อัตราดอกเบี้ย รู้ไว้ใช่ว่า
ถ้าพูดถึงอัตราดอกเบี้ย หลายคนอาจจะไม่สนใจเพราะว่าไม่ได้เกี่ยวกับเรา ดูเป็นเรื่องของนักการธนาคาร นักเศรษฐศาสตร์มากกว่า จริงๆแล้วการปรับอัตราดอกเบี้ยกระทบทุกคน ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม...อย่างไร แน่นอนคนมีเงินฝากก็กระทบเพราะว่าดอกเบี้ยที่ได้ก็น้อยลงเป็นธรรมดา สมัยก่อนตอนปี 40 คนฝากเงินหวังกินดอกเบี้ยตอนนั้นดอกเบี้ยเกิน10%มีเงินล้านเดียวได้ดอกเบี้ยตกเดือนละหมื่นก็พออยู่กันได้ แต่จาก10->1% มีเงินล้านนึงเหมือนกันแต่ได้ดอกเบี้ย"ปีละหมื่น" เดือนละไม่ถึงพัน หวังกินดอกแบบเดิมไม่ได้แล้วไม่ได้แล้ว คนที่กู้เงินก็กระทบ เพราะต้นทุนจะต่ำลง ใครกู้ซื้อบ้านดอกเบี้ยลอยตัวก็ได้ลดไป ถ้าดอกเบี้ยลดลงมาสัก1% ราคาบ้านสองสามล้านก็มีค่าใช้จ่ายลดลงมาสองสามหมื่นต่อปีแล้ว ตกเดือนนึงก็หลายพัน ใครกู้มาลงทุนก็มีต้นทุนที่ต่ำลง จากเดิมถ้ากู้เงินอัตราดอกเบี้ยร้อยละ7 เอาไปลงทุนทำกำไรได้ร้อยละ10 กำไร3%ต่อปีแบบนี้สู้เอาเงินไปลงทุนพันธบัตรรัฐบาลดีกว่า แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยลดลงเหลือเพียงร้อยละ3 แบบนี้ก็ได้กำไรจากการกู้มาลงทุนหักด้วยต้นทุนกู้ยืม กลายเป็นได้กำไรร้อยละ7 แบบนี้ก็น่าสนใจกู้มาลงทุน ดังนั้นเวลาที่เศรษฐกิจดูไม่ดี คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอาจจะชะลอตัวลง ฝ่ายที่ดูแลนโยบายการเงินจึงจะลดอัตราดอกเบี้ยกัน เพราะคนกู้เงินมาซื้อบ้าน ซื้อรถ มาลงทุนง่่ายขึ้น เพราะต้นทุนต่ำอย่างที่ได้บอกไปแล้ว ส่วนคนไหนที่มีเงินเก็บก็อยากเอาออกมาซื้อที่ดิน ซื้อทองคำหรือสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้ หรือถ้าอัตราดอกเบี้ยแท้จริงติดลบมากๆ คือดอกเบี้ยได้น้อยกว่าเงินเฟ้อ ถ้าเก็บเงิยไว้ก็ด้อยค่าลงไปเรื่อยๆ สู้เอาเงินมาใช้ในปัจจุบันดีกว่า และการซื้อบ้าน ซื้อรถ ลงทุน หรือเอาเงินมาใช้ก็เป็นการช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้นนั่นเอง แต่การลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นก็มีข้อจำกัด เพราะถ้าเงินเฟ้อสูงก็ลดดอกเบี้ยลำบาก ไม่อย่างนั้นจะเป็นการซ้ำเติมเงินเฟ้อเข้าไปอีกเพราะถ้าคนเอาเงินมาใช้ในระบบมากๆ ในขณะที่สินค้ามีเท่าเดิม ของก็แพงขึ้นเท่านั้น ดังนั้้นการใช้อัตราดอกเบี้ยต้องดูเงินเฟ้อประกอบ สำหรับบ้านเราตอนนี้เศรษฐกิจยังพอไปไหว เลยยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมในวันนี้(05/09/2012) ที่3% แบบนี้ถ้าเศรษฐกิจโลกมีปัญหา เรามีช่องให้ปรับได้เยอะเลย แต่ในอนาคตวิกฤติโลกน่าจะลามเลียมาถึงไทยค่อนข้างแน่ ดังนั้นเราคาดการณ์คร่าวๆได้ว่า ดอกเบี้ยในอนาคตไม่ลดลงอย่างน้อยก็คงที่ ดังนั้นหากมีเงินเหลือ การฝากเงินที่น่าจะดีในภาวะแบบนี้คือการฝากเงินแบบดอกคงที่ระยะยาว เพราะจะได้มีผลตอบแทนเยอะๆหากมีการลดดอกเบี้ยสำหรับผู้ที่ต้องการกู้ อาจจะมองดอกเบี้ยแบบลอยตัว เพราะเมื่อดอกเบี้ยลดเราก็จะได้ลดดอกเบี้ยไปถ้าใครต้องการซื้ออสังหาหรือทรัพย์สินแต่ไม่รีบมาก รอจนปัญหาเศรษฐกิจลามมาถึง ก็อาจจะได้ของดีราคาถูกด้วยครับ ขอบฟ้าบูรพา ถ้าพูดถึงอัตราดอกเบี้ย หลายคนอาจจะไม่สนใจเพราะว่าไม่ได้เกี่ยวกับเรา ดูเป็นเรื่องของนักการธนาคาร นักเศรษฐศาสตร์มากกว่า จริงๆแล้วการปรับอัตราดอกเบี้ยกระทบทุกคน ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม...อย่างไร แน่นอนคนมีเงินฝากก็กระทบเพราะว่าดอกเบี้ยที่ได้ก็น้อยลงเป็นธรรมดา สมัยก่อนตอนปี 40 คนฝากเงินหวังกินดอกเบี้ยตอนนั้นดอกเบี้ยเกิน10%มีเงินล้านเดียวได้ดอกเบี้ยตกเดือนละหมื่นก็พออยู่กันได้ แต่จาก10->1% มีเงินล้านนึงเหมือนกันแต่ได้ดอกเบี้ย"ปีละหมื่น" เดือนละไม่ถึงพัน หวังกินดอกแบบเดิมไม่ได้แล้วไม่ได้แล้ว คนที่กู้เงินก็กระทบ เพราะต้นทุนจะต่ำลง ใครกู้ซื้อบ้านดอกเบี้ยลอยตัวก็ได้ลดไป ถ้าดอกเบี้ยลดลงมาสัก1% ราคาบ้านสองสามล้านก็มีค่าใช้จ่ายลดลงมาสองสามหมื่นต่อปีแล้ว ตกเดือนนึงก็หลายพัน ใครกู้มาลงทุนก็มีต้นทุนที่ต่ำลง จากเดิมถ้ากู้เงินอัตราดอกเบี้ยร้อยละ7 เอาไปลงทุนทำกำไรได้ร้อยละ10 กำไร3%ต่อปีแบบนี้สู้เอาเงินไปลงทุนพันธบัตรรัฐบาลดีกว่า แต่ถ้าอัตราดอกเบี้ยลดลงเหลือเพียงร้อยละ3 แบบนี้ก็ได้กำไรจากการกู้มาลงทุนหักด้วยต้นทุนกู้ยืม กลายเป็นได้กำไรร้อยละ7 แบบนี้ก็น่าสนใจกู้มาลงทุน ดังนั้นเวลาที่เศรษฐกิจดูไม่ดี คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอาจจะชะลอตัวลง ฝ่ายที่ดูแลนโยบายการเงินจึงจะลดอัตราดอกเบี้ยกัน เพราะคนกู้เงินมาซื้อบ้าน ซื้อรถ มาลงทุนง่่ายขึ้น เพราะต้นทุนต่ำอย่างที่ได้บอกไปแล้ว ส่วนคนไหนที่มีเงินเก็บก็อยากเอาออกมาซื้อที่ดิน ซื้อทองคำหรือสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้ หรือถ้าอัตราดอกเบี้ยแท้จริงติดลบมากๆ คือดอกเบี้ยได้น้อยกว่าเงินเฟ้อ ถ้าเก็บเงิยไว้ก็ด้อยค่าลงไปเรื่อยๆ สู้เอาเงินมาใช้ในปัจจุบันดีกว่า และการซื้อบ้าน ซื้อรถ ลงทุน หรือเอาเงินมาใช้ก็เป็นการช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้นนั่นเอง แต่การลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นก็มีข้อจำกัด เพราะถ้าเงินเฟ้อสูงก็ลดดอกเบี้ยลำบาก ไม่อย่างนั้นจะเป็นการซ้ำเติมเงินเฟ้อเข้าไปอีกเพราะถ้าคนเอาเงินมาใช้ในระบบมากๆ ในขณะที่สินค้ามีเท่าเดิม ของก็แพงขึ้นเท่านั้น ดังนั้้นการใช้อัตราดอกเบี้ยต้องดูเงินเฟ้อประกอบ สำหรับบ้านเราตอนนี้เศรษฐกิจยังพอไปไหว เลยยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมในวันนี้(05/09/2012) ที่3% แบบนี้ถ้าเศรษฐกิจโลกมีปัญหา เรามีช่องให้ปรับได้เยอะเลย แต่ในอนาคตวิกฤติโลกน่าจะลามเลียมาถึงไทยค่อนข้างแน่ ดังนั้นเราคาดการณ์คร่าวๆได้ว่า ดอกเบี้ยในอนาคตไม่ลดลงอย่างน้อยก็คงที่ ดังนั้นหากมีเงินเหลือ การฝากเงินที่น่าจะดีในภาวะแบบนี้คือการฝากเงินแบบดอกคงที่ระยะยาว เพราะจะได้มีผลตอบแทนเยอะๆหากมีการลดดอกเบี้ยสำหรับผู้ที่ต้องการกู้ อาจจะมองดอกเบี้ยแบบลอยตัว เพราะเมื่อดอกเบี้ยลดเราก็จะได้ลดดอกเบี้ยไปถ้าใครต้องการซื้ออสังหาหรือทรัพย์สินแต่ไม่รีบมาก รอจนปัญหาเศรษฐกิจลามมาถึง ก็อาจจะได้ของดีราคาถูกด้วยครับ ขอบฟ้าบูรพา //www.oknation.net/blog/atishart/2012/09/06/entry-1
Create Date : 06 กันยายน 2555 | | |
Last Update : 6 กันยายน 2555 19:05:35 น. |
Counter : 2317 Pageviews. |
| |
|
|
|