ตามหา "ดอกพิกุล " - หนังสือ e-book ของเพจลานพิกุล

 


ตามหา "ดอกพิกุล"
หนังสือ e-book
ของเพจลานพิกุล

 
 


สวัสดีค่ะ  
ก่อนอื่น ขอขอบคุณน้องปุ๊กแอดมิน ที่ให้เกียรติมาเล่าเรื่องราวในเรื่อง "​ตามหาดอกพิกุล"
ชื่อ แน่งน้อย ศรีวัฒนา จบพยาบาลรุ่น 62 กลุ่มที่ 1 (มศ.5 รุ่นที่ 7 ) เป็น
เพื่อนพี่จงจิตต์ คณากูล อดีตหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล รพ.ศิริราช  และ พี่ประภาพรรณ ตัณฑ์ศุภสิริ ผู้บริหารศุนย์สิริกิติ์ - เราเป็นรุ่นแรกที่มีนักเรียนพยาบาลสองรุ่น เพื่อเตรียมพยาบาลไปทำงานรพ.รามาธิบดีที่จะเปิดใหม่ ชื่นชมเพื่อนสองคนจริงๆ มีผลงานมากมาย

พี่เป็นคนเขียนไม่เก่ง และไม่มีผลงานที่ดีเด่นอะไร แถมภาษาไทยเขียนไม่ค่อย
สละสสวยด้วย นอกจากเรียนภาษาไทยไม่ได้เรื่อง จากเมืองไทยไปอยู่อเมริกาตั้งแต่อายุ 24 ปี อ้อ อย่าคิดว่าพี่จะภาษาอังกฤษเก่งน้า แค่พอพูดและฟังออกเอาตัวรอดได้ในการใช้ภาษา แต่รากฐานพยาบาลศิริราช แน่นเปรี๊ยะ ไปไหนก็รอด 

 

ขอเล่าชีวิตทีทำงานที่นิวยอร์ก และ สวัสดิการหลังเกษียณมาให้อ่านกัน
เผื่อจะมีประโยชน์กับน้องๆที่มาทำงานที่อเมริกากันนะคะ


ตอนเรียนมัธยมปลายเริ่มรู้ว่าอยากเรียนเป็นครู อยากเรียนคุรุศาสตร์ ที่จุฬาด้วยแต่ตอนเรียนมศ 5 ทางโรงเรียนปิดเทอม ได้กลับบ้านต่างจว.ดำเนินสะดวก ราชบุรี กลับด้วยรถที่สายใต้ ไปอ่านหนังสือที่บ้าน  พออีกหนี่งอาทิตย์จะสอบก็เข้ากท  ขนหนังสือใส่กล่อง นั่งรถเมล์เข้ากรุงเทพ ลงที่สายใต้ เพื่อกลับมาเตรียมตัวก่อนสอบหนี่งอาทิตย์ ตอนนั้นพักหอพักแม่ชี หอพักเอาซีลีอุมที่ซอยศาลาแดง สีลม เรียนรร.สมาคมโรงเรียนราษฎร์ มักกะสัน พอรถถึงที่สายใต้ หากล่องหนังสือ หาไม่เจอ กลายเป็นคนเอากล่องผิดไป กล่องที่เหลือไม่ใช่ของเรา  ไม่มีหนังสืออ่านก่อนสอบ ในใจคิดว่าคงต้องเรียนซ้ำชั้นแน่ๆ ไม่กล้าหวังว่าจะเรียนครุศาสตร์แล้ว เวลาสมัครเข้ามหาวิทยาลัย ก็ทำไปตามๆเขา (ไม่รู้ว่าจะผ่านมศ 5 หรือเปล่า)พี่ศรีประไพ (เจ้าของร้านศรีประไพ - นิวยอร์ก)กำลังเรียนพยาบาลศิริราชปีที่ 3 แวะมาหาน้องสาวของพี่ ที่หอพัก มีโอกาสคุยกับพี่ ถามว่าเรียนพยาบาลดีไหม พี่ก็บอกดีนะ พี่บอกว่าตอนนี้กำลังรับสมัครพอดี บอกว่าน้องไปสมัครซี เลยไปสมัครสอบเข้าพยาบาลศิริราช และสมัครทางมหาวิทยาลัยเลือกสองอย่าง ครุศาสตร์ และ พยาบาลเชียงใหม่   ปรากฎว่าผลสอบมศ.5 ได้. ผลสอบของรพ.ศิริราช ก็ผ่าน รพ.ศิริราชมอบตัวก่อนผลของมหาวิทยาลัย ขณะที่เรียนพยาบาลศิริราช ได้ข่าวว่าสอบติดพยาบาลเชียงใหม่ แต่ก็ไม่ได้ไป เพราะทางบ้านบอกว่าไกลเกิน ตกลงเรียนพยาบาลที่ศิริราช

