ความสดใสยุค '80s การ์ตูน Happy Days (วาดฝันที่เมืองมะกัน) :Yoshida Mayumi
เพิ่งได้มาอ่านผลงานของ อ.โยชิดะ มายูมิ เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ชื่อนี้นักอ่านการ์ตูน '80 '90 หลายคนอาจคุ้นชื่ออาจารย์เป็นอย่างดี แต่เราเองเริ่มจากการ์ตูนเล่มเดียวจบเรื่อง “แล้วฉันก็เลือกที่จะเสี่ยง” (สยามสปอร์ต-ไพเรท) พออ่านจบก็ ว๊าว! ปิ๊งเลย ด้วยลายเส้นที่ดูมีสไตล์ มีกลิ่นอายตะวันตก การจัดวางช่องการ์ตูนที่ให้อารมณ์สตอรี่บอร์ด ผนวกกับเนื้อเรื่องที่กินใจ สะท้อนอารมณ์ของตัวละคร ชีวิตและสภาพสังคมได้ดีเยี่ยม สิ่งเหล่านี้เป็นจุดขายที่ชวนให้รู้สึกเหมือนได้ชมภาพยนตร์ดีดีเรื่องหนึ่งทีเดียว และเมื่อได้อ่านเรื่อง Happy Days วาดฝันที่เมืองมะกัน นี้ก็ทำให้เรารู้สึกประทับในผลงานอาจารย์เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เอาล่ะเข้าเรื่องกัน.. (โครงการรีวิวการ์ตูนเก่าที่เรารัก >>> Happy Days : Yoshida Mayumi)
เรื่องย่อ โคงูเระ ฮิโตมิ แพ็คกระเป๋าสู่อเมริกา ประเทศที่พ่อผู้ให้กำเนิดของเธอ (ซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่น) เคยใช้ชีวิตที่นั่นจนถึงวาระสุดท้าย ความทรงจำเรื่องพ่อช่างเจือจางนัก เพราะท่านจากไปตั้งแต่เธอยังอายุไม่เต็ม2ขวบ ทันทีที่ไปถึงเธอก็ต้องพบกับเหตุไม่คาดฝัน เมื่อมิสซิสวัตสัน โฮสต์แฟมิลี่ที่เธอติดต่อจะไปพักด้วย ได้เสียชีวิตลงด้วยโรคหัวใจก่อนหน้าเธอมาถึงเพียงวันเดียว กว่าเธอจะอธิบายเรื่องราวของตัวเองและเจตจำนงที่เดินทางมา ให้ญาติผู้เสียชีวิตเข้าใจนั้น ก็แทบลากเลือดเลยทีเดียว
ในที่สุดเธอตัดสินใจเลือกมาอยู่หอพักที่เรย์มอนด์ คอลเลจ เพื่อใช้ชีวิตในอีก 6 เดือนในเมืองนี้ และที่นี่เธอได้รับมิตรภาพจากเพื่อนๆ ในหอพัก ไม่ว่าจะเป็น สาวคาสโนวี่เด็บบี้ แอนเน็ตเพื่อนสาวเลสเบี้ยน โทโกะเพื่อนสาวร่วมบ้านเกิด แถมที่นั่นยังมีหนุ่มไว้ให้ฮีลหัวใจอีกด้วย(ฮิโตมิบนบัตรโทรศัพท์ cr. ภาพ : google)
ใครสักคนเคยบอกว่า “ชีวิตของเรานั้นถูกเบื้องบนลิขิตไว้แล้ว” จะใช้ได้กับชีวิตของฮิโตมิมั้ยนะ สาเหตุที่เธอตัดสินใจมาอเมริกานี้ ไม่ใช่แค่มาตามรอยชีวิตวัยหนุ่มของพ่อเท่านั้น แต่เพราะเธอรู้ว่าตัวเองไม่ใช่ลูกในไส้ของครอบครัวที่เลี้ยงดูจนเธอเติบโตมา คุณพ่อที่เลี้ยงเธอมาก็คือคุณลุงแท้ๆ ของเธอนั่นแหละ และถึงแม้ทุกคนในบ้านจะรักเธอเสมือนพี่น้องท้องเดียวกันเพียงไร แต่ฮิโตมิก็อยากยืนด้วยลำแข้งตนเอง เธอเองก็ไม่ได้ตัดขาดแต่ขอเลือกที่จะเริ่มรีเซ็ทชีวิตใหม่ที่บ้านเกิดของพ่อ และโชคชะตาก็พาให้เธอได้เปิดโลกใหม่ที่เกินความคาดหมาย... . .
