รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
22 กันยายน 2553
 
All Blogs
 
สัมมาสมาธิ คือ สมาธิที่เกื้อหนุนวิปัสสนา

จากเรื่องนี้นะครับ
เรื่องของ สมาธิ ภาค 2 -ลักษณะอาการความตั้งมั่นของสมาธิ
1. เรื่องมิจฉาสมาธิ
แนวการปฏิบัติหนึ่งๆ จะดูลม หรือพุทโธ
ที่ต้องอาศัย สมาธิแบบหวังผล สมถะ
จนกระทั่งได้ฌาน

ถาม :
1A- คุณนมสิการ ก็กล่าวว่า แม้ได้ฌานก็ยังเป็น
มิจฉาสมาธิอยู่ ใช่หรือป่าวครับ ถ้าเป็นปาท่องโก๋?

1B- แล้วการทำสมถะที่เป็น สัมมาสมาธิ มีใช่ไหมครับ
ขอคำแนะนำ ว่าทำอย่างไร แบบสั้นๆ และเข้าใจง่าย?
*****************************

เรื่องของ สมาธิ ภาค 1 -ลักษณะของสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิ
2. การรับรู้แบบสัมมา นั้น ขอให้ท่านสังเกต การรับรู้นี้จะเบา ๆ ไม่มีตำแหน่ง มันจะลอยๆ
รู้ว่ามีการรู้ แต่ไม่รู้ว่า อยู่ที่ไหน

ถาม :

- หากรู้แบบสัมมาดังกล่าว เราจะเรียกมันว่าอะไร
ระหว่าง สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผมยังสับสนอยู่

คุณนมสิการ ตอบตามสไตร์คุณเลยนะครับ
ผมจะลองปูพื้นของผมใหม่ : ) ขอบคุณครับ
โดย : หมีติดปีก วันที่: 22 กันยายน 2553 เวลา: 10:28:24

****************************
คำถามจากคุึณหมีติดปีก ที่ผมดูุแล้วน่าจะนำมาเขียนเป็นเรื่องให้ท่านอื่นได้อ่านกัน
ผมเชื่อว่า หลาย ๆ ท่านยังไ่ม่อาจเข้าใจในมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิที่ดีพอ

1.. มิจฉาสมาธิ คือ สมาธิที่ไม่เกื้อหนุน ต่อการเจริญวิัปัสสนา ส่วน สัมมาสมาธิ คือ สมาธิที่เกื้่อหนุน ต่อการเจริญวิปัสสนา

ในสมัยพุทธกาล พวกฤาษี โยคี ต่างก็เจริญ .มิจฉาสมาธิ.กันมากมาย แม้แต่
เจ้าชายสิทธัตถะก็ยังไปเรียนกับดาบส 2 ท่าน จนเจ้าชายปฏิบัติได้ถึงฌานที่8 อันเป็นฌานระดับสูงสุดของมิจฉาสมาธิ เมื่อเจ้าชายเรียนจบวิชาจากดาบสแล้ว เจ้าชายก็ทรงทราบว่า วิชาสมาธิแบบนี้
ไม่ใช่หนทางแห่งการหลุดพ้นจากทุกข์

ต่อเมื่อเจ้าชายได้ทรงค้นพบสัมมาสมาธิ แล้วเจริญสัมมาสมาธิจนได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงนำความรู้นี้มาสอนแก่พุทธบริษัทต่อมา

สมาธิทั้ง 2 นี้ไม่เหมือนกัน และ ต่างกันอย่างสุดขั้วในทิศทางตรงกันข้าม
ดังที่ผมเขียนไว้ใน เรื่องของ สมาธิ ภาค 1 -ลักษณะของสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิ

.....ผมตอบคำถามข้อ 1A ครับว่า ถ้าเป็นปลาท่องโก๋ ถึงแม้ได้ถึงฌาน ก็เป็นฌานแบบฤาษี
หรือ มิจฉาสมาธิ ครับ

2..ในการปฏิบัติจริง ๆ นั้น ไม่ว่า จะดูลมหายใจ เดินจงกรม เคลื่อนมือแบบหลวงพ่อเทียน
ปฏิบัติแบบ พอง-ยุบ หรือ บริกรรมพุทโธ จะเป็นไปได้ทั้ง มิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ
ถ้าผู้ปฏิบัติไม่เข้าใจในสัมมาสมาธิ การปฏิืบัติโดยมากจะเป็นมิจฉาสมาธิทันที เพราะคนโดยมากจะคุ้นเคยกับการยึดติด ใช้จิตจดจ่ออยู่กับการทำงานอยู่แล้ว

