หยุดอัลไซเมอร์ก่อนสายด้วย เมลาโทลิน การกินและเวลานอน




หยุดอัลไซเมอร์ก่อนสายด้วย เมลาโทลิน
การกินและเวลานอน


ความทรงจำที่เลือนหายจากโรคอันน่าหวั่นวิตก ‘อัลไซเมอร์’
เป็นโรคที่มีสัญญาณลับสะสมในสมองมานานจนคุณไม่รู้ตัว
ซึ่งปัจจัยหนึ่งมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่บั่นทอนพวกเรา
ในโลกที่เร่งด่วนและเรียกร้องอยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อเซลล์ประสาท
ถึงคราวสูญสลาย เป็นไปได้ไหมที่จะสามารถฟื้นฟูกลับมาได้อีกครั้ง?
ธรรมชาติของร่างกายสิ่งมีชีวิตซุกซ่อนขุมทรัพย์อะไรไว้อยู่?


ความหวังอันน่าตื่นเต้นสว่างวาบ เมื่อนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้า
ของไทย ค้นพบ ‘เมลาโทนิน’ (melatonin) ที่สามารถยับยั้ง
โปรตีนพิษในสมองผู้ป่วยอัลไซเมอร์ได้ โดยพบว่าสามารถสร้าง
เซลล์สมองให้ฟื้นคืนได้ พร้อมสรรพคุณรักษาโรคทางระบบประสาท
เช่น อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน และโรคสมองเสื่อมที่พบในผู้สูงอายุและ
ผู้ติดยาเสพติด นำไปสู่ข้อมูลในการพัฒนายาเพื่อรักษาโรคทางระบบ
ประสาทและสมองในอนาคตอันใกล้



ศ.เกียรติคุณ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์

The MATTER ได้รับเกียรติจากนักวิทยาศาสตร์อาวุโสคนสำคัญ
ของไทย ผู้ที่ยังเต็มไปด้วยพลังแห่งการค้นคว้าวิจัย ศ.เกียรติคุณ
ดร.ปิยะรัตน์โกวิทตรพงศ์ สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ศาสตราจารย์
วิจัยดีเด่นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) อดีตหัวหน้า
ศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ จากสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล
มหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตหัวหน้าหน่วยวิจัยประสาทวิทยาศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์ปิยะรัตน์ยังคงสามารถอธิบายข้อค้นพบด้วยน้ำเสียงที่ตื่นเต้น
ราวกับได้คำตอบเมื่อวาน ทั้งๆ ที่อาจารย์ศึกษากลไกเมลาโทนินมานาน
ตลอดการเป็นนักวิทยาศาสตร์ โดยผลงานวิจัยโครงการ เมลาโทนินและ
ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อชราภาพของสมองและโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์
เป็นหนึ่งในผลงานวิจัยเด่นของ สกว. ประจำปี 2560 ซึ่งช่วยยืนยันว่า
งานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของไทยพร้อมตอบสนองวิกฤต
โลกด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ด้านประสาทวิทยาศาสตร์สู่ระดับสากล
อย่างภาคภูมิ







เมื่อสมองไม่ชอบฝืน
ธรรมชาติมักไม่ชอบการฝืนกฎเกณฑ์ โดยเฉพาะ ‘สมอง’ อวัยวะสุด
พิเศษของพวกเราที่คอยรับใช้ไม่หยุดหย่อน แต่เมื่อคุณเริ่มไม่ปฏิบัติ
ต่อสมองอย่างที่ควรจะเป็น สมองเองก็พร้อมนำเรื่องหนักใจมาให้
ในเวลาต่อมา (และไม่ต้องรอนาน) ด้วยภาวะสมองเสื่อม ‘อัลไซเมอร์’ (Alzheimer’s disease) โรคความจำบกพร่องที่มนุษย์หวั่นวิตก
มากที่สุด ซึ่งเป็นโรคที่ไม่มีใครอยากพบเจอ เพราะไม่มีอะไรเจ็บปวด
ไปกว่าการที่คุณค่อยๆ หลงลืมคนที่คุณรัก ประสบการณ์หวานขมที่เคย
ฝ่าฟันมา หรือแม้กระทั่งความทรงจำต่อตนเองที่ค่อยๆ ลบเลือนหายไป
โดยที่สมองคุณไม่สามารถรับใช้ความทรงจำเดิมได้อีก