เรียนจบพยาบาล ศิริราชรุ่น 62 (มศ. 5 รุ่นที่ 7)(อนุปริญญาพยาบาล และประกาศนีย์บัตรผดุงครรภ์)หลักสูตรเรียน 3 ปีครี่ง  จบเดือนธันวาคม ปี  2511 รับอนุปริญญาวันที่ 1 ธันวาคม 2511/1968 หลังจบทำงานที่รพ.ศิริราช ตึกหอผู้ป่วยศัลยกรรมชาย 3 ทำงานประมาณ 3 ปีครี่งได้ประสบการณ์การทำงานคนไข้หลังผ่าตัดสมอง ช่องท้องคนไข้ทำ Colostomy ผ่าตัด ถุงน้ำดี ผ่าตัดไส้ติ่ง คนไข้อุบัติเหตุมาก่อนไปห้องผ่าตัด เป็นประสบการณ์ที่ดีมากสำหรับเป็นพื้นฐานการทำงานพยาบาลและช่วยในการทำงานในอนาคตอย่างดี ความชำนาญทางดูแลคนไข้เจาะเลือด ให้น้ำเกลือแม่นมาก  นับว่าเป็นประสบการณ์ที่มีประโยชน์มาก พอมาทำงานแผนกสูติที่นิวยอร์ก เพื่อนๆที่ทำแผนกห้องคลอด พยาบาลต้องเจาะเลือดและ Start IV  เวลาเพื่อนทำไม่ได้ จะขอให้ไปช่วยเสมอเรียกว่ามือเจาะเลือดและ Start IV ชำนาญมากจาก ศช.3 เวรดึกเจาะเลือดคนไข้ทุกคนตอนเช้า คนละหลายๆหลอด และเปิดสายน้ำเกลือวันละเป็นสิบๆครั้ง

สมัยนั้นพี่ๆพยาบาลที่เรียนจบ แล้วทำงานส่วนมากก็จะเตรียมตัวไปอเมริกากัน เริ่มด้วยไปเรียนภาษาอังกฤษที่ AUA หรือที่อื่นๆ ติดต่อสถานฑูตอเมริกา เขียนใบสมัครเพื่อเดินทางไปทำงานที่อเมริกา พอจบพยาบาลตอนทำงาน เราก็ทำเรื่องตามพี่ๆ อยากไปทำงานที่อเมริกาเหมือนกัน ซี่งก็ไม่แน่ใจว่าจะได้ไปไหม เริ่มเดินเรื่องที่สถานฑูตอเมริกา เตรียมเอกสารที่เขาต้องการในการเดินทางไปอเมริกา  มีสอบสัมภาษณ์ด้วย ก็ไม่รู้ว่าจะผ่านไหม คิดว่าถ้าสัมภาษณ์ผ่านก็ไป ไม่ผ่านก็ไม่เป็นไร 

เผอิญระยะนั้นพี่ๆส่วนมากจะทำเรื่องมานิวยอร์ก คาลิฟอร์เนีย ชิคาโก พี่ก็เลยมาลงนิวยอร์ก เพราะได้ข่าวพี่ๆพยาบาลอยู่นิวยอร์กกันเยอะมากพอมาถึงนิวยอร์กวันที่ 30 มิถุนายน 2515/1972 พอถึงพักสองสามวันก็เริ่มทำ working Permit ที่​Broad of Licensing New York  ระยะนั้นพยาบาลสามารถได้ใบประกอบโรคศิลป์ (License)เลย ถ้าเรียนจบศิริราช สอบTofel เกิน 350 ดูงานรพ.สมเด็จเจ้าพระยา 3 เดือน มีเอกสารพวกนี้ครบไปที่ Broad  ก็จะได้ใบ Permit ทำงานก่อนแล้วจะได้ License เลย (นับว่าโชคดี เพราะถ้าต้องสอบห้าวิชา คงไม่ผ่าน ชื่นชมน้องๆรุ่นใหม่ๆ เก่งจริงๆ จบพยาบาลไปทำงานสาขาอื่น ประสบความสำเร็จและทำงานทางด้านอื่นๆอีกด้วย)

พอได้ Permit แล้วก็หางาน หางานแทบทุกวันสามเดือน พอดีมีเพื่อนรุ่นเดียวกันพักอยู่ถนน 168 พี่อยู่ถนน 120 ทุกเช้าเพื่อนจะเดิน (เดินจริงๆนะ) เพราะตอนมากใหม่ๆต้องระวังค่าใช้จ่ายมาก ดูราคาค่าไฟ รถบัส ก็ไม่อยากจ่าย เรื่องแท็กซี่ไม่ต้องพูดถึงไม่กล้าแล เพราะเรากลัวเงินที่ติดตัวมาจะหมดก่อนหางานได้ เดินไปหางานและเดินกลับที่พัก ห้าโมงเย็น พี่ยังดีถึงก่อนเพื่อนต้องเดินต่อไปอีก 48 ถนน ต้องชมเลย เพื่อนเดินเก่งมาก เราหางานกันแทบทุกวัน ไม่ได้งานสักที แต่ละแห่งก็จะเอาประสบการณ์ที่อเมริกากันทั้งนั้น (จนเราคิดในใจว่าถ้าไม่มีใครจ้าง ฉันจะมีประสบการณ์อเมริกาได้ไง) หางานจนเกือบหมดกำลังใจ ทางบ้านที่เมืองไทยก็บอก ไม่มีงานก็กลับเมืองไทยเถอะ ระยนี้นมีเพื่อนย้ายมากจากชิคาโกอีกส่งคน เราก็เลยหางานกัน สี่คนแต่แยกกัน ไปสองคน เดือนตุลาคม ไปสมัครกันสองคนงานรพ.ของรัฐบาล  Metropolitan Hospitalไม่ได้คาดหวัง สัมภาษณ์เสร็จ ได้งานทั้งสองคนเลย ... ได้คืบจะเอาศอก ถามว่าพรุ่งนี้พาเพื่อนมาอีกสองคนได้ไหม เขาบอกได้ อะไรจะโชคดีปานนั้น ดีใจมาก เราสองคนหางานจนจะหมดหวังแล้ว พอได้งานก็ได้สี่คนเลย แต่ทำงานคนละแผนก และที่ดีคือเขาให้เงินเดือนเท่ากับพยาบาลที่อเมริกา (จริงๆ เราภาษาไม่ค่อยดี เขาอ้างก็ได้ นับว่าเขาให้สิทธิเท่ากัน)