จุดที่ต่างกันระหว่างสมาธิทั้ง 2 แบบก็คือ มิจฉาสมาธิ นักภาวนาจะส่งจิตไปแนบแน่นชิดสนิทกับอารมณ์ของจิต ดุจดังปลาท่องโก๋ที่ติดสนิทกัน
ส่วน สัมมาสมาธิ นั้น นักภาวนาเพียงประคองความรู้สึกตัวไว้ แล้วให้จิตไปรับรู้ถึงอารมณ์ได้เอง


ท่านเห็นข้อแตกต่างไหมครับ ระหว่างวิธีฝึกฝนของสมาธิทั้ง 2 แบบ ถ้ามองไม่ออก
ผมแนะนำให้ท่านคิดพิจารณาให้ดีๆ

//// แนะนำการฝึกฝนสัมมาสติ สัมมาสมาธิแบบง่าย ๆ ////

ผมจะแนะนำวิธีฝึกสัมมาสติ สัมมาสมาธิแบบง่าย ๆ ให้ท่านลองดู ถ้าท่านยังไม่เข้าใจ มองไม่ออกแห่งสัมมาสมาธิ ขอให้ท่านลองดูจริง ๆ อย่าเพียงอ่านแล้วผ่านไป เพราะถ้าไม่ลองดูจนเห็นของจริง ก็จะไม่เข้าใจในสัมมาสมาธิเลย

ขอให้ท่านนั่งสบาย ๆ นั่งเก้าอี้ก็ได้ ขอให้เปิดพัดลมแต่ให้ส่ายไปมาแต่ลมสัมผัสผิวกายของท่าน
ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง อันเนืิ่องมาจากการส่ายของพัดลม ขอให้ท่านเปิดวิทยุ หรือ ทีวี ให้มีเสียงเบา ๆ ขอเพียงมีเสียงก็พอ ไม่ต้องดังมาก เพราะต้องการรู้ว่ามีเสียงเท่านั้น แ่ต่ไม่ต้องการรับรู้เรื่องราวของเสียงนั้นเลย

วิธีฝึก ขอให้ท่านลืมตา มองไปนอกหน้าต่าง มองไปไกล ๆ เ่ช่นท้องฟ้า แต่อย่าจ้องมองสิ่งใด
เพียงลืมตาขึ้นเฉย ๆ เท่านั้น ท่านจะเห็นว่า ถ้าท่านเพียงลืมตาขึ้นโดยไม่จ้องสิ่งใด
สายตาจะเห็นภาพเป็นมุมกว้าง ๆ จากนั้น ให้ท่านนั่งกอดอกธรรมดา สบาย ๆ

ทีนี้ขอให้เพียงรู้สึกตัวเท่านั้น ห้ามทำสิ่งใดอีก นั่งเฉย ๆ ไม่ต้องการอยากรู้อะไรเลย

ท่านจะเห็นได้ว่า

ตา ก็ยัีงมองเห็นภาพได้อย่างกว้่าง ๆ ได้อยู่ แต่ท่านไม่จ้องมองสิ่งใดเป็นพิเศษ
หู ท่านก็ได้ยินเสียงได้เบา ๆ อยู่ แต่ท่านไม่สนใจในความหมายของเสียงนั้น
ร่างกาย ก็รู้สึกได้ถึงลมจากพัดลมที่พัดมาโดนกายบ้าง ไม่โดนกายบ้าง
และท่านจะสัมผัสได้ถึงอาการกระเพื่อม กระเพื่อม สั่นไหว อันเนื่องมาจากการหายใจ

ท่านจะเห็นว่า การรับรู้ของท่านแบบนี้เป็นแบบสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ขอให้ท่านกลับไปดูภาพ สัมมาสมาธิ ที่ผมเขียนไว้ใน เรื่องของ สมาธิ ภาค 1 -ลักษณะของสัมมาสมาธิ มิจฉาสมาธิ

ถ้าท่านหมั่นฝึกฝนแบบที่ผมเขียนไว้บ่อย ๆ การรับรู้ของท่านนั้น จิตจะเริ่มตั้งมั่นทีละน้อย
ทีละน้อย ยิ่งฝึกมาก ยิ่งตั้งมั่นได้เร็วกว่า การฝึกน้อย ซึี่งขึ้นอยู่กับความขยันของท่านเอง