คำถามที่ใครๆอยากได้ยิน “เราสามารถหยุดอัลไซเมอร์ได้ไหม?”
นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างพยายามหาทางพิชิตอัลไซเมอร์ด้วย
กระบวนการวิจัยต่างๆ จนเป็นวาระสำคัญระดับโลก แต่ส่วนใหญ่ไป
มองที่ปลายเหตุ นั่นคือสมองที่เสียหายแล้วจากโรคอัลไซเมอร์
เซลล์ประสาทถูกทำลายไปจำนวนมากโดยเฉพาะบริเวณที่มีอิทธิพล
ต่อความทรงจำ ทำให้เกิดความเสื่อมถอยทางด้านสติปัญญา
ความทรงจำความคิด การมีเหตุผล และยังทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถ
ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้

ทีมวิจัยไทยจึงต้องมองข้ามไปอีกสเต็ป โดยพบพยาธิสภาพของสมอง
มี แอมีลอยด์ พลาก (amyloid plaques) หรือการรวมตัวของโปรตีน
ที่ผิดปกติในสมอง ประกอบไปด้วย บีตาแอมีลอยด์ (beta amyloid)
ซึ่งเป็นโปรตีนที่บ่อนทำลายเซลล์ประสาทที่กินระยะเวลานานเป็น 10 ปี
ก่อนที่ภาวะความจำเสื่อมจะมาเยือนคุณด้วยซ้ำ และคนส่วนใหญ่
‘ไม่เคยรู้ตัว’ ว่ามันเกิดขึ้นในสมองของคุณแล้ว



ความลับของกลไกสมอง ‘เมลาโทนิน’



ย้อนไปสมัยที่ ศ.เกียรติคุณ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ เริ่มสนใจ
เรื่องประสาทวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ในช่วงปริญญาเอก ซึ่งขณะนั้นประสาท
วิทยาศาสตร์ (Neuroscience) ยังเป็นของใหม่แกะกล่อง ด้วยความ
ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยนั้นยังไม่สุกงอมเหมือนในปัจจุบัน การศึกษา
ส่วนใหญ่จึงเน้นไปที่การศึกษาเส้นประสาทต่างๆ ในสมอง อาจารย์ปิยะรัตน์
เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้บุกเบิกคนแรกๆ ในประเทศไทยที่สนใจกลไก
ของฮอร์โมน ‘เมลาโทนิน’ (melatonin) ฮอร์โมนที่สร้างมาจากต่อม
ไพเนียลที่อยู่ในบริเวณส่วนกลางของสมอง ซึ่งกลไกของเมลาโทนิน
ยังเป็นพื้นที่เร้นลับรอคอยการศึกษาอีกมาก

ด้วยความทุ่มเท อาจารย์จึงค้นพบว่า ‘เมลาโทนิน’ อาจเป็นหมัดเด็ด
ช่วยรักษาโรคสมองเสื่อมแบบอัลไซเมอร์ได้ ซึ่งองค์ความรู้นี้สามารถ
สร้างคุณภาพชีวิตให้กับผู้คน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่กำลังต่อสู้กับอาการ
หลงลืมอันน่าเจ็บปวด และช่วยเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับคนหนุ่มสาว
เพื่อเตรียมตัวสูงอายุแบบห่างไกลภาวะโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ก่อนที่
จะสายเกินไป



ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์ ‘สังคมผู้สูงอายุ’
(aging society) เป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อคนสามารถมี
อายุมากขึ้น แน่นอนที่โอกาส ‘สมองเสื่อม’ จะตามมา

