space
space
space
<<
เมษายน 2561
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
space
space
3 เมษายน 2561
space
space
space

Epson L365 and DURABrite ink


ใส่หมึกอื่นน่ะเหรอ

คิดอยู่นานเหมือนกันว่าจะทำดีไหม เพราะใจจริงก็ไม่ชอบทำนอกคอก อยากทำตามที่ผู้ผลิตเค๊าแนะนำ เบื่อถ้ามีปัญหาตามมา แต่หลังจาก นั่งคิดอยู่หลายตลบ  คงรับ dye ink ไม่ได้จริง ๆ ต้องการ pigment ink เท่านั้น  เครื่องสำนักงานระดับไฮเอนด์ล้วนแล้วแต่ใช้หมึก pigment ไม่ว่าจะ HP หรือ Epson หรือแม้แต่ Brother รวมถึงเครื่อง photo printer ด้วย ระดับสูงๆ ล้วนแต่เป็นหมึก pigment

ก่อนตัดสินใจลงมือ  เนื่องจากตอนนี้ไม่มี printer ใช้ที่ทำงานหลังจาก Canon G3000 ตายลงกะทันหัน เราก็เลยบากหน้าไปขอ Epson L365 ตัวที่เคยยกให้เค๊าไป  โชคดีว่าเค๊าก็ไม่ได้ใช้ คลุมผ้าไว้ ก็เลยได้คืนมาอย่างง่ายดาย 

ตามที่คาด หัวพิมพ์ตันเยอะ สีดำ จำได้ว่า มีแหว่ง ๆ หลายอัน ล้างไม่ออก น่าจะล้างไปประมาณ 7-8 รอบ  ตอนนั้นเรายังไม่ได้ตัดสินใจซื้อ Epson L6190 อาจจะเป็นเพราะยังเคือง Epson เรื่อง R3000 ที่บ้าน (ไว้เล่าให้ฟังวันหลัง)  ก็พยายามจะกู้คืนฟื้นชีพ Epson 365 ตัวเก่าให้จงได้ หลังจากพยายามใช้ทุกกลยุทธ์ที่เคยทำมา เช่น ล้างติดกัน 3 ทีแล้วทิ้งไว้ข้ามคืน  พยายามตะบี้ตะบันพิมพ์ไปเรื่อย ๆ พยายามปริ๊นท์หน้าแถบสี (purging pattern)

ในที่สุดหัวพิมพ์สีก็ออกครบทุกอัน เหลืองแต่หัวดำ ไม่ออกหมด มีแหว่งเป็นหย่อม ๆ 

อ้อ ลืมแจ้งไปว่า ความที่เราจำได้ว่า Epson L365 นั้นใช้หมึก dye ทั้งหมด  ซึ่งเราไม่ชอบ นึกได้ว่าเรามี Canon black pigment inks ยังเหลือจาก  G3000 เพราะตอนซื้อ เค๊าให้หมึกดำมาทั้งหมด 3 ขวด หมึกสีอย่างละ 2 ชวด

เราก็เลยเปิดฝาดูดเอาหมึกดำ Epson 644 ออกใส่คืนขวดเค๊าไป แล้วเติม Canon หมึกดำ pigment ink ลงไปแทน ไม่ได้บ้าพอจะไปสูบออกจากสายและตลับ เอาแค่กำจัดใน tank ให้หมดไป

ปรากฎว่า หมึกดำ pigment ของ Canon นี่มันยังเทาเหลือเกินเมื่อเทียบกับหมึกดำ dye ของ Epson และยืนยันความเทาภายหลัง หลังจากได้เปรียบเทียบกับหมึกดำ pigment 001 อันใหม่ของ Epson ที่มากับเครื่อง L6190

หลังจากได้พยายามทำให้ L365 กลับมาทำงานอีกครั้ง ก็ถึงจุดที่ว่า nozzle สีทุกอันออกครบ สวยงาน แต่สีดำเนี่ย มีเกเร ยังมีแหว่งบ้าง ไม่แหว่งก็เบลอ  คือเหมือนออกครบ แต่ไม่ครบกรึบ เส้นที่ยิงออกมาดูเบลอ ๆ  ซึ่งมีผลกระทบต่องานพิมพ์ก็คือ ต้องสั่งพิมพ์แบบ high quality เท่านั้น ถึงจะได้ผลงานออกมาดูได้เป็นที่พอใจ ซึ่งก็โอเค แต่มันช้ามาก

