|
 |
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | |
|
|
 |
27 กุมภาพันธ์ 2568
|
|
|
|
กาญจนบุรี : นกปรอดหัวสีเขม่า

เราเคยลงรูปนกชนิดนี้ในบล็อกนกปรอดหัวโขนไปแล้ว เพราะคิดว่าเป็นนกบ้านๆ ไม่มีอะไรน่าสนใจ เวลาเจอนกปรอดที่บินไวๆ ในกรุงเทพ แล้วเห็นแต่ก้น ถ้าเป็นสีเหลืองจะเป็นปรอดหน้านวล ถ้าเป็นสีแดงก็ปรอดหัวสีเขม่า จนกระทั่งมาที่นี่แล้วพบว่า นกปรอดหัวสีเขม่ามีทั้งก้นสีเหลืองและแดง ซึ่งปรกตินกชนิดเดียวต้องเหมือนกัน ไม่เช่นนั้นต้องแยกเป็นชนิดใหม่ แต่เมื่อไปเปิด bird guide of Thailand เห็นเลยว่ามี 2 variation เกิดอะไรขึ้นที่นี่ เมืองกาญจนบุรี ก่อนอื่นเริ่มจากเรื่องพื้นฐานก่อน ในประเทศไทย มีนกปรอดน่าจะมากกว่า 30 สายพันธุ์ แต่ส่วนใหญ่ก็อยู่ในป่า นกที่เห็นง่ายๆ ในเมือง ก็จะมีนกปรอดหัวสีเขม่ารวมอยู่ในนั้น มีชื่อภาษาอังกฤษว่า sooty-head bulbul ตัวสีเทา หัวสีดำตามชื่อ
มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Pycnonotus aurigaster แบ่งเป็น 9 ชนิดย่อย พบได้ตั้งแต่จีนทางตะวันออก ลงมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และขาดหายไปหลังจาก จ. ประจวบคีรีขันธ์ จะไปพบอีกครั้งที่เกาะชวาและบาหลี wikipedia บอกว่า 4 ชนิดย่อย ที่มีโอกาสพบในไทยได้แก่ P. a. klossi และ P. a. schauenseei พบที่พม่าตะวันออกเฉียงใต้ และไทยตอนเหนือ P. a. thais ภาคกลางตอนและภาคใต้ของไทย ตอนเหนือของลาว และ P. a. germani พบที่ตะวันออกของไทยถึงตอนใต้อินโดไชนา แต่ไม่ได้บอกลักษณะลักษณะของสีที่ก้นไว้
ไปดูใน e-birds แยกไว้แค่ สองชนิดย่อยตามสีก้น คือ P. a. schauenseei มีขนคลุมหางสีแดง P. a. germani มีขนคลุมหางสีเหลือง
ไม่แน่ใจลองไปถาม chat GPT สรุปได้ว่า หากจะแยกนกปรอดหัวสีเขม่าโดยสังเกตุจากสีของก้น P. a. thais ก้นสีเหลือง P. a. germani ก้นสีแดง P. a. schauenseei ก้นสีขาวข้อมูลไปกันคนละทาง แต่ความจริงนั้น ย่อมมีเพียงหนึ่งเดียว เราจะกลับไปใช้วิธีการดั้งเดิม นั่นก็คือ อ่านหนังสือ เริ่มที่การค้นพบนกแต่ตัว ว่าโดยใคร ที่ไหน และสีอะไร พบที่ชวาเป็นครั้งแรก Turdus aurigaster (Vieillot, 1818) aurigaster มาจากภาษาละติน aurum หรือทองคำ และ gastre หรือท้อง Molpastes haemorrhous chrysorrhoides (Lafresnaye, 1845) พบทางตอนใต้ของจีน ในตอนตั้งชื่อครั้งแรกถูกพิจารณาว่า ไม่ใช่นกปรอดหัวสีเขม่า อาจเพราะว่ามีก้นสีแดงต่างจาก aurigaster นกตัวแรกที่สามารถพบในไทย M. h. germani (Oustalet, 1878) ตั้งชื่อตาม Jean-Frédéric Émile Oustalet นักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส พบที่อินโดไชนา ข้อมูลต้นฉบับเป็นภาษาฝรั่งเศส อ่านไม่ไหว ข้อมูลเดียวที่เราพอจะหาได้ คือในตอนนั้นจัดอยู่ในสกุล Ixos ซึ่งนกสกุลนี้ที่พบได้ในไทยคือ นกปรอดภูเขา (Ixos mcclellandii) M. h. klossi (Gyldenstolpe, 1920) ใน Natural History bird Society of Siam.Vol. V No.3, October 1923 p.59 เรื่องการตั้งชื่อนกชนิดย่อยใหม่ white-ear Red-vent bulbul Kloss กล่าวถึงตัวอย่างนก 21 ตัว ที่ Gyldenstolpe เก็บตัวอย่างมาจากทางเหนือของสยาม มีขนาดปีก 85-93 ม.ม. สั้นกว่านกที่พบในจีน (90-110 ม.ม.) Kloss เชื่อว่าน่าจะเป็นชนิดเดียวกับที่ W.J. F. Wiiliamson เก็บมาจาก อ. ศรีราชา จำนวน 6 ตัว มีขนาดปีก 81-88 ม.