– ศ.เกียรติคุณ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์



ศ.เกียรติคุณ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ :
ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับปรากฏการณ์ ‘สังคมผู้สูงอายุ‘
(aging society) เป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อคนสามารถมีอายุมากขึ้น
แน่นอนที่โอกาส ‘สมองเสื่อม’ จะตามมา ภาวะสมองเสื่อมสอดคล้อง
กับปริมาณเมลาโทนินในสมอง ที่ช่วงหนุ่มสาวพวกเรายังมีอยู่เยอะ
จากนั้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นปริมาณเมลาโทนินจะลดลงเรื่อยๆ
ในช่วงอายุ 60-70 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่มีรายงานอัตรา
ภาวะสมองเสื่อมมากที่สุด เวลาที่อาจารย์ไปคุยกับผู้สูงอายุ
ท่านอื่นๆ พวกเขาจะพูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่า “กลัวอัลไซเมอร์
มากที่สุด” ไม่อยากเป็นภาระให้กับครอบครัว เนื่องจากเดินทางเอง
ก็ไม่ได้ จำชื่อตัวเองไม่ได้ เรามักจะได้ยินประกาศตามหาผู้สูงอายุ
หายออกไปจากบ้านทางวิทยุบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นเรื่อง
สะท้อนใจที่เราต้องทำอะไรสักอย่าง






The MATTER : งานวิจัยของอาจารย์มองข้ามช็อตไปก่อนที่อัลไซเมอร์
จะเกิดขึ้นกับเราเป็น 10 ปี เกิดอะไรในสมอง ณ เวลานั้น

ศ.เกียรติคุณ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ : เราล้วนทราบว่าอัลไซเมอร์มี
ปัจจัยเกิดขึ้นที่สมอง สมองจะค่อยๆเสื่อมลงทีละจุดๆ กระบวนการนี้อาจ
กินเวลาเป็น 10 ปีก่อนแล้วด้วยซ้ำ มีทฤษฎีที่มาอธิบายปรากฏการณ์นี้
เยอะแยะไปหมด เช่น อนุมูลอิสระ การเกิดการอักเสบของสมอง
แต่ทีมวิจัยของพวกเราจับทฤษฏี เบตาอะมีลอยด์ (β-amyloid)
คือโปรตีนเป็นพิษที่ไปทำลายเซลล์ประสาทเซลล์แล้วเซลล์เล่า ซึ่ง
โปรตีนนี้เกิดขึ้นตามธรรมชาติในสมอง โปรตีนเบตาอะมีลอยด์
เป็นโปรตีนขนาดเล็กที่เกิดจากการย่อยสลายของโปรตีนขนาดใหญ่
ที่เรียกว่า อะไมลอยด์พรีเคอเซอร์โปรตีน (amyloid precursor protein)
ซึ่งถูกย่อยโดยเอนไซม์ที่ชื่อ เบต้าซีครีเทส (β secretase) และแกม
มาซีครีเทส (γ secretase)ตามลำดับ จนได้เป็นโปรตีนเบตาอะมีลอยด์
ซึ่งเป็นพิษต่อเซลล์ประสาท

สารพิษตัวนี้ร้ายมากนะ มันจะมุ่งไปฆ่าเซลล์ประสาทโดยรวมตัวกัน
เป็นกลุ่มที่เรียกว่า ‘พลาก’ (plaques) มีความเป็นพิษมากทีเดียว
เน้นทำลายเซลล์บริเวณที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการจดจำ




เบต้าอะมีลอยด์ (β-amyloid) เริ่มสะสมในสมองตั้งแต่ระยะแรกโดยที่
ยังไม่แสดงอาการ (ดาวสีเหลือง) (ดาวสีแดง = เมื่อสมองมีภาวะสูญเสีย
ความทรงจำแล้ว)



The MATTER : ทำไม ‘เมลาโทนิน’ ถึงมีแนวโน้มเชิงบวกสำหรับรักษา
โรคสมองเสื่อม

ศ.เกียรติคุณ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ : เมลาโทนินเป็นฮอร์โมนของ
มนุษย์ที่สร้างและหลั่งมาจากต่อมไพเนียล ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่ง
อยู่บริเวณกึ่งกลางสมอง เมลาโทนินมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สามารถยับยั้ง
และป้องกันโรคสมองเสื่อมจากการติดสารเสพติดอย่างแอมเฟตามีนที่มีผล
ต่อระบบประสาทส่วนกลางได้ ระดับเมลาโทนินของผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะต่ำ
กว่าผู้สูงอายุในวัยเดียวกัน และต่ำกว่าผู้สูงอายุที่มีความจำเสื่อมทั่วไป