ก็เลยตัดสินใจซื้อ Epson L6190 ไป ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วไม่ได้ต้องการใช้ FAX เลย (บังเอิญผู้จัดการคอนโดที่รับมรดกตกทอด Canon G3000 ที่เสียไปโวยว่า G3000 ไม่มี FAX เราก็เลยคิดการณ์ไกลว่าเผื่ออีกหน่อยเราโละ L6190 ให้เค๊า เค๊าจะได้ไม่โวยอีกว่าไม่มี FAX)

ระหว่างที่รอสินค้ามาส่ง ซึ่งส่งเร็วมาก (ซื้อจาก Lazada ได้ในราคา 11,585  จากราคาที่บริษัทตั้งไว้คือ 13900 บาท หลังจากใช้คูปองทุกรูปแบบ) ร้าน OSCAR SHOP  ใช้เวลาสองวัน สินค้าก็มาถึงที่ที่ทำงาน

แต่เราไม่แกะกล่องเพราะอะไร  เพราะเราตั้งใจว่าจะไม่ใส่ Epson ink ที่ให้มาในกล่อง เราอยากจะใส่ DURABrite ink แต่ขอเวลาทำใจแป๊บ แบบว่าของมันใหม่ ตอนแรกคิดไปเองว่า อืมม์ เราก็ยังใช้ Epson ink นิ  ไม่ได้ใช้หมึกนอกคอกยี่ห้อต่างด้าว ไม่น่าจะวอยประกัน  ปรากฎว่าพอแกะออกมาดูที่ปริ๊นเตอร์ มันก็แปะไว้หราว่า ถ้าไม่ใช้หมึกที่ Epson ออกแบบหรือแนะนำ พูดง่าย ๆ ต่อให้ใส่หมึกอื่น ๆ ก็จะ วอยประกันทันที

เฮ้อ

สรุปว่าเราจะต้องทดลองก่อนว่าใส่หมึกอย่างอื่นมันเวิ๊ค

หลักฐานเชิงประจักษ์ก็คือ เทคโนโลยีหัวพิมพ์ของ Epson ก็ใช้ Piezoelectric เหมือนกันหมด จากของเดิมเป็น Micro TFT ซึ่งจำนวน Nozzle จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากความแพงของปริ๊นเตอร์และความเร็วในการพิมพ์ก็จะเพิ่มขึ้นตามจำนวน Nozzle  (R3000 เป็น microTFT 180 nozzles/color, ส่วน L365 นี่มี 180 nozzles สำหรับสีดำ  90 nozzles สำหรับหัวสี  ส่วน L6190 เป็น PrecisionCore 400 nozzles หมึกดำ  ส่วนหมึกสี เข้าใจว่าไม่ใช่ precisioncore น่าจะเป็น micro TFT 180 nozzles/color)

สรุปว่า มองไม่เห็นคุณลักษณะความแตกต่างระหว่างหัวพิมพ์ของปริ๋นเตอร์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับหมึก pigment หรือหมึก dye  จริง ๆ แล้ว Epson โม้ไว้ด้วยซ้ำว่าตัวเองนั้น ใช้เทคโนโลยี piezoelectric ซึ่งไม่เกิดความร้อน ทำให้หัวพิมพ์ทนทานไม่ต้องเปลี่ยน และทำให้ตนเองสามารถพัฒนาหมึกพิมพ์ตัวเองให้มีคุณสมบัติสุดเริ่ดได้ดีกว่าของคนอื่นเพราะหมึกไม่เดือด ไม่ไหม้ ไม่ถูกความร้อนทำลายเคลือบหรือเรซิ่นหรืออะไรต่าง ๆ นานา