พี่ได้ทำงานแผนก Trauma ,มีคนไข้ Burn ด้วย งานยุ่งมาก  แต่เรื่องงานทำได้อยู่แล้วความรู้ทางศัลย์เราทำได้ แถมไม่ต้องเจาะเลือด ไม่ต้องให้น้ำเกลือ มีแผนกเจาะเลือดมาทำทุกเช้า เวลาหมอสั่งเพิ่มก็โทรเรียกให้มาเจาะเลือดได้  ที่กลัวมากคือเรื่องรับโทรศัพท์ โทรศัพท์มาหลบแต่บางที่หลบไม่ทัน ก็ต้องรับโทรศัพท์ ฟังพอได้  ถ้าคุยต่อหน้า หมอหรือคนร่วมงานเขาก็พยายามอธิบายให้เราเข้าใจ ค่อยๆกล้านิดๆ ภาษาไม่คล่องหรอก และไม่ค่อยกล้าด้วย ทำงานไม่ถึงสองเดือน หัวหน้าพยาบาลเกิดลาออก เราก็ต้องเป็นหัวหน้าวอร์ดจนกว่าทางรพ.จะส่งหัวหน้ามา เป็นหัวหน้าววอร์ดมีหน้าที่รับผิดชอบเวรเช้า จ่ายงานแก่ลูกน้อง และรับผิดชอบทั่วไปตั้งแต่คนงานถึงบุรุษพยาบาล  แต่คนที่ทำงานด้วย เขาไม่ชอบเราหรอก เขาเห็นว่าเป็นใครมาจากไหน มาถึงไม่นานก็เป็นแทนหัวหน้าวอร์ด (นี่แค่แทนหัวหน้าวอร์ดนะ ถ้าเป็นหัวหน้าจริงๆยิ่งสาหัส)ทำงานเมกาต่างกับเมืองไทยมากเพราะตัวใครตัวมันและไม่เคารพเชื่อฟังหรอก ยิ่งภาษาก็ไม่รู้เรื่องเท่าไร ตอนส่งเวรเดินส่งเวรที่คนไข้แต่ละคน ก็เห็นลูกน้องทำงานไม่ครบ เราต้องไปทำ intake output ก่อนลงเวร เหนื่อยแทบทุกวันก่อนกลับบ้าน คิดถึงอยู่ศิริราชเราทำงานกันเหมือนพี่น้อง บอกอะไร ก็มีคนร่วมมือ ทำงานได้ประมาณสองปีกว่าก็หางานใหม่ โชคดี ได้งานสองรพ.พร้อมกันเลย รพ.Columbia Presbyterian, และรพ St Luke hospital อยากทำทั้งสองแห่ง Columbia Hospital รพ.มีชื่อ ,St Luke ก็ใกล้ที่พัก (อยากลองทำทั้งสองแห่ง)บอกรพ St Luke Hospital ว่ากลับเมืองไทยสักสามสี่เดือน กลับมาค่อยเริ่มทำงาน แล้วก็ไปทำงานรพ.Columbia Hospital แผนกศัลย์กรรม ทำได้สามเดือนเวรบ่าย กว่าจะกลับบ้านก็หลังเที่ยงคืน ต้องนั่งรถใต้ดินกลับที่พัก ทำได้สองเดือนกว่า เช้าวันหนี่งเพื่อนโทรมาคุย ถามว่าเมื่อวานไปทำงานเปล่า บอกไป เขาบอกรู้เปล่าที่สถานีรถใต้ดินหลังเที่ยงคืนมีคนถูกแทง เขาเดินลากขาไปขี้นที่ทางขี้นของทางที่เราลงไป ฟังแล้วกลัวมาก วันรุ่งขี้นก็ส่งใบลาออกเลย เวลาออกต้องบอกก่อนหนี่งเดือน โชคดีเรามีที่ทำงานรออยู่แล้ว ทนทำจนครบเดือนแล้วออก