ปกติระดับเมลาโทนินในน้ำไขสันหลังของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ลดลงก่อน
ที่จะแสดงอาการ ทำให้นักวิทยาศาสตร์หลายกลุ่มรายงานว่า ระดับของ
เมลาโทนินในน้ำไขสันหลังอาจเป็นตัวบ่งชี้การเกิดโรคอัลไซเมอร์ในช่วง
แรกๆ นอกจากจะพบเมลาโทนินระดับต่ำแล้วระดับของเมลาโทนินยังไม่
แสดงตามวัฏจักรประจำวัน ทำให้ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ไม่สามารถนอนหลับ
เหมือนคนปกติ

เราจึงจับเมลาโทนินขึ้นมาศึกษา จากข้อมูลที่ว่าผู้สูงอายุมีแนวโน้มฮอร์โมน
เมลาโทนินน้อยลง คณะวิจัยของพวกเราจึงเป็นกลุ่มแรกๆ ที่พบว่า เมลา
โทนินสามารถกระตุ้นการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ได้ ทั้งในเซลล์เพาะเลี้ยง
และในสมองสัตว์ทดลอง จึงเป็นที่คาดหวังว่าคนไข้อัลไซเมอร์ที่เซลล์
ประสาทถูกทำลายไป ถ้าได้รับเมลาโทนินจะช่วยให้บุคคลนั้นสามารถ
กระตุ้นให้สร้างเซลล์ประสาทใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายและปลอด
ภัยกว่าวิธีอื่นๆ



The MATTER : การทดลองของอาจารย์ที่ศึกษาในระดับสัตว์ทดลอง
ได้ผลน่าตื่นเต้นอย่างไรบ้าง

ศ.เกียรติคุณ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ : เราทำการทดลองในสัตว์ คือ
หนู (rat) เมื่อหนูมีอายุประมาณ 2 ปี เทียบเท่ากับผู้สูงอายุราว 60-70 ปี
เราจะเอาหนูมาทดสอบการเรียนรู้และความทรงจำ (cognitive training)
ให้หนูว่ายน้ำในอ่างเพื่อให้มันปีนเสาขึ้นมา ที่เรียกว่า Morris water maze
หนูแก่จะจำวิธีปีนเสาได้ช้ากว่าหนูรุ่นๆ



รูปอ้างอิง Morris water maze, ภาพจาก : Spandidos Publications

คราวนี้เราทดลองเอาเมลาโทนินไปผสมน้ำดื่มให้พวกหนูแก่กิน ปรากฏ
ว่าหนูแก่สามารถพัฒนาความจำได้ใกล้เคียงกับหนูหนุ่มสาวเลย มันเป็น
เรื่องที่น่าแปลกประหลาดมาก ต่อมาเราตัดชิ้นสมองหนูมาศึกษาดู พบสมอง
บริเวณ ‘ฮิปโปแคมปัส’ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ การจำ ซึ่งระดับเอนไซม์
เบต้าซีครีเทสลดน้อยลง

ผลออกมาเป็นแบบนี้ หนูมันโกหกพวกเราไม่ได้



การทดสอบหนูใน Morris water maze สีน้ำเงิน = หนูหนุ่มสาว,
สีแดง = หนูสูงอายุ, สีเขียว = หนูสูงอายุที่ได้รับเมลาโทนิน

เมลาโทนินเก่งอีกแบบ คือสามารถไปเพิ่ม neural stem cell ซึ่งจริงๆ
แล้วสมองมักไม่สร้างเซลล์ประสาทใหม่ขึ้นมาทดแทน ยกเว้นส่วนฮิปโป
แคมปัสส่วนเดียว ซึ่งถือเป็นโชคดีที่ส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และ
จดจำพอดี หนูที่เราให้กินน้ำที่มีเมลาโทนินจำนวนเซลล์เติบโตขึ้น ช่วยสร้าง
จำนวนเซลล์ประสาทที่หายไปมาทดแทนได้ดีทีเดียว เราจึงเป็นกลุ่ม
นักวิทยาศาสตร์แรกของโลกที่ค้นพบข้อเท็จจริงนี้ และได้ตีพิมพ์ในวาร
สารวิชาการ ระดับ impact factor มากกว่า 10 แห่งจนได้รับการยอมรับ
อย่างกว้างขวาง