ในส่วนของคุณลักษณะอื่นๆ ก็ยังไม่เห็นความแตกต่าง ที่น่าสังเกตคือ ถึงแม้จะยังไม่มีรุ่น ink tank ในท้องตลาดที่ Epson ผลิตออกมาให้ผู้ใช้เติมหมึก pigment ทุกสีเลย แต่ก็มีหมึกดำซึ่งตอนนี้เป็นหมึก pigment  และความจริงที่ว่าเครื่องพิมพ์ใหญ่ ๆ แบบตั้งโต๊ะหรือแม้แต่ R3000 เองก็เถอะ ถือจะไม่ได้เป็น ink tank ให้ผู้ใช้เติมหมึกเอง แต่ลักษณะการออกแบบก็คือเป็น ink reservoir ก็คือตลับหมึกที่ซื้อมาเปลี่ยน มิได้นั่งอยู่บนหัวพิมพ์โดยตรงเหมือนเครื่องเล็ก ๆ แต่มีสายนำหมึกไปยังหัวพิมพ์อีกที ตัวตลับหมึกนั้นนั่งอยู่เฉย ๆ ตรง slot ที่ให้เสียบ  ดังนั้นลักษณะการทำงานก็เหมือน ink tank นั่งแหละ  ที่สังเกตเห็นความแตกต่างก็คือ ตลับหมึก pigment นั้น Epson บอกให้เขย่าก่อนใช้ ต้องเขย่า 20 ที และอันนั้นน่าจะเป็นความแตกต่างอันเดียวที่สังเกตพบ คือหมึก pigment นั้นจะมีการนอนตัว (settling) การใส่หมึก ink tank ไว้นาน ๆ ก็อาจจะเกิดปัญหาเดียวกัน  ที่น่าแปลกใจก็คือแล้วทำไม หมึกดำใส่ tank เป็น pigment ได้  เครื่องพิมพ์ตั้งพื้นถึงจะไม่ใช่ ink tank แต่ตลับหมึกนั้นมีน้ำหมึกตั้งแต่ 200-700 mL ถ้าการทำ ink tank หรือ reservoir เป็นปัญหาจริง ๆ ก็ไม่น่าจะทำแบบนั้นได้

สรุปว่า ไหน ๆ L365 เราก็พิกลพิการ พิมพ์ได้ไม่เพอร์เฟ็คต์ แล้วเราก็ตัดใจยอมทิ้งมันละ สั่งปริ๊นเตอร์ตัวใหม่ L6190 ไปแล้วด้วย ได้มาแล้วด้วย  ก็เลยออกอุบายว่าจะยอมทดสอบกับ L365 นี่แหละ

อุปสรรคอันถัดไปก็คือไม่มีใครบนเว็ปไซต์ที่เราค้นเจอว่าใช้หมึก DURABrite ink ใส่ ink tank สักราย คือ ปริ๊นเตอร์ ink tank นี่มันวางตลาดในแถบเอเซียก่อน  แล้วถึงไปทำตลาดที่เมกา ที่เมกาเรียกว่า ECOtank  อย่างรุ่น L6190 นี่ ที่เมกากลายเป็น ET-4750 กระนั้นก็ไม่มีใครโพสต์เรื่องใช้หมึกอื่นเติม Epson ink tank มีแต่คนใช้หมึกอื่น ๆ ใส่ระบบ CISS (Continuous Ink Supply System) กับเครื่อง Epson รุ่นก่อน ๆ    

แต่ไปเจอคนที่มาเลเซียโพสต์วิดิโอการใช้หมึก pigment สำหรับทำ Garment transfer โดยใช้เครื่อง Epson ink tank แต่คุณเธอโพสต์วิธี drain เอาหมึกเก่าออกให้หมดจากสายและหัวพิมพ์ด้วย ซึ่งดูแล้วรู้สึกว่าเลอะเทอะ ยุ่งยาก

บังเอิญว่าเรามีตลับหมึกของ R1800 อยู่หลายตลับ รวมถึงมีหมึก Ultrachrome รุ่นดั้งเดิม ตั้งแต่สมัยยังเติมหมึกเครื่อง R1800 อันนั้นย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2005-2008 เก่าขนาดนั้น มีครบทั้งหมึกดำ หมึกสีชมพู หมึกสีฟ้าและสีเหลือง  แต่เราตั้งใจว่าหมึกดำจะใช้ หมึกดำ pigment 001 ของ Epson ที่มากับ L6190 นั่นแหละ