ม. นอกจากนี้ยังรวมถึงตัวอย่างนกของ Hume และ Davidson ที่ได้มาจากเขตตะนาวศรีทางเหนือ และตัวอย่างของ Oates ที่ได้มาจากเขตกะเหรี่ยง และเขตตะนาวศรี โดยมีข้อสังเกตว่านกชนิดย่อยนี้ มีขนาดตัวเล็กลงจากเหนือลงมายังใต้ NOTE: ถึงตรงนี้นกปรอดที่พบตอนใต้ของจีน พม่าและไทย ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ เป็นชนิดย่อยของนกปรอดก้นแดง Molpastes haemorrhous (J.F. Gmelin 1789)ที่มีขอบเขตการกระจายพันธุ์ ในอนุทวีปอินเดียถึงพม่า มีโอกาสพบตามชายแดนไทย ลักษณะที่แยกจากปรอดหัวสีเขม่าคือ ขนบริเวณลำคอและหลังเป็นเกล็ดสีดำ Baker เขียนบทความลงใน Ibid ฉบับที่ 1 ปี 1922 วิพากย์ ถึงการกระจายของนกปรอดก้นแดง ที่มีพื้นที่การซ้อนทับกัน ระหว่างพวกที่มีลักษณะ brown-eared กับพวก white-eared จากพื้นที่ของศรีลังกา อินเดีย พม่า ไปยังจีนตอนใต้ ว่ารอยต่อที่จะแยกนกสองประเภทนี้ออกจากกันมันอยู่ตรงไหน Molpastes aurigaster thais (kloss , 1924) ใน Natural History bird Society of Siam.Vol. VI No.3, 15 July 1924 p. 291 เรื่องการตั้งชื่อนกชนิดย่อยใหม่ Siamese orange-vented bulbul เนื้อหากล่าวถึง ตัวอย่างนก 4 ตัวจากกรุงเทพ และ 1 ตัวจากเขาสระบาป จันทบุรี พบว่าเป็นนกปรอดที่มีความผันแปรของสีก้น จากสีส้ม (orange) ที่เหมือนกับนกจากชวา (aurigaster) ไปจนถึงสีเหลือง (yellow) ที่เป็นนกจากอันนัม (germani) ลำตัวส่วนบนมีลักษณะเหมือน germani ส่วนล่างเหมือน aurigaster NOTE มีการใช้ชื่อ aurigaster ไม่ใช่ haemorrhous แบบกลุ่มแรก โดยพิจารณาใหม่ว่า นกปรอดหัวสีดำที่พบในภาคพื้นทวีปเอเชีย จากรอยต่อของพม่า-ไทย ไปยังจีนตอนใต้ ลงมาอินโดไชน่า เป็นคนละชนิดกับนกปรอดก้นแดงในอินเดีย แต่เป็นนกปรอดแบบที่พบในชวา

Pycnonotus cafer schauenseei (Delacour, 1943) Jean Delacour เขียนบทความชื่อ Two new subspecies of Pycnonotus cafer ใน Zoologica : scientific contributions of the New York Zoological Society Vol. 28 Issue 5 p. 29-30 : 1943 Delacour พูดถึงนกปรอดที่มีหงอน ตะโพกสีขาว ที่พบตั้งแต่อินเดีย พม่า ไทย อินโดจีน และชวา ว่ามีความสัมพันธ์กับ นกปรอดก้นแดง (red-vent bulbul) แต่ไม่สามารถหาความเชื่อมโยง การเปลี่ยนผ่านจากนกปรอดที่มีก้นสีแดงไปเป็นนกที่มีก้นสีเหลือง แบบที่พบทางตอนใต้ของอันนัม Delacour อ้างถึงรายงานของ kloss ที่ลงในวารสารสยามสมาคมว่า Molpastes aurigaster thais ที่บอกว่าตัวอย่างนกที่ จ. จันทบุรี สีก้นออกสีส้ม ถือว่าพอได้ แต่จริงๆ น่าจะเรียกว่าสีส้มเหลือง (lemon yellow) แต่นกที่กรุงเทพนั้น มีก้นสีเหลืองแน่ๆ
Delacour จึงเสนอชื่อชนิดย่อยใหม่ว่า 1. P.c. schauenseei เป็นลูกผสมของ klossi กับ thais โดยตัวอย่างที่ได้จากอุ้มผาง ที่สีก้นมีความผสมกันระหว่างสีแดงและส้ม ขอใช้นกที่ได้จาก อ. ศรีสวัสดิ์ เป็นตัวอย่าง ปัจจุบันเก็บรักษาที่ฟิลาเดเฟีย ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้เก็บตัวอย่าง Rodolphe Meyer de Schauensee 2. P. c. deignani เป็นลูกผสม thais กับ germani เป็นชนิดที่ก้นสีเหลืองส้ม แต่สีเหลืองนั้นสว่างมากกว่า germani ขอใช้นกที่ได้จากจันทบุรี เป็นตัวอย่าง ปัจจุบันเก็บรักษาที่กรุงวอชิงตัน ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้เก็บตัวอย่าง Col. H.G. Deignan NOTE: Delacour ยังจัดนกปรอดหัวดำที่พบทางตะวันตก ภาคกลาง ภาคตะวันออกของไทย เป็นชนิดย่อยของนกปรอดก้นแดง