ที่นี้ คุณหมีติดปีก ถามเรื่อง การทำสมถะ แบบสัมมาสมาธิ
ผมขออธิบายให้เข้าใจก่อนครับว่า สิ่งที่ผมเขียนวิธีฝึกฝนข้างต้นนี้ ก็คือการทำสมถะแบบ
สัมมาสมาธิ ครับ เพราะว่า การฝึกฝนนั้น จะเป็นสมถะ แต่ถ้าจิตทีตั้งมั่นแล้ว จิตไปเห็นสภาวะธรรมได้เอง ตอนนั้น จึงจะเป็นวิปัสสนา

/////////// จบตัวอย่างการฝึกฝนสัมมาสติ สัมมาสมาธิ////

ทีนี้ผมจะเขียนการดูลมหายใจแบบมิจฉาสมาธิ ถ้าเผื่อว่า การเขียนเรื่องนี้ไปกระทบถึงการสอน
ของอาจารย์ท่านใด ผมก็ขออภัยต่ออาจารย์ท่านนั้นด้วยครับ เพราะการสอนแบบนี้ มีการกลาดเกลื่อนในประเทศไทย ถ้าผมไม่เขียนถึง ท่านก็อาจจะมองความแตกต่างไม่ออกระหว่าง การดูลมหายใจแบบมิจฉาสมาธิ และ แบบสัมมาสมาธิ

วิธีการดูลมมิจฉาสมาธิแบบนี้ เมื่ีอท่านนั่งแล้ว ให้ท่านส่งจิตไปจับลมที่ปลายจมูกเลยครับ
ท่านไม่ต้องไปสนใจอย่างอื่น สนใจแต่ลมที่ปลายจมูกอย่างเดียวเท่านั้น ถ้าจิตท่านแนบแน่นที่ปลายจมูกจริง ๆ จิตจะินิ่งติดที่ปลายจมูก

ท่านเห็นความแตกต่างไหมครับระหว่าง มิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ ทั้ง ๆ ที่ดูลมหายใจเหมือนกัน
แต่ต่างกัน ขอให้ท่านลองดูจริงๆ ทั้ง 2 แบบ ท่านจะเห็นความต่างได้ชัดเจนเอง


ถ้าการฝึกฝน ไม่ใช่แบบสัมมาสมาธิแต่กลับเป็นมิจฉาสมาธิ ถึงแม้จะได้ฌาน ได้ความสงบ
แต่ผู้ฝึกฝนจะไม่เห็นสภาวะธรรมของขันธ์ 5 ได้

นี่คือ ความแตกต่างระหว่างการฝึกฝนมิจฉาสมาธิและสัมมาสมาธิ

ถ้าคุณหมีติดปีก ทดลองฝึกตามวิธีที่ผมเขียนไว้สักระยะหนึ่ง คุณจะเข้าใจได้ว่า
อาการของสัมมาสมาธินี่เป็นอย่างไร แตกต่างจากมิจฉาสมาธิอย่างไร
เมื่อเข้าใจแล้ว คุณสามารถจะฝึกอะไรก็ได้ ในรูปแบบที่คุณต้องการและเป็นสัมมาสมาธิได้

....ผมตอบคำถามข้อ 1B แล้วครับ...


3.. ผมจะตอบคำถามคุณหมีติดปีกในข้อ 2 ครับ

คุณหมีสงสัยในชื่อว่า อย่างไร คือ สัมมาสติ อย่างไร คือ สัมมาสมาธิ

ึำ คำว่้า สัมมาสติ นั้นหมายความว่า อาการที่ จิต ไปจับอารมณ์ของจิตได้เองเนื่องด้วย
มีความรู้สึกตัวอยู่ จิตจะมีความสามารถของเขาอย่างนั้น อันเป็นธรรมชาติของจิตเอง

ในขณะที่ จิต ไปจับอารมณ์ได้เองนี้ในขณะหนึ่ง ๆ คือ สัมมาสติ
อย่างเช่นการฝึกฝนที่ผมเขียนไว้ในข้อ 2 ข้างบน ที่จิตไปรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ได้เองทั้งสิ้่น
โดยที่ในขณะฝึกฝนนั้น เพียงนั่งเฉย ๆ ไม่ต้องอยากรู้อะไรเลย แต่จิตก็รับรู้ได้เอง