สรุปว่าเราก็ดูดเอาหมึก dye เก่าออกจาก tank ทุกสี สีดำซึ่งเป็นหมึก pigment ดำของ canon ก็เอาคืนลงขวดเค๊าไป  ส่วนหมึกสีอื่น ๆ ก็ดูดเก็บไว้ใน syringe 50 mL นั่นแหละ เพราะขวดเดิมของ Epson 664 ไม่อยู่แระ ส่วนหมึกที่ค้างอยู่ในสายและที่หัวพิมพ์  ช่างแม่ม  เดี๋ยวเราพิมพ์แถบสี purge pattern หลาย ๆ แผ่นเอา กะว่าจะพิมพ์สัก 30-50 แผ่น ซึ่งไหน ๆ หัวพิมพ์สีดำมันก็ไม่ได้โอเคเท่าไหร่

หลังจากดูดหมึกเก่าออกเสร็จ เราก็เติมหมึกดำ 001 ซึ่งเป็นขวดที่มากับ L6190 โดยที่ขวดมีลิ้นป้องกันหมึกหก แต่ลิ้นอันนี้มีลักษณะเป็นแผ่นยางบาง ๆ เอาท่อเล็ก ๆ จิ้มผ่านลิ้นลงไปก็ดูดน้ำหมึกจากขวดได้โดยง่าย หรือจริง ๆ จะหมุนฝาเกลียวออกแล้วดูดหมึกดื้อ ๆ ก็ย่อมได้

ส่วนหมึกสีเหลือง สีชมพู และ สีฟ้าก็เอาของเก่ากึ๊ก หลังจากเขย่าแล้วเขย่าอีก ก็เติมหมึกได้ครบทุกสี จากนั้นก็สั่งพิมพ์ purge pattern ซึ่งเป็นแถบสีฟ้า สีชมพู สีเหลือง และ สีดำ เต็มหน้ากระดาษ  A4

พิมพ์ไปได้สักประมาณ 5-6 หน้าก็จะเริ่มสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลง คือ สีดำ ดำขึ้น สีอื่นก็เริ่มมีโทนสีที่เปลี่ยนไปที่สังเกตได้ชัดมากคือแถบสีเหลือง  หลังจากนั้นก็พิมพ์ไปอีกประมาณ 20 กว่านี้ สิริรวมประมาณ 30 หน้า คาดว่าหมึก dye ที่ค้างอยู่ก็คงไม่ค่อยเหลือ

ที่ประทับใจที่สุดก็คือ หลังจากนั้น nozzle check pattern ออกมาสมบูรณ์แบบ (คือ nozzle สีมันเคยดีอยู่แล้ว แต่ตอนนี้ หมึกดำก็สวย perfect ดีใจมาก เพราะตอนแรกนึกว่าจะต้องโยน L365 ทิ้งไปแล้ว)

บทสรุปก็คือ อย่าเอาหมึก Canon ไปใส่เครื่อง Epson และก็คิดว่าสิ่งที่เรียนรู้ครั้งนี้ก็คือ หมึกใครหมึกมัน ดังนั้นก็อย่าเอาหมึก third party มาใส่เหมือนกัน ไม่มีทางที่ผู้ผลิตหมึกเจ้าอื่นจะรู้ในเชิงเทคโนโลยีได้เหมือนผู้ผลิตเครื่องพิมพ์

L365 ขณะนี้ใช้งานมาเกือบหนึ่งเดือน หลังจากได้ nozzle perfect check ก็ใช้งานดีมาตลอด  การทดสอบนี้ทำให้เรามีความมั่นใจในการเติมหมึก DURABrite ในเครื่อง L6190





Create Date : 03 เมษายน 2561
Last Update : 3 เมษายน 2561 10:33:29 น. 0 comments
Counter : 1328 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

gollygui
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]






space
space
[Add gollygui's blog to your web]
space
space
space
space
space