The MATTER : อาจารย์เห็นเทรนด์พฤติกรรมที่น่าเป็นห่วงของ
คุณรุ่นใหม่เป็นอย่างไรบ้าง พวกเขากำลังจะเป็น ‘กลุ่มเสี่ยง’ ของโรคสมอง
เสื่อมอัลไซเมอร์ในอนาคตหรือไม่

ศ.เกียรติคุณ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ : เรื่องพฤติกรรมการกินของเรา
เป็นตัวร้ายทีเดียวที่นำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ คนรุ่นใหม่อยู่
กับอาหารแคลอรีสูง แทบยังไม่ต้องไปถึงระดับผู้สูงอายุเลยนะ ภาวะติด
น้ำตาล กินอาหารไขมันสูงที่มีอะไรต่อมิอะไรเยอะแยะ นำไปสู่โรคเบาหวาน
งานวิจัยของเราพบว่า โรคเบาหวานมีอิทธิพลนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อม
ได้เช่นกัน ซึ่งคนทั่วไปยังไม่ทราบ เราทดลองเอาหนูไปทำให้มันเป็น
เบาหวาน จากนั้นมาทดสอบความจำ ปรากฏว่าพวกมันความจำเสื่อม
เรียนรู้ช้า ฟังดูไม่น่าเชื่อเลย แต่ผลวิจัยมันชี้ชัดมาก งานชิ้นนี้เป็นของ
นักศึกษาปริญญาเอกที่ยังอยู่ในช่วงรอการตีพิมพ์ ซึ่งน่าจะช่วยให้คนรุ่น
ใหม่หันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น คนอายุน้อยๆ เดี๋ยวนี้เป็นเบาหวานกัน
เยอะมาก ทำงานหนัก เครียดเรื้อรัง จนพัฒนาไปสู่โรคซึมเศร้าด้วยอีก
และจากโรคซึมเศร้ายังพัฒนาต่อเนื่องเป็นโรคอัลไซเมอร์ในท้ายสุด
มันเป็นวัฏจักรราวกับวงจรอุบาทว์


The MATTER : ‘เมลาโทนิน’ ดูเป็นกลไกทางธรรมชาติที่ออกแบบมา
อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งมีอิทธิพลต่อการนอน อาจารย์มีความเห็นว่า คนรุ่น
ใหม่มีสุขภาวะการนอนที่เพียงพอแล้วหรือยัง

ศ.เกียรติคุณ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ : ถูกต้อง การนอนจำเป็นมาก
ที่เราควรรีบแก้ไข การนอนที่ดีจะมี cycle ของตัวมันเองอันเป็นธรรมชาติ
เราจะผ่อนคลาย หัวใจเต้นช้าลง เราก็จะสงบ อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลง
การนอนเป็นช่วงเวลาสำคัญที่สมองจะเก็บเกี่ยวการเรียนรู้ต่างๆ
ให้เป็นระบบระเบียบ เพราะฉะนั้นคนที่นอนเป็นระบบมักมีความทรงจำดี
ในช่วงเวลานี้สมองจะทำการเก็บกวาดขยะอย่างเบตาอะมีลอยด์
การนอนหลับหรือให้เมลาโทนินทดแทนมีส่วนช่วยกระตุ้นสร้างเซลล์
ประสาทใหม่ และซ่อมแซมเซลล์ประสาทที่ตายไประหว่างเป็นโรค
ลดเอ็นไซม์ที่สร้างสารที่เป็นพิษซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของ
สมองเสื่อมอีกด้วย