เมื่อลมมาพัดโดนกาย ก็รู้สึกถึงได้ ในขณะนั้น สัมมาสติไประลึกรู้การสัมผัสที่เกิดขึ้นที่กายได้เอง
จากลมของพัดลม

เมื่อรู้สึกถึงอาการกระเพื่อม กระเพื่อม สั่นไหว อันเนื่องมาจากการหายใจ ในขณะนั้น
สัมมาสติ ไประลึกรู้การกระเพื่อม สั่นไหว ได้เอง

ถ้าการรับรู้ัสัมมาสติ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเมือจิตรับรู้อารมณ์แล้ว แต่จิตยังตั้งมั่นอยู่เช่นเดิม
ไม่ไหลไปจัีบยึดกับอารมณ์ทีั่จิตไปรู้เข้า อย่างนี้ จึงเป็นสัมมาสมาธิ ซึ่งก็คิือ อาการทีีจิตตั้งมั่น
ไม่ไหลไปจับยึดกับอารมณ์ที่จิตไปรู้เข้า

ส่วนมิจฉาสมาธิ ที่ผมยกตัวอย่างเรื่อง การส่งจิตไปรับรู้ลมที่ปลายจมูก ตอนรู้ลมจิตจะอยู่ทีปลายจมูก ทีนีเวลาเดินจงกรม มิจฉาสมาธิจะเป็นว่า ส่งจิตไปรับรู้การกระทบที่เท้า ซึ่งก็คือ จิตวิ่งไปอยู่ที่เท้าแล้ว ท่านจะเห็นว่า การฝึกแบบมิจฉาสมาธิ จิตจะวิ่งไป วิ่งมา ไม่ตั้งมั่นอยู่ในฐานของจิตเลย เดียวจิตไปอยู่ปลายจมูก เพื่อต้องการรู้ลม เดียววิ่งไปอยู่เท้า เพราะต้องการรู้การกระทบที่เท้า

ในขณะที่การนั่งดูลมแบบตัวอย่างการฝึกสัมมาสมาธิ จิตจะตั้งมั่นอยู่กับที่ เวลาลมจากพัดลมมาโดนกาย จิตก็ยังอยู่กับที่ เวลารู้สึกถึงการกระเพื่อม กระเพื่อม สั่นไหว อันมาจากการหายใจ จิตก็ยังอยู่ที่เดิม ตาก็มองเห็นได้ หูก็ได้ยินอยู่ แต่จิตก็ยังอยู่ที่เดิม ไม่วิ่งไปวิ่งมาแบบมิจฉาสมาธิ
และการรับรู้แบบลอย ๆ ไม่มีตำแหน่ง ก็จะสังเกตเห็นได้เอง ถ้าคุณหมีติดปีกได้ทดลองสัมมาสมาธิดูด้วยตนเอง






Create Date : 22 กันยายน 2553
Last Update : 29 มกราคม 2555 15:59:17 น. 14 comments
Counter : 1902 Pageviews.

 
ผมขอเพิ่มเติมครับ

การฝึกฝนที่ผมยกตัวอย่าง เรื่องลมหายใจ แบบสัมมาสมาธินั้น
การฝึกฝนนี้ เมื่อทำบ่อย ๆ จิตตัวรู้ เขาจะตั้งมั่นครับ

ท่านอาจมีคำถามว่า ทำไมต้องให้ จิตตัวรู้ มันตั้งมั่นด้วย

เมื่อ จิตปรุงแต่งเกิดกิเลสขึ้นมาเมื่อใด จิตตัวรู้ ที่ตั้งมั่้นนี้
จะไม่ไหลเข้าไปรวมกับ กิเลส ที่เกิดขึ้น

เมื่อ จิตตัวรู้ ตั้งมั่นไม่ไหลเข้าไปรวมกับกิเลสได้แล้ว กิเลส จะถูุกทำลายลงทันทีด้วยพลังแห่งสัมมาสมาธิ ครับ พอกิเลส ถููกทำลายลง ด้วยสัมมาสมาธิ จิตตัวรู้ เขาจะเห็น กิเลส นั้่นเกิดและดับลง เป็นไตรลักษณ์
จึงเกิดปัญญา เห็นความไม่เที่ยงของกองกิเลสต่าง ๆ ได้