เริ่มมาทำงานที่รพ.ST Luke Hospital ใกล้ที่พัก เดินไปและกลับที่พักได้  ทำแผนกศัลย์กรรมอีกเป็นคนไข้พวก Trauma , คนไข้ผ่าตัด Breast cancer และคนไข้ที่ประสบอุบัติเหตุคนไข้บางคนติดยาเสพติด เขาให้ยา Methadone ซื่งอยู่ในโปรแกรม แต่พอมารพ.คนไข้งอแง บอกยาที่ให้ไม่พอ หมอก็ให้ตามโปรแกรมเขา ไม่เพิ่ม คนไข้ก็อาละวาดกับคนทำงานแถมขู่ด้วยว่าไม่ให้ยาเพิ่ม ไปเดินที่ถนนระวังนะ เราก็กลัวเหมือนกัน ทำแผนกนี้จิตใจไม่ค่อยเบิกบาน โดยเฉพาะคนไข้ที่เป็นมะเร็งเต้านม สงสารเวลาเขากลับมาอีก และต้องทำการรักษาต่อ อยู่ได้ไม่นาน. ผู้ตรวจการ รู้ว่าเป็นคนไทย ก็บอกว่ามีพยาบาลคนไทยทำงานแผนกหลังคลอด (Post Partum) อยู่เวรบ่ายเหมือนกัน แนะนำว่าเวลาพักเดินไปรู้จักกันไว้ รพ.มีหลายตึกเดินต่อกันแต่ก็หายาก ไม่ได้ไปสักที วันหนี่งพี่คนไทยแวะมา พี่บอกทำงานแผนกหลังคลอดแวะมารู้จักคนไทยด้วยกัน พอพี่ก็รู้ว่าเป็นรุ่นน้องศิริราชพี่ก็เหมือนเป็นพี่ศิริราช ห่วงใยน้องมาก (พี่ชื่อจารุณี ทำงานแผนกสุติพิเศษ ก่อนไปอเมริกา)ชวนไปทำงานที่ห้องคลอด ให้ใส่ชื่อไว้ เวลาคนออกจะได้ไป​(ที่นี่คนในรพ.จะขอย้ายแผนกมีสิทธิได้ก่อนคนมาสมัครใหม่) บอกว่าไม่กล้าไปทำงานห้องคลอดหรอก เพราะตั้งแต่เรียนจบมายังไม่เคยทำงานห้องคลอดเลย แถมได้ข่าวเขาต้องอ่าน Monitor ด้วยไม่เป็นหรอกพี่ก็บอกว่า เขาเทรน ไปเถอะ จริงๆก็กลัวคนไข้ติดยาแผนกนี้อยู่แล้ว ตกลงลองไปหน่อยละกันพอได้ย้ายเข้าที่เรียบร้อย ก็ไปสมัครเรียนปริญญาตรี ที่ St Francis College สาขาBS Health care Management เรียนเช้า  แล้วทำงานเวรบ่าย พอเรียนจบ รพ.ให้เงินเดือนเพิ่มอีกปีละ$300 ต่อปี และเริ่มติวสอบ Certificate ของแต่ละสาขาที่ทำ คือพยาบาลห้องคลอด เรียก Inpatient Obstretric Nursing Certification ของ https://www.nccwebsite.org/ พี่สอบได้ Cirtificate
ทาง Inpatient OBS ตกลงทำงานที่รพ.นี้จนเกษียณ ( 33 ปี​)

สวัสดิการที่ดีของการทำงานที่รพ.นี้ (แต่ละรพ.มีสวัสดิการต่างกันบ้าง)คือ ทางรพ.จ่ายค่าเล่าเรียนจนถึงปริญญาเอก ถ้าเรียนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการพยาบาล และเรียนจบก็ได้เงินเดือนเพิ่ม $300 ต่อปริญญาเช่น บริญญาตรี$300 ปริญญาโท $ 300 ปริญญาเอก $300 ต่อปี บางคนบอกแทนที่จะเรียนนานๆ หาทางสอบให้ได้ Certificate เพื่อให้ได้ RNC ของแผนกที่ทำงานก่อนดีกว่าได้เงินเดือนเพิ่มปีละ$600 พยาบาลส่วนมากก็พยายามสอบให้ได้ Cetification ทางสาขาแผนกต่างๆ เช่น สูติ ศัลย์ Med Ped 

น้องพยาบาลรุ่นใหม่ๆที่มาอเมริกา เรียนกันเก่ง ภาษาก็ดี เห็นน้องๆมาอเมริกาสอบใบประกอบโรคศิลป์(License)ครั้งเดียวก็สอบผ่านกันทั้งนั้นเลย อัตราเงินเดือนแต่ละรัฐต่างกัน รัฐนิวยอร์กขณะนี้เงินเดือนปีละ  $75,000 - $ 85,000
ขี้นอยู่กับประสบการณ์มากี่ปี และการศีกษาด้วย (ปริญญาตรี ปริญญาโท ได้เงินเพิ่ม $300-$600 ต่อปี )
รพ.แต่ละแห่งอัตราเงินเดือนไม่เท่ากัน ของรพ.รัฐ เงินเดือนน้อยกว่ารพ.เอกชน
แต่หลังเกษียณจะได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับประกันสุขภาพดีกว่า ไม่ต้องจ่ายเพิ่มตอนหลังเกษียณ