เด็กรุ่นใหม่ต้องนอนให้เป็นจังหวะ ไม่ใช่เกิดอยากนอนตอนไหนก็
ได้จนผิด cycle ของมัน เพราะ biological clock ในร่างกายของ
พวกเราถูกควบคุมโดยยีนอีกชุดหนึ่งซึ่งเราเรียกว่าเป็น clock genes
หรือว่าเป็นยีนที่ควบคุมเวลา clock genes นี้จะส่งเป็นกระแสประสาท
เข้าไปที่ต่อมไพเนียล สั่งให้ต่อมไพเนียลสร้างเมลาโทนินเป็นจังหวะ กลางคืน
ก็สร้างไป กลางวันหยุด ร่างกายเราอาศัยสมดุลเหล่านี้เป็นสำคัญ



The MATTER : อาจารย์คาดหวังว่างานวิจัยนี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลง
ในทางที่ดีอย่างไรในเชิงปฏิบัติ

ศ.เกียรติคุณ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ : ถ้าในอนาคตเราสามารถเปิด
กว้างให้วงการแพทย์ต่างๆ เปิดรับการบริโภคเมลาโทนินในผู้ป่วยเพิ่ม
มากขึ้น ก็คงสามารถช่วยคนไข้ได้เยอะ เมลาโทนินไม่ได้เป็นพิษอะไรเลย
เพราะมันสามารถที่จะกำจัดออกจากร่างกายได้หากมีเยอะเกินสมดุล

ดีกว่าการปลูกถ่าย (transplant) ที่ค่อนข้างไม่ปลอดภัย เมลาโทนินซื้อ
ทานได้ เพียงแต่ว่าอยู่เมืองไทยอาจหาไม่ค่อยได้ แต่ในอเมริกาเขามีขาย
เยอะแยะ หากรัฐบาลมีนโยบายเปิดรับ เราก็ยินดีสังเคราะห์ให้เลย เพราะ
แถวนี้มีนักเคมีเก่งๆ เยอะ ในกรณีเมืองไทย เราต้องค่อยๆ เริ่มให้สังคม
ได้รับรู้ รัฐบาลก็ไม่ควรมองทุกอย่างเป็นแง่ลบ เราต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน


The MATTER : แวดวงประสาทวิทยาศาสตร์มีความก้าวหน้าอยู่เสมอ
อาจารย์ยังรู้สึกสนุกกับงานที่ทำอยู่ไหม

ศ.เกียรติคุณ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ : จริงๆ ตัวอาจารย์เองก็ควรจะหยุด
ได้แล้วนะ แต่ก็ยังทำอยู่เนี่ย (หัวเราะ) เราได้พบอะไรใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
อย่างที่อเมริกามีการประชุม neuroscience คนมาประชุม 30,000–40,000
คน ไม่มีงานประชุมทางวิชาการไหนใหญ่เท่านี้อีกแล้ว

เราได้ค้นพบอะไรใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ ก็หวังว่าตรงนี้จะช่วยในการพัฒนาสุขภาพ
เตรียมแผนสุขภาพที่ดีให้แก่คนไทย และให้แก่คนทั่วโลกด้วย เพราะว่าขณะนี้
สังคมผู้ชรามีเยอะเหลือเกิน แล้วปัญหาที่จะตามมามากที่สุดคือ สมองเสื่อม
เพราะฉะนั้นก็คิดว่า การค้นพบของเราคงจะมีส่วนช่วยที่จะสามารถพัฒนา
เพื่อเตรียมแผนพัฒนาสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพของผู้สูงอายุให้
เขามีความสุขกับตัวเองอีกครั้ง




ศ.เกียรติคุณ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ และทีมวิจัย สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์


ขอขอบคุณ

ศ.เกียรติคุณ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์

สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

ข้อมูลจาก

https://thematter.co/byte/can-we-stop-alzheimer-before-it-too-late-melatonin-might-be-a-light-of-hope/53805


Illustration by Kodchakorn Thammachart
#AGING SOCIETY#ALZHEIMER#BRAIN#FEATURED#MELATONIN#NEUROSCIENCE#PROFESSOR


สาขา Health Blog


newyorknurse



Create Date : 22 มกราคม 2562
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2562 10:29:03 น. 17 comments
Counter : 1470 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณกะว่าก๋า, คุณSweet_pills, คุณlife for eat and travel, คุณสาวไกด์ใจซื่อ, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณKavanich96, คุณNior Heavens Five, คุณhaiku, คุณเริงฤดีนะ, คุณRinsa Yoyolive, คุณALDI, คุณสองแผ่นดิน


 
จขบ.เห็นว่าข้อมูลสุขภาพนี้
อาจจะมีเประโยชน์ต่อเพื่อนๆบล็อก
นำมาแบ่งปันค่ะ


โดย: newyorknurse วันที่: 31 มกราคม 2562 เวลา:20:35:24 น.  