แต่ถ้า จิตตัวรู้ ไม่ตั้งมั่น พอเกิดกิเลส ขึ้นมาเมื่อใด จิตตัวรู้ จะไหลเข้าไปรวมกับ กิเลส ที่เกิดขึ้น พอไหลเข้ารวมเท่านั้น กิเลส ก็จะเกิดอยู่นาน
และ ท่านก็จะกลายเป็นลูกน้องกิเลส ไปทันที ที่ทำอะไร ก็ถูกกิเลสครอบงำ
เป็นคนไร้สติ ในขณะที่กิเลสเข้าสิงสู่จิตใจท่านนั้น

นี่คือเหตุผลว่า ทำไมต้องฝึกให้เกิดสัมมาสมาธิ เพราะเหตุนี้ครับ

สรุปหลักการก็คือ ฝึกสัมมาสมาธิ ให้ จิตตัวรู้ ตั้งมั่น เพื่อไว้จัดการกับกิเลส เมื่อมันโผล่ขึ้นมานั้นเอง

แต่ถ้าเป็น มิจฉาสมาธิ การฝึกแบบนี้ ผู้่ฝึกกลับฝึกให้มีกิเลสโผล่ในจิตใจ
เป็นกิเลส ที่ต้องการรู้ลมที่จมููก ต้องการรู้กระทบที่เท้าขณะเดินจงกรม
เมื่อ เกิดกิเลส ขึ้น จิตที่เก่งในเรื่องไหลไปไหลมาอยู่แล้ว ก็จะไหลเข้าไปรวมกับกิเลสทันที ทำำให้ มิจฉาสมาธิ ไม่อาจจัดการกับกิเลสที่เกิดขึ้นได้เลย


โดย: นมสิการ วันที่: 22 กันยายน 2553 เวลา:16:16:25 น.  

 
สภาวะรู้สึก-สัมมาสมาธิ คล้ายๆจิตหดตัวลงแต่รับคลื่นกระทบทางรูป เสียง สัมผัส ทุกทาง ส่วนใหญ่ทางตา หู ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกไหมครับ


โดย: dorn IP: 180.183.174.19 วันที่: 22 กันยายน 2553 เวลา:17:23:53 น.  

 
ตอบ คุณ dorn

ที่ถามมี 2 เรื่อง คือ
1. จิตหดตัวลง หรือ ไม่
ถ้าจิตมีความอยาก จะหดตัวลง แต่ถ้าจิตไร้ความอยาก จะแผ่กว้างกระจายตัวออก

2..เรื่อง การรับรู้
สัมมาสมาธิ นั้น จุดสำคัญคือ ต้องรับรู้เอง อย่าไปจงใจรับรู้ เมื่อเป็นการรับรู้ได้เอง ก็สุดแล้วแต่ว่า จิตไปสัมผัสกับสิ่งใด ก็จะไปรับรู้สิ่งนั้น แต่โดยทั่ว ๆ ไป การรับรู้ ก็สามารถ รับรู้ได้ทุกทวาร
ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิตใจ
แต่ทว่า... บางครั้ง นักภาวนาบางคน ก็มองตนเองไม่ออก
คิดว่า เป็นการรับรู้เองที่ไร้ความอยาก แต่บางคนก็ยังเจือด้วยกิเลสที่ต้องการรับรู้บางอย่าง ทำให้การรับรู้ยัีงไม่เป็นกลาง

ที่คุณ dorn รับรู้ทางตา หู มาก ก็เป็นของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 22 กันยายน 2553 เวลา:17:57:56 น.  

 

ขอบคุณครับ

มิจฉาสมาธินี่ พอเห็นภาพได้ชัดเจนครับว่า
อาการจะเป็นอย่างไร
สงบแบบ ลอยๆ (เป็นปัจจัตตัง อันนี้ทราบจริงๆครับ)

แต่ สัมมาสมาธินี่ ความรู้สึกยังไม่เด่นชัด
ถึงขนาดบอกได้ว่า เมื่อกี๊สัมมาสมาธินะ
คงเพราะ มันมาได้ไม่ต่อเนื่อง เป็นขณะๆ
มาๆ หายๆ ทำนองนี้ ที่ผมรู้สึกนะครับ




อาจารย์ในเมืองไทย เก่งๆ มีมาก
แต่อาจารย์ที่จะตอบคำถาม ผู้ถามให้เข้าใจ
และเสียสละมีเวลาให้ มีน้อยนัก

ขอบคุณอีกครั้งครับ คุณนมสิการ


โดย: หมีติดปีก IP: 118.172.38.255 วันที่: 24 กันยายน 2553 เวลา:13:11:13 น.  