วาดฝันที่เมืองมะกัน หรือ Happy days ผลงานในปี1988 ของ อ.มายูมิ โยชิดะ ซึ่งในช่วงนั้นถือเป็นยุคที่วัฒนธรรมอเมริกันเข้ามามีอิทธิพลในงานการ์ตูนญี่ปุ่นอย่างมากมาย มีกิมมิคหนึ่งที่ผู้เขียนน่าจะตั้งใจให้เป็นความพิเศษของการ์ตูนเรื่องนี้ คือ “ภาพหน้าเปิด” ในแต่ละตอน ที่หยิบไอเดียจากใบปิดภาพยนตร์ หรือช็อตภาพจำของเรื่องนั้นๆ มาแซว หากใครเป็นคอหนังมาเห็นเข้าคงร้องอ๋อทีเดียว แอบเสียดายนิดนึงที่เวอร์ชั่นไทยหั่นหน้าไตเติ้ลบางตอนออกไป จึงไม่ครบเหมือนต้นฉบับ จึงถือโอกาสนี้นำบางส่วนมาให้ชมกันด้วย หมายเหตุ : ชื่อไตเติ้ลคัดลอกจากต้นฉบับญี่ปุ่นSCENE 2 ドミトリーの鍵あげます I'll give you the dormitory key หอพักยอดวุ่น ไตเติ้ล The Apartment (1960)
SCENE 3 君たちに明日はある You guys have tomorrow เพื่อนใหม่ ไตเติ้ล Bonnie and Clyde (1967)
SCENE 6 バック・トゥ・ザ・パパ Back to the Daddy นี่แหละพ่อของฉัน Back to the Future (1985)
SCENE 9 トップレディーはベッドシーンがお好き Top ladies like the bed scene อัจฉริยะหญิงผู้เซ็กซี่ มากับ Baby Boom (1987)
SCENE 10 スリーメン&レディー Sleemen & Lady บุษบาเสี่ยงรัก ไตเติ้ลจาก Three Men and A Baby (1987)
(cr. ภาพ : เวป mercari)อีกประเด็นหนึ่งที่ขอหยิบมาพูดถึงในมุมมองความเห็นส่วนตัว คือเรื่องของภาพปกการ์ตูน ซึ่งปกการ์ตูนเวอร์ชั่นต้นฉบับ (ปกเหลืองนั่นแหละ) ส่วนตัวคิดว่าถ้าเวอร์ชั่นไทยในยุคนั้น (1988) ใช้รูปตามต้นฉบับขึ้นปกคงขายยากเอาการ เพราะ หนึ่ง เพราะการ์ตูนกับคนญี่ปุ่นได้เชื่อมโยงกันเป็นเวลานาน(มากกว่าเรา) และแทรกซึมในทั้งเด็กและผู้ใหญ่ การตัดสินใจซื้ออาจขึ้นอยู่กับชื่อของนักเขียนมาเป็นอันดับแรก สอง ดูทรงแล้ว อ. โยชิดะ มายูมิ ก็ดูจะเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงพอสมควร และมีผลงานออกมาต่อเนื่องมากมายในช่วงนั้น สาม ญี่ปุ่นเปิดรับเรื่องศิลปะกว้างกว่าบ้านเรา (ในขณะนั้น) ที่คิดแบบนี้เพราะเคยได้เห็นการ์ตูนอีกหลายเรื่อง ที่ปกต้นฉบับทำออกมาได้อาร์ตเอาเรื่อง ไม่ว่าภาพหรือการจัดองค์ประกอบ ชนิดที่ว่าเอาเรื่องความสวยหล่อของตัวการ์ตูนเป็นรองไปเลย เมื่อเทียบกับเวอร์ชั่นไทยในรุ่นนั้น ซึ่งนิยมปกที่ห่วงสวยเพื่อให้ขายได้ แหม ผู้ซื้ออย่างเราก็ด้วยแหละ ถ้าเค้าทำปกไม่สวยมาขาย เราจะซื้อเหรอ จริงมั้ยล่ะ! แต่ปัจจุบันเห็นได้ว่านักอ่านชาวไทยและสำนักพิมพ์ในบ้านเราเปิดรับในเรื่องนี้ได้มากขึ้นมาก ตามที่สังเกตจากการ์ตูนที่บ้านเราซื้อลิขสิทธิ์มาจำหน่าย
SCENE 11 ミスターグッドマン Mr. Goodman คุณสุภาพบุรุษ มาพร้อมไตเติ้ล Soulman (1986)
SCENE 12 危険な事情 Dangerous circumstances อุบัติเหตุรัก Fatal Attraction (1987)
SCENE 13 ビバリーヒルズキッス Beverly Hills Kiss เสน่ห์เบฟเวอรี่ฮิลล์ Baverly Hills Cop (1984)
และ LAST SCENE また逢う日はバラ色に The day we meet again will be rosy รอวันพบกันใหม่ กับไตเติ้ลหนัง The Secret of My Success (1987)
Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2564 |
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2564 12:14:20 น. |
|
39 comments
|
Counter : 1409 Pageviews. |
|
|
มาดูรีวิวการ์ตูนของ อ.โยชิดะ มายูมิ ด้วยครับ
ชอบครับ ลายเส้นคล้ายการ์ตูนฝรั่งนะครับ
ไว้ผมมาอ่านอีกครั้งนะครับ