ประสบการณ์ทำงานห้องคลอดแผนก High Risk Obs พยาบาลดูแลคนไข้ 2-3 คน แล้วแต่อาการคนไข้ ถ้าคนไข้เป็นโรคแทรก Pre eclamsia ต้องให้ยากระตุ้นคลอดและยังไม่ใกล้คลอดก็ได้สองคน คนที่สามก็เป็น case ธรรมดา  คนไข้อยู่ห้องจนจะคลอดแล้วย้ายไปเข้าห้องคลอด เดี๋ยวนี้คนไข้คลอดห้องนั้นเลย เตียงที่ปลายเตียงถอดออก เป็นเตียงคลอดได้เลย ในห้องมี Isolette Incubator และ Neonatal Cart  สำหรับดูแลเด็กแรกเกิดทุกห้อง พร้อมจะใช้ได้เวลา เด็กมีปัญหาถ้าเด็กมีปัญหาหรือประวัติแม่ อาจจะทำให้เด็กมีปัญหาก็เรียกหมอเด็กมารอก่อนคลอดเลย แผนกที่ทำอยู่มีคนไข้คลอดเดือนละ 3,000 กว่าคน มีห้องให้คนไข้เกือบยี่สิบห้อง พยาบาลดูแล 2-3 ห้องต่อคน นอกจากตอนช่วยเบ่งคลอด หัวหน้าเวรจะมาดูคนไข้ที่เหลือหรือจ่ายให้คนอื่นทำ ห้องคลอดมีพยาบาล 11-12 คน ต่อวัน ผู้ช่วยสองคน OR TECH 2 คน เพราะจะมีเคสที่นัดผ่าตัด C/secton สามสี่รายทุกวัน และพร้อมที่จะทำผ่าตัดแบบ Emergency(​ Stat C/Secton) เรายุ่งกันมาก บางวันไม่ได้พักเลย ต้องฝากเพื่อนแล้วแว้ปไปกินข้าวดื่มน้ำกันเอง แต่เขาก็แฟร์ ถ้าไม่ได้ไปกินข้าว เขาก็จ่าย OT หรือคนไข้มีปัญหาต้องอยู่เกินเวลา ก็จ่าย OT วันหยุดเขาก็เรียกมาทำกัน เพราะที่ห้องคลอดยุ่งมาก อยากทำงานมีงานให้ทำแทบทุกวัน และจ่าย OT ปี 2010/2553  รายได้ชม.ละ$50 ถ้าทำOT ก็ได้ชม.ละ 75 เหรียญ ถ้ามีแรงทำ เก็บเงินไป รายได้ดี ภาษีก็หนัก เราเสียภาษีกัน 30-35% ถ้าทำงาน OT เยอะเกิน ปลายปีก็จะเสียภาษีคืนมาก สรุปว่าเราก็ฉลาดกัน ทำ OT สองอาทิตย์ อย่างมากสามครั้ง (เงินเดือนจ่ายทุกสองอาทิตย์) บรรยากาศทำงานห้องคลอดถึงจะยุ่งแต่ก็สุขใจ เห็นพ่อแม่มีความสุขเวลาเห็นลูก เราก็พลอยสุขใจไปด้วย แต่ก็มีพ่อแม่เสียลูก เราก็ต้องให้กำลังใจ เวลาเหตุฉุกเฉิน ที่ต้องวิ่งทำงานเพื่อช่วยสองชีวิต แม่ และ ลูก , หมอ พยาบาล และผู้ร่วมงานทุกคนร่วมมือกันอย่างดี บางคนอาจจะไม่ค่อยชอบกัน แต่เวลาเรามีเหตุฉุกเฉินเราเป็นหนี่งเดียวช่วยกันจนถึงที่สุด เป็นแผนกที่ชอบมาก ไม่เสียใจเลยที่ย้ายมาทำงานแผนกนี้ เรามีกลุ่มดูแลแม่ที่เสียลูกด้วย  เรียก Bereavement Group ดูแลคุณแม่ คุณพ่อหลังกลับบ้านด้วย

ระยะมานิวยอร์กใหม่ๆ ไม่ได้ไปสังคมที่ไหน แต่ระยะหลังๆ มีพี่พรพเยาว์ พี่ศิริราชริเริ่มจัดงานมหิดล และงานสมาคมพยาบาล ถ้าไม่ติดเวรก็จะไปงานนี้ ดีใจที่พบกับพี่ๆ เพื่อนๆเป็นงานทำบุญตอนเช้า ทานข้าวด้วยกัน มีการแสดงบ้างร้องเพลงบ้าง รับเงินบริจาคเงินส่งมาที่ศิริราชพยาบาลทุกปี

สวัสดิการการทำงานที่อเมริกา ที่ทุกคนควรคิดไว้ด้วย รุ่นพี่มาใหม่ๆไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไรและไม่สนใจ เพราะไม่คิดจะอยู่นาน พออยู่จนเกษียณถึงจะเข้าใจมากขี้น นำมาเล่าให้ฟังเผื่อมีประโยชน์กับผู้ที่จะมาทำงานที่อเมริกา

ขณะทำงานรพ. ทุกคนที่ทำงานรพ.มีประกันสุขภาพให้ทั้งครอบครัว มีโปรแกรมให้เก็บเงินก่อนภาษีโดยรัฐจะบอกว่าเรามีสิทธิเก็บเท่าไร(เป็นที่รู้ๆกัน จำไม่ได้แล้วค่ะ)บางคนก็เก็บบางส่วน บางคนก็เก็บเท่าที่เขาให้เก็บเป็นเงินก่อนภาษี  มีบริษัทกองทุนที่รพ.คัดเลือกแล้ว  มาแนะนำว่าเงินที่เราเก็บออมจะไปออมแบบไหน เช่นฝากประจำมีดอกเบี้ยกี่เปอร์เซนต์กี่ปี หรือซื้อกองทุนต่างๆ มีเอกสารให้เอากลับไปอ่านว่าจะทำกองทุนไหน ไม่เข้าใจก็สอบถามได้ การออมเบบนี้นับว่าดีมาก เพราะเก็บแล้วไม่เสียภาษี แต่ถอนไม่ได้จนอายุ 59 1/2 ถ้าถอนก่อนจะเสียค่าปรับ ถอนตอนครบเสียภาษีแค่ส่วนที่ถอนออกมา (ส่วนมากก็ค่อยๆถอนเงินมาใช้) ถ้าทำได้ ตอนเกษียณก็มีเงินใช้เพิ่มอีกส่วนหนี่ง นอกจากเงินเกษียณ

