Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤศจิกายน 2567
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
1 พฤศจิกายน 2567

สุวินทวงศ์ 47 : นกตีทอง

 

เรื่องนั้นมีอยู่ว่า ได้ดูรายการ นายปักษาพาดูนก
ที่เราสามารถเปิด google map เพื่อตามหาสถานที่นั้นได้ 
เป้าหมายคือ
นกหัวขวานด่างแคระ แต่ว่าแห้ว
แล้วก็ไม่แน่ใจว่ามาถูกต้นไหม เห็นมีแต่นกตีทองก็เลยถ่ายมา
 

เป็นนกสามัญที่ปรกติจะไม่ถ่ายกันมา
ยกเว้นว่าไม่เจอนกอะไรก็จะถ่ายมาบ้าง แต่มักจะได้มาแบบตัวเล็กๆ
เพราะมันชอบเกาะอยู่ปลายยอดไม้ แต่ต่อให้ไม่สนใจ
เราก็จะรู้ว่ามีนกนี้อยู่ใกล้ๆ จากเสียงร้อง ป๊อง ป๊อง 


นกตีทอง (coppersmith barbet) จัดเป็นนกโพระดกขนาดเล็กที่สุด
ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ครั้งแรกว่า Bucco haemacephalus 
โดย
Philipp Ludwig Statius Müller  ในปี 1776 
หลังจากนั้นในปี 1790 John Latham ก็ได้ตั้งชื่อนกที่คล้ายกัน
จากประเทศอินเดียว่า Bucco indicus 

หลังจากนั้นก็มีพบนกอีกหลายชนิดในเกาะต่างๆ
ต่อมาพบว่าทั้งหมดเป็นนสายพันธุ์เดียวกัน
จึงตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ใหม่ว่า Psilopogon haemacephalus  
โดยมีทั้งหมด  9  ชนิดย่อยได้แก่

 
P.h. haemacephalus เป็นนกที่พบครั้งแรกของชนิดนี้ที่เกาะลูซอน 
P.h. indica คือชนิดย่อยที่พบในไทยและอินเดีย
หลังจากนั้นยังมีการพบอีก 7 ชนิดย่อย ตามเกาะต่างๆ 



P. h. roseus พบที่ชวาและบาหลี P. h. intermedia 
พบที่ Panay, Guimaras และ Negros 
P. h. delicus พบที่สุมาตรา
P. h. mindanensis พบที่มินดาเนา P. h. celestinoi พบที่
Samar, Catanduanes, Biliran และ Leyte

P. h. cebuensis พบที่เซบู P. h. homochroa พบที่ Tablas Island

จากบล็อกก่อนหน้า จะเห็นว่านกหลายชนิดมีชนิดย่อย
พบตามหมู่เกาะต่างๆ เช่น บอร์เนียว สุมาตรา ชวา เป็นต้น
 เราทุกคนคงตอบว่า นั่นเป็นเรื่องการวิวัฒนาการ

แต่การอธิบายว่า เหตุใดเกาะเหล่านี้ถึงมีนกแบบเดียวกับเรา
ในขณะที่เกาะที่อยู่ใกล้ๆ กัน อย่างสุลาเวสีหรือลอมบอค
กลับไม่พบนั้น เรื่องนี้จะอธิบายได้อย่างไร


ชาร์ล ดาวิน เกิดในปี 1809 ตรงกับปีที่รัชกาลที่ 1 เสด็จสวรรคต
เมื่ออายุได้ 19 ปี เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโดยใช้เวลา 3 ปี 
หลังจบการศึกษาปีใน 1831ได้ออกเดินทาง
ไปกับเรือ HMS Beagle เป็นเวลา 5 ปี 
 
จากการสังเกตสิ่งมีชีวิต เค้าพบว่าต่างมีความหลากหลาย
ทำให้เกิดความสงสัยว่าสิ่งมีชีวิตต่างๆ นั้นถือกำเนิดมาได้อย่างไร
จากการค้นคว้าศึกษาตัวอย่างของพืช สัตว์ ฟอสซิล ที่เก็บมา
ปี 1858 หรือ 22 ปี นับจากที่ขึ้นจากเรือ Beagle
เค้าก็ได้ร่างทฤษฎีที่ชื่อว่า
Natural selection 

อัลเฟรด วอลลเลซ นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ
ในปี 1854 ออกเดินทางไปเพื่อศึกษาธรรมชาติทั่วโลก
ปี 1855 ได้สังเกตเห็นความแตกต่างของสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต
แต่ก็ยังไม่มีแนวคิดหรือทฤษฎีที่จะใช้อธิบายสิ่งที่พบเห็นนี้ได้




ปี 1858 ในขณะที่ยังคงป่วยอย่างหนักอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เค้าเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตนั้นต้องผ่านการปรับเปลี่ยนมาตลอดเวลาที่ยาวนาน 
แต่ก็ยังไม่รู้ว่า พวกมันปรับเปลี่ยนไปจนเป็นกลายสายพันธุ์ใหม่ได้อย่างไร
จนกระทั่งเมื่อหลังป่วยจึงคิดได้ว่า การเปลี่ยนนั้นต้องมาจากสภาพแวดล้อม
  
