Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
เมษายน 2568
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
21 เมษายน 2568

บึงบอระเพ็ด : เป็ดหางแหลม




หากจะถามว่า เป็ดอะไรที่พบมากที่สุดในนาแปลงนี้
นั่นคือเป็ดลาย (Garganey) ที่น่าจะมีกันมากกว่าหลายร้อยตัว
ที่น้อยลงไปกว่านั้นคือ
เป็ดหางแหลม ที่น่าจะมีอยู่หลายสิบตัว
 
เป็ดหางแหลมมีขนาดใหญ่กว่าเป็ดลาย คอยาว หางยาวตามชื่อ
เพศผู้มีหัวสีน้ำตาลเข้ม ตัดกับแถบสีขาว ที่ลากยาวขึ้นมาจากคอ
อกสีขาว ลำตัวโดยรวมสีเทา เพศเมียมีลำตัวสีน้ำตาลอ่อน
และมีลวดลายสีเข้มกระจายทั่วตัว
 
มีชื่อภาษาอังกฤษว่า
Northern Pintail มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
Anas acuta ตั้งโดย Carl Linnaeus ในปี 1758
โดยชื่อ acuta แปลว่า แหลมขึ้น กระจายตัวในพื้นที่
แถบขั้วโลกเหนือ ตั้งแต่อเมริกาเหนือ สแกนดิเนเวีย และรัสเซีย 
 
เช่นเดียวกับนกชนิดอื่น ในหน้าหนาวจะอพยพลงใต้
ลงมายังอเมริกากลาง ยุโรป แอฟริกา และเอเชีย ใต้แนวเขาหิมาลัย
เป็นหนึ่งในนกไม่กี่ชนิด ที่อพยพข้ามเทือกเขาหิมาลัย
นักวิจัยเคยติดตามด้วย GPS ได้ว่า มันบินสูงราว 6,000 ฟุต  
 
ด้วยพื้นที่อยู่อาศัยที่กว้างขวาง ประชากรที่เหลือราว 4-5 ล้านตัว
ความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของ IUCN จัดให้อยู่ใน Less concern
แต่มีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะประชากรที่อาศัยอยู่ในยุโรปเหนือ
 




ในปี 1997 เกิดการระบาดของ avian botulism ที่ฆ่าประชากรนกน้ำ
ในทวีปอเมริกาเหนือไปราว 1.5 ล้านตัว ส่วนใหญ่เป็นเป็ดหางแหลม
Avian botulism เกิดจากเชื้อ
Clostridium botulinum ที่เรารู้จักกัน
ปรกติเชื้อจะอยู่ในดิน เป็ดพวกนี้ได้รับเข้าไปจากการไซ้กินอาหารที่ปนเปื้อน
ซึ่งเชื้อตัวนี้นั้น หากมีออกชิเจนระดับปรกติ จะไม่มีความอันตราย
 
แต่เมื่อใดที่อุณหภูมิสูงขึ้น มากกว่า 25 องศาเซลเซียส ในสภาวะออกซิเจนต่ำ
และมีสารอาหารในสภาพแวดล้อมสูงขึ้น พวกมันจะสร้าง toxin ที่อันตราย
สามารถทำลายระบบประสาท ทำให้เกิดการเป็นอัมพาตของกล้ามเนื้อได้
ตายจากการที่ไม่สามารถเคลื่อนไหว รวมถึงการออกแรงหายใจที่ทำไม่ได้
 
ดูเหมือนเป็นเป็ดธรรมดาที่ไม่ได้หายาก และไม่ได้มีเรื่องราวที่น่าสนใจ
แต่สำหรับเรามีความประทับใจกับเป็ดตัวนี้ เพราะตอนที่แรกเริ่มดูนกนั้น
ในฤดูหนาว จะมีเป็ดสามชนิดที่มาลงจำนวนมาก ได้แก่ เป็ดลาย
เป็ดคับแค และเป็ดแดง ซึ่งแต่ละชนิด จะแยกกันหากินเป็นกลุ่ม
 
ท่ามกลางฝูงเป็ดลาย เราจะต้องค่อยๆ มองหา
เป็ดลายๆ ที่ตัวโตกว่า และมีหางแหลม
โดยทุกปีจะมีมาแค่ตัวเดียว ส่วนตัวผู้นั้นยังไม่เคยเห็น
และนี่ก็คือเรื่องราวของเป็ดหางแหลม ในความทรงจำ



Create Date : 21 เมษายน 2568
Last Update : 21 เมษายน 2568 13:18:12 น. 2 comments
Counter : 509 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtuk-tuk@korat, คุณหอมกร, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณhaiku, คุณดอยสะเก็ด, คุณnewyorknurse, คุณสมาชิกหมายเลข 3902534


 
รูปที่สองสวยมากค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 21 เมษายน 2568 เวลา:12:41:56 น.  

 
หางเขาแหลมสมชื่อจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 21 เมษายน 2568 เวลา:13:03:16 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]




[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]