เงินเดือน จำได้ว่าเวลาทำงานรพ.แรก ปี2515 /1972 จ่ายเงินเดือนทุกสองอาทิตย์ เงินเดือนเดือนละ$400ระยะก่อนออกสิบกว่าปีมัง เงินเดือนพยาบาลเริ่มดีขี้น ที่นี่มีสมาคมพยาบาลที่จะทำสัญญากับรพ.เกี่ยวกับการทำงาน การขี้นเงินเดือนกับรพ. ก่อนออกพี่ได้เงินเดือนปีละ $75,000ตอนทำใหม่ๆทำงานอาทิตย์ละห้าวัน ทำเสาร์อาทิตย์อาทิตย์เว้นอาทิตย์ ตอนนี้ทำงานอาทิตย์ละสามวัน แต่เพิ่มอีกวันอาทิตย์ที่สี่ เพื่อให้ครบ 75 ชมสองอาทิตย์ ทำเสาร์อาทิตย์ทุกสามอาทิตย์ โดยแต่ละวันได้เวลาเบรคเช้า 20 นาที บ่าย 20นาที พักเที่ยง 1 ชั่วโมง พักร้อนปีละ20 วัน(ทำครบห้าปี ปีที่หกจะได้เพิ่มปีละวัน) หยุดวันราชการอีก 12 วัน วันป่วย 12 วัน (แต่ก็ใช้ยากพอควร ต้องเก็บไว้เยอะๆ มีประโยชน์ถ้าต้องพักคลอดพักผ่าตัด) ตอนออกเขาคิดเป็นเงินให้ 2/3 ยังดีกว่าไม่ได้เลยนะ
ตอนออกแล้วแต่อยู่นานเท่าไร เขาคิดเงินเกษียณตามเวลาและเงินเดือนที่ได้รับตามสูตรของเขา และถ้ายังไม่เกษียณถ้าทำครบสิบปี ก็มีสิทธิได้ตอนอายุ 60 ได้ข่าวว่าตอนนี้ทำแค่ 5 ปีก็พอมีสิทธิได้บ้าง นี่เป็นสวัสดิการของรพ.ที่อยู่ในกลุ่มสมาคมพยาบาลNew York Nurse Association สมัยนั้นการย้ายงานบ่อยๆก็จะไม่ได้รับเงินบำเหน็จหรือบำนาญ แต่พวกเรามาจากเมืองไทยไม่ค่อยรู้เรื่องเหล่านี้ บางคนก็ย้ายงานบ่อยตอนเกษียณก็ไม่มีเงินเกษียณ เรียก Pension และบางรพ.ต้องสมัครเราต้องออกส่วนหนี่งรพ.ออกส่วนหนี่ง ถ้าเราไม่ทำ ก็ไม่ได้เลย (จริงๆตอนที่เราเริ่มทำงาน ใครจะคิดว่ามาอยู่นานถึง 60 ปี บางคนก็เลยไม่ทำ ของพี่เองก็โชคดีที่รพ.เขามีให้โดยอัตโนมัตจากสัญญาของสมาคมพยาบาล ไม่อย่างนั้นก็คงไม่ได้อะไร รพ.แรกก็ไม่ได้ทำไว้

ขณะทำงานเงินเดือนจะถูกหักเข้าระบบSocial Security ตามเปอร์เซนต์(จำไม่ได้แล้ว)สำหรับทุกคนทีทำงาน ไม่ว่าทำงานอะไร จะได้รับผลประโยชน์ ตอนอายุ 62 ปี จะได้รับเงิน Social Security และได้ประกันสุขภาพแต่ต้องถูกหักครบ 10 ปี ทำแล้วหยุด ก็ทำต่อได้ อันนี้นับว่าดี เพราะตอนเกษียณมีประกันสุขภาพด้วย ถ้าทำไม่ครบไม่มีสิทธิได้ประกันสุขภาพ ต้องซื้อเองเดือนหนี่งประมาณ 800 เหรียญ

สรุปคือ ทำงานอเมริกา ถ้าทำเกินสิบปี ก็จะมีเงินเกษียณ-Pension เงิน SocialSecurity และประกันสุขภาพ ตอนอายุ 62 และมีโอกาสเก็บเงินไม่เสียภาษีไว้ถอนตอนอายุ 50 1/2 น้องๆที่จะมาทำงานที่อเมริกาก็ควรถึงข้อนี้ เกษียณจะได้มีเงินใช้อย่าเปลี่ยนงานบ่อย หรือเปลี่ยนงานก็ต้องเก็บเงินไว้ตอนเกษียณเขาเรียก 401 K และยังมีเงินออมอีกชนิดที่ทุกคนมีสิทธิออมเงินเรียก  IRAเขาจะให้ออมตามสัดส่วนของเงินเดือนและมีจำกัดจำนวนสูงสุด เช่นปีนี้มีสิทธิออมได้ $6,000ถ้าอายุเกิน 50 ปี สามารถออมได้ ปีละ $7,000 เงินนี้ก็ถอนไม่ได้จนอายุ 59 1/2 และไม่อยากถอนก็ได้ แต่อายุ 70 ต้องถอนอย่างน้อย 3 % มีรายละเอียดเยอะ  แต่ที่สำคัญก็คือพยายามออมเงินให้มากที่สุดทีเขากำหนด หรืออย่างน้อยก็ทำบ้าง เพราะมีประโยชน์ตอนเราเกษียณ ที่นี่เขาไม่กำหนดอายุ อยากทำไปเรื่อยๆก็ได้ ตราบใดที่ยังทำงานที่มีคุณภาพแต่ถ้าจะออกเพื่อรับเงินเกษียณที่ทำงาน ก็แล้วแต่อายุทำงานและสัญญาของแต่ละแห่งสำหรับเงินรัฐจะได้รับประกันสุขภาพ และเงิน Social Security ตอนอายุ 65 แต่เงิน SocialSecurtiy เริ่มรับได้ตั้งแต่อายุ 62 แต่จะถูกหักเกือบ 30% เขาเปลี่ยนอายุที่จะรับเงินไม่ถูกหักตอนนี้ต้องอายุ 66-67 จึงไม่ถูกหัก 

