 เวลา:3:48:27 น.  

 

^
^
ตามข้างบนมาขุด......แฮ ๆๆๆ Past is Past ถูกใจๆ


โดย: venroute วันที่: 3 พฤศจิกายน 2552 เวลา:8:16:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

nunaggie
Location :
City of Angels, Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 4 คน [?]




คุยเฉพาะเรื่องเพลง :D

"I still find each day too short for all the thoughts I want to think, all the walks I want to take, all the books I want to read, and all the friends I want to see." John Burroughs

Follow my twitter @nunaggie :)

"มีเรื่องราวอีกมากมายให้ชีวิตต้องเดินทางไปค้นหา เราคงไม่ค้นพบทุกอย่างได้ เพียงแค่ชั่วชีวิตเดียว"
Creative Commons License
© Supada Luangsirimongkol 2015.
qrcode
Friends' blogs
[Add nunaggie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.