 
โหวตครับพี่น้อย

โรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่ทำร้ายความรู้สึกจริงๆนะครับ
อยู่ดีดีก็ค่อยๆลืมว่าตัวเองเป็นใคร
คนที่เคยรักเป็นใคร

อย่างน้อยตอนนี้ก็หาวิธีเยียวยาให้ดีขึ้นได้บ้าง
ก็ได้แต่หวังว่าวิทยาศาสตร์และการแพทย์
จะหาวิธีรักษาให้หายขาดได้ในอนาคตนะครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 31 มกราคม 2562 เวลา:21:01:57 น.  

 
มันเป็นโรคที่เหมือนไม่มีอะไร แต่น่ากลัวนะ เป็นภัยเงียบที่น่ากลัวเลยแหละ

ที่ไปคุยผมฟังข่าวเห็นว่าที่ชิคาโก้ -53 องศาเลย น่ากลัวมาก มีคนหนาวตายแล้วด้วย


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 31 มกราคม 2562 เวลา:23:19:14 น.  

 
การกินและเวลานอนมีความสำคัญมากนะคะ
ข้อมูลเรื่องอัลไซเมอร์มีประโยชน์มากค่ะพี่น้อย
ผู้ป่วยอัลไซเมอร์น่าเห็นใจมาก
คนในครอบครัวหรือผู้ดูแลก็ต้องเข้าใจและดูแลจิตใจตนเองให้เข้มแข็งด้วยค่ะ
ขอบคุณพี่น้อยสำหรับกำลังใจนะคะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 31 มกราคม 2562 เวลา:23:45:42 น.  

 
โหวตเรียบร้อยค่ะ โรคนี้น่ากลัวจริงๆค่ะ มีคนรู้จักไกล้ชิดเป็นอยู่ไม่น่าเชื่อเลยจากหัวหน้างานระดับสูงสุดอยู่ดีๆก็เป็น น่าสงสารและเห็นใจมากค่ะ


โดย: life for eat and travel วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา:7:19:28 น.  

 
มี้เก๋ก็แอบกลัวค่ะ


โดย: kae+aoe วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา:9:29:21 น.  

 
ข้อนิ้วโป้งมือซ้ายอักเสบค่ะ คุณน้อย
ไม่ได้เพราะขุดดินแต่หมอลูกชายบอกว่า
เพราะปลายประสาทอักเสบ ได้ยาแล้ว
เริ่มดีขึ้นค่ะ ขอบคุณนะคะ



โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา:9:42:12 น.  

 
เท่ากับต้องหาซื้อจากต่างประเทศไปก่อน เมลาโทนินไม่มีในอาหารธรรมชาติเลยใช่ไหมคะนี่?

แล้วก่อนหน้าการวิจัยเรื่องนี้ เขากินเมลาโทนินกันเพื่ออะไรน้อ

ภาพดูไม่ได้สักภาพเลยค่ะ มันขึ้นเป็นรูปหมีหน้าบึ้งกับข้อความว่า

You should know, I stole this image from another site อะค่ะพี่น้อย

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Book Blog ดู Blog
life for eat and travel Travel Blog ดู Blog
JinnyTent Parenting Blog ดู Blog
Sweet_pills Review Food Blog ดู Blog
kae+aoe Parenting Blog ดู Blog
newyorknurse Health Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา:9:49:19 น.  

 
น่าจะต้องกินเมลาโทนินเผื่อๆไว้บ้าง



โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา:9:58:22 น.  

 
ขอบคุณที่แบ่งปัน


โดย: Kavanich96 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา:20:30:29 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับพี่น้อย



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา:20:57:49 น.  

 
สวัสดียามดึกครับคุณน้อย
เนื้อหามีประโยชน์มากเลยครับ
โหวตครับ


โดย: Nior Heavens Five วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา:23:03:11 น.  