ตลอดเวลาทำงานมีปัญหาเกี่ยวกับการเงินอย่างหนักสองครั้ง
ครั้งแรกมาได้ไม่นานเพิ่งเริ่มทำงาน เรียกว่ารายได้ก็พอๆกับค่าใช้จ่าย คุณสามีเกิดป่วยเป็นโรคความดัน ต้องอยู่รพ. ตอนนั้นทุกข์มาก เพราะไม่รู้ระบบของที่นี่ (ข้อเสียคือเวลาเราไปอยู่ที่ไหนเราควรศึกษาให้รู้ว่าการทำงานมีสวัสดิการอะไร รอบรู้ทั้งทางสุขภาพและการออมเงินไว้ตอนเกษียณ) ค่ารพ.คงแพงมาก เราจะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายมาอยู่ต่างถิ่นอีกด้วย ทุกข์มากจริงๆ กว่าจะรู้ว่าเราทำงานมีประกันสุขภาพ ไม่ต้องจ่ายเงินหรืออาจจะจ่าย 10-20 % แต่ที่รพ.ที่เราทำงานด้วยจะไม่เสียเงินส่วนเกินเลย และเขาประกันทั้งสามีภรรยา

ความทุกข์สาหัสครั้งที่สอง ตอนนั้นมาอยู่นิวยอร์กนานแล้ว เริ่มมีบ้าน มีลูกคนทีสอง แต่ลูกคลอดก่อนกำหนด 30 อาทิตย์ นน.แค่ 3lbs,30z (1,446 Gm) พักหลังคลอดสี่เดือนที่ทำงานจะจ่ายเงินให้ประมาณ 6อาทิตย์ ที่หยุดต่อก็จะไม่ได้เงินเดือนตอนนั้นเริ่มมีเงินเก็บนิดหน่อยเลยไปทำกิจการปั้มน้ำมัน โชคไม่ดีเกิดขาดทุน  ทั้งถูกคนที่ทำงานโกงด้วย เลยต้องเป็นหนี้ธนาคาร 3 หมื่นกว่าเหรียญ เงินที่ได้ไม่กี่อาทิตย์ไม่พอใช้ แถมต้องจ่ายดอกเบี้ยธนาคารสำหรับเงินหนี้ ดอกเบี้ยตอนนั้น 13-15%ทุกข์มาก โชคดีมีเพื่อนสามคนให้ยืมเงินใช้ธนาคารก่อนจะได้ไม่ต้องผ่อนดอกเบี้ย พอกลับไปทำงานก็กลับไปเป็นหนี้ธนาคารเหมือนเดิม และเริ่มกลับไปทำงานใช้หนี้ที่ธนาคารใช้เวลาหลายปีกว่าจะใช้หนี้ธนาคารหมด  อาชีพพยาบาล ไม่ตกอับแน่ ถ้ายังมีแรงทำงาน

ที่เล่ามาเพื่อเป็นกำลังใจสำหรับคนที่
เผชิญกับความทุกข์ อุปสรรค์ในชีวิต อย่ายอมแพ้ เราต้องชนะสักวัน ...

ตอนนี้พี่เกษียณมา 11-12 ปีแล้ว (คงอยากรู้ว่าอายุเท่าไร 73 ค่ะ)มีความสุขกับชีวิตเกษียณ  มีรายได้เกษียณพอช่วยตัวเองได้ ไม่มีภาระต้องห่วงแล้ว ทำหน้าที่ทางครอบครัวดูแลลูกจนมีครอบครัวไม่ต้องห่วงแล้ว   ลูกสองคนได้กลับมาบวชที่เมืองไทย และได้มาแต่งงานที่เมืองไทย ได้รู้จักญาติๆที่เมืองไทย

คนแรกเป็น Rhuematologist แต่งงานแล้วมีลูกสาว 1 คน ลูกชาย 1คน 
ลูกคนที่สอง(คลอด Premature 30 wks) เป็น Neprologist แต่งงานแล้วมีลูกชาย1คน 


กิจกรรมประจำวัน ทำสวนครัว จะไปออกกำลังกายที่ Gym ทุกวันตอนเช้า
ตอนนี้ไป Gym ไม่ได้  ออกกำลังกายที่บ้านตามเทป ยกแขนขาตามเทป
https://www.youtube.com/watchv=DYuw4f1c4xs,
https://www.youtube.com/watch?v=DYuw4f1c4xs
พยายามทำให้ได้ทุกวัน ก็เหมือนเดินวันละ 4 ไมล์ 

 

เพื่อนแนะนำให้สมัครเขียนเรื่องที่บล็อกของพันทิป เพื่อมีอะไรทำหลังเกษียณ
ใช้ชื่อ "newyorknurse.bloggang.com"