ในขณะนั้นเค้าก็ทราบว่าชาร์ล ดาร์วิน กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่เช่นกัน
เค้าจึงส่งจดหมายไปหา และเล่าแนวคิดเรื่องเหตุของการวิวัฒนาการ
ในที่สุดทั้งสองก็ได้ส่งบทความเรื่อง Natural selection
ไปยัง Linnean Society of London 
 
ทางสมาคมพิจารณาและนำลงเป็นบทความผู้เขียนร่วม
เรื่อง
On the Tendency of Species to form Varieties; and on the
Perpetuation of Varieties and Species by Natural Means of Selection

ในวารสารของสมาคม ฉบับเดือน ก.ค.1858 

ทฤษฎีของทั้งสองคน ในเบื้องต้นมีความแตกต่างกันโดย
ชาร์ล ดาร์วิน เสนอว่าความต้องการสืบเผ่าพันธุ์คือแรงผลักดัน
ดังเช่น การวิวัฒนาการของสีและลวดลายของปีกผีเสื้อตัวผู้
ในขณะที่วอลเลซเสนอว่า การคัดเลือกเผ่าพันธุ์ให้เกิดขึ้นใหม่
หรือดำรงอยู่ได้นั้นเกิดโดยปัจจัยทางธรรมชาติอันหลากหลาย


แต่สิ่งที่ทำให้เราจดจำชาร์ล ดาร์วิน ไม่ใช่อัลเฟรด วอลเลซ
เพราะว่าในปีต่อมา ชาร์ล ดาร์วิน ได้ปรับปรุงบทความ
และเขียนหนังสือชื่อ
On the Origin of Species 
และได้ไปบรรยายทางวิชาการต่อสาธารณะในเรื่องนี้




วอลเลซ ยังคงอยู่ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อเก็บตัวอย่าง
กว่า 125,000 รายการเพื่อส่งไปยังพิพิธภัณฑ์ที่อังกฤษ
เค้ายังศึกษาเรื่องการแพร่กระจายพันธุ์ของสัตว์ต่างๆ
และได้สร้างเส้นๆ หนึ่ง ที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน
 
ในปี 1863 วิลเลซได้เขียนบทความ
the Physical Geography
of the Malay Archipelago
ลงใน Royal Geographical
Society’s Journal เรื่องเส้นสมมุติทางภูมิศาสตร์ที่แบ่งพืชและสัตว์
ภาคทวีปหมู่เกาะมาเลย์-อินโด ออกจากภาคทวีปออสเตรเลีย

เส้นนี้เริ่มต้นจากตอนใต้ของเกาะมินดาเนา ผ่านระหว่างเกาะสุลาเวสี
และเกาะบอร์เนียว ลงมาทางใต้จนถึงระหว่างเกาะบาหลีและลอมบอค
โดยเชื่อว่าครั้งหนึ่งภาคทวีปหมู่เกาะมาเลย์-อินโดนั้น
เคยเป็นผืนแผ่นดินเดียวกันกับทวีปเอเชีย 

นั่นจึงอธิบายว่าทำไมสิ่งมีชีวิตที่พบบนเกาะบาหลี
จึงไม่สามารถพบได้ที่เกาะลอมบอก ทั้งที่สองเกาะนั้นอยู่ห่างกันเพียงไม่กี่ไมล์
ในปัจจุบันเรารู้ว่า เหตุการณ์นี้เกิดในยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย
ก่อนที่น้ำทะเลจะสูงขึ้นจนกลายเป็นเกาะต่างๆ อย่างที่เห็นในปัจจุบัน
นักวิทยาศาสตร์เรียกเส้นนี้ว่า
Wallace’s line 
 
ถึงตรงนี้สามารถกลับไปดูชนิดย่อยต่างๆ ของนกตีทอง
แล้วใช้ Wallace's line อธิบายว่า ทำไมพวกมันถึงได้กลายเป็น
8 ชนิดย่อย ในพื้นที่ของหมู่เกาะต่างๆ ตามที่กล่าวไว้นั้น
พวกมันได้เริ่มแยกทางกันเมื่อ 13,000 ปี มานี่เอง  



Create Date : 01 พฤศจิกายน 2567
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2567 9:25:01 น. 4 comments
Counter : 297 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณ**mp5**, คุณกะริโตะคุง, คุณnonnoiGiwGiw, คุณhaiku, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณดอยสะเก็ด, คุณหอมกร, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณSweet_pills, คุณnewyorknurse, คุณtuk-tuk@korat


 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 1 พฤศจิกายน 2567 เวลา:12:11:28 น.  

 
ใช่ว่าจะเห็นตัวกันง่ายๆ จ้า



โดย: หอมกร วันที่: 2 พฤศจิกายน 2567 เวลา:8:30:38 น.  

 
นกตีทองสีสันน่ารัก
เสียงร้องป๊องป๊อง คงน่ารักน่าฟังด้วยนะคะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 3 พฤศจิกายน 2567 เวลา:0:29:23 น.  

 
เขาสวยมากค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 6 พฤศจิกายน 2567 เวลา:13:07:37 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

BlogGang Popular Award#20


 
ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 23 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]