รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
9 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 
เคร็ดวิชาการภาวนาแบบหลวงพ่อเทียน

เคร็ดวิชาการภาวนาแบบหลวงพ่อเทียน

หลวงพ่อท่านให้เคร็ดวิชาไว้ 2 อย่าง แต่ถ้าคนไม่สังเกตก็อาจจะมองข้ามไป และ ที่ผมเห็นในตอนนี้ นักภาวนาก็มีการข้ามไปแล้วเป็นจำนวนมากแล้ว ผมจึงนำมาจุดประเด็นไว้ในห้องคนเพียรนี้ให้ท่านพิจารณา

เคร็ดวิชาหลวงพ่อข้อที่ 1...ขยับมือไปเป็นจังหวะด้วยความรู้สึกตัว แล้ว **ให้รู้สึก** ที่เบา ๆ

ผมเน้นให้ท่านเห็นคำว่า *ให้รู้สึก* ท่านสามรถไปดูภาพหลวงพ่อเทียนได้ที่วัดสนามใน จะมีคำนี้อยู่ในภาพทุกจังหวะการขยับมือ การภาวนาแบบหลวงพ่อเทียน ไม่ใช่แค่รู้สึกตัว แต่ต้อง รู้สึกตัว และ *ให้รู้สึก* อีกด้วย

หมายเหตุ ให้รู้สึก นี้ ไม่ใช่ส่งจิตไปจ้อง เพียงแต่รู้สึกถึงได้ ดังตัวอย่างเช่น ถ้าท่านกำลังนั่งยกมือยก แล้วเกิดลมเย็นมากระทบกาย ท่านรู้สึกถึงลมที่มากระทบได้ใช่ใหมโดยไม่จ้องว่ามีลมมากระทบ 

เคร็ดวิชาหลวงพ่อเทียนข้อที่ 2.. ทำเป็นจังหวะ เคลื่อน-หยุด เคลื่อน-หยุด ไม่ใช่ทำเคลื่อนติดต่อกันไปโดยไม่หยุดเลย

ในขณะที่นักภาวนาทำการเคลื่อนแล้วหยุด เคลื่อนแล้วหยุด จะมีความรู้สึกที่เกิดขึ้นคือ เมือเคลื่อน จะมีความรุ้สึกถึงการเคลื่อน การไหว เกิดขึ้น หรือ การสัมผัสในจังหวะที่ลูบลำตัวอยู่ ความรู้สึกเหล่านี้ นักภาวนาจะ**รู้สึกถึงได้** นี่คือ การรู้ความรู้สึกในเคร็ดข้อที่ 1

ถ้าท่านนักภาวนาใช้ความสังเกตอย่างสบาย ๆ ไม่เพ่งจ้อง นักภาวนาจะพบว่า ในจังหวะที่เริ่มเคลื่อน นักภาวนาบางคนจะสามารถรับรู้ถึงอาการที่เผลอไปนิดหนึ่งได้เมื่อเริ่มเคลื่อน เป็นการเผลอสั่น ๆ เพราะในขณะที่เริ่มเคลื่อน จะมีความคิดเกิดขึ้นเบาๆ ที่สั่งให้มีการเคลื่อนนั้น ๆ
นักภาวนาไม่ต้องไปเครียดกับการเผลอสั้นๆ นี้ ถ้านักภาวนาสามารถสังเกตมันได้ ก็เป็นสิ่งที่ดีครับ

ในการภาวนาแบบเป็นจังหวะหยุดแล้วเคลื่อน นั้น ประโยชน์ที่ได้จะมีดังนี้

1.การหยุดแล้วเคลื่อน จะทำให้การเผลอแบบใจลอย (หรือ เพลินไป ) ลดน้อยลงกว่าการเคลื่อนติดต่อกันโดยไม่หยุด

2.การหยุดแล้วกำลังจะเคลื่อน มีสภาวะธรรมเบา ๆ เช่นอาการเผลอสั้น ๆ นิดหนึ่งที่เป็นสภาวะธรรมให้นักภาวนาได้สังเกตได้ การสังเกตสภาวะธรรมแบบนี้ จะช่วยเพิ่มกำลังแห่งสัมมาสติให้แก่นักภาวนา

3.การเคลื่อนหยุดแบบนี้ จะเป็นตัวเสริมให้เกิดความคิดทีไม่ตั้งใจคิดผุดขึ้นมา ซึ่งความคิดที่ไม่ตั้งใจคิดที่ผุดมานี้ พอมันมา ให้สลัดมันทิ้งไป แล้วล่อให้มันเกิดใหม่อีก แล้วก็สลัดทิ้งไปอีก ให้เป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ การทีความคิดที่ไม่ตั้งใจคิดผุดออกมาเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่ดี ที่จะช่วยให้ในการพัฒนากำลังสัมมาสติให้แน่นมากขึ้น ขอให้ทำความเข้าใจให้ตรงที่ว่า ความคิดผุดนี้ไม่ใช่ของไม่ดี ที่ไม่สมควรจะเกิด

เพราะเรากำลังเจริญสติ เราไม่ได้ทำความสงบแบบฌาน ดังนั้น ความคิดยิ่งผุด ก็ยิ่งดี เพียงแต่นักภาวนาเข้าใจการภาวนาให้ตรงตามที่หลวงพ่อท่านสอนไว้ที่ว่า พอความคิดผุด ก็ให้สลัดทิ้งไป ก็เพียงเท่านี้ อย่าไปอารมณ์เสีย หงุดหงิดกับความคิดผุด เพราะนี่คือสภาวะธรรมที่เป็นของดีทั้งนั้น ที่ช่วยในการพัฒนากำลังสัมมาสติครับ

****

คำว่า ให้รู้สึก ที่ผมเขียนไว้ในข้อ 1 ของเคร็ดวิฃานั้น นี่สำหรับมือใหม่ที่เข้ามาภาวนาที่เป็นการรู้ความรู้สึกที่กาย แต่ถ้านักภาวนามือเก่าสามารถรับรู้ความรู้สึกของจิตใจได้ ที่มันเบา ๆ สบายๆ ได้ ก็ให้รู้สึกถึงความรู้สึกนี้ ความรู้สึกของจิตใจที่สามารถรู้สึกถีงได้ นอกจากจะทำให้นักภาวนารู้สึกถึงสภาวะแห่งความสงบเย็นภายในจิตใจแล้ว แต่นักภาวนายังสามารถรู้สึกถึงความรู้สึกที่กายดังที่ผมเขียนไว้ในข้อ 1 พร้อมกันไปด้วยเช่นกัน แต่สำหรับนนักภาวนามือใหม่ ทียังรู้สึกถึงความสงบของจิตใจไม่ได้ ก็รู้สึกที่กายไปก่อนครับ 

ผมขอเน้นย้ำ *ให้รู้สึก* ที่ว่า ให้เพียงรู้สึกถึงได้ ทีไม่ใช่เป็นการจ้อง ไม่ใช่เป็นการคิดถึง ไม่ใช่การส่งจิตไปจับบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่ต้องการจะรู้สภาวะธรรม ถ้านักภาวนาได้เข้าใจคำว่า ให้รู้สึก ได้ตรงแล้ว ท่านจะภาวนาได้ก้าวหน้าได้ผลที่เร็วกว่า



Create Date : 09 มิถุนายน 2555
Last Update : 9 มิถุนายน 2555 9:14:07 น. 0 comments
Counter : 2784 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.