เขียนบล็อกเล่าเรื่องต่างๆ ประสบการณ์ทำงานที่นิวยอร์ก เรื่องอาหาร สุขภาพ
นำข้อมูลที่มีประโยชน์ เป็นกิจกรรมยามว่างหลังเกษียณ
เริ่มเขียนบล็อกเดือนพฤศจิกายน 2511

จำนวน Blog รวม 1763 Blog
จำนวนผู้ชม 3870714 ครั้ง
จำนวนผู้ชม Profile 4357 ครั้ง ผู้ชมทั่วโลก 169 ประเทศ  


ได้รับรางวัล สาขา Best of Kaibann Blog (ไกลบ้าน) ปี 2056 - 2562
สาขา Best of Health Blog ปี 2559 - 2562
 
ทำบุญวันมหิดล ปี 2019/2562 เปิดชมได้นะคะ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=newyorknurse&month=03-10-2019&group=23&gblog=63
 
ศีกษาธรรมะการปฎิบัติธรรม,สวดมนต์ทำสมาธิทุกวัน
กลับเมืองไทยทุกปีหลังเกษียณ นัดเพื่อนๆพยาบาลไปเที่ยวกันหนี่งคืน
เที่ยวสบายๆ ทำบุญให้เพื่อนร่วมรุ่นที่จากไป
ทัวร์อัมพวา พยาบาลศิริราช - รามา รุ่นที่ 1
วันที่ 30-31 มกราคม 2562
เปิดชมได้ที่เวปข้างล่างค่ะ
https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=newyorknurse&month=04-02-2019&group=23&gblog=8

สุดท้ายขอขอบคุณโรงเรียนพยาบาลศิริราช อาจารย์พยาบาล อาจารย์หมอ พี่ๆพยาบาลที่ให้วิชาความรู้ในวิชาชีพพยาบาล ทำให้สามารถไปทำงานที่นิวยอร์กจนเกษียณและมีสวัสดิการประกันสุขภาพและเงินบำนาญ​(Pension และ Social Security )ที่เป็นรายได้ประจำทุกเดือนตลอดชีพ ภูมิใจที่เรียนพยาบาลศิริราช และขอบคุณที่ได้เป็น "หนี่งดอกพิกุล" ที่ลานพิกุลแห่งนี้ค่ะ



https://bg3.bloggang.com/admin/manage.php?id=newyorknurse&date=27-09-2020&gblog=93&action=edit&group=15

*********











*****













































*******
Dr. Methee Srivatana 
Rhuematologist
















******

DR. Vesh Srivatana 
Nephrologist


















 



 
Klaibann Blog


 
newyorknurse



Create Date : 27 กันยายน 2563
Last Update : 9 ตุลาคม 2563 2:51:52 น. 0 comments
Counter : 1401 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณอุ้มสี, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณkatoy, คุณSleepless Sea, คุณคนผ่านทางมาเจอ, คุณThe Kop Civil, คุณตะลีกีปัส, คุณปรศุราม, คุณสันตะวาใบข้าว, คุณหอมกร, คุณhaiku


newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ... United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]






เริ่มเขียนBlog
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553

ยินดีต้อนรับค่ะ

จขบ.บันทึกประสบการณ์ต่างๆ
ระยะเวลาทำงานและระยะเกษียณ
เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ

จขบ.พยายามใช้ชีวิตเกษียณให้มีคุณค่า
รักษาสุขภาพใจและกาย ท่องเที่ยวกับเพื่อนๆ
ทำสวนดอกไม้ ออกกำลังกาย
สมัครเป็นสมาชิก 24 Hrs Fitness
เพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณภาพ
จะได้ไม่เป็นภาระกับคนที่รักและห่วงใย

จขบ.เพิ่มบล็อกสุขภาพ
เพื่อจะได้นำสาระที่มีประโยชน์
เกี่ยวกับสุขภาพทั่วๆไป

จขบ.หวังว่าข้อมูลต่างๆช่วยให้
ทุกท่านที่มาอ่าน รักษาสุขภาพ
ไปตรวจเพื่อเป็นการป้องกัน
และได้รับการรักษาเนิ่นๆ เพื่อ
ชีวิตที่แข็งแรงและมีคุณภาพ

"A time to enjoy,
a time to spend time with your family
and a time to be with your friends
all comes with retirement"


*****


"Live The Moment"

อยู่กับปัจจุบันขณะ หยุดเสียใจกับสิ่งที่เกิดขี้น
ในอดีตและกลัวหรือกังวล
สิ่งทีเกิดขี้นในอนาคต "วันนี้" และ "ขณะนี้"
คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคุณ !!
ใช้มันให้ดีที่สุดให้เป็นช่วงเวลาทีมีคุณค่า
น่าจดจำเพราะว่าเวลาเป็นสิ่งที่ผ่านมา
และผ่านเลยไป เอาคืนไม่ได้และ
หาเพิ่มก็ไม่ได้เช่นกัน

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ


*********


ขอบคุณ Bloggang ทำให้เราได้เขียนบล็อกต่างๆ
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวด
ทุกๆคะแนน นะคะ

BG Popular Award # 19


BG Popular Award # 18


BG Popular Award # 17


BG Popular Award # 16


BG Popular Award # 15


BG Popular Award # 14


BG Popular Award # 13


BG Popular Award # 12


BG Popular Award # 11


BG Popular Award # 10


BG Popular Award # 9


BG Popular Award # 8

**********



ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2561
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ


ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2560
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ
Flag Counter
New Comments
Group Blog
 
<<
กันยายน 2563
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
27 กันยายน 2563
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add newyorknurse's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.