Pycnonotus cafer H. G. Deignan เขียนบทความเรื่อง Races of Pycnonotus cafer (Linnaeus)and P. aurigaster (Vieillot) in the Indo-Chinese Subregion ลงในวาราสารJournal of the Washington Academy of Sciences Vol. 39, No. 8 (August 15, 1949) ใจความสำคัญคือDeignan มีความคิดว่า มีนกอยู่สองสายพันธุ์แน่ๆ คือ ปรอดหัวสีเขม่า และปรอดก้นแดง แต่มันยากที่จะแยกความชัดเจน ของพื้นที่รอยต่อระหว่างนกทั้งสองสายพันธุ์ได้อย่างชัดเจน เหมือนสมการ เริ่มจาก cafer cafer > aurigaster cafer= aurigaster cafer < aurigaster แล้วก็เป็น aurigaster
โดยในการวิวัฒนาการ P. a. germani ที่อยู่ทางตอนใต้ของอันนัม จะเป็นกลุ่มที่เก่าแก่สุด (old stock) ที่เป็น aurigaster
หลังจากนั้น ในบทความก็เป็นรายละเอียดของนกปรอดก้นแดง และนกปรอดหัวสีเขม่า แต่ละชนิดย่อย เท่าที่มีข้อมูลในเวลานั้น ซึ่งมันคงยาว เราสรุปเป็นแผนที่คร่าวๆ ตามรูป
แต่รูปสีของก้นอาจจะไม่ตรงแบบ 100% เช่น นกปรอดหัวสีเขม่าในชวา เราไล่อ่านมามันก็มีตั้งแต่เหลือง ส้ม แม้กะทั่งไปดูรูปจริงก็มีแบบสีแดง เหมือนกับนกที่พบใน จ. กาญจนบุรี ที่เราถ่ายมา สรุป ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาในระดับพันธุกรรมว่า ทำไมนกชนิดย่อยเดียวกัน ถึงมีสีก้นที่ผันแปรได้ตั้งแต่สีแดง ส้ม ไปจนถึงเหลือง แต่สีก้นนี้ไม่สามารถ ใช้ตัดสินจำแนกชนิดย่อยของนก ต้องซึ่งใช้ความแตกต่างของตัวนกเป็นสำคัญ ด้วยความรู้ในปัจจุบัน นกในบล็อกนี้ กำหนดว่าเป็นชนิดย่อย schauenseei ซึ่งมีแพร่กระจายทางตะวันตกของไทย ตั้งแต่ จ. กาญจนบุรี ลงไปยัง จ. เพชรบุรี และ จ. ประจวบคีรีขันธ์ ชนิดย่อย klossi จะพบจาก จ. ตาก ขึ้นไป จ. เชียงราย ไปถึง จ. เลย ชนิดย่อย Thais พบจาก จ. ราชบุรี เข้ามาภาคกลางไปจนถึงตะวันออก และชนิดย่อย germini มีโอกาสพบได้ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ติดกับอินโดไชน่า เช่น จ. อุบลราชธานี ย้อนกลับไปถึงประโยคที่ว่า เป็นนกที่พบในไทย ไม่ต่ำลงไปกว่า จ. ประจวบคีรีขันธ์ และจะไปพบอีกครั้งที่เกาะชวาและบาหลีนั้น เราคุ้นกับประโยคนี้มาก เหมือนมันถูกผ่านบล็อกนกปรอดหัวโขน ใช่แล้ว นกปรอดหัวสีเขม่าก็เป็นนกร้องเพลงอีกประเภทพหนึ่ง
จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมมันจึงไม่พบในภาคใต้ของไทยและในมาลายา ที่มีวัฒนธรรมการเลี้ยงนกกรงหัวจุกในแถบถิ่นนี้
Create Date : 27 กุมภาพันธ์ 2568 |
Last Update : 5 มีนาคม 2568 11:07:34 น. |
|
10 comments
|
Counter : 416 Pageviews. |
|
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณThe Kop Civil, คุณSleepless Sea, คุณกะริโตะคุง, คุณ**mp5**, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณทนายอ้วน, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณหอมกร, คุณtuk-tuk@korat, คุณSweet_pills, คุณสมาชิกหมายเลข 3902534, คุณnewyorknurse |
โดย: กะริโตะคุง วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา:13:40:18 น. |
|
|
|
โดย: ทนายอ้วน วันที่: 27 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา:19:40:14 น. |
|
|
|
โดย: หอมกร วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา:6:21:46 น. |
|
|
|
โดย: กะริโตะคุง วันที่: 4 มีนาคม 2568 เวลา:14:44:13 น. |
|
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|