 


สวัสดียามเช้าครับพี่น้อย

ดูภาพข่าวความหนาวเย็นที่อเมริกาแล้วน่าตกใจมากๆเลยครับ
เหมือนในหนังที่เคยดู
ปีนี้เย็นจัดมากจริงๆครับ




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา:6:30:45 น.  

 
เริ่มลืมแล้วค่ะ

ต้องฝึกนอนให้เป็น
เพื่อเสริมสร้างเซลสมองให้เพิ่มขึ้นบ้างแล้ว


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา:7:40:14 น.  

 
ขอบคุณสำหรับบทความดีดี ที่นำมาแบ่งปันกันค่า



โดย: Rinsa Yoyolive วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา:12:34:33 น.  

 
เมลาโทนิน ต้องสะกัดอย่างเดียวเหรอคะ
อาหารที่เรากินทุกวันมีไหมคะ
อัลไซเมอร์น่ากลัวจริง ๆ ค่ะ


โดย: ALDI วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา:21:28:46 น.  

 
น่าสนใจมากค่ะ คุณเป็นกันเยอะ ขอบคุณสำหรับเรื่องดีดี


โดย: sawkitty วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา:22:01:45 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

newyorknurse
Location :
ราชบุรี .. New York ... United States

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]






เริ่มเขียนBlog
เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2553

ยินดีต้อนรับค่ะ

จขบ.บันทึกประสบการณ์ต่างๆ
ระยะเวลาทำงานและระยะเกษียณ
เพื่อเก็บไว้เป็นความทรงจำ

จขบ.พยายามใช้ชีวิตเกษียณให้มีคุณค่า
รักษาสุขภาพใจและกาย ท่องเที่ยวกับเพื่อนๆ
ทำสวนดอกไม้ ออกกำลังกาย
สมัครเป็นสมาชิก 24 Hrs Fitness
เพื่อให้ชีวิตที่เหลืออยู่มีคุณภาพ
จะได้ไม่เป็นภาระกับคนที่รักและห่วงใย

จขบ.เพิ่มบล็อกสุขภาพ
เพื่อจะได้นำสาระที่มีประโยชน์
เกี่ยวกับสุขภาพทั่วๆไป

จขบ.หวังว่าข้อมูลต่างๆช่วยให้
ทุกท่านที่มาอ่าน รักษาสุขภาพ
ไปตรวจเพื่อเป็นการป้องกัน
และได้รับการรักษาเนิ่นๆ เพื่อ
ชีวิตที่แข็งแรงและมีคุณภาพ

"A time to enjoy,
a time to spend time with your family
and a time to be with your friends
all comes with retirement"


*****


"Live The Moment"

อยู่กับปัจจุบันขณะ หยุดเสียใจกับสิ่งที่เกิดขี้น
ในอดีตและกลัวหรือกังวล
สิ่งทีเกิดขี้นในอนาคต "วันนี้" และ "ขณะนี้"
คือช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคุณ !!
ใช้มันให้ดีที่สุดให้เป็นช่วงเวลาทีมีคุณค่า
น่าจดจำเพราะว่าเวลาเป็นสิ่งที่ผ่านมา
และผ่านเลยไป เอาคืนไม่ได้และ
หาเพิ่มก็ไม่ได้เช่นกัน

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาค่ะ


*********


ขอบคุณ Bloggang ทำให้เราได้เขียนบล็อกต่างๆ
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวด
ทุกๆคะแนน นะคะ

BG Popular Award # 19


BG Popular Award # 18


BG Popular Award # 17


BG Popular Award # 16


BG Popular Award # 15


BG Popular Award # 14


BG Popular Award # 13


BG Popular Award # 12


BG Popular Award # 11


BG Popular Award # 10


BG Popular Award # 9


BG Popular Award # 8

**********



ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2561
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ


ขอบคุณทุกหัวใจวาเลนไทน์ 2560
ที่เพื่อนๆมอบให้ค่ะ
Flag Counter
New Comments
Group Blog
 
<<
มกราคม 2562
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
22 มกราคม 2562
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add newyorknurse's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.