 
อาจารย์คะ การที่มันรู้สึกตัวเองโดยที่เราไม่ได้จงใจให้เกิด มันเกิดรู้สึกเอง มันจะเป็นการรับรู้แบบลอยๆหรือไม่คะ ไม่ค่อยแน่ใจคำว่ารู้แบบลอยๆค่ะ ขอบคุณค่ะ


โดย: จิตติ IP: 124.122.47.103 วันที่: 24 กันยายน 2553 เวลา:14:02:20 น.  

 
ตอบคุณ หมีติดปีก

เรื่องของสัมมาสมาธินี้ ถ้าจะว่าง่าย ๆ ก็คือ เพียงรู้สึกตัวที่เป็นธรรมชาติ
ไม่ต้องมีความอยากรู้ อยากเห็น อะไรในจิตใจเลย
เมื่อคนอยู่ในอาการเช่นนี้แล้ว จิต เขาจะทำงานของเขาเองทั้งสิ้น
คือ ตาก็เห็นได้ หูก็ได้ยินได้ กายก็รู้สึกได้(เช่นโดนลมมากระทบกาย)
จิตใจก็สบาย ๆ ไม่มีอะไร

การที่เราดำรงค์อยู่ในสภาวะเช่นนี้ ก็เพราะว่า จะให้ จิตตัวรู้ นี้มันทำงาน
ทันทีโดยไปเห็น ความคิด หรือ กิเลส มันโผล่ออกมาครับ

การเห็น ความคิด หรือ กิเลส นี้แหละครับ พอเห็นไปบ่อย ๆ มันจะเก่งขึ้น จนในทีสุด ก็เห็นทันตอนที่ ความคิดหรือกิเลส กำลังโผล่หัวออกมาได้ การเห็นตอนนี้ คือ เห็นแดนเกิดของอวิชชา ซึ่งเป็นปัญญาที่ยิ่งใหญ่และสำัคัญมากของนักภาวนา เมื่อนักภาวนาเห็นแดนเกิดได้เมื่อไร อีกไม่นาน แดนเกิดก็จะถูกทำลายลงไปเอง


โดย: นมสิการ วันที่: 24 กันยายน 2553 เวลา:16:48:32 น.  

 
ตอบ คุณจิตติ

การรู้สึกตัว แล้วรับรู้อาการทางกาย ทางจิต เป็นลอย ๆ นั้น
เกิดขึ้นจากที่นักภาวนา รู้สึกตัว และไม่มีความอยากรู้อะไรอยู่เป็นสิ่งสำคัญอย่างแรกสุด

แต่ปัญหามันอยู่ตรงนี้ครับ เจ้าตัณหา หรือ แรงยึดเกาะนี้ครับ
พอนัำกภาวนาที่กำลังจิตอ่อนมาก ๆ พอไปรับรู้อาการทางกายและทางจิต
แล้ว จิตมันจะวิ่งไปจับจุดที่รับความรู้สึกทันที ทำให้ไม่ลอย ๆ ครับ

นักภาวนาจึงต้องฝึกก่อน เพราะละลานตัณหาให้เบาบางลงก่อน
ซึ่งวิธีฝึกเพื่อละลายตัณหาในคนใหม่ๆ สมควรใช้ฐานกาย
เช่น การรู้การสัมผัสต่าง ๆ ดังที่ผมเขียนไว้ใน https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=08-2010&date=27&group=8&gblog=108

เพราะเหตุที่ว่า การรับรู้ทางฐานกายนั้น ตัณหามันจะไม่ค่อยออกฤทธิ์ ครับ ทำให้นักภาวนาสามารถสร้างกำลังสัมมาสติขึ้นได้จากฐานกายนี้
เมื่อกำลังสัมมาสติเพิ่มขึ้น ตัณหาจะเบาบางลง เป็นปฏิภาคผกผัน กัน
เมื่อตัณหาเบาบางลงได้ นักภาวนาก็จะรู้สึกได้ถึง สภาวะแห่งการรับรู้ที่ลอย ๆ ได้เอง เมื่อจิตใจไม่มีความอยากที่จะรู้ และกำลังมีความรู้สึกตัวอยู่



โดย: นมสิการ วันที่: 24 กันยายน 2553 เวลา:16:57:50 น.  

 
แจ่มจริงๆ ค่ะ

เขียนได้เข้าใจแจ่มแจ้ง..

สาธุ สาธุ สาธุค่ะ


โดย: ธัมมทีโป IP: 180.183.47.72 วันที่: 25 กันยายน 2553 เวลา:20:44:11 น.  

 
ขออนุโมทนาด้วยค่ะ คอยติดตามอ่านเรื่อยๆ นะคะ


โดย: เบญญาภา IP: 75.79.135.218 วันที่: 26 กันยายน 2553 เวลา:21:10:19 น.  

 
ถ้าเกิดนิวรณ์ที่เรียกว่า ความฟุ่งซ่านรำคาญใจขณะปฏิบัติเพราะจงใจหรือหวังผลในการปฏิบัติจะทำอย่างไรดีครับ จะทนรู้สึกกายไปเรื่อยๆหรือว่าต้องระงับมันก่อน


โดย: viroot วันที่: 26 กันยายน 2553 เวลา:22:12:11 น.  

 
ตอบ คุณ viroot

เรื่อง นิวรณ์ ที่เกิดขี้นในจิตใจ มีเงื่อนไขดังนี้ครับ

1...นักภาวนา .เ็ห็น. นิวรณ์นั้นได้หรือยัง
ถ้า เห็น ได้แล้ว จะหยุดมันก็ได้ หรือ ไม่หยุดก็ได้ ไม่สำคัญ
แต่ถ้ารู้สึกรำคาญ ก็หยุดมันเสีย ถ้าไม่รำคาญ ก็ปล่อยมันไป
มันจะเหมือนกับเสียงรถยนต์ในท้องถนน ที่เราได้ยินแต่ก็เฉย ๆ ได้

2.. ถ้านักภาวนา .ยังไม่เห็นมัน. เพียงรู้ว่า มันมีเข้ามา
อย่างนี้ ให้หยุดมันครับ อย่าปล่อยไว้ วิธีหยุดมัน
ก็ตั้งใจในการฝึกมากขึ้นสักหน่อย มันก็หายไปแล้ว พอมันหายไป ก็มาฝึกแบบสบาย ๆ เหมือนเดิม หรือ จะจงใจรู้กายมากขี้นก็ได้เช่นกัน
คือ ตั้งใจรู้การสัมผัสที่กายมากขึ้นอีกนิด


โดย: นมสิการ วันที่: 26 กันยายน 2553 เวลา:23:08:02 น.  

 
ความแตกต่างระหว่างสมาธิ สมายิกะ กับ วิปัสสนาสมายานิกะ
เป็นยังไงขอความหมายที


โดย: รักษ์ IP: 110.49.193.20 วันที่: 1 ตุลาคม 2553 เวลา:16:03:52 น.  

 
ผมจะว่าตามตำราที่มีเขียนไว้ ผิดถูกอย่างไรก็ฝากไว้พิจารณา

สมาธิแบบสมถะยานิก คือ การปฏิบัติที่ทำสมาธิให้ได้ถึงระดับความตั้งมั่นตั้งแต่อุปจารสมาธิ ขึ้นไปเสียก่อน แล้วจึงจะมาเจริญวิปัสสนาภายหลัง
อย่างสายที่ทำแบบนี้ ก็คือ สายบริกรรมพุทโธ ทีใช้กันในวัดป่าเป็นส่วนมาก

สมาธิแบบวิปัสสนายานิก คือ การปฏิบัติสมาธิที่เป็นเพียงขณิกสมาธิ
แต่จิตไร้นิวรณ์ จึงสามารถใช้จิตขณะที่เป็นขณิกสมาธิ เจริญวิปัสสนาได้

ที่ผมเขียนใน blog นี้ก็เป็นแบบวิปัสสนายานิก
แต่การทำวิปัสสนายานิกนั้น เมื่อผู้ภาวนาฝึกไปมาก ๆ เข้าสามารถเจริญได้ถึงระดับฌานได้เช่นเดียวกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 1 ตุลาคม 2553 เวลา:17:02:44 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท
ที่อาจมีสิ่งผิดกฏหมายใส่เข้ามาใน blog

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 29 มกราคม 2555 เวลา:16:22:43 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.